กมธ.ป.ป.ช.สภาผู้แทนฯ รับสอบปลากระป๋องเน่า เตรียมเรียก “วัลลภ”ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ แจงหลังพบพิรุธทำหนังสือแจ้ง รมว.พัฒนาสังคมฯ 2 ฉบับไม่ตรงกัน คาดทำเอกสารเท็จส่อถูกเด้งแถมโดนคดีอาญา พร้อมเตรียมประสานสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษีของบริษัทผู้ผลิต ขณะที่ศาลแพ่งอาจไม่รับฟ้องปลากระป๋องเน่า เหตุไม่อยู่ในเขตอำนาจ ด้าน ป.ป.ช.เตรียมตั้งอนุฯสอบ “บุญจง” แจกเงิน ส่วนปลากระป๋องเน่าหลักฐานยังไม่พอ
ที่รัฐสภา วานนี้ (5 ก.พ.) นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมว่าที่ประชุมมีมติให้รับเรื่อง นายวิฑูรย์ นามบุตร อดีตรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้องขอให้ตรวจสอบ การแจกถุงยังชีพ ซึ่งมีปลากระป๋องที่หมดอายุ โดยในสัปดาห์หน้าจะเชิญนายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เข้าชี้แจง เนื่องจากมีหนังสือทางราชการ 2 ฉบับที่มีความขัดแย้งกันเอง
โดยฉบับแรก นายวัลลภ ได้ทำหนังสือที่ พม. 0201/1493 ลงวันที่ 19 ม.ค. 2552 ถึงนายวิฑูรย์ ในฐานะรมว.การพัฒนาสังคมฯในขณะนั้น โดยระบุว่า ขอชี้แจง ในเรื่องดังกล่าวว่า ทางสำนักงานปลัดกระทรวงได้รับการประสานแจ้งว่านายวิเชน สมมาตร มีความประสงค์จะบริจาคถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนในจ.พัทลุง จำนวน 5 พันชุด โดยจะเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งเอง ทางสำนักงานปลัดจึงได้ประสานแจ้งไปยังพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จ.พัทลุง (พมจ.พัทลุง)ทราบ เพื่อดำเนินการตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาค โดยมีถุงยังชีพที่ส่งมอบและดำเนินการ แจกจ่ายให้ประชาชนแล้ว 1,500 ชุด ทั้งนี้ในช่วงปีงบประมาณ 2552 ที่ผ่านมาสำนักงานปลัดฯ ไม่เคยมีการจัดซื้อถุงยังชีพแต่อย่างใด
นายชาญชัย กล่าวว่า จากการประสานขอข้อมูลจากทาง อย.และคณะกรรมการที่ลงไปตรวจสอบโรงงานที่ผลิตปลากระป๋องนั้น นายทนง ทองกิ่งแก้ว เจ้าของโรงงานที่ผลิต ภายใต้บริษัท ทองกิ่งแก้วฟู้ดส์ จำกัด ระบุว่า เป็นการขายหน้า โรงงานแต่ไม่ทราบคนจัดซื้อ เป็นการจ่ายเงินสด ส่วนจะนำปลากระป๋องชุดดังกล่าว ไปบริจาคหรือไม่นั้นไม่ทราบ แต่มีข้อน่าสงสัยว่า ภายหลังเกิดเหตุนายทนงกลับบอกว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บปลากระป๋องล๊อตดังกล่าวคืนมาทั้งหมด ซึ่งเป็นการขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่พูดมาตั้งแต่ต้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า พม.จ.พัทลุงได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ว่า นายวิเชนไม่ได้บริจาคของที่ จ.พัทลุง แต่เป็นการจัดส่งมาจากส่วนกลาง นายชาญชัย กล่าวว่า แสดงว่าหนังสือที่ปลัดกระทรวงทำถึงรัฐมนตรีกับการชี้แจงของ พมจ.พัทลุงขัดกัน เพราะมีหนังสืออีกฉบับหนึ่งทาง พม.จ.พัทลุง ได้ทำถึงสำนักงานปลัดกระทรวง เลขที่ พท.0004/132 ซึ่งระบุว่า ตามหนังสือที่ พม.0201/707 ลงวันที่ 9 ม.ค. 52 แจ้งว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมฯได้รับการประสานจากนายวิเชนที่มีความประสงค์บริจาคถุงยังชีพ โดยจะบริการจัดส่งให้ถึงพื้นที่จำนวน 5 พันชุดนั้น ทาง พม.จ.พัทลุง ได้รับถุงยังชีพจำนวน 1,500 ชุด ซึ่งจัดส่งถึงพื้นที่วัดท่าสำเภาเหนือ ต.ชัยบุรี อ.เมือง พัทลุง เมื่อวันที่ 11 ม.ค. เรียบร้อยแล้ว แต่ได้มีการเขียนด้วยลายมือกำกับในตอนท้ายของหนังสือว่า "ไม่มีเพราะรับที่พัทลุง"
