รอยเตอร์ - ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ ประกาศในวันพุธ(4) ว่ากำลังจะออกระเบียบกฎเกณฑ์ กำหนดเพดานสูงสุดของรายได้ของผู้บริหารแบงก์และสถาบันการเงินที่ขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ว่าจะต้องไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์ต่อปี ทั้งนี้ภายหลังจากกิจการเหล่านี้ได้ประกาศให้โบนัสพนักงานเป็นเงินรวมกันนับหมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชนผู้เสียภาษีที่เป็นเจ้าของเงินที่รัฐบาลนำไปอัดฉีดภาคการเงิน
โอบามายังบอกด้วยว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการประกาศมาตรการเพิ่มเติมเพื่อพลิกฟื้นภาคการเงินของประเทศที่กำลังย่ำแย่จากหนี้เสียมหาศาล และต้องพึ่งเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหลายแสนล้านดอลลาร์
"ที่นี่คืออเมริกา และเราไม่ได้เห็นว่าความมั่งคั่งเป็นความเลวร้าย แต่สิ่งที่ประชาชนไม่พอใจมากและเป็นสิทธิที่พวกเขาจะไม่พอใจ ก็คือบรรดาผู้บริหารเหล่านี้ได้รับรางวัลทั้ง ๆที่บริหารงานล้มหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารของกิจการที่เอาเงินภาษีประชาชนไปกอบกู้ฐานะของตัวเอง" เขากล่าว
ความเคลื่อนไหวคราวนี้ประธานาธิบดีโอบามา ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจากรัฐสภา โดยเฉพาะจากพวกรีพับลิกัน ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์เรื่อยมาต่อแผนกอบกู้ภาคการเงินที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช อย่างไรก็ตาม พวกในวอลสตรีทกลับเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเพียงหมากทางการเมืองเท่านั้น ขณะที่อาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อพวกแบงก์และสถาบันการเงิน เพราะคนที่มีความสามารถจะย้ายไปทำงานที่อื่นซึ่งได้เงินเดือนมากกว่า
โอบามาบอกว่าคณะรัฐบาลของเขา จะไม่ยอมให้เอาเงินภาษีของประชาชนไปใช้สุรุ่ยสุร่าย อย่างเช่นให้โบนัสกับพวกซีอีโอซึ่งการบริหารที่ขาดความระมัดระวังของพวกเขา ทำให้วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจของสหรัฐฯลุกลามไปทั่วโลก
"การให้โบนัสหรือผลตอบแทนพิเศษให้กับผู้บริหารชั้นนำของกิจการ ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังวิกฤตเช่นนี้ ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงรสนิยมที่ย่ำแย่เท่านั้น หากแต่ยังเป็นยุทธศาสตร์การบริหารที่เลวร้าย และผมในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีจะไม่ทนกับเรื่องนี้เด็ดขาด" โอบามากล่าว
ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์บอกว่าเขาจะเผยรายละเอียดแผนการกอบกู้ภาคการเงินครั้งใหม่ในสัปดาห์หน้า และประธานาธิบดีโอบามาก็เรียกร้องให้ทั้งรีพับลิกันและเดโมแครตหารือกันให้ลงตัวและหันมาสนับสนุนแผนนี้ก่อนที่จะสายเกินไป
ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ที่เกิดจากการสั่งการของโอบามา กำหนดให้กิจการซึ่งรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเพิ่มเติมในอนาคต จะต้องกำหนดรายได้สำหรับผู้บริหารไม่ให้เกินเพดาน 500,000 ดอลลาร์ต่อปี ทว่าจะไม่มีผลย้อนหลังแต่อย่างใด ทั้งนี้ กิจการที่รับความช่วยเหลือในเรื่องนี้จากรัฐบาลไปแล้ว ส่วนใหญ่เป็นธนาคารและสถาบันการเงิน โดยมีกิจการนอกภาคการเงินบ้าง ก็อย่างเช่นพวกบริษัทรถยนต์
