รอยเตอร์ - จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดของออสเตรเลียเพิ่มสูงขึ้นเป็น 135 คนแล้วเมื่อวานนี้ (9) ในขณะที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและหน่วยกู้ชีพยังคงเร่งมือนำศพผู้ที่เสียชีวิตในกองเพลิงออกจากอาคารบ้านเรือนต่างๆ ที่ถูกเผาจนไหม้เกรียม
"คนตายกันหมด หมดเลย บ้านเรือนก็วอดวาย พวกเขาตายอยู่ในบ้านตัวเอง" คริสโตเฟอร์ ฮาร์วีย์ ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ไฟป่าในเมืองคิงเลคเล่า ในระหว่างที่เขาเดินดูสภาพเมืองที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุด
เจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่าต้นเพลิงบางจุดเกิดจากการจงใจจุดไฟขึ้น และทำให้ไฟลุกลามเผาผลาญเมืองเล็กๆ ตามชนบทหลายๆ แห่ง ในบริเวณใกล้กับนครเมลเบิร์นซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของออสเตรเลีย นอกจากนั้น ตำรวจยังได้ประกาศให้เมืองที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นพื้นที่เกิดอาชญากรรมด้วย
"ไม่มีคำพูดใดที่จะอธิบายเหตุการณ์ครั้งนี้ นอกจากบอกว่ามันเป็นการสังหารหมู่" นายกรัฐมนตรีเควิน รัดด์ กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น และเสริมว่า "จำนวนผู้เสียชีวิตน่าตกใจมาก และผมกลัวว่ามันจะยังเพิ่มขึ้นอีก"
ไฟป่าในรัฐวิกตอเรียครั้งนี้นับเป็นหายนภัยทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดของออสเตรเลียในรอบ 110 ปี หลังจากที่เมื่อปี 1899 ไซโคลนมาหินาเข้าพัดถล่มพื้นที่บริเวณเคปยอร์ค ทางตอนเหนือของประเทศ และทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน
ทั้งนี้ ไฟป่าได้ลุกลามไปทั่วเมืองหลายเมืองในรัฐวิกตอเรียช่วงกลางคืนของวันเสาร์ (7) และเผาทำลายทุกสิ่งตลอดเส้นทางที่ไฟลามไป ผู้เสียชีวิตจำนวนมากติดอยู่ในรถยนต์ในระหว่างพยายามหลบหนี แต่อีกส่วนหนึ่งกอดกันตายอยู่ภายในบ้านเรือนของตน ขณะที่ผู้รอดชีวิตหลบหนีออกมาได้โดยกระโดดลงไปในสระว่ายน้ำหรือบ่อน้ำในฟาร์ม
ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่าเปลวไฟลุกลามขึ้นสูงเท่ากับตึกสี่ชั้น และกระแสลมยังพัดพาประกายไฟบางส่วนปลิวไปไกลถึง 40 กิโลเมตร ทำให้เกิดไฟไหม้กระจายเป็นหย่อมๆ บ้านเรือนถูกเผาไหม้ไปกว่า 750 หลังและมีผู้บาดเจ็บสาหัสราว 78 คน แพทย์ระบุว่าบางคนถูกไฟคลอกถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย บางคนก็มีแผลรุนแรงกว่าผู้ถูกระเบิดที่บาหลีเมื่อปี 2002 เสียอีก
"มันเหมือนฮิโรชิมาเลย มันเหมือนกับระเบิดนิวเคลียร์ลง บนถนมีแต่ซากสัตว์ตายเกลื่อน" ฮาร์วีย์บอก
**นโยบายโลกร้อน**
การเกิดไฟป่ารวมทั้งเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในรัฐควีนส์แลนด์ทางเหนือของออสเตรเลีย กำลังเป็นแรงกดดันสำคัญให้นายกฯรัดด์ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะต้องประกาศใช้ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ โดยนักการเมืองที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมต่างเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมที่เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม
ส่วนพวกนักวิทยาศาสตร์ก็กล่าวว่าออสเตรเลียจะเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
"การที่ก๊าซเรือนกระจกยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้พื้นที่ทางใต้ของออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงขึ้นและเกิดสภาพแห้งแล้งมากขึ้น ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่ายิ่งขึ้น" เควิน เฮนเนสซี แห่งศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในเครือจักรภพอังกฤษ (CSIRO) กล่าว
ทั้งนี้เมื่อวานนี้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังคงพยายามควบคุมเพลิงที่ลุกลามอยู่ในวิกตอเรีย รวมทั้งในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่อยู่ติดกันด้วย แม้ว่าสภาพอากาศจะเย็นลง และกระแสลมก็ลดความแรงลงแล้วก็ตาม
ไฟป่าครั้งนี้เผาทำลายพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ในวิกตอเรียไปกว่า 330,000 เฮกตาร์ (ราว 2.06 ล้านไร่) อีกทั้งยังเผาไร่องุ่นชั้นดีในหุบเขายาร์รา แวลลีย์ด้วย
ส่วนที่เมืองแมรีส์วิลล์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปิดเมืองเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์เข้าตรวจหลักฐานหาสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้บ้านเรือนเป็นจำนวนมาก และได้ปิดเมืองคิงเลคเพื่อกู้ซากศพผู้เสียชีวิตที่ยังหลงเหลืออยู่ ในขณะที่มีผู้ร้องเรียนว่าญาติมิตรของตนยังคงสูญหายไปอีกจำนวนมาก
