ASTV ผู้จัดการรายวัน – สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ออกโรงทวงความเป็นธรรมให้นักลงทุนรายย่อย ส่งหนังสือถึงกรรมการ “เอส.อี.ซี. ออโต้เซล แอนด์ เซอร์วิส” เร่งหาผู้บริหารที่ทุจริตจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้น “วิชัย” ลั่นขีดเส้นตายไม่คืนหน้าภายใน 15 วัน เตรียมส่งฟ้องศาลแพ่ง-อาญา เรียกค่าเสียบหายกว่า 1 พันล้านบาท พร้อมจี้ต่อมจริยธรรม “ท่าอากาศยานไทย” จ่ายโบนัสกรรมการ-ผู้บริหารเหมาะสมหรือไม่ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น
นายวิชัย พูลวรลักษณ์ นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เปิดเผยว่า วานนี้ (29 ม.ค.) สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยได้ทำหนังสือถึงกรรมการของบริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซล แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC เพื่อเรียกร้องให้กรรมการบริษัทหาผู้กระทำผิดและก่อให้เกิดความความเสียหายจากมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง การปล่อยกู้และราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลง ซึ่งได้ส่งผลกระทบทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหาย เข้ามารับผิดชอบภายใน 15 วัน
ทั้งนี้ หากกรรมการ SECC ยังไม่ตอบรับและหาผู้กระทำผิดมารับผิดชอบภายในเวลาดังกล่าว ทางสมาคมฯ จะดำเนินการฟ้องต่อศาล หลังจากที่มอบหมายให้ทางสภาทนายความทำการศึกษาคดีดังกล่าวพบว่าผู้ถือหุ้นสามารถที่จะฟ้องได้ทั้งศาลแพ่ง และอาญา โดยจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายให้แก่นักลงทุนรายย่อยประมาณ 1,000 ล้านบาท
“กฎหมายฉบับใหม่กำหนดไว้ การที่จะฟ้องร้องบริษัทได้จะต้องทำหนังสือแจ้งกรรมการบริษัทดังกล่าวก่อน เพื่อให้หาผู้กระทำผิดมารับผิดชอบก่อนภายใน 15 วัน ซึ่งเราจะไม่สามารถฟ้องร้องได้ทันที แต่หากหลังภายใน 15 วันไม่มีการดำเนินการ เราก็สามารถฟ้องร้องได้ทันที” นายวิชัย กล่าว
พร้อมกันนี้ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยยังได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ ร้องเรียนกรณีที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT อนุมัติจ่ายโบนัสให้กับกรรมการ ผู้บริหาร ว่า ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน มีความเหมาะสมทางด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาลหรือไม่ เนื่องจากในที่ประชุมผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่เห็นด้วย แต่ไม่สามารถจะคัดค้านได้ เพราะคะแนนเสียงไม่มากพอจะคัดค้านเสียงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้
“แม้ในแง่กฎหมายการดำเนินการดังกล่าวถือว่าไม่มีความผิด เพราะทำตามมติของผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ แต่จะต้องพิจารณาถึงด้านความเหมาะสมและจริยธรรมด้วย”
อย่างไรก็ตาม กรณีของ AOT นั้น ทางสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยได้จัดทำสำเนาหนังสือส่งให้กับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี ) ด้วย
สำหรับแผนการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยในปี 2552 นั้น นายวิชัย กล่าวว่า สมาคมฯจะมีบทบาทมากขึ้นในด้านการปกป้องดูแล และคุ้มครองนักลงทุน เพราะช่วงภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้เกิดมีการเอารัดเอาเปรียบแก่ผู้ถือหุ้นเกิดขึ้น ทางสมาคมฯจึงต้องทำหน้าที่ในการดูแลผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งในช่วงภาวะปกตินั้น สมาคมฯจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้ในการลงทุน และจากการที่กฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย รวมตัวกัน 5% สามารถฟ้องร้องเมื่อถูกเอาเปรียบจากบริษัท ทำให้สมาคมมีความเข้มแข็งในการดูแลผู้ถือหุ้นรายย่อยมากขึ้น
นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า กรณีของการซื้อหุ้นบริษัท ซุปเปอร์บล็อก จำกัด (มหาชน)หรือ SUPERในบริษัท อิควิตี้ เรสซิเดนเชียล จำกัด หรือ EQUITY ว่า ช่วงที่ผ่านมา ทางงบล.ซิกโก้ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาการเงินอิสระและทำหน้าที่ประเมินมูลค่าการเข้าซื้อบริษัท อิควิตี้ เรสซิเดนเชียล ของ SUPER ได้ส่งข้อมูลการเข้าซื้อมายังก.ล.ต. ก่อนที่จะส่งข้อมูลเหล่านี้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ ทางก.ล.ต.พิจารณาแล้วและเห็นว่ายังมีหลายประเด็นยังมีความไม่ชัดเจนและให้ที่ปรึกษาทางการเงินกลับไปแก้ไขใหม่แล้วค่อยส่งกลับมาให้ก.ล.ต.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยต้องให้แล้วเสร็จ 14 วันก่อนจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นี้
