ASTVผู้จัดการรายวัน-งามหน้าผู้โดยสารทะเลาะแย่งรถเข็นกระเป๋าสุวรรณภูมิ บางรายติดสินบนเจ้าหน้าหารถเข็นกระเป๋าให้ก่อน แทกส์เส้นใหญ่ เจรจายื้อสัญญาเสนอแผนหารถใหม่ ด้านทอท.ชี้ต้องรอบอร์ดชุดใหม่ พิจารณายกเลิกสัญญา แฉแทกส์เสนอแผนจัดหารถใหม่ แค่กระดาษแผ่นเดียวไร้รายละเอียดข้อมูลการผลิต ทำให้เชื่อถือไม่ได้ กรรมการตรวจการจ้างเตรียมเสนอไม่รับแผน เผยขณะนี้เหลือรถเข็นกระเป๋าใช้งานแค่ 2,000กว่าคัน เหตุเสียแล้วไม่ซ่อม
แหล่งข่าวจาก บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหารถเข็นกระเป๋าภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสูญหาย ว่า บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์เซอรวิสเซส จำกัด หรือ แทกส์ ได้เจรจากับทอท.เพื่อขอจัดหารถเข็นกระเป๋บแบบใหม่ในการทดแทนจำนวนรถเข็นที่หายไป โดยกำหนดที่จะส่งแผนการจัดหาให้ทอท.เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา ปรากฎว่า แทกส์ได้เสนอว่าจะดำเนินการจัดหารถเข็นกระเป๋าทดแทนรถที่ขาดจำนวนไป 2 ล็อต โดยล็อตแรกจะส่งให้ใน 4 เดือนข้างหน้าจำนวน 3 ใน4 ส่วนและล็อตที่ 2 จะจัดส่งอีก 1 ส่วนที่เหลือในเดือนที่ 5 ซึ่งข้อเสนอของแทกส์นั้น ไม่สามารถถือเป็นแผนการจัดหารถทดแทนได้
ทั้งนี้เนื่องจากมีเพียงกำหนดการส่งมอบเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการตรวจการจ้างสัญญาแทกส์ไม่สามารถยอมรับข้อเสนอดังกล่าวได้เนื่องจาก ไม่ถือเป็นแผนตามที่มีการเจรจาไว้ เพราะไม่มีรายละเอียดของการจัดหารถเข็นกระเป๋าที่จะนำมาทดแทนให้ครบจำนวนตามสัญญาเช่น โรงงานผู้ผลิต กำลังการผลิต กระบวนการส่งมอบ
“ตามขั้นตอน คณะกรรมการตรวจการจ้างสัญญาแทกส์ จะสรุปความเห็นเพื่อเสนอรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ทอท.พิจารณาว่าจะรับข้อเสนอของแทกส์หรือไม่ ซึ่งตามหลักการสิ่งที่แทกส์ส่งมาไม่ถือว่าเป็นแผนเพราะเป็นกระดาษแผ่นเดียวที่เป็นตารางการส่งมอบรถเข็นกระเป๋าแต่ไม่มีรายละเอียดที่ทอท.จะเข้าไปตรวจสอบได้เลยข้อมูลที่แทกส์เสนอมาจึงไม่มีรายละเอียดที่จะพิจารณาได้ว่าแทกส์จะจัดาหรถให้ได้จริงหรือไม่”แหล่งข่าวกล่าวว่า
รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบัน รถเข็นกระเป๋าของสนามบินสุวรรณภูมิมีประมาณ 2,000 กว่าคันเท่านั้นในขณะที่สัญญาระหว่างทอท.กับแทกส์กำหนดจำนวนรถเข็นกระเป๋าสำหรับให้บริการผู้โดยสารไว้ทั้งสิ้น 9,034 คัน แบ่งเป็นรถเข็นกระเป๋าขนาดกลาง จำนวน 7,000 คัน รถเข็นกระเป๋าขนาดเล็ก 2,000 คัน และรถเข็นกระเป๋าขนาดใหญ่ จำนวน 34 คัน แต่เมื่อกลางปี 51 ที่ผ่านมา มีปัญหารถเข็นกระเป๋าถูกขโมยทำให้เหลือใช้งานประมาณ 4,000 – 5,000 คัน แต่ปัจจุบันรถเข็นกระเป๋าเหลือใช้งานเพียง 2,000 