การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วานนี้ (5 ก.พ.) ที่รัฐสภา ซึ่งมีพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย รองประประธานสภาฯ คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณา ร่างพ.ร.บ.ผู้สูงอายุ(ฉบับที่..)พ.ศ.... จำนวน 5 ฉบับ สาระสำคัญคือ ให้มีคณะกรรมการขึ้นมากำหนดหลักเกณฑ์ ดูแลการจัดสรรเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้ครอบคลุม ซึ่งจะไปสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะให้เบี้ยยังชีพกับผู้สูงอายุ 500 บาทต่อเดือน เป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อคืนวันที่ 4 ก.พ.ที่พิจารณาไปเพียง 10 นาที เพราะนายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เสนอให้นับองค์ประชุมแบบขานชื่อจนเกิดความวุ่นทำให้ประธานที่ประชุมสั่งปิดประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนจะเริ่มพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อ มีการปะทะคารมดุเดือดระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาลเรื่องสิทธิ์การนับองค์ประชุม โดยนายประชา หารือว่า คืนวันที่ 4 ก.พ.มีบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในห้องประชุม แต่กลับมีการแสดงตน คือ นายตุ่น จินตะเวช ส.ส.อุบลราชธานี พรรคชาติไทยพัฒนา โดยได้ขึ้นเครื่องบิน จากอุบลราชธานีมากรุงเทพฯ เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ ขอให้มีการชี้แจง และประธานตรวจสอบด้วย ขอให้สารภาพต่อสภา ทุกคนพร้อมให้อภัย เพราะเป็นเรื่องศักดิ์ศรี ความสง่างาม
พ.อ.อภิวันท์ รับลูกทันที โดยกล่าวว่าเรื่องที่เกิดขึ้นถ้าเป็นเรื่องจริงถือว่า ไม่เหมาะสม แต่ตอนนี้ขอให้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวก่อน ส่วนเรื่องนี้ขอให้นายประชา ทำหนังสือถึงประธานสภา ให้ตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนหาข้อเท็จจริง
ด้านนาย นิโรธ สุนทรเลขา ส..ส.นครสวรรค์ พรรคชาติไทยพัฒนา ขอให้ตรวจสอบเครื่องลงคะแนนด้วย เพราะมีปัญหาบ่อย ขณะที่น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ แต่ขอให้ตรวจสอบส.ส. ลำดับที่ 52 เดิม ก่อนที่จะมีการเลื่อนหมายเลข ซึ่งคนๆ นี้เป็นอดีตรัฐมนตรีด้วย ในการประชุมสภาวันที่ 7 ต.ค. 51 สมัยรัฐบาลที่แล้ว ส่วนนายธาดา ไทเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ชี้แจงว่า วันนี้นายตุ่น ลาประชุม แต่ขอยืนยันว่าส.ส.พรรคไม่มีใครเสียบบัตรแทนกัน
จากนั้น พ.อ.อภิวันท์ ได้สั่งให้นับองค์ประชุมด้วยการเสียบบัตร ผลปรากฏว่า มีสมาชิกอยู่ในห้องประชุม 249 คน ถือว่าครบองค์ประชุม อย่างไรก็ดี เมื่อที่ประชุมกำลังจะเข้าสู่การอภิปรายร่างกฎหมายดังกล่าว ปรากฏว่า นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอให้ปิดอภิปรายทำให้ถูก ส.ส.พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงนานกว่า 30 นาที
โดยนาย วิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ขอร้องให้นายธนาถอนญัตติปิด อภิปราย โดยให้เหตุผลว่า ร่างพ.ร.บ.มีความสำคัญมาก และยังสงสัยว่าเป็นร่างพ.ร.บ. เกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ตนต้องการสอบถามนายกฯว่าจะมีผลกระทบอย่างไร ต่อสถานการณ์คลังของประเทศ หากร่าง พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ และร่างของรัฐบาลอยู่ที่ไหน ไม่เช่นนั้น พรรคเพื่อไทย จะเข้าชื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ เพราะหากจำเป็นก็ต้องให้นายกฯให้คำรับรองก่อน
