เอเอฟพี/รอยเตอร์ – แบงก์ชาติญี่ปุ่นแถลงวานนี้(3) ถึงแผนการที่จะใช้เงิน 1 ล้านล้านเยน (11,200 ล้านดอลลาร์) เพื่อรับซื้อหุ้นบริษัทต่างๆ ที่พวกธนาคารพาณิชย์ถือครองอยู่ เพื่อเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการช่วยผ่อนคลายความเจ็บปวดจากวิกฤตสินเชื่อตึงตัวทั่วโลก
ความเคลื่อนไหวคราวนี้บังเกิดขึ้น ขณะที่หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นฉบับหนึ่งรายงานว่า มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่อันดับหนึ่งของแดนอาทิตย์อุทัย จะรายงานผลประกอบการในรอบ 9 เดือนจากเมษายนถึงธันวาคมปีที่แล้ว ว่าประสบการขาดทุน อีกทั้งยังจะหั่นลดตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการตลอดทั้งปีการเงินนี้ (เม.ย.08-มี.ค.09) อีกด้วย สืบเนื่องจากการขาดทุนในมูลค่าของพวกหุ้นที่ธนาคารถือครองอยู่ ตลอดจนการที่ปริมาณหนี้เสียมีเพิ่มขึ้น
บรรดานักวิเคราะห์มองว่า แผนการของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (บีโอเจ) คราวนี้ ไม่น่าจะมีผลกระทบใหญ่โตอะไรต่อตลาดหลักทรัพย์โดยรวม แต่น่าจะมีผลในทางลดความเสี่ยงของการที่ระบบธนาคารทั้งระบบจะหลอมละลายไป
ทางด้านผู้ว่าการบีโอเจ มาซาอากิ ชิราคาวะ กล่าวต่อที่ประชุมแถลงข่าวเมื่อวานนี้ว่า“ทั้งตลาดการเงินโลกและตลาดทุนโลกต่างก็ยังคงตกอยู่ภายใต้ความตึงตัวอย่างสาหัส” และ “เราจะใช้มาตรการใหม่นี้เป็นเหมือนกับลิ้นนิรภัย เพื่อรับประกันเสถียรภาพของระบบการเงิน”
ตามแผนการนี้ บีโอเจจะใช้เงิน 1 ล้านล้านเยน เข้าซื้อบรรดาหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือครองโดยพวกธนาคารญี่ปุ่น โดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดในสิ้นเดือนเมษายน 2010 ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของพวกแบงก์จากการที่ราคาหุ้นทรุดฮวบ ตลอดจนเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประคับประคองให้มีสินเชื่อไหลเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ก็กำลังย่ำแย่
และเพื่อเป็นการป้องกันงบดุลบัญชีของบีโอเจเอง ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะรับซื้อหุ้นเฉพาะพวกบริษัทที่มีอันดับเครดิตเรตติ้งอย่างน้อยที่สุดในระดับ BBB- ซึ่งเป็นเรตติ้งต่ำสุดที่ยังถือว่าสามารถลงทุนได้
ชิราคาวะย้ำว่า ถ้าไม่มีมาตรการเช่นนี้ พวกธนาคารที่เป็นผู้ปล่อยกู้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ก็จะยิ่งมีท่าทีระมัดระวังตัว และซ้ำเติมภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวอยู่แล้ว
ภายหลังบีโอเจแถลงเรื่องนี้ ราคาหุ้นญี่ปุ่นก็ได้ทะยานขึ้นในช่วงแรกๆ แต่หลังจากนั้นก็กลับถอยลงมา จนเมื่อปิดตลาดหลักทรัพย์โตเกียววานนี้ ดัชนีหุ้นนิกเกอิติดลบ 0.62%
จุนโกะ นิชิโอกะ นักเศรษฐศาสตร์แห่งบริษัทหลักทรัพย์ อาร์บีเอส ซีเคียวริตีส์ ให้ความเห็นว่า แผนการซื้อหุ้นของบีโอเจคราวนี้ ยังมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะสามารถมีผลกระทบอย่างใหญ่โตต่อราคาหุ้นได้ ถึงแม้มันอาจจะเป็นลิ้นนิรภัยสำหรับธนาคารบางแห่ง ซึ่งฐานะเงินทุนกำลังถูกคุกคามจากความเสียหายของหลักทรัพย์ที่พวกเขาถือครองอยู่”
นิชิโอกะยังตั้งข้อสังเกตว่า ในอีกด้านหนึ่งการออกมาตรการเช่นนี้ย่อมเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าบีโอเจกำลังเป็นห่วง จนต้องออกแผนการเพื่อรับประกันว่าระบบธนาคารทั้งระบบจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะหลอมละลายล้มครืนทั้งระบบได้
