ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยกำลังผนึกกำลังกันเพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย อันถือได้ว่าเป็นศัตรูร่วมของคนทั้งประเทศโดยมีรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นแกนนำในการต่อสู้กับภาวะที่ว่านี้ คนกลุ่มหนึ่งภายใต้สัญลักษณ์ของเสื้อแดงได้ทำการเคลื่อนไหวก่อกวน ขัดขวางการทำงานของรัฐบาล ด้วยเหตุอ้างเพียงว่ามาด้วยความไม่ชอบธรรม เนื่องจากพรรคที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลคือพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคมีเสียงข้างน้อย เมื่อเทียบกับพรรคเพื่อไทยที่มี ส.ส.มาจากพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบไป และที่น่าจะเป็นเหตุอ้างว่าเป็นความไม่ชอบธรรมมากที่สุดก็คือ การที่ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรรคเพื่อไทยได้แยกตัวออกมาสนับสนุนให้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้รัฐบาลผสมเกิดขึ้นได้
กลุ่มเสื้อแดงที่ว่านี้ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในหลายรูปแบบเพื่อต่อต้านรัฐบาล แต่กิจกรรมที่โดดเด่นและถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักของกลุ่มนี้ก็คือการจัดรายการความจริงวันนี้ ซึ่งมีนายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นแกนนำในนามกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า นปช.
ในอดีตที่ผ่านมาก่อนที่รัฐบาลชุดนี้จะเกิดขึ้นกลุ่มเสื้อแดงได้จัดชุมนุมมาหลายครั้ง และแต่ละครั้งก็จะมีคนมาร่วมหนาแน่นพอสมควรมีจำนวนเป็นพันเป็นหมื่นคนขึ้นไป และเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้มาร่วมชุมนุมส่วนใหญ่จะมาจากภาคอีสานและภาคเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคใต้มีบ้างก็ไม่มากเมื่อเทียบกับ 2 ภาคดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคใต้มีน้อยมาก ทั้งๆ ที่ผู้ที่เป็นแกนนำสำคัญล้วนแล้วแต่มาจากภาคใต้ ทั้งนี้น่าจะด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. พรรคการเมืองที่กลุ่มสังกัด และให้การสนับสนุนคือ พรรคพลังประชาชน มีฐานเสียงทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน และภาคเหนือ จะเห็นได้จาก ส.ส.ที่ได้รับเลือกส่วนใหญ่มาจาก 2 ภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคอีสานมากที่สุด
2. นโยบายประชานิยมที่พรรคไทยรักไทยเริ่มและสืบทอดด้วยพรรคพลังประชาชนได้รับการตอบรับจากประชาชนคนชั้นรากหญ้าในภาคเหนือและภาคอีสานมากที่สุด จนดูประหนึ่งว่าคนใน 2 ภาคนี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนักการเมืองในระบอบทักษิณ
ดังนั้น เมื่อมีการเรียกระดมพลคนเสื้อแดงจากแกนนำก็จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลโดยมี ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินเข้าร่วม ก็เกิดปรากฏการณ์ทางการเมืองสวนทางกับอดีตในยุคที่พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล กล่าวคือ กลุ่มเสื้อแดงขัดแย้งกัน จะเห็นได้จากการที่แกนนำกลุ่มเสื้อแดงในภาคอีสาน เช่น อุดรธานี และศรีสะเกษ ได้ออกมาปฏิเสธที่จะมาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 31 มกราคมที่จะถึงนี้ เนื่องจากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างนายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำกลุ่มคนรักอุดร ที่ออกมาโจมตีแกนนำในทางการเมืองในทำนองว่าไม่ช่วยเหลือดูแลทางด้านการเงินให้กลุ่มตน และทำให้เดือดร้อน ทั้งเหตุผลในการไม่มาชุมนุมก็ดูจะแปลกไปจากแนวคิดของแกนนำ นปช.กล่าวคือ ฝ่ายคนรักอุดรฯ และศรีสะเกษบอกว่าให้โอกาสรัฐบาลทำงานระยะหนึ่ง ถ้าไม่มีผลงานค่อยเคลื่อนไหว
แต่กลุ่มแกนนำ นปช.ที่จะจัดชุมนุมในวันที่ 31 มกราคม เห็นว่าจะต้องเดินหน้าเพื่อต่อต้านโดยไม่ฟังเหตุผลใดๆ ของกลุ่มเสื้อแดง ทั้งในส่วนของอุดรฯ และศรีสะเกษ
ดังนั้น การจัดชุมนุมในวันที่ 31 มกราคมของกลุ่ม นปช.จึงเท่ากับเป็นบทพิสูจน์ภาวะผู้นำของกลุ่มเสื้อแดงทั้งประเทศว่า จะยอมให้คนกลุ่มนี้ชี้นำในทางการเมืองหรือไม่