คันเศษเท่านั้นเพราะมีการชำรุดแต่ไม่มีการซ่อมแซมกลับมาใช้งานแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ถือเป็นการหย่อนประสิทธิภาพของแทกส์ที่ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขสัญญาได้และการที่จำนวนรถเข็นกระเป๋ามีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสารทำให้ผู้โดยสารทะเลาะกันเพื่อแย่งรถเข็นกระเป๋า และถึงขึ้นที่ผู้โดยสารติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อให้ไปหารถเข็นกระเป๋าให้ก็มี ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าอับอายและไม่ควรเกิดขึ้นในสนามบินแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ แทกส์ถือว่าทำผิดสัญญาและถูกปรับเป็นเงินหลายร้อยล้านบาทแล้ว เนื่องจากเพราะรถเข็นกระเป๋าหายไปจำนวนมากนั้นเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค. 51 (งวดที่ 22) โดยพบว่า รถเข็นกระเป๋าหายไปจำนวน 522 คัน ซึ่งมากกว่าที่มีสำรอง และแท็กส์ไม่สามารถติดตามกลับมาให้ครบตามจำนวนได้ ซึ่งแท็กส์ถูกปรับตั้งแต่งวดที่ 22
ทั้งนี้ตามเงื่อนไข รถเข็นกระเป๋าขนาดเล็ก จะมีสำรอง 120 คัน ขนาดกลางมีสำรอง 120 คันและขนาดใหญ่มีสำรอง 6 คัน เมื่อการนับพบว่าจำนวนที่หายไปไม่เกินจากจำนวนที่มีสำรองก็ไม่มีปัญหาเพราะสามารถนำรถเข็นกระเป๋าที่จัดสำรองไว้มาทดแทนได้และให้เร่งติดตามรถเข็นกระเป๋าที่หายไปกลับมา แต่เมื่อมีการขาดจำนวนเกินกว่าที่สำรองไว้ก็ต้องถูกปรับ 2,000 บาทต่อคันต่อวัน ซึ่งเมื่อปัจจุบันรถเข็นขาดจำนวนไปทั้งจากการสูญหายและหารชำรุดแล้วไม่ซ่อมกว่า 5,000 คัน คิดเป็นเงินค่าปรับกว่า 300 ล้านบาทต่อเดือนแล้วในขณะที่สัญญาจ้างที่ทอท.จ่ายให้แทกส์เดือนละ 6 ล้านบาทเศษเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอกับค่าปรับ
ด้านนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทอท.กล่าวว่า จากที่แทกส์ ได้ทำผิดสัญญาว่าจ้างจัดหาและบริหารรถเข็นกระเป๋าภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากมีรถเข็นกระเป๋าไม่ครบตามจำนวนที่สัญญากำหนด9,034 คัน โดยแทกส์ได้เจรจากับทอท.เพื่อขอจัดหารถเข็นกระเป๋าเข้ามาทดแทนรถที่ขาดจำนวนไป โดยได้เสนอแผนให้ทอท.เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้การจัดหารถเข็นกระเป๋าให้ครบตามจำนวนที่สัญญากำหนดนั้นเป็นหน้าที่ของแทกส์ แต่ไม่เกี่ยวกับการที่ทอท.จะเสนอคณะกรรมการพิจารณายกเลิกสัญญาเพราะถือว่าที่ผ่านมาแทกส์ผิดสัญญาแล้ว แต่การยกเลิกหรือไม่ขึ้นกับบอร์ดทอท.จะพิจารณา
“การที่ทอท.ยอมให้แทกส์เสนอแผนจัดหารถใหม่มาเติมให้ครบจำนวน นั้นไม่ได้เป็นการเปิดช่องหรือยอมที่จะให้แทกส์เจรจาคงสัญญาเดิม แต่ที่ให้แทกส์หารถมาได้เพราะในระหว่างที่บอร์ดยังไม่มีการพิจารณาใดๆ ออกมา ทอท.ต้องแก้ปัญหาการให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิ จึงเป็นการทำงานแบบคู่ขนานซึ่งหากบอร์ดเห็นชอบให้ยกเลิกสัญญาทอท.ก็จะดำเนินการทันที โดยทอท.ได้ทำแผนรองรับและแก้ไขปัญหากรณีที่มีการยกเลิกสัญญาไว้แล้ว”นายเสรีรัตน์กล่าว