ทางด้านธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเองระบุในคำแถลงว่า ระบบการเงินของญี่ปุ่นนั้นโดยภาพรวมยังคงมีความมั่นคง ทว่าตลาดหุ้นที่เซถลาลงเรื่อยๆ ตลอดจนต้นทุนด้านสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นทุกที ก็กำลังสร้างปัญหาให้พวกแบงก์และสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ธนาคารในญี่ปุ่นนั้นมีความแตกต่างไปจากแบงก์ในหลายๆ ประเทศ กล่าวคือ มีความโน้มเอียงที่จะเก็บหุ้นของบริษัทต่างๆ เอาไว้ในพอร์ตของตนในสัดส่วนที่สูงกว่าพวกแบงก์คู่แข่งต่างชาติ ด้วยเหตุนี้เมื่อราคาหุ้นดำดิ่ง จึงส่งผลกระทบแรงต่อรายได้ของธนาคาร
“การรับซื้อหุ้นอย่างนี้ จะลดความเสียหายของการที่ตลาดหลักทรัพย์ทรุดตัว จะมีต่อเงินทุนของธนาคาร ซึ่งเมื่อมองให้กว้างออกไป ก็คือจะมีผลต่อความสามารถในการปล่อยกู้ของธนาคารด้วย” ริชาร์ด เจอร์แรม นักเศรษฐศาสตร์แห่งบริษัทหลักทรัพย์ แมคควอรี ซีเคียวริตีส์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการใหม่ของบีโอเจในคราวนี้
อันที่จริง ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ได้เคยใช้แผนการทำนองนี้มาเมื่อไม่กี่ปีก่อน นั่นคือ ตั้งแต่ปลายปี 2002 จนกระทั่งถึงเดือนกันยายน 2004 และผู้ว่าการชิราคาวะกล่าวว่า ในครั้งนั้นประสบผลสำเร็จในการช่วยลดความเสี่ยงของพวกธนาคารเป็นอย่างดี
ปัจจุบัน บีโอเจแทบไม่มีช่องทางอีกแล้วที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่อยู่ระดับต่ำเตี้ยติดดิน ณ 0.1% ดังนั้นจึงต้องพยายามหาเครื่องมือใหม่ๆ มาแก้ไขซ่อมแซมตลาดสินเชื่อ รวมทั้งช่วยเหลือเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้รอดพ้นจากการถลำจมสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง
เมื่อเดือนที่แล้ว บีโอเจแถลงว่าจะใช้จ่ายเป็นจำนวนไม่เกิน 3 ล้านล้านเยน เพื่อรับซื้อตราสารการค้า อันเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นของภาคบรรษัทประเภทหนึ่ง ด้วยความพยายามที่จะทำให้สินเชื่อยังมีไหลเวียนต่อไปในระหว่างเกิดวิกฤตทางการเงินเช่นนี้
นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังได้มีการออกกฎหมายเพื่อช่วยให้พวกธนาคารสามารถรับเงินทุนสาธารณะได้ ซึ่งก็เป็นความพยายามอย่างหนึ่งของทางการ ที่จะต่อสู้กับผลพวงของวิกฤตการเงินทั่วโลก
ความเคลื่อนไหวคราวนี้บังเกิดขึ้น ขณะที่หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นฉบับหนึ่งรายงานว่า มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่อันดับหนึ่งของแดนอาทิตย์อุทัย จะรายงานผลประกอบการในรอบ 9 เดือนจากเมษายนถึงธันวาคมปีที่แล้ว ว่าประสบการขาดทุน อีกทั้งยังจะหั่นลดตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการตลอดทั้งปีการเงินนี้ (เม.ย.08-มี.ค.09) อีกด้วย สืบเนื่องจากการขาดทุนในมูลค่าของพวกหุ้นที่ธนาคารถือครองอยู่ ตลอดจนการที่ปริมาณหนี้เสียมีเพิ่มขึ้น
บรรดานักวิเคราะห์มองว่า แผนการของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (บีโอเจ) คราวนี้ ไม่น่าจะมีผลกระทบใหญ่โตอะไรต่อตลาดหลักทรัพย์โดยรวม แต่น่าจะมีผลในทางลดความเสี่ยงของการที่ระบบธนาคารทั้งระบบจะหลอมละลายไป
ทางด้านผู้ว่าการบีโอเจ มาซาอากิ ชิราคาวะ กล่าวต่อที่ประชุมแถลงข่าวเมื่อวานนี้ว่า“ทั้งตลาดการเงินโลกและตลาดทุนโลกต่างก็ยังคงตกอยู่ภายใต้ความตึงตัวอย่างสาหัส” และ “เราจะใช้มาตรการใหม่นี้เป็นเหมือนกับลิ้นนิรภัย เพื่อรับประกันเสถียรภาพของระบบการเงิน”
ตามแผนการนี้ บีโอเจจะใช้เงิน 1 ล้านล้านเยน เข้าซื้อบรรดาหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือครองโดยพวกธนาคารญี่ปุ่น โดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดในสิ้นเดือนเมษายน 2010 ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของพวกแบงก์จากการที่ราคาหุ้นทรุดฮวบ ตลอดจนเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการประคับประคองให้มีสินเชื่อไหลเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ก็กำลังย่ำแย่