ระเบียบใหม่นี้ยังกำหนดไว้ด้วยว่า ค่าตอบแทนอื่นๆ เพิ่มเติมจากเงินรายได้ ซึ่งกิจการที่รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล อาจเสนอให้แก่ผู้บริหารของตนได้ ก็จะต้องอยู่ในรูปของหุ้นที่มีเงื่อนไขจำกัดเท่านั้น โดยหุ้นเหล่านี้จะยังไม่สามารถเอาไปทำอะไรได้ จนกว่ากิจการแห่งนั้นจะชำระคืนเงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลพร้อมดอกเบี้ยแล้ว
สำหรับกิจการที่ได้รับเงินกอบกู้ช่วยเหลือจากรัฐบาลไปก่อนหน้านี้แล้ว อย่างเช่น ซิตี้กรุ๊ป และ เอไอจี ก็จะอาจจะต้องถูกรัฐบาลบีบให้ยอมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวดมากขึ้น และจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าได้กระทำตามระเบียบจำกัดการให้ค่าตอบแทนกับผู้บริหารฉบับเดิมที่มีใช้อยู่ในเวลานี้ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักว่าย่อหย่อนเกินไป
นักวิเคราะห์ในวอลสตรีทกับผู้สังเกตการณ์บางรายบอกว่า ระเบียบนี้จะทำให้พวกผู้บริหารพากันตบเท้าออกมาจากกิจการที่กำหนดเพดานเงินเดือน และบอกว่าโอบามากำลังเล่นการเมืองโดยทำทีเป็นว่าเอาใจประชาชน
"นี่เป็นเพียงการแสดงอย่างหนึ่งของนักการเมืองเท่านั้น และมันจะส่งผลเสียต่อกิจการบริษัทต่างๆ และต่อประเทศชาติ เพราะว่าบรรดาผู้บริหารระดับสูงที่มีความสามารถเหล่านี้มีทางเลือกอีกมากมาย" เดวิด โคท็อก หัวหน้านักลงทุนของคัมเบอร์แลนด์ แอดไวเซอร์กล่าว
ในขณะที่ประชาชนทั่วไปที่กำลังเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ กระแสการไร้งานทำที่รุนแรง และเป็นกังวลเกี่ยวกับอนาคตทางการเงิน กลับชื่นชมโอบามาที่ประกาศมาตรการนี้ออกมา
ก่อนหน้านี้พวกเขาแสดงความโกรธแค้นออกมา เมื่อมีรายงานว่าพวกแบงก์และสถาบันการเงินในวอลสตรีท จ่ายเงินโบนัสให้กับพนักงานของตนรวมกันเป็นเงินถึง 18,400 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว
โอบามายังบอกด้วยว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการประกาศมาตรการเพิ่มเติมเพื่อพลิกฟื้นภาคการเงินของประเทศที่กำลังย่ำแย่จากหนี้เสียมหาศาล และต้องพึ่งเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหลายแสนล้านดอลลาร์
"ที่นี่คืออเมริกา และเราไม่ได้เห็นว่าความมั่งคั่งเป็นความเลวร้าย แต่สิ่งที่ประชาชนไม่พอใจมากและเป็นสิทธิที่พวกเขาจะไม่พอใจ ก็คือบรรดาผู้บริหารเหล่านี้ได้รับรางวัลทั้ง ๆที่บริหารงานล้มหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารของกิจการที่เอาเงินภาษีประชาชนไปกอบกู้ฐานะของตัวเอง" เขากล่าว
ความเคลื่อนไหวคราวนี้ประธานาธิบดีโอบามา ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจากรัฐสภา โดยเฉพาะจากพวกรีพับลิกัน ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์เรื่อยมาต่อแผนกอบกู้ภาคการเงินที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช อย่างไรก็ตาม พวกในวอลสตรีทกลับเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเพียงหมากทางการเมืองเท่านั้น ขณะที่อาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อพวกแบงก์และสถาบันการเงิน เพราะคนที่มีความสามารถจะย้ายไปทำงานที่อื่นซึ่งได้เงินเดือนมากกว่า
