xs
xsm
sm
md
lg

“อัยดา อูเจ๊ะ”ดอกไม้เหล็กพธม.สงขลา ผู้ปลุกพลังมุสลิมสู้เพื่อความยุติธรรม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อัยดา -ดอกไม้พันธมิตรฯสงขลาที่ไม่เคยร่วงโรยตลอดการชุมนุม
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่

“ไซออนิสต์ทำลายล้างทุกอย่างที่ขวางหน้า มันเข้ามาประเทศไทยให้ฉิบหาย มาตอนแรกสิ่งที่ทำคือทำลาย อิสลามต้องสูญหายจากเมืองไทย ระบอบนี้มันมาคู่กับทักษิณ มันต้องกินทุกๆ อย่างที่ขวางหน้า มันเป็นใหญ่เมื่อไหร่ได้คอยจับตา มันจับเราให้มาเป็นทาสรับใช้มัน แต่ยังมีมุสลิมของเรานั้นคิดได้ ไม่อาจทำลายเราลงทันใจหมาย ทั้งตากใบ กรือเซะต้องล้มตาย ไซออนิสต์อันตรายให้ระวัง มาวันนี้พี่น้องเราจำต้องสู้ ให้เราอยู่คู่แผ่นดินถิ่นอาศัย เราเกิดมาบนดุนยาที่กว้างไกล...”

เหล่าพี่น้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คงจดจำเสียงประกาศกร้าวของผู้หญิงตัวเล็กๆ คนนี้ได้ แม้ใบหน้าคมเข้มจะซุกซ่อนอยู่ภายใต้ผ้าคลุมฮิญาบอยู่เป็นอาจิณ แต่สัมผัสได้ถึงความเป็นคนกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว นั่นคือนางอัยดา อูเจ๊ะ หญิงสาวชาวสตูลผู้ปลุกจิตวิญญาณของพี่น้องมุสลิมที่อยู่ท่ามกลางความ อยุติธรรม และความหวาดกลัว ให้กล้าลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความถูกต้อง

ก่อนที่จะมาเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมชุมนุมทั้งเวทีลานประวัติศาสตร์ สถานีรถไฟหาดใหญ่ และกรุงเทพฯ นางอัยดา เปิดเผยว่า ชีวิตเธอผ่านประสบการณ์เลวร้ายมาหลากหลาย เริ่มจากการมีชีวิตครอบครัวที่ล้มเหลว แต่เธอก็ไม่ย่อท้อดูแลลูกชาย 2 คนอย่างเข้มแข็ง

ส่วนด้านการประกอบอาชีพ แม้ว่าจะดีมากมาก่อน แต่สถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อกิจการที่ดูแล ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม หรือบริษัทนำเที่ยว จึงได้ย้ายกิจการมาอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ และตัดสินใจส่งลูกชายไปเรียนต่อที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อจะได้ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าในขณะนั้น โดยเธอส่งเสียค่าใช้จ่ายบางส่วนและที่เหลือลูกๆ ทั้งสองได้ทำงานเพื่อช่วยเหลือตัวเองไปด้วย

จากความตั้งใจและอดทนนั่นเอง เธอสามารถประคับประคองชีวิตความเป็นอยู่ให้ผ่านช่วงที่ย่ำแย่ที่สุดมาได้ จนกิจการที่ อ.หาดใหญ่ เริ่มเข้าที่เข้าทาง ซึ่งตรงกับช่วงที่มีการต่อสู้ของเหล่าพี่น้องพันธมิตรฯ เพราะได้ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองมานาน และเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้กับพี่น้องมุสลิม ทั้งกรณีตากใบ และ กรือเซะ
ถ่ายกับลูกชายซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ในประเทศมาเลเซีย
ประกอบกับสภาพบ้านเมืองของเราก้าวเข้าสู่ระบอบทุนนิยม ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งทุนต่างชาติ และในประเทศที่มาจากเส้นสายของนักการเมืองผูกขาดอย่างไม่ยุติธรรม ทำให้ตัดสินใจหยุดกิจการอันเป็นสายเลือดใหญ่ที่หาเลี้ยงครอบครัวชั่วคราว เพื่อมาร่วมเป็นกำลังส่วนหนึ่งในการกอบกู้ประเทศ แม้ว่าทางครอบครัวของเธอจะไม่เห็นด้วยก็ตาม

