หลังจากบทความเรื่อง “เทศกาลมาฆบูชามาถึงอีกแล้ว” ได้ลงตีพิมพ์ไปแล้ว ได้มีมิตรรักแฟนเพลงตั้งข้อสงสัยว่าวันมาฆบูชาเป็นวันพระธรรมหรือเป็นวันพระสงฆ์กันแน่ เพราะบางหมู่บางคณะก็สอนว่าวันมาฆบูชาเป็นวันของพระธรรม
ดังนั้นจึงจำต้องทำความกระจ่างในเรื่องนี้ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันสักครั้งหนึ่ง เนื่องจากมีการให้ความสำคัญของวันมาฆบูชาแตกต่างกันจริงๆ
บ้างก็ว่าวันมาฆบูชาเป็นวันพระสงฆ์ และบ้างก็ว่าวันมาฆบูชาเป็นวันพระธรรม แต่กระนั้นสำหรับชาวพุทธแล้วอย่าไปติดมั่นถือมั่นในเรื่องวันอะไรมากนัก เพราะจะเป็นวันอะไรก็เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาทั้งนั้น เป็นวันที่พึงน้อมรำลึกและประพฤติปฏิบัติในการละชั่ว ในการทำดี และในการอบรมจิตให้ผ่องแผ้วด้วยกันทั้งนั้น
ถึงกระนั้นแล้วก็ยังเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างอยู่ดี
อันวันวิสาขบูชานั้น ถือกันว่าเป็นวันของพระพุทธเจ้า ซึ่งทุกสำนักทุกหนทุกแห่งก็พูดกันสอนกันและถือกันไปในทางเดียวกัน ไม่มีความขัดแย้งหรือแตกต่างกันแต่ประการใด
จึงเป็นอันว่ามีความเห็นลงตรงกันว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันของพระพุทธเจ้า คือเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกๆ ปี
ส่วนวันอาสาฬหบูชานั้นตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกๆ ปี ซึ่งแต่เดิมมาประเทศไทยไม่ได้ถือว่าเป็นวันสำคัญ คงถือเอาวันเข้าพรรษาซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นถัดจากวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ในขณะที่ประเทศพุทธศาสนาหลายประเทศได้ให้ความสำคัญมาก่อนแล้ว
ต่อมาหลัง 25 พุทธศตวรรษ รัฐบาลจึงได้เห็นความสำคัญของวันอาสาฬหบูชาและยกฐานะให้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่พระตถาคตเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือแสดงปัญจวัคคีย์ และเป็นผลให้ปัญจวัคคีย์ขอรับอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ชุดแรกในพระพุทธศาสนา
ด้วยเหตุนั้นบางสำนัก บางคณะ จึงถือว่าการที่พระสงฆ์บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จึงต้องถือว่าวันอาสาฬหบูชาคือวันของพระสงฆ์ แล้วถือว่าวันมาฆบูชาซึ่งเป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์เป็นวันของพระธรรม
มาตรองดูกันว่าเมื่อพระตถาคตเจ้าทรงตรัสรู้อนุตระสัมโพธิญาณในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แล้ว อย่างไหนเกิดก่อนกันระหว่างพระธรรมกับพระสงฆ์? และระหว่างธัมมจักกัปปวัตนสูตรซึ่งเป็นปฐมเทศนากับการแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้นอย่างไหนจะพึงถือได้ว่าเป็นวันของพระธรรม?