"ต้องตรวจสอบว่าเอกสารใดเป็นเอกสารเท็จแน่ โดยปลัดกระทรวงต้องรับผิดชอบไปเต็ม ๆ หากพิสูจน์ได้ว่านายวิเชนไม่ได้ไปบริจาคในพื้นที่อาจต้องโดน ดำเนินคดีอาญา ฐานทำเอกสารรายงานเท็จต่อรัฐมนตรี ผมไม่ได้กล่าวหาว่าปลัดกระทรวงผิด แต่ท่านต้องมาชี้แจงในสัปดาห์หน้า ถ้าไม่มา หรือชี้แจงไม่ตรงกับความจริง ผมจะแจ้งความดำเนินคดีอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ และอาจถึงขั้นถูกย้ายทันที"
ส่วนจะเอาผิดถึงอดีตรมว.การพัฒนาสังคมฯได้หรือไม่นั้น นายชาญชัย กล่าวว่า ต้องสอบไปตามข้อเท็จจริง โดยไม่ได้กำหนดว่าขอบเขตอยู่ที่ใคร สอบถึงใครคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ ไม่มีใครปิดข้อเท็จจริงได้ ดังนั้นต้องขอความร่วมมือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ให้จัดเตรียมเอกสารให้พร้อมเพื่อง่ายกับการตรวจสอบ ในส่วนของนายทนงนั้น ทางกรรมาธิการฯต้องเรียกมาสอบด้วย ถ้าไม่มาชี้แจง ก็ต้องถูกดำเนินคดีอาญาเช่นกัน และอาจจะให้กรมสรรพากรลงไปสอบถึงการเสียภาษี ที่ผ่านมาด้วย แต่เราจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย นอกจากนี้จะตรวจสอบย้อนหลังด้วยว่าบริษัทดังกล่าวเคยขายสินค้าให้กับกระทรวงกี่ครั้ง หากพบว่าผิดปกติรับรองมีคดีอาญาตามมาอีกหลายเรื่องแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชาญชัยได้แจกเอกสารการชี้แจงของนายทนง ต่อ อย. ให้กับผู้สื่อข่าวด้วย โดยเอกสารระบุถึงข้อเท็จจริงกรณีปลากระป๋องมีกลิ่นคาวปลาว่า ที่ผ่านมาทางบริษัทได้ผลิตปลากระป๋องตามมาตรฐานความสะอาด แต่กลิ่นคาวปลา น่าจะมาจากเครื่องคว่ำน้ำปลายที่หมุนเร็วเกินไป จนไม่สามารถทิ้งน้ำในกระป๋องที่เกิดจากการนึ่งออกไปได้หมด ทำให้เติมซอสมะเขือเทศในกระป๋องไม่ได้ตามขนาด เมื่อไปผสมกับน้ำที่เกิดจากการนึ่งปลาจึงมีกลิ่นคาวปลาอย่างแรง
ทั้งนี้ผลวิเคราะห์ของ อย.ระบุว่าไม่พบสารปนเปื้อนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดเรื่องทางบริษัทได้ส่งพนักงานลงไปตรวจสอบและเรียกเก็บสินค้าคืนทั้งหมด พร้อมทั้งกล่าวขอโทษต่อชาวบ้าน และมอบเงินช่วยเหลือไปส่วนหนึ่ง ผ่านทางผู้ใหญ่บ้านเรียบร้อยแล้ว และได้รับคำยืนยันจากผู้ใหญ่บ้านในที่เกิดเหตุว่า ไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายจากปลากระป๋องดังกล่าว
ส่วนข้อเท็จจริงกรณีวันเดือนปีที่ผลิตไม่ตรงกับความจริงนั้น ในเอกสารได้ยอมรับว่ามีการตีพิมพ์วันเดือนปีที่ผลิตไว้ล่วงหน้าเพื่อเก็บเอาไว้ขายในเดือนถัดไป เนื่องจาก โรงงานจะหยุดการผลิตในเดือน ส.ค.2551 โดยไม่ทราบว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 และพร้อมขอรับโทษต่อไป
ศาลแพ่งส่อไม่รับฟ้องปลากระป๋องเน่า
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จากที่ตนและตัวแทนผู้บริโภค จ.พัทลุงที่ได้รับมอบถุงยังชีพช่วยเหลือน้ำท่วมและพบปลากระป๋องเน่า ยื่นฟ้อง รมว.การพัฒนาสังคมฯ ปลัดกระทรวงฯ และ บริษัท ทองกิ่งแก้ว ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิต, บริษัท ไทย เอ ดี ฟู๊ดส์ ผู้จำหน่าย, กรรมการและผู้ถือหุ้นเป็นจำเลยคดีผู้บริโภค เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท เบื้องต้นทราบว่า ศาลพิจารณาคำฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีน่าจะไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่ง จึงมีปัญหาว่าจะต้องนำคดีปลากระป๋องเน่า ไปยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดพัทลุงพื้นที่เกิดเหตุ หรือศาลจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตปลากระป๋อง หรือจะต้องเป็นศาลแพ่งอื่นในกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ดี หากที่สุดแล้วศาลแพ่งมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ตนก็เตรียมปรึกษาฝ่ายกฎหมาย เพื่อฟ้องคดีให้ถูกศาลต่อไป
