43. ความเป็นมาของทุนนิยมสามานย์ในประเทศไทย กับภารกิจทางประวัติศาสตร์ของขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ต่อ)
ก่อนที่จะกล่าวถึง การก่อตัวของระบอบทักษิณ ภายใต้บริบทของทุนนิยมสามานย์ในประเทศไทยภายหลังฟองสบู่แตกในปี 2540 ผู้เขียนคิดว่า มีความจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึง กลไกการเกิดและการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของคนไทยจำนวนมาก ที่ได้ ขายวิญญาณ ของตนให้แก่ มารเงินตรา และหันไปบูชา ลัทธิบริโภคนิยม เป็นสรณะเสียก่อน เพราะ การสิ้นชาติทางจิตวิญญาณ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างแทบไม่รู้สึกตัว กว่าจะรู้ตัวมันก็เกือบจะสายเกินแก้เสียแล้ว จนต้องลุกขึ้นมา “กู้ชาติ” กันตั้งแต่เมื่อสามปีก่อนจนบัดนี้
เหตุผลประการหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง กลไกการเกิดและการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ นั้น เพราะมันเป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อที่จะได้มีชีวิตอยู่อย่างมีสติ มีปัญญารู้เท่าทัน พิษภัยทางเศรษฐกิจและหลุมพรางทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่ เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่จะดำรงอยู่คู่กับระบบทุนนิยมโลกไปโดยตลอด และมีวิวัฒนาการไปในทิศทางที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่ากลไกการเกิดและการแตกของมันจะยังคงเหมือนเดิมโดยพื้นฐานก็ตาม
เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ บัดนี้เศรษฐกิจฟองสบู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นศูนย์กลางของระบบทุนนิยมโลกได้แตกอย่างสิ้นเชิงจนกลายเป็น “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ไปเรียบร้อยแล้ว จนทำให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจถดถอยขนานใหญ่ (The Great Depression) เหมือนอย่างในช่วง ค.ศ. 1929 ซึ่งย่อมส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยอย่างแน่นอน มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มว่า การแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งนี้จะกลายเป็น จุดหักเหครั้งใหญ่ของระบบทุนนิยมโลกหลังจากนี้ เพราะมันเป็น วิกฤต (เศรษฐกิจ) ซ้อนวิกฤต (โลกร้อน) ซึ่งกำลังสั่นสะเทือน การดำรงอยู่ “แบบทุนนิยม” ของระบบทุนนิยมโลกในปัจจุบันอย่างรุนแรง
หัวใจของการเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่คือ มีการเล่น เกมเงินตรา จำนวนมหาศาล ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในลักษณะที่เป็น Non Zero-Sum Game จนมีผลกระทบต่อระบบการเงินอย่างรุนแรงเมื่อฟองสบู่แตก เพราะจำนวนเงินในระบบจะลดลงอย่างฮวบฮาบ กล่าวคือ เมื่อใดก็ตาม ที่มีการกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงินต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศมาใช้ในการเล่นเกมเงินตราอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อนั้นจะเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น
ภายใต้การเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ จะต้องมีผู้เล่นเกมหลักที่เป็น “ตัวการ” ดำรงอยู่เสมอ ผู้เล่นเกมหลักเหล่านี้จะทำการกู้เงินจำนวนมหาศาลในรูปแบบต่างๆ ด้วยเครื่องมือทางการเงินต่างๆ จากสถาบันการเงินทั้งหลาย เมื่อนำมาใช้ในการเล่น เกมเงินตรา และการเก็งกำไร ที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นก็คือ ตัวสถาบันการเงินเองได้กลายมาเป็น “ตัวการ” กระโดดลงมาเล่น เกมเงินตรา นี้เสียเอง