ประการแรก ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ที่ทรงแสดงปฐมเทศนานั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากทรงตรัสรู้แล้ว 2 เดือน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ทรงดำริแล้วเห็นว่าพระธรรมที่ทรงตรัสรู้นั้นมีวิสัยที่เวไนยสัตว์จะพึงรู้และปฏิบัติตามตลอดจนรับผลได้ จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศพระธรรม
การแสดงพระธรรมครั้งแรกจึงได้ชื่อว่าปฐมเทศนาคือการแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นการแสดงอริยสัจอันเป็นหลักธรรมสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ตลอดถึงการฝึกฝนอบรมเพื่อถึงซึ่งความดับทุกข์สิ้นเชิงอย่างครบถ้วนกระบวนความ
ดังนั้นความจริงอันประจักษ์ในพระสูตรก็คือพระตถาคตเจ้าทรงประกาศพระธรรม ทรงแสดงปฐมเทศนาก่อนที่จะมีพระสงฆ์อุบัติขึ้น
และมีพระสงฆ์อุบัติขึ้นหลังจากที่ได้ฟังธัมมจักกัปปวัตนสูตรแล้ว พระอัญญาโกณฑัญญะ พี่ใหญ่แห่งปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรมว่าสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา จึงมีความศรัทธาขอรับอุปสมบท
พระตถาคตเจ้าจึงทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นครั้งแรกด้วยพระพุทธพจน์ที่ว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์อันเราตรัสดีแล้วให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด พระอัญญาโกณฑัญญะจึงถึงซึ่งความเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนาด้วยประการฉะนี้
และในขณะที่ได้รับอุปสมบทนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะก็เพียงแค่ได้ดวงตาเห็นธรรม ยังไม่ถึงซึ่งความเป็นพระอรหันต์ ไม่จัดว่าเป็นพระอรหันตสาวก หลังจากนั้นอีกหลายวันครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องอนัตตลักขณสูตรแล้วนั่นแหละ พระอัญญาโกณฑัญญะจึงบรรลุถึงซึ่งความเป็นพระอรหันต์
ดังนั้นในวันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันแสดงปฐมเทศนาครั้งแรก เป็นวันประกาศหลักธรรมคำสอนสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา จึงเป็นวันที่พระธรรมได้ถูกประกาศเป็นครั้งแรกในโลก ในขณะที่สิ้นคำประกาศพระธรรมนั้นโลกธาตุหวั่นไหว เทพยดาทั้งปวงแสดงความยินดีทั่วหล้า แต่ ณ บัดนั้นก็ยังมิได้บังเกิดพระสงฆ์ จนกระทั่งทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแล้ว
ประการที่สอง วันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันที่ประกาศพระธรรมยังไม่มีพระอรหันตสาวกเลยแม้แต่รูปเดียว แม้พระอัญญาโกณฑัญญะจะบรรลุความเป็นพระสงฆ์ แต่ก็ไม่ใช่พระอรหันตสาวก
ด้วยเหตุดังกล่าววันอาสาฬหบูชาจึงพึงถือว่าเป็นวันพระธรรม ซึ่งในประการนี้ท่านเจ้าคุณพุทธทาสเคยกล่าวไว้ว่า โดยแท้แล้ววันอาสาฬหบูชายังเป็นได้มากกว่าวันของพระธรรม คืออาจถือได้ว่าเป็นวันของพระรัตนตรัย คือเป็นวันที่พระรัตนตรัยบังเกิดครบในวันนั้น
ส่วนวันมาฆบูชานั้นเป็นวันเพ็ญ เดือน 3 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากตรัสรู้ 9 เดือน และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร 7 เดือน
เนื้อใหญ่ใจความและความสำคัญที่แท้จริงของวันมาฆบูชาคือเป็นวันประชุมพระอรหันตสาวกครั้งใหญ่ในโพธิกาลของพระสมณะโคดมพระพุทธเจ้า
พระตถาคตเจ้าตรัสว่าเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ต้องจัดประชุมใหญ่พระอรหันตสาวก โดยทรงตรัสว่าในโพธิกาลของพระพุทธเจ้าบางพระองค์ได้จัดประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ครั้งเดียวก็มี สองครั้งก็มี แต่ในโพธิกาลของพระองค์นั้นจะมีการประชุมใหญ่ของพระอรหันตสาวกเพียงครั้งเดียวนี้
การประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ในโพธิกาลเพียงครั้งเดียวตามพุทธดำรัสซึ่งเป็นไปตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงพึงถือว่าเป็นวันของพระสงฆ์โดยแท้
วัตถุประสงค์สำคัญในการประชุมพระอรหันตสาวกครั้งใหญ่ตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นก็เพื่อทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
เพื่อประกาศเป้าหมายแห่งพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายคือนิพพานว่าเป็นบรมธรรม
เพื่อประกาศขั้นตอนและกระบวนการในการอบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าจัดแบ่งขั้นตอนการสอนเป็น 3 ขั้น คือการสอนให้ละความชั่วทั้งปวง การสอนให้ทำความดีให้ถึงพร้อม และสอนให้ฝึกฝนอบรมจิตให้ผ่องแผ้ว ซึ่งมีที่หมายปลายทางคือหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย
และเพื่อประกาศหลักการในการครองตน ในการปฏิบัติตน ตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้เป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาประสาทะของเวไนยสัตว์ทั้งปวง
ดังนั้นเนื้อหาสาระใหญ่ใจความของวันมาฆบูชาจึงอยู่ตรงที่เป็นวันประชุมพระอรหันตสาวกครั้งใหญ่ที่สุดในโพธิกาลตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ส่วนการแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้นเป็นเรื่องรอง
เพราะหลักธรรมคำสอนอันเป็นเนื้อตัวของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจ 4 และกระบวนการฝึกฝนอบรมจิตเพื่อถึงซึ่งความดับทุกข์สิ้นเชิงนั้นครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์ อยู่ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรแล้ว
โอวาทปาติโมกข์เป็นกระบวนการหรือเป็นวิธีการเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่เนื้อตัวแท้ของพระธรรมคำสอนทั้งกระบวนเหมือนกับที่ทรงตรัสหรือทรงประกาศในปฐมเทศนาเลย
อาจตั้งข้อสังเกตได้ด้วยว่าในการประกาศธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โลกธาตุไหวสะเทือนเลื่อนลั่น เทพยดาทุกชั้นแสดงความยินดีปรีดา ต่างกับการแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งไม่มีเหตุการณ์เช่นว่านั้น นั่นคือการให้ความสำคัญในการประกาศพระธรรมอย่างชัดเจน
ด้วยเหตุนี้จึงพึงถือได้ว่าวันมาฆบูชาคือวันของพระสงฆ์โดยแท้
และถ้าจะลำดับเวลานับแต่วันตรัสรู้ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และถือว่าเป็นวันของพระพุทธเจ้าแล้ว เวลาลำดับถัดมาก็คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นวันของพระธรรม และเพราะมีพระธรรมจึงมีพระสงฆ์บังเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่เป็นพระอรหันตสาวก
พระอรหันตสาวก 1,250 รูปประกอบเข้าเป็นการประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ในโพธิกาลตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 จึงเป็นลำดับวันพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ดังนี้.
ดังนั้นจึงจำต้องทำความกระจ่างในเรื่องนี้ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันสักครั้งหนึ่ง เนื่องจากมีการให้ความสำคัญของวันมาฆบูชาแตกต่างกันจริงๆ
บ้างก็ว่าวันมาฆบูชาเป็นวันพระสงฆ์ และบ้างก็ว่าวันมาฆบูชาเป็นวันพระธรรม แต่กระนั้นสำหรับชาวพุทธแล้วอย่าไปติดมั่นถือมั่นในเรื่องวันอะไรมากนัก เพราะจะเป็นวันอะไรก็เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาทั้งนั้น เป็นวันที่พึงน้อมรำลึกและประพฤติปฏิบัติในการละชั่ว ในการทำดี และในการอบรมจิตให้ผ่องแผ้วด้วยกันทั้งนั้น
ถึงกระนั้นแล้วก็ยังเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างอยู่ดี
อันวันวิสาขบูชานั้น ถือกันว่าเป็นวันของพระพุทธเจ้า ซึ่งทุกสำนักทุกหนทุกแห่งก็พูดกันสอนกันและถือกันไปในทางเดียวกัน ไม่มีความขัดแย้งหรือแตกต่างกันแต่ประการใด
จึงเป็นอันว่ามีความเห็นลงตรงกันว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันของพระพุทธเจ้า คือเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกๆ ปี
ส่วนวันอาสาฬหบูชานั้นตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกๆ ปี ซึ่งแต่เดิมมาประเทศไทยไม่ได้ถือว่าเป็นวันสำคัญ คงถือเอาวันเข้าพรรษาซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นถัดจากวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ในขณะที่ประเทศพุทธศาสนาหลายประเทศได้ให้ความสำคัญมาก่อนแล้ว
ต่อมาหลัง 25 พุทธศตวรรษ รัฐบาลจึงได้เห็นความสำคัญของวันอาสาฬหบูชาและยกฐานะให้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่พระตถาคตเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือแสดงปัญจวัคคีย์ และเป็นผลให้ปัญจวัคคีย์ขอรับอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ชุดแรกในพระพุทธศาสนา
ด้วยเหตุนั้นบางสำนัก บางคณะ จึงถือว่าการที่พระสงฆ์บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จึงต้องถือว่าวันอาสาฬหบูชาคือวันของพระสงฆ์ แล้วถือว่าวันมาฆบูชาซึ่งเป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์เป็นวันของพระธรรม
มาตรองดูกันว่าเมื่อพระตถาคตเจ้าทรงตรัสรู้อนุตระสัมโพธิญาณในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แล้ว อย่างไหนเกิดก่อนกันระหว่างพระธรรมกับพระสงฆ์? และระหว่างธัมมจักกัปปวัตนสูตรซึ่งเป็นปฐมเทศนากับการแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้นอย่างไหนจะพึงถือได้ว่าเป็นวันของพระธรรม?