ป.ป.ช.ไม่รับคำร้อง 3 รมต.โหวตงบฯ
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงผลการประชุมว่า จากที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา มหนังสือร้องให้ ป.ป.ช.สอบ 3 รัฐมนตรีลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 2552 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 177 วรรค 2 นั้น ป.ป.ช.พิจารณาเห็นว่า คำกล่าวหาว่ารัฐมนตรีทั้ง 3 คน มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย ซึ่งกล่าวหาในลักษณะนี้จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ หมวด 12 ส่วนที่ 3 การถอนถอดจากตำแหน่ง กล่าวคือ ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 20,000 คนจะต้องเข้าชื่อร้องขอให้ ถอดถอน ดังนั้น การที่ผู้กล่าวหามายื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงไม่มีอำนาจที่คณะกรรมการป.ป.ช.จะดำเนินการต่อไปได้ ที่ประชุมจึงมีมติไม่รับเรื่องไว้พิจารณา
"บุญจง"แจกเงินมีมูลจ่อตั้งอนุฯ สอบ
นายกล้นรงค์ กล่าวอีกว่าสำหรับคำร้องกรณี นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย และภรรยา ซึ่งเป็นอดีต ส.จ.นครราชสีมา ได้นำเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ รายจ่ายงบประมาณของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ไปแจกให้ประชาชนจำนวน 200 คน คนละ 500 บาท และนายบุญจงยังได้แนบนามบัตรของตนเองไปกับสิ่งของและเงินด้วย ซึ่งเป็นการนำเงินงบประมาณแผ่นดินไปใช่โดยทุจริต เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ เป็นการกระทำความผิดโดยประมวณกฏหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการ ปปช.ในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบว่า ได้ตรวจพิจารณาคำกล่าวหาในเบื้องต้น เห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีมูล สมควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป
โดยเจ้าหน้าที่ได้สรุปรายระเอียดข้อเท็จจริงข้อกฏหมายและข้อพิจารณา เรียบร้อยแล้วอยู่ในระหว่างการเสนอให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.จัดเข้าระเบียบวาระการประชุมโดยคาดว่าจะ เรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระในวันอังคารที่ 10 ก.พ. ซึ่งทางคณะกรรมการ ปปช.ก็สามารถตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวได้ภายในวันเดียว
รวมข้อมูลปลากระป๋องเน่าก่อนสอบ
สำหรับกรณีปลากระป๋องเน่า ที่นายวิฑูรย์ นามบุตร อดีต รมว.กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ได้ทำหนังสือให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบความโปรงใส่นั้น ป.ป.ช.เห็นว่าคำร้องดังกล่าวไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่มีการระบุชื่อของผู้ถูกกล่าวหา และพฤติกรรมการทุจริต โดยนายวิฑูรย์ ต้องทำเรื่องร้องเรียนมาใหม่ โดยระบุพฤติกรรมต่างให้ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ป.ป.ช.สามรถที่จะหยิบยกเรื่องการทุจริตมาตรวจสอบได้ แต่ทำไมกรณีนี้ถึงไม่ทำ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางป.ป.ช.ได้รอหนังสือของ นายวิฑูรย์อยู่ แต่ในขณะเดียวกันป.ป.ช.ก็กำลังรวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ หรือกระทรวงสาธารณสุข หากพบว่า มีการทุจริตจริงทาง ป.ป.ช.ก็จะรับเรื่องดังกล่าวมาตรวจสอบ