เกมเงินตรา ในเศรษฐกิจฟองสบู่เป็นเกมที่น่ากลัวมาก เพราะในช่วงที่ฟองสบู่กำลังพองตัวหรือช่วงที่เศรษฐกิจบูมอันเนื่องมาจากกลไกของฟองสบู่ จะเป็นช่วงที่ผู้เล่นเก็งกำไรเป็นผู้ได้กันทั้งหมด แต่ในช่วงที่ฟองสบู่แตก อันเนื่องมาจากกลไกทำลายตัวเองที่ดำรงอยู่ภายใน อันเป็นลักษณะเฉพาะของ จิตวิทยาแห่งการเก็งกำไร จะเป็นช่วงที่ผู้เล่นเก็งกำไรเป็นผู้เสียกันทั้งหมดอย่างย่อยยับอย่างถล่มทลาย เพราะเมื่อใดก็ตามที่การเก็งกำไรและการเล่น เกมเงินตรา ได้กลายเป็นเกมที่มีการกู้เงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงินมาเล่นเก็งกำไรกันอย่างหน้ามืดตามัว มันจะกลายเป็น “เกมขายวิญญาณ” ที่แตกขยายตัวออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง จนยากที่จะมีใครมายับยั้งได้ ไม่ว่าจะมีผู้รู้ท่านใดออกมาเตือนเท่าไหร่ก็ตาม เพราะในช่วงนั้นทุกคนกำลังเล่นได้ เศรษฐกิจและธุรกิจกำลังบูม ผู้ที่ออกมาเตือนเรื่องฟองสบู่ถ้าไม่ถูกมองว่าเพี้ยน ก็จะถูกมองว่าเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย กว่าที่ทั้งสังคมจะเริ่มตาสว่างรับรู้ความจริงที่เป็นมายาของฟองสบู่ ทุกอย่างก็สายเกินแก้ไปเสียแล้ว
เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นแล้ว ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เป็นสิ่งที่มีเสน่ห์มากกว่า สำหรับผู้เล่น เกมเงินตรา ทั้งนี้เพราะราคาหุ้นยังมีขึ้นมีลงได้โดยง่ายเป็นช่วงๆ แต่ราคาที่ดินเป็นสิ่งที่มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาที่ดินก็จะยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว พร้อมๆ กับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์รูปแบบอื่นๆ
การบูมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีการเล่น เกมเงินตรา ด้วยการกู้เงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงิน ทำให้ราคาที่ดินมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งก่อให้เกิด มายาภาพ ว่า การเล่นที่ดินหรือการซื้อขายที่ดินเพื่อเก็งกำไร คือที่มาของรายได้จำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ ผู้คนเป็นจำนวนมากและบริษัทขนาดใหญ่ จึงถูกความคิดที่เป็นมายาภาพอันนี้ครอบงำพฤติกรรมของตน จนเต็มใจนำพาตัวเองเข้าสู่ ขบวนการสร้างฟองสบู่ หรือขบวนการเล่นเกมเงินตรา เล่นเก็งกำไรที่ขยายตัวไปทั่วทั้งประเทศอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเกิด โครงสร้างเศรษฐกิจฟองสบู่ ขึ้นมาอย่างชัดแจ้ง ผู้ที่เข้าร่วมเล่นเกมเงินตรานี้ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงของสังคมนั้น ยิ่งถ้าเป็นนายทุนหรือบริษัทขนาดยักษ์ลงมาเล่นเองด้วย ความเสียหายทางเศรษฐกิจจึงมหาศาลยิ่งนัก
ในอีกแง่มุมหนึ่ง เศรษฐกิจฟองสบู่เกิดขึ้นได้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่มี ความเชื่อรวมหมู่ ที่แทบไม่ต่างไปจาก อุปทานรวมหมู่ เลยว่า ราคาที่ดินจะยังคงสูงขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อีกหลายปี เพราะฉะนั้นจึงเกิดแรงจูงใจที่ผู้คนจะถอนเงินฝากจากธนาคาร แล้วหันมาซื้อและกักตุนที่ดินเอาไว้แทน เพราะพวกเขาคิดว่า ถ้าถือที่ดินเอาไว้ ถึงอย่างไรก็ปล่อยขายได้กำไรอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ ที่ดินจึงมี “คุณสมบัติใหม่” เพิ่มขึ้นมานอกเหนือไปจากมูลค่าใช้สอยคือ เป็นคุณสมบัติของความคาดหวังว่า ราคาที่ดินจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก คุณสมบัติใหม่ของที่ดิน (รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ที่ตกเป็นเป้าของการเก็งกำไรจะเป็นอะไรก็ได้) ที่เกิดขึ้นมานี้ มิได้มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันกับคุณค่าในการใช้สอยของที่ดิน (และสินค้าที่ตกเป็นเป้าของการเก็งกำไร) แต่อย่างใดเลยแม้แต่น้อย เพียงแต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้คนส่วนใหญ่แห่กันเข้ามาซื้อ “คุณสมบัติใหม่” ของนี้ของที่ดิน (และสินค้าที่ตกเป็นเป้าของการเก็งกำไร) แทนคุณสมบัติเดิมที่เป็นคุณค่าในการใช้สอย เมื่อนั้น การเก็งกำไรขนานใหญ่จะเกิดขึ้น และเป็นที่มาของเศรษฐกิจฟองสบู่ แต่ไม่มีการเก็งกำไรที่ไหนในโลกนี้ที่จะดำรงอยู่สืบเนื่องได้จนเป็นนิรันดร์ เพราะมันจะเป็นไปได้ยังไงที่จะมีแต่เศรษฐกิจฟองสบู่อย่างเดียว โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาภาคเศรษฐกิจที่ทำหน้าที่ผลิตทางวัตถุ และจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อการบริโภคและบริการ
ดังนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่ง ผู้ซื้อเพื่อเก็งกำไรที่เป็น “ผู้ขายที่แอบแฝง” ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับความหวั่นไหวไม่มั่นคงของตลาดสินค้าที่ตกเป็นเป้าของการเก็งกำไรที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ เมื่อราคาของสินค้าที่เก็งกำไรนั้นได้สูงขึ้นมากจนยากที่จะพุ่งขึ้นสูงไปกว่านี้ได้อีกแล้ว เมื่อนั้นผู้คนเหล่านี้จะกลายเป็นพวกที่เปราะบางที่สุด ตกใจง่ายที่สุด และหวั่นไหวง่ายที่สุดต่อเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งปวง คนกลุ่มนี้บางส่วนจะเทขายสินค้าเก็งกำไรของตนกลายมาเป็น “ผู้ชายที่แท้จริง” เมื่อเป็นเช่นนั้น ราคาของสินค้าเก็งกำไรนั้นก็จะเริ่มร่วงลงอย่างรวดเร็ว แต่ตราบใดที่การร่วงลงของสินค้าเก็งกำไรนั้นยังตกลงไปไม่ถึงจุดที่เรียกว่า “จุดที่ไม่สามารถจะฟื้นตัวได้อีก” (Point of No-Recovery) ตราบนั้นโอกาสที่พลังความคึกคักแห่งการเก็งกำไรจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกเสมอ
แต่ในที่สุดแล้ว เมื่อ “ปัจจัยแห่งการทำลายตนเอง” ของการเก็งกำไร ทำงานโดยผ่าน วัฏจักรเศรษฐกิจ และ คลื่นยาวเศรษฐกิจ ที่เริ่มต้นจาก
(1) ช่วง เริ่มมีการสะสมความมั่งคั่ง ไปสู่
(2) ช่วง มีปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดขึ้น ไปสู่
(3) ช่วง ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ไปสู่
(4) ช่วง เกิดการเก็งกำไร ไปสู่
(5) ช่วง เงินเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วมาก ไปสู่
(6) ช่วง เกิดอุปสงค์เพิ่มเติมต่อภาคเศรษฐกิจจริง ไปสู่
(7) ช่วง ทางการเริ่มเข้ามาแทรกแซงการปล่อยสินเชื่อ ไปสู่
(8) ช่วง อวสานของการเก็งกำไร ไปสู่
(9) ช่วง เศรษฐกิจถดถอย (จบเกมเงินตรา)
เราจะพบว่า ในช่วง อวสานของการเก็งกำไร ที่จะต้องมาถึงอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว ราคาของสินค้าที่เก็งกำไรนั้น จะร่วมลงมาอย่างฮวบฮาบ จนเลยจุดที่ไม่อาจฟื้นตัวได้อีกต่อไป ราคาของสินค้าเก็งกำไรนั้นก็จะดิ่งลงเหวอย่างที่ไม่มีวันกู่กลับในช่วงระยะเวลาหลายปีที่พอมองเห็นได้ในอนาคต ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะทางเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า “ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ” (Panic) และตามมาด้วย ภาวะเศรษฐกิจถดถอยระยะยาว อันเป็นช่วงเศรษฐกิจคลื่นยาวขาลงที่กินเวลานานปีเลยทีเดียว
ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ (Panic) มิใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงซบเซาทางเศรษฐกิจ ตรงกันข้าม ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจเป็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วงบูมทางเศรษฐกิจที่ทะยานถึงจุดสุดยอดแล้วต่างหาก โดยที่ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจคือ สภาพของการช็อกทางเศรษฐกิจ หรือสึนามิ (คลื่นยักษ์) ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อันเป็นสภาพเริ่มแรกของการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ นั่นเอง
ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจจึงหมายถึง การสิ้นสุดของการบูมทางเศรษฐกิจ มันเป็นจุดหักเหให้วัฏจักรเศรษฐกิจพลิกผันจากเศรษฐกิจขาขึ้นกลายเป็นเศรษฐกิจขาลง มันจึงเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่มีต่อการเก็งกำไรที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย และระบาดไปทั่วในช่วงบูมทางเศรษฐกิจ จึงกล่าวในอีกมุมหนึ่งได้ว่า ตราบใดที่ฟองสบู่ยังไม่แตก หรือความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจยังไม่เกิดขึ้น ตราบนั้น ภาวะบูมหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็จะดำรงอยู่ต่อไป ส่วน ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) หมายถึง สภาวะภายหลังจากที่ช่วงบูมล่มสลายอันเกิดมาจากการที่เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ หรือฟองสบู่แตกโดยที่ ความยืดเยื้อยาวนานของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ หลังจากนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของความมั่งคั่งที่สังคมนั้นได้สูญเสียไปจากการเก็งกำไร และการล่มสลายของเศรษฐกิจฟองสบู่
ตอนนี้ขอให้เรามาทบทวนกันอีกครั้งว่า เศรษฐกิจฟองสบู่คืออะไร? นิยามของผู้เขียนที่พยายามให้กระชับที่สุดก็คือ เศรษฐกิจฟองสบู่คือ ภาวะบูมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากมายาภาพของคนส่วนใหญ่ที่มีความเชื่อรวมหมู่ร่วมกันว่า ราคาของสินค้าที่สามารถเก็งกำไรได้ เช่น หุ้น ที่ดิน ทองคำ ภาพเขียน บ้าน คอนโดมิเนียม สมาชิกสนามกอล์ฟ ใบจองรถยนต์ พันธบัตร ฯลฯ จะมีราคาสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทุกคนจึงหันมาเล่นเกมเงินตราเพื่อแสวงหากำไรจากหลักทรัพย์ที่ได้จากการเก็งกำไร แล้วกำไรชนิดนี้เป็นตัวกระตุ้นการบริโภค สร้างดีมานด์เทียมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หายนะของเศรษฐกิจฟองสบู่จะเกิดขึ้น เมื่อมีการกู้เงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงินเข้ามาเล่นเกมเงินตรานี้ โดยมวลชนและบริษัทเอกชนจำนวนมากได้แห่เข้ามาเล่นเกมเก็งกำไรนี้ด้วยอย่างบ้าคลั่ง จนไม่มีใครสามารถยับยั้งได้จนกว่าฟองสบู่จะแตก
ถ้าหากว่า เศรษฐกิจฟองสบู่ไทย ในช่วง พ.ศ. 2531-2539 ได้สร้าง อภิมหาเศรษฐีอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นมาได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น หลังจาก ฟองสบู่แตก ผลพวงของการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ไทยในครั้งนั้น ยังก่อให้เกิด ระบอบทักษิณ ตามมาอีกด้วย แต่กว่าที่ผู้คนจะเริ่มตาสว่างก็ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี หลังจากนั้นเลยทีเดียว (ยังมีต่อ)