ประการแรก ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ที่ทรงแสดงปฐมเทศนานั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากทรงตรัสรู้แล้ว 2 เดือน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ทรงดำริแล้วเห็นว่าพระธรรมที่ทรงตรัสรู้นั้นมีวิสัยที่เวไนยสัตว์จะพึงรู้และปฏิบัติตามตลอดจนรับผลได้ จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศพระธรรม
การแสดงพระธรรมครั้งแรกจึงได้ชื่อว่าปฐมเทศนาคือการแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นการแสดงอริยสัจอันเป็นหลักธรรมสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ตลอดถึงการฝึกฝนอบรมเพื่อถึงซึ่งความดับทุกข์สิ้นเชิงอย่างครบถ้วนกระบวนความ
ดังนั้นความจริงอันประจักษ์ในพระสูตรก็คือพระตถาคตเจ้าทรงประกาศพระธรรม ทรงแสดงปฐมเทศนาก่อนที่จะมีพระสงฆ์อุบัติขึ้น
และมีพระสงฆ์อุบัติขึ้นหลังจากที่ได้ฟังธัมมจักกัปปวัตนสูตรแล้ว พระอัญญาโกณฑัญญะ พี่ใหญ่แห่งปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรมว่าสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา จึงมีความศรัทธาขอรับอุปสมบท
พระตถาคตเจ้าจึงทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นครั้งแรกด้วยพระพุทธพจน์ที่ว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์อันเราตรัสดีแล้วให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด พระอัญญาโกณฑัญญะจึงถึงซึ่งความเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนาด้วยประการฉะนี้
และในขณะที่ได้รับอุปสมบทนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะก็เพียงแค่ได้ดวงตาเห็นธรรม ยังไม่ถึงซึ่งความเป็นพระอรหันต์ ไม่จัดว่าเป็นพระอรหันตสาวก หลังจากนั้นอีกหลายวันครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องอนัตตลักขณสูตรแล้วนั่นแหละ พระอัญญาโกณฑัญญะจึงบรรลุถึงซึ่งความเป็นพระอรหันต์
ดังนั้นในวันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันแสดงปฐมเทศนาครั้งแรก เป็นวันประกาศหลักธรรมคำสอนสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา จึงเป็นวันที่พระธรรมได้ถูกประกาศเป็นครั้งแรกในโลก ในขณะที่สิ้นคำประกาศพระธรรมนั้นโลกธาตุหวั่นไหว เทพยดาทั้งปวงแสดงความยินดีทั่วหล้า แต่ ณ บัดนั้นก็ยังมิได้บังเกิดพระสงฆ์ จนกระทั่งทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแล้ว
ประการที่สอง วันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันที่ประกาศพระธรรมยังไม่มีพระอรหันตสาวกเลยแม้แต่รูปเดียว แม้พระอัญญาโกณฑัญญะจะบรรลุความเป็นพระสงฆ์ แต่ก็ไม่ใช่พระอรหันตสาวก
ด้วยเหตุดังกล่าววันอาสาฬหบูชาจึงพึงถือว่าเป็นวันพระธรรม ซึ่งในประการนี้ท่านเจ้าคุณพุทธทาสเคยกล่าวไว้ว่า โดยแท้แล้ววันอาสาฬหบูชายังเป็นได้มากกว่าวันของพระธรรม คืออาจถือได้ว่าเป็นวันของพระรัตนตรัย คือเป็นวันที่พระรัตนตรัยบังเกิดครบในวันนั้น
ส่วนวันมาฆบูชานั้นเป็นวันเพ็ญ เดือน 3 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากตรัสรู้ 9 เดือน และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร 7 เดือน
เนื้อใหญ่ใจความและความสำคัญที่แท้จริงของวันมาฆบูชาคือเป็นวันประชุมพระอรหันตสาวกครั้งใหญ่ในโพธิกาลของพระสมณะโคดมพระพุทธเจ้า