นอกจากนี้ ป.ป.ช.ยังมีมติให้ตำแหน่ง "ผู้ช่วยรัฐมนตรี" เป็นตำแหน่งที่ต้อง แสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.ตาม พ.รงบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 40 ให้นำความไปประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับต่อไป เนื่องจากเห็นว่า ตำแหน่งดังกล่าวมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตำแหน่งรัฐมนตรี และสามารถใช้อำนาจหน้าที่เอื้ออำนวยหรือแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตัวเองหรือผู้อื่นได้
กกต.ยื่นศาลฟันอาญา"บุญจง-สุเทพ"
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.กล่าวว่า ขณะนี้ กกต.ได้ยื่นเรื่อง ดำเนนคดีอาญากับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กรณีทุจริตเลือกตั้งร่วมกับผู้สมัคร ส.อบจ. และ นายก อบจ. สุราษฎร์ธานี ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้ว นอกจากนี้ ยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้พิจารณาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ กรณีนายไชชยยศ จิรเมธากร ส.ส. เขต 3 อุดรธานีพรรคเพื่อแผ่นดิน รวมทั้งยังได้ยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจาณาที่มาของ นายเรืองไกร ลีวิจวัฒนะ ส.ว. สรรหา เนื่องจาก กกต. มติเห็นว่า องค์กรที่เสนอชื่อนายเรืองไกรนั้นอาจะไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ
นายสุทธิพลกล่าวต่อว่า ในส่วนของการดำเนินคดีอาญาเนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช. มหาดไทย คาดว่า จะมีหนังสือไปถึง กกต.จังหวัดในเย็นวันเดียวกันนี้เพื่อให้แจ้งคำดำเนินคดี
ที่รัฐสภา วานนี้ (5 ก.พ.) นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมว่าที่ประชุมมีมติให้รับเรื่อง นายวิฑูรย์ นามบุตร อดีตรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้องขอให้ตรวจสอบ การแจกถุงยังชีพ ซึ่งมีปลากระป๋องที่หมดอายุ โดยในสัปดาห์หน้าจะเชิญนายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เข้าชี้แจง เนื่องจากมีหนังสือทางราชการ 2 ฉบับที่มีความขัดแย้งกันเอง
โดยฉบับแรก นายวัลลภ ได้ทำหนังสือที่ พม. 0201/1493 ลงวันที่ 19 ม.ค. 2552 ถึงนายวิฑูรย์ ในฐานะรมว.การพัฒนาสังคมฯในขณะนั้น โดยระบุว่า ขอชี้แจง ในเรื่องดังกล่าวว่า ทางสำนักงานปลัดกระทรวงได้รับการประสานแจ้งว่านายวิเชน สมมาตร มีความประสงค์จะบริจาคถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนในจ.พัทลุง จำนวน 5 พันชุด โดยจะเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งเอง ทางสำนักงานปลัดจึงได้ประสานแจ้งไปยังพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จ.พัทลุง (พมจ.พัทลุง)ทราบ เพื่อดำเนินการตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาค โดยมีถุงยังชีพที่ส่งมอบและดำเนินการ แจกจ่ายให้ประชาชนแล้ว 1,500 ชุด ทั้งนี้ในช่วงปีงบประมาณ 2552 ที่ผ่านมาสำนักงานปลัดฯ ไม่เคยมีการจัดซื้อถุงยังชีพแต่อย่างใด