แต่อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า โอกาสที่แกนนำ นปช.จะได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำกลุ่มเสื้อแดงอย่างท่วมท้นเหมือนอดีตคงเกิดขึ้นได้ยาก ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. แกนนำ นปช.คนสำคัญ 3 คน คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ล้วนแล้วแต่เป็นคนภาคใต้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้รับการยอมรับจากคนภาคใต้ด้วยกัน จึงไม่มีฐานทางการเมืองในบ้านเกิดของตนเองมากพอที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในภาคใต้เพื่อแข่งกับผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้ผันตัวเองมาหาตำแหน่งทางการเมืองจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน หรือแม้กระทั่งพรรคเพื่อไทยซึ่งสืบทอดมาจากพรรคไทยรักไทยเป็นทอดๆ จึงเท่ากับมาอาศัยฐานการเมืองจากคนภาคอีสาน และภาคเหนือเติบโตทางการเมือง
ดังนั้น เมื่อแกนนำเสื้อแดงจากภาคเหนือและภาคอีสานบางส่วนปฏิเสธการมาร่วมชุมนุม จึงยากที่การชุมนุมในวันที่ 31 มกราคม จะเกิดอย่างยิ่งใหญ่สมราคาที่คุยไว้ได้
2. ในการจัดชุมนุมแต่ละครั้งจะต้องมีกำลังทางด้านการเงินมาเกื้อหนุนจากกลุ่มทุนทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากกลุ่มอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร แต่วันนี้และเวลานี้ดูเหมือนว่ากำลังเงินจากกลุ่มทุนที่ว่านี้น้อยลง หรือถึงขั้นปฏิเสธการจ่ายให้แล้ว จึงทำให้กำลังเงินลดลงหรือร่อยหรอไม่อยู่ในขั้นเดินต่อไปได้ จึงยากที่จะทำให้การชุมนุมซึ่งต้องอาศัยเงินเกิดขึ้นได้อย่างที่ต้องการ
3. การที่ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินได้เข้ามาร่วมเป็นรัฐบาล ก็เท่ากับว่ากลุ่มเสื้อแดงได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คัดค้านรัฐบาล และกลุ่มที่กำลังจะกลายเป็นพลังหนุนรัฐบาลแล้วหันไปต่อต้านเสื้อแดงด้วยกัน ภายใต้การกำกับและสั่งการของ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน
ด้วยเหตุ 3 ประการที่ว่ามานี้ น่าจะพอคาดเดาได้ว่าการจัดชุมนุมของกลุ่ม นปช.ในวันที่ 31 มกราคม จะอยู่ในภาวะแตกแยก และรอวันดับลงด้วยหมดแรงหนุนของเงิน และอำนาจรัฐ ทั้งจะถูกต่อต้านด้วยกลุ่มเสื้อแดงด้วยกันแต่สังกัดนักการเมืองต่างกลุ่มกัน
สุดท้าย ถ้าท่านผู้อ่านติดตามดูไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม ก็คงจะได้เห็นเสื้อแดงเปลี่ยนสี และแยกกันเดินคนละทิศคนละทางเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของแต่ละคน
กลุ่มเสื้อแดงที่ว่านี้ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในหลายรูปแบบเพื่อต่อต้านรัฐบาล แต่กิจกรรมที่โดดเด่นและถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักของกลุ่มนี้ก็คือการจัดรายการความจริงวันนี้ ซึ่งมีนายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นแกนนำในนามกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า นปช.
ในอดีตที่ผ่านมาก่อนที่รัฐบาลชุดนี้จะเกิดขึ้นกลุ่มเสื้อแดงได้จัดชุมนุมมาหลายครั้ง และแต่ละครั้งก็จะมีคนมาร่วมหนาแน่นพอสมควรมีจำนวนเป็นพันเป็นหมื่นคนขึ้นไป และเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้มาร่วมชุมนุมส่วนใหญ่จะมาจากภาคอีสานและภาคเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคใต้มีบ้างก็ไม่มากเมื่อเทียบกับ 2 ภาคดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคใต้มีน้อยมาก ทั้งๆ ที่ผู้ที่เป็นแกนนำสำคัญล้วนแล้วแต่มาจากภาคใต้ ทั้งนี้น่าจะด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. พรรคการเมืองที่กลุ่มสังกัด และให้การสนับสนุนคือ พรรคพลังประชาชน มีฐานเสียงทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน และภาคเหนือ จะเห็นได้จาก ส.ส.ที่ได้รับเลือกส่วนใหญ่มาจาก 2 ภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคอีสานมากที่สุด
2. นโยบายประชานิยมที่พรรคไทยรักไทยเริ่มและสืบทอดด้วยพรรคพลังประชาชนได้รับการตอบรับจากประชาชนคนชั้นรากหญ้าในภาคเหนือและภาคอีสานมากที่สุด จนดูประหนึ่งว่าคนใน 2 ภาคนี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนักการเมืองในระบอบทักษิณ
ดังนั้น เมื่อมีการเรียกระดมพลคนเสื้อแดงจากแกนนำก็จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลโดยมี ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินเข้าร่วม ก็เกิดปรากฏการณ์ทางการเมืองสวนทางกับอดีตในยุคที่พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล กล่าวคือ กลุ่มเสื้อแดงขัดแย้งกัน จะเห็นได้จากการที่แกนนำกลุ่มเสื้อแดงในภาคอีสาน เช่น อุดรธานี และศรีสะเกษ ได้ออกมาปฏิเสธที่จะมาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 31 มกราคมที่จะถึงนี้ เนื่องจากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างนายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำกลุ่มคนรักอุดร ที่ออกมาโจมตีแกนนำในทางการเมืองในทำนองว่าไม่ช่วยเหลือดูแลทางด้านการเงินให้กลุ่มตน และทำให้เดือดร้อน ทั้งเหตุผลในการไม่มาชุมนุมก็ดูจะแปลกไปจากแนวคิดของแกนนำ นปช.กล่าวคือ ฝ่ายคนรักอุดรฯ และศรีสะเกษบอกว่าให้โอกาสรัฐบาลทำงานระยะหนึ่ง ถ้าไม่มีผลงานค่อยเคลื่อนไหว
แต่กลุ่มแกนนำ นปช.ที่จะจัดชุมนุมในวันที่ 31 มกราคม เห็นว่าจะต้องเดินหน้าเพื่อต่อต้านโดยไม่ฟังเหตุผลใดๆ ของกลุ่มเสื้อแดง ทั้งในส่วนของอุดรฯ และศรีสะเกษ
ดังนั้น การจัดชุมนุมในวันที่ 31 มกราคมของกลุ่ม นปช.จึงเท่ากับเป็นบทพิสูจน์ภาวะผู้นำของกลุ่มเสื้อแดงทั้งประเทศว่า จะยอมให้คนกลุ่มนี้ชี้นำในทางการเมืองหรือไม่
แต่อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า โอกาสที่แกนนำ นปช.จะได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำกลุ่มเสื้อแดงอย่างท่วมท้นเหมือนอดีตคงเกิดขึ้นได้ยาก ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. แกนนำ นปช.คนสำคัญ 3 คน คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ล้วนแล้วแต่เป็นคนภาคใต้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้รับการยอมรับจากคนภาคใต้ด้วยกัน จึงไม่มีฐานทางการเมืองในบ้านเกิดของตนเองมากพอที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในภาคใต้เพื่อแข่งกับผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้ผันตัวเองมาหาตำแหน่งทางการเมืองจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน หรือแม้กระทั่งพรรคเพื่อไทยซึ่งสืบทอดมาจากพรรคไทยรักไทยเป็นทอดๆ จึงเท่ากับมาอาศัยฐานการเมืองจากคนภาคอีสาน และภาคเหนือเติบโตทางการเมือง
ดังนั้น เมื่อแกนนำเสื้อแดงจากภาคเหนือและภาคอีสานบางส่วนปฏิเสธการมาร่วมชุมนุม จึงยากที่การชุมนุมในวันที่ 31 มกราคม จะเกิดอย่างยิ่งใหญ่สมราคาที่คุยไว้ได้
2. ในการจัดชุมนุมแต่ละครั้งจะต้องมีกำลังทางด้านการเงินมาเกื้อหนุนจากกลุ่มทุนทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากกลุ่มอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร แต่วันนี้และเวลานี้ดูเหมือนว่ากำลังเงินจากกลุ่มทุนที่ว่านี้น้อยลง หรือถึงขั้นปฏิเสธการจ่ายให้แล้ว จึงทำให้กำลังเงินลดลงหรือร่อยหรอไม่อยู่ในขั้นเดินต่อไปได้ จึงยากที่จะทำให้การชุมนุมซึ่งต้องอาศัยเงินเกิดขึ้นได้อย่างที่ต้องการ
3. การที่ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินได้เข้ามาร่วมเป็นรัฐบาล ก็เท่ากับว่ากลุ่มเสื้อแดงได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คัดค้านรัฐบาล และกลุ่มที่กำลังจะกลายเป็นพลังหนุนรัฐบาลแล้วหันไปต่อต้านเสื้อแดงด้วยกัน ภายใต้การกำกับและสั่งการของ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน
ด้วยเหตุ 3 ประการที่ว่ามานี้ น่าจะพอคาดเดาได้ว่าการจัดชุมนุมของกลุ่ม นปช.ในวันที่ 31 มกราคม จะอยู่ในภาวะแตกแยก และรอวันดับลงด้วยหมดแรงหนุนของเงิน และอำนาจรัฐ ทั้งจะถูกต่อต้านด้วยกลุ่มเสื้อแดงด้วยกันแต่สังกัดนักการเมืองต่างกลุ่มกัน
สุดท้าย ถ้าท่านผู้อ่านติดตามดูไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม ก็คงจะได้เห็นเสื้อแดงเปลี่ยนสี และแยกกันเดินคนละทิศคนละทางเพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของแต่ละคน