นายวิชัย พูลวรลักษณ์ นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เปิดเผยว่า วานนี้ (29 ม.ค.) สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยได้ทำหนังสือถึงกรรมการของบริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซล แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC เพื่อเรียกร้องให้กรรมการบริษัทหาผู้กระทำผิดและก่อให้เกิดความความเสียหายจากมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง การปล่อยกู้และราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลง ซึ่งได้ส่งผลกระทบทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหาย เข้ามารับผิดชอบภายใน 15 วัน
ทั้งนี้ หากกรรมการ SECC ยังไม่ตอบรับและหาผู้กระทำผิดมารับผิดชอบภายในเวลาดังกล่าว ทางสมาคมฯ จะดำเนินการฟ้องต่อศาล หลังจากที่มอบหมายให้ทางสภาทนายความทำการศึกษาคดีดังกล่าวพบว่าผู้ถือหุ้นสามารถที่จะฟ้องได้ทั้งศาลแพ่ง และอาญา โดยจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายให้แก่นักลงทุนรายย่อยประมาณ 1,000 ล้านบาท
“กฎหมายฉบับใหม่กำหนดไว้ การที่จะฟ้องร้องบริษัทได้จะต้องทำหนังสือแจ้งกรรมการบริษัทดังกล่าวก่อน เพื่อให้หาผู้กระทำผิดมารับผิดชอบก่อนภายใน 15 วัน ซึ่งเราจะไม่สามารถฟ้องร้องได้ทันที แต่หากหลังภายใน 15 วันไม่มีการดำเนินการ เราก็สามารถฟ้องร้องได้ทันที” นายวิชัย กล่าว
พร้อมกันนี้ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยยังได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ ร้องเรียนกรณีที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT อนุมัติจ่ายโบนัสให้กับกรรมการ ผู้บริหาร ว่า ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน มีความเหมาะสมทางด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาลหรือไม่ เนื่องจากในที่ประชุมผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่เห็นด้วย แต่ไม่สามารถจะคัดค้านได้ เพราะคะแนนเสียงไม่มากพอจะคัดค้านเสียงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้
“แม้ในแง่กฎหมายการดำเนินการดังกล่าวถือว่าไม่มีความผิด เพราะทำตามมติของผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ แต่จะต้องพิจารณาถึงด้านความเหมาะสมและจริยธรรมด้วย”
อย่างไรก็ตาม กรณีของ AOT นั้น ทางสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยได้จัดทำสำเนาหนังสือส่งให้กับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี ) ด้วย
สำหรับแผนการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยในปี 2552 นั้น นายวิชัย กล่าวว่า สมาคมฯจะมีบทบาทมากขึ้นในด้านการปกป้องดูแล และคุ้มครองนักลงทุน เพราะช่วงภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้เกิดมีการเอารัดเอาเปรียบแก่ผู้ถือหุ้นเกิดขึ้น ทางสมาคมฯจึงต้องทำหน้าที่ในการดูแลผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งในช่วงภาวะปกตินั้น สมาคมฯจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้ในการลงทุน และจากการที่กฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย รวมตัวกัน 5% สามารถฟ้องร้องเมื่อถูกเอาเปรียบจากบริษัท ทำให้สมาคมมีความเข้มแข็งในการดูแลผู้ถือหุ้นรายย่อยมากขึ้น
นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า กรณีของการซื้อหุ้นบริษัท ซุปเปอร์บล็อก จำกัด (มหาชน)หรือ SUPERในบริษัท อิควิตี้ เรสซิเดนเชียล จำกัด หรือ EQUITY ว่า ช่วงที่ผ่านมา ทางงบล.ซิกโก้ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาการเงินอิสระและทำหน้าที่ประเมินมูลค่าการเข้าซื้อบริษัท อิควิตี้ เรสซิเดนเชียล ของ SUPER ได้ส่งข้อมูลการเข้าซื้อมายังก.ล.ต. ก่อนที่จะส่งข้อมูลเหล่านี้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ ทางก.ล.ต.พิจารณาแล้วและเห็นว่ายังมีหลายประเด็นยังมีความไม่ชัดเจนและให้ที่ปรึกษาทางการเงินกลับไปแก้ไขใหม่แล้วค่อยส่งกลับมาให้ก.ล.ต.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยต้องให้แล้วเสร็จ 14 วันก่อนจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นี้