นายชาญชัย กล่าวว่า จากการประสานขอข้อมูลจากทาง อย.และคณะกรรมการที่ลงไปตรวจสอบโรงงานที่ผลิตปลากระป๋องนั้น นายทนง ทองกิ่งแก้ว เจ้าของโรงงานที่ผลิต ภายใต้บริษัท ทองกิ่งแก้วฟู้ดส์ จำกัด ระบุว่า เป็นการขายหน้า โรงงานแต่ไม่ทราบคนจัดซื้อ เป็นการจ่ายเงินสด ส่วนจะนำปลากระป๋องชุดดังกล่าว ไปบริจาคหรือไม่นั้นไม่ทราบ แต่มีข้อน่าสงสัยว่า ภายหลังเกิดเหตุนายทนงกลับบอกว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บปลากระป๋องล๊อตดังกล่าวคืนมาทั้งหมด ซึ่งเป็นการขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่พูดมาตั้งแต่ต้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า พม.จ.พัทลุงได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ว่า นายวิเชนไม่ได้บริจาคของที่ จ.พัทลุง แต่เป็นการจัดส่งมาจากส่วนกลาง นายชาญชัย กล่าวว่า แสดงว่าหนังสือที่ปลัดกระทรวงทำถึงรัฐมนตรีกับการชี้แจงของ พมจ.พัทลุงขัดกัน เพราะมีหนังสืออีกฉบับหนึ่งทาง พม.จ.พัทลุง ได้ทำถึงสำนักงานปลัดกระทรวง เลขที่ พท.0004/132 ซึ่งระบุว่า ตามหนังสือที่ พม.0201/707 ลงวันที่ 9 ม.ค. 52 แจ้งว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมฯได้รับการประสานจากนายวิเชนที่มีความประสงค์บริจาคถุงยังชีพ โดยจะบริการจัดส่งให้ถึงพื้นที่จำนวน 5 พันชุดนั้น ทาง พม.จ.พัทลุง ได้รับถุงยังชีพจำนวน 1,500 ชุด ซึ่งจัดส่งถึงพื้นที่วัดท่าสำเภาเหนือ ต.ชัยบุรี อ.เมือง พัทลุง เมื่อวันที่ 11 ม.ค. เรียบร้อยแล้ว แต่ได้มีการเขียนด้วยลายมือกำกับในตอนท้ายของหนังสือว่า "ไม่มีเพราะรับที่พัทลุง"
"ต้องตรวจสอบว่าเอกสารใดเป็นเอกสารเท็จแน่ โดยปลัดกระทรวงต้องรับผิดชอบไปเต็ม ๆ หากพิสูจน์ได้ว่านายวิเชนไม่ได้ไปบริจาคในพื้นที่อาจต้องโดน ดำเนินคดีอาญา ฐานทำเอกสารรายงานเท็จต่อรัฐมนตรี ผมไม่ได้กล่าวหาว่าปลัดกระทรวงผิด แต่ท่านต้องมาชี้แจงในสัปดาห์หน้า ถ้าไม่มา หรือชี้แจงไม่ตรงกับความจริง ผมจะแจ้งความดำเนินคดีอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ และอาจถึงขั้นถูกย้ายทันที"
ส่วนจะเอาผิดถึงอดีตรมว.การพัฒนาสังคมฯได้หรือไม่นั้น นายชาญชัย กล่าวว่า ต้องสอบไปตามข้อเท็จจริง โดยไม่ได้กำหนดว่าขอบเขตอยู่ที่ใคร สอบถึงใครคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ ไม่มีใครปิดข้อเท็จจริงได้ ดังนั้นต้องขอความร่วมมือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ให้จัดเตรียมเอกสารให้พร้อมเพื่อง่ายกับการตรวจสอบ ในส่วนของนายทนงนั้น ทางกรรมาธิการฯต้องเรียกมาสอบด้วย ถ้าไม่มาชี้แจง ก็ต้องถูกดำเนินคดีอาญาเช่นกัน และอาจจะให้กรมสรรพากรลงไปสอบถึงการเสียภาษี ที่ผ่านมาด้วย แต่เราจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย นอกจากนี้จะตรวจสอบย้อนหลังด้วยว่าบริษัทดังกล่าวเคยขายสินค้าให้กับกระทรวงกี่ครั้ง หากพบว่าผิดปกติรับรองมีคดีอาญาตามมาอีกหลายเรื่องแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชาญชัยได้แจกเอกสารการชี้แจงของนายทนง ต่อ อย. ให้กับผู้สื่อข่าวด้วย โดยเอกสารระบุถึงข้อเท็จจริงกรณีปลากระป๋องมีกลิ่นคาวปลาว่า ที่ผ่านมาทางบริษัทได้ผลิตปลากระป๋องตามมาตรฐานความสะอาด แต่กลิ่นคาวปลา น่าจะมาจากเครื่องคว่ำน้ำปลายที่หมุนเร็วเกินไป จนไม่สามารถทิ้งน้ำในกระป๋องที่เกิดจากการนึ่งออกไปได้หมด ทำให้เติมซอสมะเขือเทศในกระป๋องไม่ได้ตามขนาด เมื่อไปผสมกับน้ำที่เกิดจากการนึ่งปลาจึงมีกลิ่นคาวปลาอย่างแรง