แหล่งข่าวจาก บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหารถเข็นกระเป๋าภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสูญหาย ว่า บริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์เซอรวิสเซส จำกัด หรือ แทกส์ ได้เจรจากับทอท.เพื่อขอจัดหารถเข็นกระเป๋บแบบใหม่ในการทดแทนจำนวนรถเข็นที่หายไป โดยกำหนดที่จะส่งแผนการจัดหาให้ทอท.เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา ปรากฎว่า แทกส์ได้เสนอว่าจะดำเนินการจัดหารถเข็นกระเป๋าทดแทนรถที่ขาดจำนวนไป 2 ล็อต โดยล็อตแรกจะส่งให้ใน 4 เดือนข้างหน้าจำนวน 3 ใน4 ส่วนและล็อตที่ 2 จะจัดส่งอีก 1 ส่วนที่เหลือในเดือนที่ 5 ซึ่งข้อเสนอของแทกส์นั้น ไม่สามารถถือเป็นแผนการจัดหารถทดแทนได้
ทั้งนี้เนื่องจากมีเพียงกำหนดการส่งมอบเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการตรวจการจ้างสัญญาแทกส์ไม่สามารถยอมรับข้อเสนอดังกล่าวได้เนื่องจาก ไม่ถือเป็นแผนตามที่มีการเจรจาไว้ เพราะไม่มีรายละเอียดของการจัดหารถเข็นกระเป๋าที่จะนำมาทดแทนให้ครบจำนวนตามสัญญาเช่น โรงงานผู้ผลิต กำลังการผลิต กระบวนการส่งมอบ
“ตามขั้นตอน คณะกรรมการตรวจการจ้างสัญญาแทกส์ จะสรุปความเห็นเพื่อเสนอรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ทอท.พิจารณาว่าจะรับข้อเสนอของแทกส์หรือไม่ ซึ่งตามหลักการสิ่งที่แทกส์ส่งมาไม่ถือว่าเป็นแผนเพราะเป็นกระดาษแผ่นเดียวที่เป็นตารางการส่งมอบรถเข็นกระเป๋าแต่ไม่มีรายละเอียดที่ทอท.จะเข้าไปตรวจสอบได้เลยข้อมูลที่แทกส์เสนอมาจึงไม่มีรายละเอียดที่จะพิจารณาได้ว่าแทกส์จะจัดาหรถให้ได้จริงหรือไม่”แหล่งข่าวกล่าวว่า
รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบัน รถเข็นกระเป๋าของสนามบินสุวรรณภูมิมีประมาณ 2,000 กว่าคันเท่านั้นในขณะที่สัญญาระหว่างทอท.กับแทกส์กำหนดจำนวนรถเข็นกระเป๋าสำหรับให้บริการผู้โดยสารไว้ทั้งสิ้น 9,034 คัน แบ่งเป็นรถเข็นกระเป๋าขนาดกลาง จำนวน 7,000 คัน รถเข็นกระเป๋าขนาดเล็ก 2,000 คัน และรถเข็นกระเป๋าขนาดใหญ่ จำนวน 34 คัน แต่เมื่อกลางปี 51 ที่ผ่านมา มีปัญหารถเข็นกระเป๋าถูกขโมยทำให้เหลือใช้งานประมาณ 4,000 – 5,000 คัน แต่ปัจจุบันรถเข็นกระเป๋าเหลือใช้งานเพียง 2,000 คันเศษเท่านั้นเพราะมีการชำรุดแต่ไม่มีการซ่อมแซมกลับมาใช้งานแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ถือเป็นการหย่อนประสิทธิภาพของแทกส์ที่ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขสัญญาได้และการที่จำนวนรถเข็นกระเป๋ามีน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสารทำให้ผู้โดยสารทะเลาะกันเพื่อแย่งรถเข็นกระเป๋า