"คนตายกันหมด หมดเลย บ้านเรือนก็วอดวาย พวกเขาตายอยู่ในบ้านตัวเอง" คริสโตเฟอร์ ฮาร์วีย์ ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ไฟป่าในเมืองคิงเลคเล่า ในระหว่างที่เขาเดินดูสภาพเมืองที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุด
เจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่าต้นเพลิงบางจุดเกิดจากการจงใจจุดไฟขึ้น และทำให้ไฟลุกลามเผาผลาญเมืองเล็กๆ ตามชนบทหลายๆ แห่ง ในบริเวณใกล้กับนครเมลเบิร์นซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของออสเตรเลีย นอกจากนั้น ตำรวจยังได้ประกาศให้เมืองที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นพื้นที่เกิดอาชญากรรมด้วย
"ไม่มีคำพูดใดที่จะอธิบายเหตุการณ์ครั้งนี้ นอกจากบอกว่ามันเป็นการสังหารหมู่" นายกรัฐมนตรีเควิน รัดด์ กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น และเสริมว่า "จำนวนผู้เสียชีวิตน่าตกใจมาก และผมกลัวว่ามันจะยังเพิ่มขึ้นอีก"
ไฟป่าในรัฐวิกตอเรียครั้งนี้นับเป็นหายนภัยทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดของออสเตรเลียในรอบ 110 ปี หลังจากที่เมื่อปี 1899 ไซโคลนมาหินาเข้าพัดถล่มพื้นที่บริเวณเคปยอร์ค ทางตอนเหนือของประเทศ และทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน
ทั้งนี้ ไฟป่าได้ลุกลามไปทั่วเมืองหลายเมืองในรัฐวิกตอเรียช่วงกลางคืนของวันเสาร์ (7) และเผาทำลายทุกสิ่งตลอดเส้นทางที่ไฟลามไป ผู้เสียชีวิตจำนวนมากติดอยู่ในรถยนต์ในระหว่างพยายามหลบหนี แต่อีกส่วนหนึ่งกอดกันตายอยู่ภายในบ้านเรือนของตน ขณะที่ผู้รอดชีวิตหลบหนีออกมาได้โดยกระโดดลงไปในสระว่ายน้ำหรือบ่อน้ำในฟาร์ม
ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่าเปลวไฟลุกลามขึ้นสูงเท่ากับตึกสี่ชั้น และกระแสลมยังพัดพาประกายไฟบางส่วนปลิวไปไกลถึง 40 กิโลเมตร ทำให้เกิดไฟไหม้กระจายเป็นหย่อมๆ บ้านเรือนถูกเผาไหม้ไปกว่า 750 หลังและมีผู้บาดเจ็บสาหัสราว 78 คน แพทย์ระบุว่าบางคนถูกไฟคลอกถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย บางคนก็มีแผลรุนแรงกว่าผู้ถูกระเบิดที่บาหลีเมื่อปี 2002 เสียอีก
"มันเหมือนฮิโรชิมาเลย มันเหมือนกับระเบิดนิวเคลียร์ลง บนถนมีแต่ซากสัตว์ตายเกลื่อน" ฮาร์วีย์บอก
**นโยบายโลกร้อน**
การเกิดไฟป่ารวมทั้งเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในรัฐควีนส์แลนด์ทางเหนือของออสเตรเลีย กำลังเป็นแรงกดดันสำคัญให้นายกฯรัดด์ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะต้องประกาศใช้ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ โดยนักการเมืองที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมต่างเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมที่เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม
ส่วนพวกนักวิทยาศาสตร์ก็กล่าวว่าออสเตรเลียจะเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
"การที่ก๊าซเรือนกระจกยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้พื้นที่ทางใต้ของออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงขึ้นและเกิดสภาพแห้งแล้งมากขึ้น ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่ายิ่งขึ้น" เควิน เฮนเนสซี แห่งศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในเครือจักรภพอังกฤษ (CSIRO) กล่าว
ทั้งนี้เมื่อวานนี้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังคงพยายามควบคุมเพลิงที่ลุกลามอยู่ในวิกตอเรีย รวมทั้งในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่อยู่ติดกันด้วย แม้ว่าสภาพอากาศจะเย็นลง และกระแสลมก็ลดความแรงลงแล้วก็ตาม
ไฟป่าครั้งนี้เผาทำลายพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ในวิกตอเรียไปกว่า 330,000 เฮกตาร์ (ราว 2.06 ล้านไร่) อีกทั้งยังเผาไร่องุ่นชั้นดีในหุบเขายาร์รา แวลลีย์ด้วย
ส่วนที่เมืองแมรีส์วิลล์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปิดเมืองเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์เข้าตรวจหลักฐานหาสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้บ้านเรือนเป็นจำนวนมาก และได้ปิดเมืองคิงเลคเพื่อกู้ซากศพผู้เสียชีวิตที่ยังหลงเหลืออยู่ ในขณะที่มีผู้ร้องเรียนว่าญาติมิตรของตนยังคงสูญหายไปอีกจำนวนมาก