พระตถาคตเจ้าตรัสว่าเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ต้องจัดประชุมใหญ่พระอรหันตสาวก โดยทรงตรัสว่าในโพธิกาลของพระพุทธเจ้าบางพระองค์ได้จัดประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ครั้งเดียวก็มี สองครั้งก็มี แต่ในโพธิกาลของพระองค์นั้นจะมีการประชุมใหญ่ของพระอรหันตสาวกเพียงครั้งเดียวนี้
การประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ในโพธิกาลเพียงครั้งเดียวตามพุทธดำรัสซึ่งเป็นไปตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงพึงถือว่าเป็นวันของพระสงฆ์โดยแท้
วัตถุประสงค์สำคัญในการประชุมพระอรหันตสาวกครั้งใหญ่ตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นก็เพื่อทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
เพื่อประกาศเป้าหมายแห่งพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายคือนิพพานว่าเป็นบรมธรรม
เพื่อประกาศขั้นตอนและกระบวนการในการอบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าจัดแบ่งขั้นตอนการสอนเป็น 3 ขั้น คือการสอนให้ละความชั่วทั้งปวง การสอนให้ทำความดีให้ถึงพร้อม และสอนให้ฝึกฝนอบรมจิตให้ผ่องแผ้ว ซึ่งมีที่หมายปลายทางคือหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย
และเพื่อประกาศหลักการในการครองตน ในการปฏิบัติตน ตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้เป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาประสาทะของเวไนยสัตว์ทั้งปวง
ดังนั้นเนื้อหาสาระใหญ่ใจความของวันมาฆบูชาจึงอยู่ตรงที่เป็นวันประชุมพระอรหันตสาวกครั้งใหญ่ที่สุดในโพธิกาลตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ส่วนการแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้นเป็นเรื่องรอง
เพราะหลักธรรมคำสอนอันเป็นเนื้อตัวของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจ 4 และกระบวนการฝึกฝนอบรมจิตเพื่อถึงซึ่งความดับทุกข์สิ้นเชิงนั้นครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์ อยู่ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรแล้ว
โอวาทปาติโมกข์เป็นกระบวนการหรือเป็นวิธีการเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่เนื้อตัวแท้ของพระธรรมคำสอนทั้งกระบวนเหมือนกับที่ทรงตรัสหรือทรงประกาศในปฐมเทศนาเลย
อาจตั้งข้อสังเกตได้ด้วยว่าในการประกาศธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โลกธาตุไหวสะเทือนเลื่อนลั่น เทพยดาทุกชั้นแสดงความยินดีปรีดา ต่างกับการแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งไม่มีเหตุการณ์เช่นว่านั้น นั่นคือการให้ความสำคัญในการประกาศพระธรรมอย่างชัดเจน
ด้วยเหตุนี้จึงพึงถือได้ว่าวันมาฆบูชาคือวันของพระสงฆ์โดยแท้
และถ้าจะลำดับเวลานับแต่วันตรัสรู้ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และถือว่าเป็นวันของพระพุทธเจ้าแล้ว เวลาลำดับถัดมาก็คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นวันของพระธรรม และเพราะมีพระธรรมจึงมีพระสงฆ์บังเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่เป็นพระอรหันตสาวก
พระอรหันตสาวก 1,250 รูปประกอบเข้าเป็นการประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ในโพธิกาลตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 จึงเป็นลำดับวันพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ดังนี้.