เมื่อพลังภาคประชาชนสุกงอม ประกาศการชุมนุมใหญ่นับแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อขับไล่รัฐบาลนอมินีที่รับใช้ระบอบทักษิณ เธอจึงออกมาฟังการปราศรัยที่เวทีลานประวัติศาสตร์ สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนานกับส่วนกลาง หลังจากนั้นเพียง 5 วันจึงตัดสินใจเด็ดเดี่ยวที่จะเดินทางสู่เมืองกรุงเพื่อร่วมเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย และตั้งใจว่าหากไม่ได้รับชัยชนะก็จะไม่เลิก

“จากที่เห็นพี่น้องพันธมิตรฯ รวมตัวกันออกมาขับเคลื่อนขับไล่รัฐบาลทรราชให้เกิดแรงผลักดันว่าเราเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากระบอบนี้ ทำให้คิดว่าจะต้องเป็นชาวมุสลิมคนแรกที่ขึ้นมาต่อสู้การเมืองภาคประชาชนให้ได้ เพื่อเสริมแรงกระตุ้นให้เหล่าพี่น้องมุสลิมทั่วประเทศออกมา” นางอัยดากล่าวต่อและว่า

ทั้งนี้ ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ยังระแวงเรื่องศาสนา สับสนระหว่างการต่อสู้เรื่องศาสนากับการต่อสู้เอาประชาธิปไตยคืนมา ระหว่างไหนจะดีกว่าจึงทำให้ไม่กล้าที่จะออกมาต่อสู้ ส่วนใหญ่คิดขอพรดูอาร์อยู่ที่บ้าน ซึ่งความจริงนั้นการขอพรก็เป็นสิ่งที่ควรทำแต่ควรควบคู่กับการปฏิบัติ ตามคำสอนของศาสนาอิสลามนั้นการรวมกลุ่มเป็นคนกลุ่มใหญ่จะสามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้สำเร็จ

จากผู้หญิงมุสลิมตัวเล็กๆ จากจังหวัดชายแดนใต้ไม่มีใครรู้จัก และให้ความสนใจ แต่เธอกล้าประกาศตัวต่อสู้กับรัฐบาลนอมินีและระบอบทักษิณ สร้างความตื่นตะลึงให้แก่สังคมในความกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง โดยการเป็นหญิงมุสลิมเพียงคนเดียวที่ก้าวขึ้นไปพูดบนเวทีที่หน้ากระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งตอนนั้นพี่น้องพันธมิตรฯ เรือนหมื่นรวมตัว เพื่อร่วมกันขับไล่ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเรียกร้องเอาเขาพระวิหารคืนมา

“ตอนนั้นทางแกนนำได้ประกาศว่า ใครที่มีความรู้ทางภาษาต่างประเทศ ให้ขึ้นมาพูดบนเวที เพราะในขณะนั้นมีผู้สื่อข่าวต่างชาติมากมายที่ให้ความสนใจ จึงตัดสินใจขึ้นบนเวที ตอนแรกรู้สึกประหม่าเล็กน้อย แต่มี พี่กาญจน์รวี ซึ่งนับถือเป็นพี่สาวใจดีเป็นคนจูงมือขึ้นเวที ทำให้เกิดความกล้าเมื่อเริ่มพูดเรื่องราวต่างๆ ที่เก็บเอาไว้ก็หลั่งไหลออกมา ไม่ว่าจะเป็นการคอร์รัปชันฉ้อโกง การฆ่าผู้บริสุทธิ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ อุ้มฆ่าทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งเป็นทนายใจซื่อมือสะอาดที่ต้องการแฉความชั่วร้ายของทักษิณให้ประชาชนรับรู้ เป็นเหตุให้ถูกอุ้มฆ่า และระบอบทักษิณก่อความแตกแยกในสังคม ให้ชาวพุทธทะเลาะกับชาวมุสลิม ให้คนในประเทศเกิดการทะเลาะแบ่งพรรค แบ่งฝ่าย ล้วนเป็นเรื่องราวที่ก่อให้เกิดแรงขับดันให้ออกมาร่วมขับไล่”