ก่อนที่จะกล่าวถึง การก่อตัวของระบอบทักษิณ ภายใต้บริบทของทุนนิยมสามานย์ในประเทศไทยภายหลังฟองสบู่แตกในปี 2540 ผู้เขียนคิดว่า มีความจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึง กลไกการเกิดและการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของคนไทยจำนวนมาก ที่ได้ ขายวิญญาณ ของตนให้แก่ มารเงินตรา และหันไปบูชา ลัทธิบริโภคนิยม เป็นสรณะเสียก่อน เพราะ การสิ้นชาติทางจิตวิญญาณ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างแทบไม่รู้สึกตัว กว่าจะรู้ตัวมันก็เกือบจะสายเกินแก้เสียแล้ว จนต้องลุกขึ้นมา “กู้ชาติ” กันตั้งแต่เมื่อสามปีก่อนจนบัดนี้
เหตุผลประการหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง กลไกการเกิดและการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ นั้น เพราะมันเป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อที่จะได้มีชีวิตอยู่อย่างมีสติ มีปัญญารู้เท่าทัน พิษภัยทางเศรษฐกิจและหลุมพรางทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่ เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่จะดำรงอยู่คู่กับระบบทุนนิยมโลกไปโดยตลอด และมีวิวัฒนาการไปในทิศทางที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่ากลไกการเกิดและการแตกของมันจะยังคงเหมือนเดิมโดยพื้นฐานก็ตาม
เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ บัดนี้เศรษฐกิจฟองสบู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นศูนย์กลางของระบบทุนนิยมโลกได้แตกอย่างสิ้นเชิงจนกลายเป็น “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ไปเรียบร้อยแล้ว จนทำให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจถดถอยขนานใหญ่ (The Great Depression) เหมือนอย่างในช่วง ค.ศ. 1929 ซึ่งย่อมส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยอย่างแน่นอน มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มว่า การแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งนี้จะกลายเป็น จุดหักเหครั้งใหญ่ของระบบทุนนิยมโลกหลังจากนี้ เพราะมันเป็น วิกฤต (เศรษฐกิจ) ซ้อนวิกฤต (โลกร้อน) ซึ่งกำลังสั่นสะเทือน การดำรงอยู่ “แบบทุนนิยม” ของระบบทุนนิยมโลกในปัจจุบันอย่างรุนแรง
หัวใจของการเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่คือ มีการเล่น เกมเงินตรา จำนวนมหาศาล ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในลักษณะที่เป็น Non Zero-Sum Game จนมีผลกระทบต่อระบบการเงินอย่างรุนแรงเมื่อฟองสบู่แตก เพราะจำนวนเงินในระบบจะลดลงอย่างฮวบฮาบ กล่าวคือ เมื่อใดก็ตาม ที่มีการกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงินต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศมาใช้ในการเล่นเกมเงินตราอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อนั้นจะเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ขึ้นในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น
ภายใต้การเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ จะต้องมีผู้เล่นเกมหลักที่เป็น “ตัวการ” ดำรงอยู่เสมอ ผู้เล่นเกมหลักเหล่านี้จะทำการกู้เงินจำนวนมหาศาลในรูปแบบต่างๆ ด้วยเครื่องมือทางการเงินต่างๆ จากสถาบันการเงินทั้งหลาย เมื่อนำมาใช้ในการเล่น เกมเงินตรา และการเก็งกำไร ที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นก็คือ ตัวสถาบันการเงินเองได้กลายมาเป็น “ตัวการ” กระโดดลงมาเล่น เกมเงินตรา นี้เสียเอง