และถึงขึ้นที่ผู้โดยสารติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อให้ไปหารถเข็นกระเป๋าให้ก็มี ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าอับอายและไม่ควรเกิดขึ้นในสนามบินแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ แทกส์ถือว่าทำผิดสัญญาและถูกปรับเป็นเงินหลายร้อยล้านบาทแล้ว เนื่องจากเพราะรถเข็นกระเป๋าหายไปจำนวนมากนั้นเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค. 51 (งวดที่ 22) โดยพบว่า รถเข็นกระเป๋าหายไปจำนวน 522 คัน ซึ่งมากกว่าที่มีสำรอง และแท็กส์ไม่สามารถติดตามกลับมาให้ครบตามจำนวนได้ ซึ่งแท็กส์ถูกปรับตั้งแต่งวดที่ 22
ทั้งนี้ตามเงื่อนไข รถเข็นกระเป๋าขนาดเล็ก จะมีสำรอง 120 คัน ขนาดกลางมีสำรอง 120 คันและขนาดใหญ่มีสำรอง 6 คัน เมื่อการนับพบว่าจำนวนที่หายไปไม่เกินจากจำนวนที่มีสำรองก็ไม่มีปัญหาเพราะสามารถนำรถเข็นกระเป๋าที่จัดสำรองไว้มาทดแทนได้และให้เร่งติดตามรถเข็นกระเป๋าที่หายไปกลับมา แต่เมื่อมีการขาดจำนวนเกินกว่าที่สำรองไว้ก็ต้องถูกปรับ 2,000 บาทต่อคันต่อวัน ซึ่งเมื่อปัจจุบันรถเข็นขาดจำนวนไปทั้งจากการสูญหายและหารชำรุดแล้วไม่ซ่อมกว่า 5,000 คัน คิดเป็นเงินค่าปรับกว่า 300 ล้านบาทต่อเดือนแล้วในขณะที่สัญญาจ้างที่ทอท.จ่ายให้แทกส์เดือนละ 6 ล้านบาทเศษเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอกับค่าปรับ
ด้านนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทอท.กล่าวว่า จากที่แทกส์ ได้ทำผิดสัญญาว่าจ้างจัดหาและบริหารรถเข็นกระเป๋าภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากมีรถเข็นกระเป๋าไม่ครบตามจำนวนที่สัญญากำหนด9,034 คัน โดยแทกส์ได้เจรจากับทอท.เพื่อขอจัดหารถเข็นกระเป๋าเข้ามาทดแทนรถที่ขาดจำนวนไป โดยได้เสนอแผนให้ทอท.เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้การจัดหารถเข็นกระเป๋าให้ครบตามจำนวนที่สัญญากำหนดนั้นเป็นหน้าที่ของแทกส์ แต่ไม่เกี่ยวกับการที่ทอท.จะเสนอคณะกรรมการพิจารณายกเลิกสัญญาเพราะถือว่าที่ผ่านมาแทกส์ผิดสัญญาแล้ว แต่การยกเลิกหรือไม่ขึ้นกับบอร์ดทอท.จะพิจารณา
“การที่ทอท.ยอมให้แทกส์เสนอแผนจัดหารถใหม่มาเติมให้ครบจำนวน นั้นไม่ได้เป็นการเปิดช่องหรือยอมที่จะให้แทกส์เจรจาคงสัญญาเดิม แต่ที่ให้แทกส์หารถมาได้เพราะในระหว่างที่บอร์ดยังไม่มีการพิจารณาใดๆ ออกมา ทอท.ต้องแก้ปัญหาการให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิ จึงเป็นการทำงานแบบคู่ขนานซึ่งหากบอร์ดเห็นชอบให้ยกเลิกสัญญาทอท.ก็จะดำเนินการทันที โดยทอท.ได้ทำแผนรองรับและแก้ไขปัญหากรณีที่มีการยกเลิกสัญญาไว้แล้ว”นายเสรีรัตน์กล่าว