วิกฤตซับไพรม์พ่นพิษ ฉุดผลงาน “เอสเอสไอ” ปี 51 ขาดทุนสุทธิกว่า 5.1 พันล้านบาท ผู้บริหารอ้างปรับมูลค่าสต๊อกสินค้าเหล็กให้สอดคล้องราคาตลาดตามมาตรฐานทางบัญชีระบบและหลักธรรมาภิบาล แต่ยังมั่นใจฐานะทางการเงินยังแกร่ง หลังพบสัญญาณตลาดเหล็กเริ่มฟื้น พร้อมเดินหน้าโครงการลดต้นทุนการดำเนินงาน 300 ล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้นรูดกว่า 10%
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI กล่าวถึง ผลการดำเนินงานประจำปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2551 ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 5,133.90 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.39 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 836.68 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.06 บาท หรือกำไรสุทธิลดลงกว่า 5,970.58 ล้านบาท คิดเป็น 713.60%
โดยสาเหตุที่ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทลดลง เนื่องจากในปี 2551 บริษัทได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำจากปัญหาวิกฤตระบบสถาบันการเงิน (ซับไพรม์) ในสหรัฐฯ ทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลงเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ จากนโยบายการบริหารงานอย่างรอบคอบและระมัดระวัง บริษัทจึงได้ปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เป็นไปตามราคาตลาดที่ลดลง (Stock Loss) ตามมาตรฐานทางบัญชีอย่างเต็มที่จำนวน 5,440 ล้านบาท ทำให้ผลการดำเนินงานอยู่ในภาวะขาดทุน เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่อื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมพลังงาน และปิโตรเคมีที่ต้องมีการตั้งสำรองดังกล่าวในระดับสูงจากการที่ราคาน้ำมันและวัตถุดิบลดลง
“วิกฤติการณ์ครั้งนี้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบ 100 ปี ด้วยนโยบายของคณะกรรมการบริษัทในเรื่องธรรมาภิบาลที่ดี บริษัทจึงปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เป็นไปตามราคาตลาดที่ลดลง (Stock Loss) ตามมาตรฐานทางบัญชีอย่างเต็มที่ เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงสถานะทางการเงินที่แท้จริงของบริษัทที่ยังมั่นคง”
ปัจจุบัน ณ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทยังมีส่วนของผู้ถือหุ้น 16,608 ล้านบาท และมีมูลค่าหุ้นตามบัญชีเท่ากับ 1.27 บาทต่อหุ้น ซึ่งสูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบันที่ 0.39 บาท
สำหรับแนวนโยบายด้านการบริหารงานเพื่อรองรับกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวนั้น นายวิน กล่าวว่า บริษัทได้ประกาศมาตรการลดต้นทุนในการดำเนินงานทั้งสิ้น 300 ล้านบาท ประกอบด้วย การลดค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม โครงการประหยัดการใช้พลังงาน การปรับเปลี่ยนสัญญาจ้างเหมา และการควบคุมอัตรากำลังคน
“นอกจากมาตรการลดต้นทุนการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ คณะกรรมการ และผู้บริหาร ได้ร่วมใจกันเสียสละลดรายได้บางส่วนลง เพื่อแสดงความรับผิดชอบและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานในระดับปฏิบัติการ เป็นการหล่อหลอมใจร่วมใจของเหล่าพนักงานเพื่อนำพาให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้”
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กนั้น นายวิน กล่าวว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมเหล็กโลกและในประเทศเริ่มส่งสัญญาณไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากจากราคาเหล็กที่ลดลงได้กระตุ้นความต้องการซื้อกลับมามากขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางน้ำถึงปลายน้ำสามารถซื้อวัตถุดิบในราคาที่ถูกลง ค่าขนส่งลดลง และต้นทุนพลังงานลดลง ขณะที่ “ค่าการรีด” (Rolling Spread) ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการผลิตบวกกำไรยังอยู่ในระดับที่ดี
“จากแนวโน้มอุตสาหกรรมที่ส่งสัญญาณขยายตัวดีขึ้น ทำให้บริษัทมั่นใจว่าผลการดำเนินงานในปี 2552 จะเป็นที่น่าพอใจ และสามารถชดเชยผลขาดทุนที่เกิดจากค่าตั้งสำรองค่าเผื่อการลดมูลค่าสินค้าคงเหลือได้”