นางอัยดา กล่าวด้วยน้ำเสียงอัดอั้นและชิงชังว่า ที่เจ็บปวดที่สุดคือ พ.ต.ท.ทักษิณได้นำเอาองค์กรไซออนิสต์ มาซึ่งเป็นองค์กรของยิวที่มีขนาดใหญ่และเงินทุนมากที่สุดในโลกเข้ามาในประเทศไทย เพื่อหวังนำเงินทุนจากองค์กรนี้มาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยไม่สนแม้แต่น้อยว่าเป็นองค์กรที่ต้องการล้มล้างศาสนาอิสลาม โดยนำครูสอนศาสนาชาวยิวเข้ามาสอนศาสนาอิสลามด้วยการบิดเบือน กระตุ้นให้คนในพื้นที่เกิดความขัดแย้ง แบ่งแยกทางศาสนา จึงไม่แปลกใจที่ พ.ต.ท.ทักษิณและลิ่วล้อจะยัดเยียด วิธีการป่าเถื่อนต่างๆ จัดการกับคนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้จนไม่กล้าแม้แต่จะลุกขึ้นทวงความเป็นธรรม

หนำซ้ำเหตุการณ์ยังบานปลายถึงขั้นรุนแรง มีกลุ่มโจรที่เคยซ่อนตัวที่เทือกเขาบูโด ออกมาก่อเหตุฆ่าเจ้าหน้าที่และประชาชนรายวัน เพียงเพื่อตอบโต้และต่อต้านรัฐบาล ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจในพื้นที่เกิดความซบเซา ชาวบ้านเกิดความหวาดระแวง มีหลายครอบครัวที่ต้องสูญเสียผู้นำครอบครัว เด็กบางคนกลายเป็นเด็กกำพร้าพ่อแม่ บางครอบครัวก็ย้ายครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น

หลังจากที่เธอได้ประกาศการเข้าร่วมต่อสู้ในนามของมุสลิมชายแดนใต้อย่างเต็มตัว โดยยอมทุ่มเททั้งกายและใจ รวมถึงกำลังทรัพย์ด้วย เธอคือคนที่ควักกระเป๋าตัวเองจัดพิมพ์เสื้อ "มุสลิมรักชาติ" ขึ้นมาเพื่อการรณรงค์มากกว่าจะคิดค้าขาย ส่งผลให้กระเป๋าบานไปจำนวนมาก แต่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการปลุกเร้าพลังเงียบของมุสลิมจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศให้ตื่นขึ้นมาได้ หลังจากนั้น จึงเดินทางกลับมาช่วยงานอยู่ที่เวทีพันธมิตรฯสงขลา ทั้งการออกจรยุทธ์นอกพื้นที่ให้ความรู้และพูดคุยสถานการณ์ทางการเมืองในชุมชนต่างๆ

การเข้าร่วมเวทีต่อสู้นี้กลายเป็นกิจกรรมหลักๆ ในแต่ละวันไปเสียแล้ว ทำให้กิจการที่มีอยู่เริ่มได้รับผลกระทบจากการที่ไม่ได้ดูแลอย่างเต็มที่ แต่เธอก็พยายามทำให้ดีที่สุด หลังดูแลทัวร์ที่เข้ามาเสร็จก็จะรีบบึ่งมาเวทีลานประวัติศาสตร์ สถานีรถไฟหาดใหญ่ทันที จนกระทั่งการต่อสู้เข้มข้นรุนแรง เธอตัดสินใจฝากกิจการไว้กับบริษัททัวร์ที่รู้จักกัน และไม่ได้เข้ามาดูแลกิจการอีกเลย หลังจากการต่อสู้สิ้นสุดลงจึงต้องเริ่มกิจการโดยนับหนึ่งใหม่ทั้งหมด เพราะบริษัททัวร์ที่ฝากไว้ได้ลูกค้าไปหมด ซึ่งตอนนี้กิจการทัวร์ก็กลับสู่ภาวะปกติแล้ว เพราะสามารถดึงลูกทัวร์กลับมาได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการชุมนุมของพี่น้องพันธมิตรฯจะยุติแล้ว แต่ภารกิจสร้างการเมืองใหม่ก็ยังไม่สิ้น โดยเฉพาะพี่น้องมุสลิมที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ถึงเวลานี้ต้องปฏิวัติตัวเองสนใจติดตามข่าวสารบ้านเมือง เพื่อคอยพิทักษ์สิทธิของตนเอง และตรวจสอบว่าโครงการที่นำเงินภาษีไปใช้ใด้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนหรือไม่ หรือเมื่อรัฐยื่นมือมาช่วยเหลือก็สามารถบอกได้ทันทีว่ามีความจำเป็นอะไรบ้าง และอยากให้พี่น้องพันธมิตรฯ มีความเหนียวแน่นอย่างที่ผ่านมา เพราะพลังประชาชนเป็นพลังที่เข้มแข็งไม่สามารถทำลายได้