ด้านนายชินวรณ์ บุณญเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.นี้ ตกค้างมาจากสภาชุดที่แล้ว กรณีนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 144 เมื่อพิจารณาในชั้นกรรมาธิการวิสามัญแล้ว หากเห็นว่า เป็นกฎหมายการเงิน ก็ส่งเรื่องให้ประธานสภาได้ และประธานสภาจะได้หารือร่วมกับประธานกรรมาธิการสามัญ 35 คณะ หากเห็นว่า เป็นกฎหมายการเงิน ประธานก็ส่งเรื่องให้นายกฯรับรองก็ได้
ขณะที่นายธนายืนยันญัตติเสนอให้ปิดอภิปราย พร้อมให้เหตุผลประกอบว่า ตอนฝ่ายค้านเสนอให้รับองค์ประชุม ตนพยายามขอร้องให้ถอนญัตติออกไป แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ ดังนั้นตนยืนยันที่จะเสนอให้ปิดอภิปรายต่อไป ทำให้นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส.แม่ฮ่องสอน พรรคเพื่อไทย เสนอญัตติให้เปิดอภิปรายต่อ ทำให้ต้องลงมติ ผลการลงมติปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติให้ปิดอภิปรายด้วยคะแนนเสียง 228 ต่อ 40 งดออกเสียง 5 ไม่ลงคะแนน 2
จากนั้น ที่ประชุม ได้ลงมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.นี้ด้วยคะแนน 238 งดออกเสียง 6 ไม่ลงคะแนน 6 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 54 คน กำหนดแปรญัตติ 3 วัน โดยใช้ร่างที่เสนอโดยนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ และคณะเป็นหลัก
อย่างไรก็ดีที่ประชุมยังคงถกเถียงกันดุเดือดอีก เนื่องจากพรรคเพื่อไทย ไม่เสนอกรรมาธิการในสัดส่วนของพรรคตนเอง ทำให้มีกรรมาธิการเพียง 42 คน ทำให้นายทิวา เงินยวง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ หารือว่า ต้องตั้งคณะกรรมาธิการตามสัดส่วนสมาชิก ไม่เช่นนั้นจะผิดรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ
ทำให้พ.อ.อภิวันท์ ได้เปิดให้ส.ส.หารือเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งพรรคเพื่อไทย ยังคงยืนยันไม่เสนอรายชื่อร่วมเป็นคณะกรรมาธิการ จนกระทั่งการหารือผ่านไปประมาณ 30 นาที นางผ่องศรี ธาราภูมิ ส.ส.ลพบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นเสนอชื่อ กรรมาธิการในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทยแทน จำนวน 12 คน โดยได้อ่านรายชื่อทันที ขณะที่อ่านชื่อ นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นประท้วง แต่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา ซึ่งขึ้นทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมในขณะนั้นไม่สนใจ ทำให้นายสุนัย ถึงกับตะโกนใส่ไมโครโฟนกลางที่ประชุมด้วยเสียงอันดังว่า ท่านประธานครับ ผมประท้วงอยู่ ทำอย่างนี้ได้อย่างไร นายชัย จึงได้หันไปมอง แล้วให้ นางผ่องศรี หยุดอ่านรายชื่อ แต่นางผ่องศรี อ่านรายชื่อครบพอดี และขอผู้รับรองเรียบร้อยซึ่งถือว่าครบกระบวนการ
