ASTVผู้จัดการรายวัน – โออิชิมีเฮ ปีที่แล้วเติบโต 30% ด้วยเลขสองหลักในรอบ 9 ปี ปีนี้ทุ่มอีก 200 ล้านบาท เปิดอีกทุกแบรนด์รวมกว่า 20 สาขา เร่งเจรจาซื้อแฟรนไชส์เพิ่มพร้อมส่งอาหารออกขายในญี่ปุ่น
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลประกอบการปีที่แล้วคาดว่าจะมีการเติบโต 20-30% ถือเป็นการเติบโตด้วยเลขสองหลักในรอบ 9 ปีของโออิชิ
นายไพศาล อ่าวสถาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจร้านอาหารโดยรวมในปีนี้คาดว่าจะเหนื่อยกว่าปีที่แล้ว การลงทุนและการทำตลาดต้องรอบคอบและมีความคุ้มค่ามากขึ้น แม้ว่าปีนี้ราคาน้ำมันอาจจะไม่สูงเท่ากับปีที่แล้ว แต่ก็มีขึ้นลงตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัทคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากว่ามีโมเมนตัมที่ดี จากการปรับตัวมาตลอด และการใช้กลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายโดยที่ไม่ได้เพิ่มราคาให้กับผู้บริโภครวมทั้งกลยุทธ์ทางด้านเมนูอาหาร ทำให้ผู้บริโภคยังตัดสินใจเข้ามาใช้บริการต่อเนื่อง สังเกตุจาก เดือนมกราคมปีนี้มีการเติบโตมากกว่า 30% จากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
ขณะที่รายได้รวมทั้งปีที่แล้ว เติบโตมากกว่า 30% จากเป้าที่ตั้งไว้ว่าจะเติบโต 17% โดยคาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 6,000 ล้านบาท มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 5,500 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะมีการเติบโตประมาณ 20% และมีรายได้รวมประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้ปีที่แล้วแบ่งเป็น เครื่องดื่ม 55% และอาหาร 45% จากเมื่อก่อนนี้อยู่ที่ เครื่องดื่ม 70% และอาหาร 30% โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในปีนี้จะมีสัดส่วนเท่ากันคือ 50% เพื่อลดความเสี่ยงลง
ปีนี้ตั้งงบลงทุนไว้ที่ 200 ล้านบาท เพื่อเปิดสาขาทุกแบรนด์รวมกันกว่า 20 สาขาใกล้เคียงปีที่แล้ว แบ่งเป็น 1.ชาบูชิ 6 สาขา 2.เดลโก้ร้านดีลิเวอรี่ 5 สาขา 3.โออิชิราเมน 3 สาขา 4.ไมโดะโอกินิโชกุโดะ 3 สาขา (ปีที่แล้วเปิดสาขาแรกที่ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต) 5.ซูชิบาร์ 2 สาขา 6.บุฟเฟต์ 1 สาขา ซึ่งเมื่อสิ้นปีที่แล้วมีสาขาทุกแบรนด์รวมกันทั้งหมด 9 แบรนด์รวม 97 สาขา และตั้งเป้างบตลาด 5% จากยอดขาย
ทั้งนี้แบรนด์ชาบูชิเป็นตัวที่เติบโตดีและมาแรง แต่สัดส่วนรายได้หลักยังคงมาจาก บุฟเฟต์ 65% มาจากราเมน 20% และอีก 15% อื่นๆรวมกัน
บริษัทฯยังอยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าของแบรนด์ร้านอาหารจากประเทศญี่ปุ่นหลายแบรนด์เพื่อขยายธุรกิจต่อเนื่อง ขณะนี้เดียวกันก็เจรจาเพื่อที่จะนำอาหารแบรนด์โออิชิ เช่น เกี๊ยวซ่า ไปจำหน่ายในญี่ปุ่นด้วย
“เราตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำตลาดอาหารญี่ปุ่นในไทยอย่างสมบูรณ์ โดยเริ่มเคลมว่าเป็นผู้นำได้แล้วเมื่อต้นปีที่แล้วด้วยแชร์กว่า 37% จากมูลค่าตลาดอาหารญี่ปุ่นรวมกว่า 600 ร้านมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขมาจากยูโรมอนิเตอร์ รองมาคือฟูจิ แต่ปีนี้คาดว่าตลาดรวมจะโต 10% และเราคงเป็นผู้นำชัดเจนด้วยแชร์มากกว่า 40%” นายไพศาลกล่าว
สำหรับกลยุทธ์ตลาดนั้นจะต้องสร้างความแปลกใหม่และแตกต่างจากผู้ประกอบการในตลาด เพราะมีผู้เล่นมากขึ้นเช่น ซูชิ คนก็หาซื้อหาทานได้ง่ายๆ เราก็ต้องทำแปลกๆเช่น เป็นรูปสามเหลี่ยม รูปทรงกลม หรือมีนหาที่แปลกใหม่เป็นต้น หรือจัดแคมเปญเช่น “The celebration of Nature” ซึ่งปีนี้จัดเป็นปีที่ 2 หลังจากที่ประสบความสำเร็จเมื่อปีที่แล้ว โดยนำวัตถุดิบประจำฤดูกาลต่างๆกว่า 70% มาจากญี่ปุ่น มาให้บริการที่ร้านบุฟเฟต์ โดยแคมเปญนี้มีเมนูใหม่กว่า 120 รายการ (ฤดูกาลละ 30 รายการ) มีไฮไลท์อยู่ที่ “ฮามาจิซาซิมิ” จากปลาฮาจิมิสดๆ ซึ่งวางเป้าหมายที่จะะต้องสั่งซื้อมากกว่า 7,000 กิโลกรัมในปีนี้ ส่วนปลาแซลมอนก็สั่งซื้อมากกว่า 370 ตันต่อเดือน เป็นต้น เพราะมองว่า ปลาดิบเช่น ปลาแซลมอน ปลาโอ ที่ร้านอื่นก็มีบริการเช่นกัน