และเพื่อเป็นการป้องกันงบดุลบัญชีของบีโอเจเอง ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะรับซื้อหุ้นเฉพาะพวกบริษัทที่มีอันดับเครดิตเรตติ้งอย่างน้อยที่สุดในระดับ BBB- ซึ่งเป็นเรตติ้งต่ำสุดที่ยังถือว่าสามารถลงทุนได้
ชิราคาวะย้ำว่า ถ้าไม่มีมาตรการเช่นนี้ พวกธนาคารที่เป็นผู้ปล่อยกู้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ก็จะยิ่งมีท่าทีระมัดระวังตัว และซ้ำเติมภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวอยู่แล้ว
ภายหลังบีโอเจแถลงเรื่องนี้ ราคาหุ้นญี่ปุ่นก็ได้ทะยานขึ้นในช่วงแรกๆ แต่หลังจากนั้นก็กลับถอยลงมา จนเมื่อปิดตลาดหลักทรัพย์โตเกียววานนี้ ดัชนีหุ้นนิกเกอิติดลบ 0.62%
จุนโกะ นิชิโอกะ นักเศรษฐศาสตร์แห่งบริษัทหลักทรัพย์ อาร์บีเอส ซีเคียวริตีส์ ให้ความเห็นว่า แผนการซื้อหุ้นของบีโอเจคราวนี้ ยังมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะสามารถมีผลกระทบอย่างใหญ่โตต่อราคาหุ้นได้ ถึงแม้มันอาจจะเป็นลิ้นนิรภัยสำหรับธนาคารบางแห่ง ซึ่งฐานะเงินทุนกำลังถูกคุกคามจากความเสียหายของหลักทรัพย์ที่พวกเขาถือครองอยู่”
นิชิโอกะยังตั้งข้อสังเกตว่า ในอีกด้านหนึ่งการออกมาตรการเช่นนี้ย่อมเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าบีโอเจกำลังเป็นห่วง จนต้องออกแผนการเพื่อรับประกันว่าระบบธนาคารทั้งระบบจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะหลอมละลายล้มครืนทั้งระบบได้
ทางด้านธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเองระบุในคำแถลงว่า ระบบการเงินของญี่ปุ่นนั้นโดยภาพรวมยังคงมีความมั่นคง ทว่าตลาดหุ้นที่เซถลาลงเรื่อยๆ ตลอดจนต้นทุนด้านสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นทุกที ก็กำลังสร้างปัญหาให้พวกแบงก์และสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ธนาคารในญี่ปุ่นนั้นมีความแตกต่างไปจากแบงก์ในหลายๆ ประเทศ กล่าวคือ มีความโน้มเอียงที่จะเก็บหุ้นของบริษัทต่างๆ เอาไว้ในพอร์ตของตนในสัดส่วนที่สูงกว่าพวกแบงก์คู่แข่งต่างชาติ ด้วยเหตุนี้เมื่อราคาหุ้นดำดิ่ง จึงส่งผลกระทบแรงต่อรายได้ของธนาคาร
“การรับซื้อหุ้นอย่างนี้ จะลดความเสียหายของการที่ตลาดหลักทรัพย์ทรุดตัว จะมีต่อเงินทุนของธนาคาร ซึ่งเมื่อมองให้กว้างออกไป ก็คือจะมีผลต่อความสามารถในการปล่อยกู้ของธนาคารด้วย” ริชาร์ด เจอร์แรม นักเศรษฐศาสตร์แห่งบริษัทหลักทรัพย์ แมคควอรี ซีเคียวริตีส์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการใหม่ของบีโอเจในคราวนี้
อันที่จริง ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ได้เคยใช้แผนการทำนองนี้มาเมื่อไม่กี่ปีก่อน นั่นคือ ตั้งแต่ปลายปี 2002 จนกระทั่งถึงเดือนกันยายน 2004 และผู้ว่าการชิราคาวะกล่าวว่า ในครั้งนั้นประสบผลสำเร็จในการช่วยลดความเสี่ยงของพวกธนาคารเป็นอย่างดี
ปัจจุบัน บีโอเจแทบไม่มีช่องทางอีกแล้วที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่อยู่ระดับต่ำเตี้ยติดดิน ณ 0.1% ดังนั้นจึงต้องพยายามหาเครื่องมือใหม่ๆ มาแก้ไขซ่อมแซมตลาดสินเชื่อ รวมทั้งช่วยเหลือเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้รอดพ้นจากการถลำจมสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง
เมื่อเดือนที่แล้ว บีโอเจแถลงว่าจะใช้จ่ายเป็นจำนวนไม่เกิน 3 ล้านล้านเยน เพื่อรับซื้อตราสารการค้า อันเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นของภาคบรรษัทประเภทหนึ่ง ด้วยความพยายามที่จะทำให้สินเชื่อยังมีไหลเวียนต่อไปในระหว่างเกิดวิกฤตทางการเงินเช่นนี้
นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังได้มีการออกกฎหมายเพื่อช่วยให้พวกธนาคารสามารถรับเงินทุนสาธารณะได้ ซึ่งก็เป็นความพยายามอย่างหนึ่งของทางการ ที่จะต่อสู้กับผลพวงของวิกฤตการเงินทั่วโลก