ทำให้นายสุนัย ลุกขึ้นต่อว่าประธานสภา ว่าทำตัวเป็นแค่เงาประธาน ไม่เป็นประธานในที่ประชุม จนทำให้เกิดการโต้เถียงกันระหว่างนายชัย และนายสุนัย โดยนายสุนัย ได้เสนอให้มีการถอนชื่อกรรมาธิการที่นางผ่องศรี ออกไปทั้งหมด และขอให้พักการประชุมก่อน ทั้งนี้นางผ่องศรี ลุกขึ้นชี้แจงว่า ชื่อที่ตนเสนอเป็นรายชื่อที่ได้รับการประสานงานมาก่อนหน้านี้โดยได้รับการส่งสัญญาณจากพรรคเพื่อไทยว่า ให้ตนเป็นผู้เสนอรายชื่อกลางที่ประชุม ทั้งนี้ก่อนเหตุการณ์จะวุ่นวายมากกว่านี้นายชัย ได้สั่งพักการประชุม 10 นาที โดยเริ่มพักการประชุมในเวลา 19.10 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานระหว่างพักการประชุม และส.ส.ทยอยเดินออกนอกห้องประชุม นายอภิชาติ สุภาแพ่ง ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เกิดเหตุปะทะคารมด้วยถ้อยคำรุนแรงกับนายสุนัย จนทั้งคู่เตรียมจะปรี่เข้าหากัน จนทำให้พ.อ.อภิวันท์ ต้องเข้าเคลียร์ ให้ทั้งสองฝ่ายแยกออกจากกัน
ต่อมาเวลา 19.25 น. หลังพักการประชุม 10 นาที นายชัย ได้กล่าวในที่ประชุมว่า เมื่อที่ประชุมพิจารณาเรื่องนี้เสร็จแล้ว ในวันที่ 6 ก.พ.ตนจะนำเรื่องนี้เสนอรัฐบาลเพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณารับรองว่าเป็นพ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงิน และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯต่อไป โดยขอฝากให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.สำนักนายกฯ ติดตามดูแลเรื่องนี้ให้เสร็จในวันที่ 6 ก.พ. เพื่อส่งมายังสภาด้วย ซึ่งนายวิทยา ได้ลุกขึ้นกล่าวแสดงความเห็นด้วย จากนั้นนายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นเสนอตัวแทนองค์กรเอกชนในสัดส่วนของ พรรคเพื่อไทย และเสนอรายชื่อส.ส.พรรคเพื่อไทยเป็นกรรมาธิการฯ ทำให้กรรมาธิการฯมีครบ 54 คนตามที่กำหนด
อย่างไรก็ตามนายสุนัย ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า ตนถูกส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง อยากให้ท่านช่วยสอนส.ส.เด็ก ๆ ด้วย เพราะบางคำพูดรับไม่ได้เป็นการสบประมาทต่อส.ส. แต่ตนไม่อยากไปเกลือกกลั้วกับสิ่งนั้น ไม่อยากให้สภาเสียชื่อเหมือนที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนจะเริ่มพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อ มีการปะทะคารมดุเดือดระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาลเรื่องสิทธิ์การนับองค์ประชุม โดยนายประชา หารือว่า คืนวันที่ 4 ก.พ.มีบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในห้องประชุม แต่กลับมีการแสดงตน คือ นายตุ่น จินตะเวช ส.ส.อุบลราชธานี พรรคชาติไทยพัฒนา โดยได้ขึ้นเครื่องบิน จากอุบลราชธานีมากรุงเทพฯ เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ ขอให้มีการชี้แจง และประธานตรวจสอบด้วย ขอให้สารภาพต่อสภา ทุกคนพร้อมให้อภัย เพราะเป็นเรื่องศักดิ์ศรี ความสง่างาม
พ.อ.อภิวันท์ รับลูกทันที โดยกล่าวว่าเรื่องที่เกิดขึ้นถ้าเป็นเรื่องจริงถือว่า ไม่เหมาะสม แต่ตอนนี้ขอให้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวก่อน ส่วนเรื่องนี้ขอให้นายประชา ทำหนังสือถึงประธานสภา ให้ตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนหาข้อเท็จจริง
ด้านนาย นิโรธ สุนทรเลขา ส..ส.นครสวรรค์ พรรคชาติไทยพัฒนา ขอให้ตรวจสอบเครื่องลงคะแนนด้วย เพราะมีปัญหาบ่อย ขณะที่น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ แต่ขอให้ตรวจสอบส.ส. ลำดับที่ 52 เดิม ก่อนที่จะมีการเลื่อนหมายเลข ซึ่งคนๆ นี้เป็นอดีตรัฐมนตรีด้วย ในการประชุมสภาวันที่ 7 ต.ค. 51 สมัยรัฐบาลที่แล้ว ส่วนนายธาดา ไทเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ชี้แจงว่า วันนี้นายตุ่น ลาประชุม แต่ขอยืนยันว่าส.ส.พรรคไม่มีใครเสียบบัตรแทนกัน
จากนั้น พ.อ.อภิวันท์ ได้สั่งให้นับองค์ประชุมด้วยการเสียบบัตร ผลปรากฏว่า มีสมาชิกอยู่ในห้องประชุม 249 คน ถือว่าครบองค์ประชุม อย่างไรก็ดี เมื่อที่ประชุมกำลังจะเข้าสู่การอภิปรายร่างกฎหมายดังกล่าว ปรากฏว่า นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอให้ปิดอภิปรายทำให้ถูก ส.ส.พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงนานกว่า 30 นาที
โดยนาย วิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ขอร้องให้นายธนาถอนญัตติปิด อภิปราย โดยให้เหตุผลว่า ร่างพ.ร.บ.มีความสำคัญมาก และยังสงสัยว่าเป็นร่างพ.ร.บ. เกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ตนต้องการสอบถามนายกฯว่าจะมีผลกระทบอย่างไร ต่อสถานการณ์คลังของประเทศ หากร่าง พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ และร่างของรัฐบาลอยู่ที่ไหน ไม่เช่นนั้น พรรคเพื่อไทย จะเข้าชื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ เพราะหากจำเป็นก็ต้องให้นายกฯให้คำรับรองก่อน
ด้านนายชินวรณ์ บุณญเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.นี้ ตกค้างมาจากสภาชุดที่แล้ว กรณีนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 144 เมื่อพิจารณาในชั้นกรรมาธิการวิสามัญแล้ว หากเห็นว่า เป็นกฎหมายการเงิน ก็ส่งเรื่องให้ประธานสภาได้ และประธานสภาจะได้หารือร่วมกับประธานกรรมาธิการสามัญ 35 คณะ หากเห็นว่า เป็นกฎหมายการเงิน ประธานก็ส่งเรื่องให้นายกฯรับรองก็ได้
ขณะที่นายธนายืนยันญัตติเสนอให้ปิดอภิปราย พร้อมให้เหตุผลประกอบว่า ตอนฝ่ายค้านเสนอให้รับองค์ประชุม ตนพยายามขอร้องให้ถอนญัตติออกไป แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ ดังนั้นตนยืนยันที่จะเสนอให้ปิดอภิปรายต่อไป ทำให้นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส.แม่ฮ่องสอน พรรคเพื่อไทย เสนอญัตติให้เปิดอภิปรายต่อ ทำให้ต้องลงมติ ผลการลงมติปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติให้ปิดอภิปรายด้วยคะแนนเสียง 228 ต่อ 40 งดออกเสียง 5 ไม่ลงคะแนน 2
จากนั้น ที่ประชุม ได้ลงมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.นี้ด้วยคะแนน 238 งดออกเสียง 6 ไม่ลงคะแนน 6 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 54 คน กำหนดแปรญัตติ 3 วัน โดยใช้ร่างที่เสนอโดยนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ และคณะเป็นหลัก
อย่างไรก็ดีที่ประชุมยังคงถกเถียงกันดุเดือดอีก เนื่องจากพรรคเพื่อไทย ไม่เสนอกรรมาธิการในสัดส่วนของพรรคตนเอง ทำให้มีกรรมาธิการเพียง 42 คน ทำให้นายทิวา เงินยวง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ หารือว่า ต้องตั้งคณะกรรมาธิการตามสัดส่วนสมาชิก ไม่เช่นนั้นจะผิดรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ
ทำให้พ.อ.อภิวันท์ ได้เปิดให้ส.ส.หารือเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งพรรคเพื่อไทย ยังคงยืนยันไม่เสนอรายชื่อร่วมเป็นคณะกรรมาธิการ จนกระทั่งการหารือผ่านไปประมาณ 30 นาที นางผ่องศรี ธาราภูมิ ส.ส.ลพบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นเสนอชื่อ กรรมาธิการในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทยแทน จำนวน 12 คน โดยได้อ่านรายชื่อทันที ขณะที่อ่านชื่อ นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นประท้วง แต่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา ซึ่งขึ้นทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมในขณะนั้นไม่สนใจ ทำให้นายสุนัย ถึงกับตะโกนใส่ไมโครโฟนกลางที่ประชุมด้วยเสียงอันดังว่า ท่านประธานครับ ผมประท้วงอยู่ ทำอย่างนี้ได้อย่างไร นายชัย จึงได้หันไปมอง แล้วให้ นางผ่องศรี หยุดอ่านรายชื่อ แต่นางผ่องศรี อ่านรายชื่อครบพอดี และขอผู้รับรองเรียบร้อยซึ่งถือว่าครบกระบวนการ
ทำให้นายสุนัย ลุกขึ้นต่อว่าประธานสภา ว่าทำตัวเป็นแค่เงาประธาน ไม่เป็นประธานในที่ประชุม จนทำให้เกิดการโต้เถียงกันระหว่างนายชัย และนายสุนัย โดยนายสุนัย ได้เสนอให้มีการถอนชื่อกรรมาธิการที่นางผ่องศรี ออกไปทั้งหมด และขอให้พักการประชุมก่อน ทั้งนี้นางผ่องศรี ลุกขึ้นชี้แจงว่า ชื่อที่ตนเสนอเป็นรายชื่อที่ได้รับการประสานงานมาก่อนหน้านี้โดยได้รับการส่งสัญญาณจากพรรคเพื่อไทยว่า ให้ตนเป็นผู้เสนอรายชื่อกลางที่ประชุม ทั้งนี้ก่อนเหตุการณ์จะวุ่นวายมากกว่านี้นายชัย ได้สั่งพักการประชุม 10 นาที โดยเริ่มพักการประชุมในเวลา 19.10 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานระหว่างพักการประชุม และส.ส.ทยอยเดินออกนอกห้องประชุม นายอภิชาติ สุภาแพ่ง ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ เกิดเหตุปะทะคารมด้วยถ้อยคำรุนแรงกับนายสุนัย จนทั้งคู่เตรียมจะปรี่เข้าหากัน จนทำให้พ.อ.อภิวันท์ ต้องเข้าเคลียร์ ให้ทั้งสองฝ่ายแยกออกจากกัน
ต่อมาเวลา 19.25 น. หลังพักการประชุม 10 นาที นายชัย ได้กล่าวในที่ประชุมว่า เมื่อที่ประชุมพิจารณาเรื่องนี้เสร็จแล้ว ในวันที่ 6 ก.พ.ตนจะนำเรื่องนี้เสนอรัฐบาลเพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณารับรองว่าเป็นพ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงิน และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯต่อไป โดยขอฝากให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.สำนักนายกฯ ติดตามดูแลเรื่องนี้ให้เสร็จในวันที่ 6 ก.พ. เพื่อส่งมายังสภาด้วย ซึ่งนายวิทยา ได้ลุกขึ้นกล่าวแสดงความเห็นด้วย จากนั้นนายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นเสนอตัวแทนองค์กรเอกชนในสัดส่วนของ พรรคเพื่อไทย และเสนอรายชื่อส.ส.พรรคเพื่อไทยเป็นกรรมาธิการฯ ทำให้กรรมาธิการฯมีครบ 54 คนตามที่กำหนด
อย่างไรก็ตามนายสุนัย ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า ตนถูกส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง อยากให้ท่านช่วยสอนส.ส.เด็ก ๆ ด้วย เพราะบางคำพูดรับไม่ได้เป็นการสบประมาทต่อส.ส. แต่ตนไม่อยากไปเกลือกกลั้วกับสิ่งนั้น ไม่อยากให้สภาเสียชื่อเหมือนที่ผ่านมา