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลประกอบการปีที่แล้วคาดว่าจะมีการเติบโต 20-30% ถือเป็นการเติบโตด้วยเลขสองหลักในรอบ 9 ปีของโออิชิ
นายไพศาล อ่าวสถาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจร้านอาหารโดยรวมในปีนี้คาดว่าจะเหนื่อยกว่าปีที่แล้ว การลงทุนและการทำตลาดต้องรอบคอบและมีความคุ้มค่ามากขึ้น แม้ว่าปีนี้ราคาน้ำมันอาจจะไม่สูงเท่ากับปีที่แล้ว แต่ก็มีขึ้นลงตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัทคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากว่ามีโมเมนตัมที่ดี จากการปรับตัวมาตลอด และการใช้กลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายโดยที่ไม่ได้เพิ่มราคาให้กับผู้บริโภครวมทั้งกลยุทธ์ทางด้านเมนูอาหาร ทำให้ผู้บริโภคยังตัดสินใจเข้ามาใช้บริการต่อเนื่อง สังเกตุจาก เดือนมกราคมปีนี้มีการเติบโตมากกว่า 30% จากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
ขณะที่รายได้รวมทั้งปีที่แล้ว เติบโตมากกว่า 30% จากเป้าที่ตั้งไว้ว่าจะเติบโต 17% โดยคาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 6,000 ล้านบาท มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 5,500 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะมีการเติบโตประมาณ 20% และมีรายได้รวมประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้ปีที่แล้วแบ่งเป็น เครื่องดื่ม 55% และอาหาร 45% จากเมื่อก่อนนี้อยู่ที่ เครื่องดื่ม 70% และอาหาร 30% โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในปีนี้จะมีสัดส่วนเท่ากันคือ 50% เพื่อลดความเสี่ยงลง
ปีนี้ตั้งงบลงทุนไว้ที่ 200 ล้านบาท เพื่อเปิดสาขาทุกแบรนด์รวมกันกว่า 20 สาขาใกล้เคียงปีที่แล้ว แบ่งเป็น 1.ชาบูชิ 6 สาขา 2.เดลโก้ร้านดีลิเวอรี่ 5 สาขา 3.โออิชิราเมน 3 สาขา 4.ไมโดะโอกินิโชกุโดะ 3 สาขา (ปีที่แล้วเปิดสาขาแรกที่ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต) 5.ซูชิบาร์ 2 สาขา 6.บุฟเฟต์ 1 สาขา ซึ่งเมื่อสิ้นปีที่แล้วมีสาขาทุกแบรนด์รวมกันทั้งหมด 9 แบรนด์รวม 97 สาขา และตั้งเป้างบตลาด 5% จากยอดขาย
ทั้งนี้แบรนด์ชาบูชิเป็นตัวที่เติบโตดีและมาแรง แต่สัดส่วนรายได้หลักยังคงมาจาก บุฟเฟต์ 65% มาจากราเมน 20% และอีก 15% อื่นๆรวมกัน
บริษัทฯยังอยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าของแบรนด์ร้านอาหารจากประเทศญี่ปุ่นหลายแบรนด์เพื่อขยายธุรกิจต่อเนื่อง ขณะนี้เดียวกันก็เจรจาเพื่อที่จะนำอาหารแบรนด์โออิชิ เช่น เกี๊ยวซ่า ไปจำหน่ายในญี่ปุ่นด้วย
“เราตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำตลาดอาหารญี่ปุ่นในไทยอย่างสมบูรณ์ โดยเริ่มเคลมว่าเป็นผู้นำได้แล้วเมื่อต้นปีที่แล้วด้วยแชร์กว่า 37% จากมูลค่าตลาดอาหารญี่ปุ่นรวมกว่า 600 ร้านมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขมาจากยูโรมอนิเตอร์ รองมาคือฟูจิ แต่ปีนี้คาดว่าตลาดรวมจะโต 10% และเราคงเป็นผู้นำชัดเจนด้วยแชร์มากกว่า 40%” นายไพศาลกล่าว
สำหรับกลยุทธ์ตลาดนั้นจะต้องสร้างความแปลกใหม่และแตกต่างจากผู้ประกอบการในตลาด เพราะมีผู้เล่นมากขึ้นเช่น ซูชิ คนก็หาซื้อหาทานได้ง่ายๆ เราก็ต้องทำแปลกๆเช่น เป็นรูปสามเหลี่ยม รูปทรงกลม หรือมีนหาที่แปลกใหม่เป็นต้น หรือจัดแคมเปญเช่น “The celebration of Nature” ซึ่งปีนี้จัดเป็นปีที่ 2 หลังจากที่ประสบความสำเร็จเมื่อปีที่แล้ว โดยนำวัตถุดิบประจำฤดูกาลต่างๆกว่า 70% มาจากญี่ปุ่น มาให้บริการที่ร้านบุฟเฟต์ โดยแคมเปญนี้มีเมนูใหม่กว่า 120 รายการ (ฤดูกาลละ 30 รายการ) มีไฮไลท์อยู่ที่ “ฮามาจิซาซิมิ” จากปลาฮาจิมิสดๆ ซึ่งวางเป้าหมายที่จะะต้องสั่งซื้อมากกว่า 7,000 กิโลกรัมในปีนี้ ส่วนปลาแซลมอนก็สั่งซื้อมากกว่า 370 ตันต่อเดือน เป็นต้น เพราะมองว่า ปลาดิบเช่น ปลาแซลมอน ปลาโอ ที่ร้านอื่นก็มีบริการเช่นกัน