ทั้งนี้ผลวิเคราะห์ของ อย.ระบุว่าไม่พบสารปนเปื้อนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดเรื่องทางบริษัทได้ส่งพนักงานลงไปตรวจสอบและเรียกเก็บสินค้าคืนทั้งหมด พร้อมทั้งกล่าวขอโทษต่อชาวบ้าน และมอบเงินช่วยเหลือไปส่วนหนึ่ง ผ่านทางผู้ใหญ่บ้านเรียบร้อยแล้ว และได้รับคำยืนยันจากผู้ใหญ่บ้านในที่เกิดเหตุว่า ไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายจากปลากระป๋องดังกล่าว
ส่วนข้อเท็จจริงกรณีวันเดือนปีที่ผลิตไม่ตรงกับความจริงนั้น ในเอกสารได้ยอมรับว่ามีการตีพิมพ์วันเดือนปีที่ผลิตไว้ล่วงหน้าเพื่อเก็บเอาไว้ขายในเดือนถัดไป เนื่องจาก โรงงานจะหยุดการผลิตในเดือน ส.ค.2551 โดยไม่ทราบว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 และพร้อมขอรับโทษต่อไป
ศาลแพ่งส่อไม่รับฟ้องปลากระป๋องเน่า
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จากที่ตนและตัวแทนผู้บริโภค จ.พัทลุงที่ได้รับมอบถุงยังชีพช่วยเหลือน้ำท่วมและพบปลากระป๋องเน่า ยื่นฟ้อง รมว.การพัฒนาสังคมฯ ปลัดกระทรวงฯ และ บริษัท ทองกิ่งแก้ว ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิต, บริษัท ไทย เอ ดี ฟู๊ดส์ ผู้จำหน่าย, กรรมการและผู้ถือหุ้นเป็นจำเลยคดีผู้บริโภค เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย 1 ล้านบาท เบื้องต้นทราบว่า ศาลพิจารณาคำฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีน่าจะไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่ง จึงมีปัญหาว่าจะต้องนำคดีปลากระป๋องเน่า ไปยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดพัทลุงพื้นที่เกิดเหตุ หรือศาลจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตปลากระป๋อง หรือจะต้องเป็นศาลแพ่งอื่นในกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ดี หากที่สุดแล้วศาลแพ่งมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ตนก็เตรียมปรึกษาฝ่ายกฎหมาย เพื่อฟ้องคดีให้ถูกศาลต่อไป
ป.ป.ช.ไม่รับคำร้อง 3 รมต.โหวตงบฯ
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงผลการประชุมว่า จากที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา มหนังสือร้องให้ ป.ป.ช.สอบ 3 รัฐมนตรีลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 2552 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 177 วรรค 2 นั้น ป.ป.ช.พิจารณาเห็นว่า คำกล่าวหาว่ารัฐมนตรีทั้ง 3 คน มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย ซึ่งกล่าวหาในลักษณะนี้จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ หมวด 12 ส่วนที่ 3 การถอนถอดจากตำแหน่ง กล่าวคือ ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 20,000 คนจะต้องเข้าชื่อร้องขอให้ ถอดถอน ดังนั้น การที่ผู้กล่าวหามายื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงไม่มีอำนาจที่คณะกรรมการป.ป.ช.จะดำเนินการต่อไปได้ ที่ประชุมจึงมีมติไม่รับเรื่องไว้พิจารณา
"บุญจง"แจกเงินมีมูลจ่อตั้งอนุฯ สอบ
นายกล้นรงค์ กล่าวอีกว่าสำหรับคำร้องกรณี นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย และภรรยา ซึ่งเป็นอดีต ส.จ.นครราชสีมา ได้นำเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ รายจ่ายงบประมาณของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ไปแจกให้ประชาชนจำนวน 200 คน คนละ 500 บาท และนายบุญจงยังได้แนบนามบัตรของตนเองไปกับสิ่งของและเงินด้วย ซึ่งเป็นการนำเงินงบประมาณแผ่นดินไปใช่โดยทุจริต เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ เป็นการกระทำความผิดโดยประมวณกฏหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการ ปปช.ในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบว่า ได้ตรวจพิจารณาคำกล่าวหาในเบื้องต้น เห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีมูล สมควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป
โดยเจ้าหน้าที่ได้สรุปรายระเอียดข้อเท็จจริงข้อกฏหมายและข้อพิจารณา เรียบร้อยแล้วอยู่ในระหว่างการเสนอให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.จัดเข้าระเบียบวาระการประชุมโดยคาดว่าจะ เรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระในวันอังคารที่ 10 ก.พ. ซึ่งทางคณะกรรมการ ปปช.ก็สามารถตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวได้ภายในวันเดียว
รวมข้อมูลปลากระป๋องเน่าก่อนสอบ
สำหรับกรณีปลากระป๋องเน่า ที่นายวิฑูรย์ นามบุตร อดีต รมว.กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ได้ทำหนังสือให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบความโปรงใส่นั้น ป.ป.ช.เห็นว่าคำร้องดังกล่าวไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่มีการระบุชื่อของผู้ถูกกล่าวหา และพฤติกรรมการทุจริต โดยนายวิฑูรย์ ต้องทำเรื่องร้องเรียนมาใหม่ โดยระบุพฤติกรรมต่างให้ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ป.ป.ช.สามรถที่จะหยิบยกเรื่องการทุจริตมาตรวจสอบได้ แต่ทำไมกรณีนี้ถึงไม่ทำ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางป.ป.ช.ได้รอหนังสือของ นายวิฑูรย์อยู่ แต่ในขณะเดียวกันป.ป.ช.ก็กำลังรวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ หรือกระทรวงสาธารณสุข หากพบว่า มีการทุจริตจริงทาง ป.ป.ช.ก็จะรับเรื่องดังกล่าวมาตรวจสอบ
นอกจากนี้ ป.ป.ช.ยังมีมติให้ตำแหน่ง "ผู้ช่วยรัฐมนตรี" เป็นตำแหน่งที่ต้อง แสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.ตาม พ.รงบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 40 ให้นำความไปประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับต่อไป เนื่องจากเห็นว่า ตำแหน่งดังกล่าวมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตำแหน่งรัฐมนตรี และสามารถใช้อำนาจหน้าที่เอื้ออำนวยหรือแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตัวเองหรือผู้อื่นได้
กกต.ยื่นศาลฟันอาญา"บุญจง-สุเทพ"
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.กล่าวว่า ขณะนี้ กกต.ได้ยื่นเรื่อง ดำเนนคดีอาญากับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กรณีทุจริตเลือกตั้งร่วมกับผู้สมัคร ส.อบจ. และ นายก อบจ. สุราษฎร์ธานี ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้ว นอกจากนี้ ยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้พิจารณาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ กรณีนายไชชยยศ จิรเมธากร ส.ส. เขต 3 อุดรธานีพรรคเพื่อแผ่นดิน รวมทั้งยังได้ยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจาณาที่มาของ นายเรืองไกร ลีวิจวัฒนะ ส.ว. สรรหา เนื่องจาก กกต. มติเห็นว่า องค์กรที่เสนอชื่อนายเรืองไกรนั้นอาจะไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ
นายสุทธิพลกล่าวต่อว่า ในส่วนของการดำเนินคดีอาญาเนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช. มหาดไทย คาดว่า จะมีหนังสือไปถึง กกต.จังหวัดในเย็นวันเดียวกันนี้เพื่อให้แจ้งคำดำเนินคดี