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้น SSI วานนี้ (29 ม.ค.) ปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นไทย ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 0.35 บาท ลดลงจากวันก่อน 0.04 บาท หรือคิดเป็น 10.26% มูลค่าการซื้อขาย 38.85 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 435.00 จุด ลดลง 13.35 จุด หรือ 2.98% มูลค่าการซื้อขายรวม 13,749.57 ล้านบาท ส่วนทางกับตลาดหุ้นเอเชียที่ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI กล่าวถึง ผลการดำเนินงานประจำปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2551 ว่า บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 5,133.90 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.39 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 836.68 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.06 บาท หรือกำไรสุทธิลดลงกว่า 5,970.58 ล้านบาท คิดเป็น 713.60%
โดยสาเหตุที่ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทลดลง เนื่องจากในปี 2551 บริษัทได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำจากปัญหาวิกฤตระบบสถาบันการเงิน (ซับไพรม์) ในสหรัฐฯ ทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกลดลงเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ จากนโยบายการบริหารงานอย่างรอบคอบและระมัดระวัง บริษัทจึงได้ปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เป็นไปตามราคาตลาดที่ลดลง (Stock Loss) ตามมาตรฐานทางบัญชีอย่างเต็มที่จำนวน 5,440 ล้านบาท ทำให้ผลการดำเนินงานอยู่ในภาวะขาดทุน เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่อื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมพลังงาน และปิโตรเคมีที่ต้องมีการตั้งสำรองดังกล่าวในระดับสูงจากการที่ราคาน้ำมันและวัตถุดิบลดลง
“วิกฤติการณ์ครั้งนี้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบ 100 ปี ด้วยนโยบายของคณะกรรมการบริษัทในเรื่องธรรมาภิบาลที่ดี บริษัทจึงปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เป็นไปตามราคาตลาดที่ลดลง (Stock Loss) ตามมาตรฐานทางบัญชีอย่างเต็มที่ เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงสถานะทางการเงินที่แท้จริงของบริษัทที่ยังมั่นคง”
ปัจจุบัน ณ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทยังมีส่วนของผู้ถือหุ้น 16,608 ล้านบาท และมีมูลค่าหุ้นตามบัญชีเท่ากับ 1.27 บาทต่อหุ้น ซึ่งสูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบันที่ 0.39 บาท
สำหรับแนวนโยบายด้านการบริหารงานเพื่อรองรับกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวนั้น นายวิน กล่าวว่า บริษัทได้ประกาศมาตรการลดต้นทุนในการดำเนินงานทั้งสิ้น 300 ล้านบาท ประกอบด้วย การลดค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อม โครงการประหยัดการใช้พลังงาน การปรับเปลี่ยนสัญญาจ้างเหมา และการควบคุมอัตรากำลังคน
“นอกจากมาตรการลดต้นทุนการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ คณะกรรมการ และผู้บริหาร ได้ร่วมใจกันเสียสละลดรายได้บางส่วนลง เพื่อแสดงความรับผิดชอบและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานในระดับปฏิบัติการ เป็นการหล่อหลอมใจร่วมใจของเหล่าพนักงานเพื่อนำพาให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้”
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กนั้น นายวิน กล่าวว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมเหล็กโลกและในประเทศเริ่มส่งสัญญาณไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากจากราคาเหล็กที่ลดลงได้กระตุ้นความต้องการซื้อกลับมามากขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางน้ำถึงปลายน้ำสามารถซื้อวัตถุดิบในราคาที่ถูกลง ค่าขนส่งลดลง และต้นทุนพลังงานลดลง ขณะที่ “ค่าการรีด” (Rolling Spread) ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการผลิตบวกกำไรยังอยู่ในระดับที่ดี
“จากแนวโน้มอุตสาหกรรมที่ส่งสัญญาณขยายตัวดีขึ้น ทำให้บริษัทมั่นใจว่าผลการดำเนินงานในปี 2552 จะเป็นที่น่าพอใจ และสามารถชดเชยผลขาดทุนที่เกิดจากค่าตั้งสำรองค่าเผื่อการลดมูลค่าสินค้าคงเหลือได้”
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้น SSI วานนี้ (29 ม.ค.) ปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นไทย ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 0.35 บาท ลดลงจากวันก่อน 0.04 บาท หรือคิดเป็น 10.26% มูลค่าการซื้อขาย 38.85 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 435.00 จุด ลดลง 13.35 จุด หรือ 2.98% มูลค่าการซื้อขายรวม 13,749.57 ล้านบาท ส่วนทางกับตลาดหุ้นเอเชียที่ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น