เกมเงินตรา ในเศรษฐกิจฟองสบู่เป็นเกมที่น่ากลัวมาก เพราะในช่วงที่ฟองสบู่กำลังพองตัวหรือช่วงที่เศรษฐกิจบูมอันเนื่องมาจากกลไกของฟองสบู่ จะเป็นช่วงที่ผู้เล่นเก็งกำไรเป็นผู้ได้กันทั้งหมด แต่ในช่วงที่ฟองสบู่แตก อันเนื่องมาจากกลไกทำลายตัวเองที่ดำรงอยู่ภายใน อันเป็นลักษณะเฉพาะของ จิตวิทยาแห่งการเก็งกำไร จะเป็นช่วงที่ผู้เล่นเก็งกำไรเป็นผู้เสียกันทั้งหมดอย่างย่อยยับอย่างถล่มทลาย เพราะเมื่อใดก็ตามที่การเก็งกำไรและการเล่น เกมเงินตรา ได้กลายเป็นเกมที่มีการกู้เงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงินมาเล่นเก็งกำไรกันอย่างหน้ามืดตามัว มันจะกลายเป็น “เกมขายวิญญาณ” ที่แตกขยายตัวออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง จนยากที่จะมีใครมายับยั้งได้ ไม่ว่าจะมีผู้รู้ท่านใดออกมาเตือนเท่าไหร่ก็ตาม เพราะในช่วงนั้นทุกคนกำลังเล่นได้ เศรษฐกิจและธุรกิจกำลังบูม ผู้ที่ออกมาเตือนเรื่องฟองสบู่ถ้าไม่ถูกมองว่าเพี้ยน ก็จะถูกมองว่าเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย กว่าที่ทั้งสังคมจะเริ่มตาสว่างรับรู้ความจริงที่เป็นมายาของฟองสบู่ ทุกอย่างก็สายเกินแก้ไปเสียแล้ว
เมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นแล้ว ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เป็นสิ่งที่มีเสน่ห์มากกว่า สำหรับผู้เล่น เกมเงินตรา ทั้งนี้เพราะราคาหุ้นยังมีขึ้นมีลงได้โดยง่ายเป็นช่วงๆ แต่ราคาที่ดินเป็นสิ่งที่มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาที่ดินก็จะยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว พร้อมๆ กับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์รูปแบบอื่นๆ
การบูมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีการเล่น เกมเงินตรา ด้วยการกู้เงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงิน ทำให้ราคาที่ดินมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งก่อให้เกิด มายาภาพ ว่า การเล่นที่ดินหรือการซื้อขายที่ดินเพื่อเก็งกำไร คือที่มาของรายได้จำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้ ผู้คนเป็นจำนวนมากและบริษัทขนาดใหญ่ จึงถูกความคิดที่เป็นมายาภาพอันนี้ครอบงำพฤติกรรมของตน จนเต็มใจนำพาตัวเองเข้าสู่ ขบวนการสร้างฟองสบู่ หรือขบวนการเล่นเกมเงินตรา เล่นเก็งกำไรที่ขยายตัวไปทั่วทั้งประเทศอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเกิด โครงสร้างเศรษฐกิจฟองสบู่ ขึ้นมาอย่างชัดแจ้ง ผู้ที่เข้าร่วมเล่นเกมเงินตรานี้ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงของสังคมนั้น ยิ่งถ้าเป็นนายทุนหรือบริษัทขนาดยักษ์ลงมาเล่นเองด้วย ความเสียหายทางเศรษฐกิจจึงมหาศาลยิ่งนัก
ในอีกแง่มุมหนึ่ง เศรษฐกิจฟองสบู่เกิดขึ้นได้ เพราะผู้คนส่วนใหญ่มี ความเชื่อรวมหมู่ ที่แทบไม่ต่างไปจาก อุปทานรวมหมู่ เลยว่า ราคาที่ดินจะยังคงสูงขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อีกหลายปี เพราะฉะนั้นจึงเกิดแรงจูงใจที่ผู้คนจะถอนเงินฝากจากธนาคาร แล้วหันมาซื้อและกักตุนที่ดินเอาไว้แทน เพราะพวกเขาคิดว่า ถ้าถือที่ดินเอาไว้ ถึงอย่างไรก็ปล่อยขายได้กำไรอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ ที่ดินจึงมี “คุณสมบัติใหม่” เพิ่มขึ้นมานอกเหนือไปจากมูลค่าใช้สอยคือ เป็นคุณสมบัติของความคาดหวังว่า ราคาที่ดินจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก คุณสมบัติใหม่ของที่ดิน (รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ที่ตกเป็นเป้าของการเก็งกำไรจะเป็นอะไรก็ได้) ที่เกิดขึ้นมานี้ มิได้มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันกับคุณค่าในการใช้สอยของที่ดิน (และสินค้าที่ตกเป็นเป้าของการเก็งกำไร) แต่อย่างใดเลยแม้แต่น้อย เพียงแต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้คนส่วนใหญ่แห่กันเข้ามาซื้อ “คุณสมบัติใหม่” ของนี้ของที่ดิน (และสินค้าที่ตกเป็นเป้าของการเก็งกำไร) แทนคุณสมบัติเดิมที่เป็นคุณค่าในการใช้สอย เมื่อนั้น การเก็งกำไรขนานใหญ่จะเกิดขึ้น และเป็นที่มาของเศรษฐกิจฟองสบู่ แต่ไม่มีการเก็งกำไรที่ไหนในโลกนี้ที่จะดำรงอยู่สืบเนื่องได้จนเป็นนิรันดร์ เพราะมันจะเป็นไปได้ยังไงที่จะมีแต่เศรษฐกิจฟองสบู่อย่างเดียว โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาภาคเศรษฐกิจที่ทำหน้าที่ผลิตทางวัตถุ และจัดจำหน่ายสินค้าเพื่อการบริโภคและบริการ
ดังนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่ง ผู้ซื้อเพื่อเก็งกำไรที่เป็น “ผู้ขายที่แอบแฝง” ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับความหวั่นไหวไม่มั่นคงของตลาดสินค้าที่ตกเป็นเป้าของการเก็งกำไรที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ เมื่อราคาของสินค้าที่เก็งกำไรนั้นได้สูงขึ้นมากจนยากที่จะพุ่งขึ้นสูงไปกว่านี้ได้อีกแล้ว เมื่อนั้นผู้คนเหล่านี้จะกลายเป็นพวกที่เปราะบางที่สุด ตกใจง่ายที่สุด และหวั่นไหวง่ายที่สุดต่อเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งปวง คนกลุ่มนี้บางส่วนจะเทขายสินค้าเก็งกำไรของตนกลายมาเป็น “ผู้ชายที่แท้จริง” เมื่อเป็นเช่นนั้น ราคาของสินค้าเก็งกำไรนั้นก็จะเริ่มร่วงลงอย่างรวดเร็ว แต่ตราบใดที่การร่วงลงของสินค้าเก็งกำไรนั้นยังตกลงไปไม่ถึงจุดที่เรียกว่า “จุดที่ไม่สามารถจะฟื้นตัวได้อีก” (Point of No-Recovery) ตราบนั้นโอกาสที่พลังความคึกคักแห่งการเก็งกำไรจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกเสมอ
แต่ในที่สุดแล้ว เมื่อ “ปัจจัยแห่งการทำลายตนเอง” ของการเก็งกำไร ทำงานโดยผ่าน วัฏจักรเศรษฐกิจ และ คลื่นยาวเศรษฐกิจ ที่เริ่มต้นจาก
(1) ช่วง เริ่มมีการสะสมความมั่งคั่ง ไปสู่
(2) ช่วง มีปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดขึ้น ไปสู่
(3) ช่วง ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ไปสู่
(4) ช่วง เกิดการเก็งกำไร ไปสู่
(5) ช่วง เงินเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วมาก ไปสู่
(6) ช่วง เกิดอุปสงค์เพิ่มเติมต่อภาคเศรษฐกิจจริง ไปสู่
(7) ช่วง ทางการเริ่มเข้ามาแทรกแซงการปล่อยสินเชื่อ ไปสู่
(8) ช่วง อวสานของการเก็งกำไร ไปสู่
(9) ช่วง เศรษฐกิจถดถอย (จบเกมเงินตรา)
เราจะพบว่า ในช่วง อวสานของการเก็งกำไร ที่จะต้องมาถึงอย่างแน่นอนไม่ช้าก็เร็ว ราคาของสินค้าที่เก็งกำไรนั้น จะร่วมลงมาอย่างฮวบฮาบ จนเลยจุดที่ไม่อาจฟื้นตัวได้อีกต่อไป ราคาของสินค้าเก็งกำไรนั้นก็จะดิ่งลงเหวอย่างที่ไม่มีวันกู่กลับในช่วงระยะเวลาหลายปีที่พอมองเห็นได้ในอนาคต ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะทางเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า “ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ” (Panic) และตามมาด้วย ภาวะเศรษฐกิจถดถอยระยะยาว อันเป็นช่วงเศรษฐกิจคลื่นยาวขาลงที่กินเวลานานปีเลยทีเดียว
ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ (Panic) มิใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงซบเซาทางเศรษฐกิจ ตรงกันข้าม ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจเป็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วงบูมทางเศรษฐกิจที่ทะยานถึงจุดสุดยอดแล้วต่างหาก โดยที่ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจคือ สภาพของการช็อกทางเศรษฐกิจ หรือสึนามิ (คลื่นยักษ์) ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อันเป็นสภาพเริ่มแรกของการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ นั่นเอง
ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจจึงหมายถึง การสิ้นสุดของการบูมทางเศรษฐกิจ มันเป็นจุดหักเหให้วัฏจักรเศรษฐกิจพลิกผันจากเศรษฐกิจขาขึ้นกลายเป็นเศรษฐกิจขาลง มันจึงเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่มีต่อการเก็งกำไรที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย และระบาดไปทั่วในช่วงบูมทางเศรษฐกิจ จึงกล่าวในอีกมุมหนึ่งได้ว่า ตราบใดที่ฟองสบู่ยังไม่แตก หรือความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจยังไม่เกิดขึ้น ตราบนั้น ภาวะบูมหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็จะดำรงอยู่ต่อไป ส่วน ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) หมายถึง สภาวะภายหลังจากที่ช่วงบูมล่มสลายอันเกิดมาจากการที่เกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ หรือฟองสบู่แตกโดยที่ ความยืดเยื้อยาวนานของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ หลังจากนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของความมั่งคั่งที่สังคมนั้นได้สูญเสียไปจากการเก็งกำไร และการล่มสลายของเศรษฐกิจฟองสบู่
ตอนนี้ขอให้เรามาทบทวนกันอีกครั้งว่า เศรษฐกิจฟองสบู่คืออะไร? นิยามของผู้เขียนที่พยายามให้กระชับที่สุดก็คือ เศรษฐกิจฟองสบู่คือ ภาวะบูมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากมายาภาพของคนส่วนใหญ่ที่มีความเชื่อรวมหมู่ร่วมกันว่า ราคาของสินค้าที่สามารถเก็งกำไรได้ เช่น หุ้น ที่ดิน ทองคำ ภาพเขียน บ้าน คอนโดมิเนียม สมาชิกสนามกอล์ฟ ใบจองรถยนต์ พันธบัตร ฯลฯ จะมีราคาสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทุกคนจึงหันมาเล่นเกมเงินตราเพื่อแสวงหากำไรจากหลักทรัพย์ที่ได้จากการเก็งกำไร แล้วกำไรชนิดนี้เป็นตัวกระตุ้นการบริโภค สร้างดีมานด์เทียมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หายนะของเศรษฐกิจฟองสบู่จะเกิดขึ้น เมื่อมีการกู้เงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงินเข้ามาเล่นเกมเงินตรานี้ โดยมวลชนและบริษัทเอกชนจำนวนมากได้แห่เข้ามาเล่นเกมเก็งกำไรนี้ด้วยอย่างบ้าคลั่ง จนไม่มีใครสามารถยับยั้งได้จนกว่าฟองสบู่จะแตก
ถ้าหากว่า เศรษฐกิจฟองสบู่ไทย ในช่วง พ.ศ. 2531-2539 ได้สร้าง อภิมหาเศรษฐีอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นมาได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น หลังจาก ฟองสบู่แตก ผลพวงของการแตกของเศรษฐกิจฟองสบู่ไทยในครั้งนั้น ยังก่อให้เกิด ระบอบทักษิณ ตามมาอีกด้วย แต่กว่าที่ผู้คนจะเริ่มตาสว่างก็ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี หลังจากนั้นเลยทีเดียว (ยังมีต่อ)