ในส่วนของรัฐบาล อยากให้เข้ามาดูแลตรวจสอบการทำงานของข้าราชการในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมเท่าที่ควร และส่งเสริมเรื่องการศึกษาของเด็กในพื้นที่ เพราะยังมีเด็กเยาวชนอยู่อีกมากที่ต้องการศึกษาเล่าเรียน แต่ขาดโอกาสไม่ได้รับการศึกษา เพราะผู้ปกครองไม่มีเงินส่งให้เล่าเรียน อยากให้มีกองทุนที่คอยช่วยเหลือด้านการศึกษาให้แก่เยาวชนในพื้นที่ เพื่อจะเป็นแรงช่วยผลักดันพัฒนาประเทศ

แม้เวทีรบจะยุติลงชั่วคราว แต่เวทีชีวิตก็ยังคงอยู่ การร่วมต่อสู้ในครั้งนี้ของเธอนอกจากจะทำให้ได้มีโอกาสพบกับผู้คนร่วมอุดมการณ์เดียวกันแล้ว เธอยังพบรักครั้งใหม่กับทหารกล้าที่หัวใจเต็มเปี่ยมในความเป็นพันธมิตรฯ และเข้าร่วมต่อสู้กับพี่น้องพันธมิตรฯทั้งในพื้นที่และที่กรุงเทพฯมาตลอดคือ ส.อ.ญาณพล สุมาลีชัย ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยได้ศึกษานิสัยใจคอระหว่างกันในช่วงที่มีการชุมนุม ก่อนจะตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน โดยเตรียมแผนวิวาห์ไว้แล้วปลายเดือนแห่งความรักกุมภาพันธ์ปีนี้

นางอัยดา ย้อนเหตุการณ์ที่ทำให้ได้พบเจอกันว่า ระหว่างที่มีการชุมนุมเขาติดต่อมาที่เธอ เพื่อจะขอขึ้นไปร้องเพลงให้พันธมิตรฯที่กรุงเทพฯ แต่เธอไม่สะดวกที่จะประสานงานให้ จึงให้เบอร์ของ พี่หมี-ยุทธิยงค์ ลิ้มเลิศวาที ไปให้ติดต่อเอง และมารู้ทีหลังว่าเขาได้คิวแล้วแต่กลับไม่ตรงวันว่าง จึงติดต่อมาหาอีกครั้งเพื่อจะเอากลอนบทหนึ่งที่กล่าวถึงการเข้ามาขององค์กรไซออนิสต์ โดยนัดพบกันที่สถานีขนส่งหาดใหญ่ ซึ่งเป็นการเจอกันครั้งแรก และให้เธอเป็นตัวแทนนำขึ้นไปอ่านบนเวทีส่วนกลางให้ได้

“จำได้ว่าเจอกันครั้งแรกวันที่ 26 ตุลาคม 2551 และได้นำบทกลอนดังกล่าวขึ้นอ่านบนเวทีพันธมิตรฯสงขลาเป็นครั้งแรกในวันที่ 27 ตุลาคมถัดมา และครั้งต่อมาก็ขึ้นไปอ่านบนเวทีหน้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้นสื่อมวลชนของประเทศมาเลเซีย ก็ได้มีการถ่ายทอดสดด้วย หลังจากนั้นก็ได้ติดต่อพูดคุยกันตลอด อาจเป็นเพราะเรา 2 คนมีอุดมการณ์เดียวกันที่จะช่วยกันกอบกู้ประชาธิปไตย จนความผูกพันเริ่มก่อตัว แม้ว่าสถานการณ์รอบข้างจะรายล้อมไปด้วยความเครียดทางการเมืองก็ตาม” เธอกล่าวด้วยรอยยิ้ม

การต่อสู้ที่ยาวนานกว่าครึ่งปี และวิกฤตต่างๆ ในชีวิตที่ “อัยดา อูเจ๊ะ” ได้ฝ่าข้ามผ่าน นับเป็นตัวอย่างของสตรีมุสลิมที่น่ายกย่องในการอดทนต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม และจุดประกายพลังเงียบที่ยังมีอีกมากในกลุ่มมุสลิม ก็หวังว่าฟ้าหลังฝนในวันนี้จะเป็นวันที่สดใสของเธออีกครั้ง

กำลังโหลดความคิดเห็น