โอบามาบอกว่าคณะรัฐบาลของเขา จะไม่ยอมให้เอาเงินภาษีของประชาชนไปใช้สุรุ่ยสุร่าย อย่างเช่นให้โบนัสกับพวกซีอีโอซึ่งการบริหารที่ขาดความระมัดระวังของพวกเขา ทำให้วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจของสหรัฐฯลุกลามไปทั่วโลก
"การให้โบนัสหรือผลตอบแทนพิเศษให้กับผู้บริหารชั้นนำของกิจการ ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังวิกฤตเช่นนี้ ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงรสนิยมที่ย่ำแย่เท่านั้น หากแต่ยังเป็นยุทธศาสตร์การบริหารที่เลวร้าย และผมในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีจะไม่ทนกับเรื่องนี้เด็ดขาด" โอบามากล่าว
ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์บอกว่าเขาจะเผยรายละเอียดแผนการกอบกู้ภาคการเงินครั้งใหม่ในสัปดาห์หน้า และประธานาธิบดีโอบามาก็เรียกร้องให้ทั้งรีพับลิกันและเดโมแครตหารือกันให้ลงตัวและหันมาสนับสนุนแผนนี้ก่อนที่จะสายเกินไป
ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ที่เกิดจากการสั่งการของโอบามา กำหนดให้กิจการซึ่งรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเพิ่มเติมในอนาคต จะต้องกำหนดรายได้สำหรับผู้บริหารไม่ให้เกินเพดาน 500,000 ดอลลาร์ต่อปี ทว่าจะไม่มีผลย้อนหลังแต่อย่างใด ทั้งนี้ กิจการที่รับความช่วยเหลือในเรื่องนี้จากรัฐบาลไปแล้ว ส่วนใหญ่เป็นธนาคารและสถาบันการเงิน โดยมีกิจการนอกภาคการเงินบ้าง ก็อย่างเช่นพวกบริษัทรถยนต์
ระเบียบใหม่นี้ยังกำหนดไว้ด้วยว่า ค่าตอบแทนอื่นๆ เพิ่มเติมจากเงินรายได้ ซึ่งกิจการที่รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล อาจเสนอให้แก่ผู้บริหารของตนได้ ก็จะต้องอยู่ในรูปของหุ้นที่มีเงื่อนไขจำกัดเท่านั้น โดยหุ้นเหล่านี้จะยังไม่สามารถเอาไปทำอะไรได้ จนกว่ากิจการแห่งนั้นจะชำระคืนเงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลพร้อมดอกเบี้ยแล้ว
สำหรับกิจการที่ได้รับเงินกอบกู้ช่วยเหลือจากรัฐบาลไปก่อนหน้านี้แล้ว อย่างเช่น ซิตี้กรุ๊ป และ เอไอจี ก็จะอาจจะต้องถูกรัฐบาลบีบให้ยอมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวดมากขึ้น และจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าได้กระทำตามระเบียบจำกัดการให้ค่าตอบแทนกับผู้บริหารฉบับเดิมที่มีใช้อยู่ในเวลานี้ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักว่าย่อหย่อนเกินไป
นักวิเคราะห์ในวอลสตรีทกับผู้สังเกตการณ์บางรายบอกว่า ระเบียบนี้จะทำให้พวกผู้บริหารพากันตบเท้าออกมาจากกิจการที่กำหนดเพดานเงินเดือน และบอกว่าโอบามากำลังเล่นการเมืองโดยทำทีเป็นว่าเอาใจประชาชน
"นี่เป็นเพียงการแสดงอย่างหนึ่งของนักการเมืองเท่านั้น และมันจะส่งผลเสียต่อกิจการบริษัทต่างๆ และต่อประเทศชาติ เพราะว่าบรรดาผู้บริหารระดับสูงที่มีความสามารถเหล่านี้มีทางเลือกอีกมากมาย" เดวิด โคท็อก หัวหน้านักลงทุนของคัมเบอร์แลนด์ แอดไวเซอร์กล่าว
ในขณะที่ประชาชนทั่วไปที่กำลังเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ กระแสการไร้งานทำที่รุนแรง และเป็นกังวลเกี่ยวกับอนาคตทางการเงิน กลับชื่นชมโอบามาที่ประกาศมาตรการนี้ออกมา
ก่อนหน้านี้พวกเขาแสดงความโกรธแค้นออกมา เมื่อมีรายงานว่าพวกแบงก์และสถาบันการเงินในวอลสตรีท จ่ายเงินโบนัสให้กับพนักงานของตนรวมกันเป็นเงินถึง 18,400 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว