ASTV ผู้จัดการรายวัน - อดีตเลขาธิการสปส.ค้านโครงการซื้อข้าวสารแจก ด้านรัฐมนตรีแรงงาน สั่งเบรกโครงการแล้ว แต่ขอเดินหน้าลดเก็บเงินเหลือ 2.5% ล่าสุดบอร์ดลงมติอนุมัติแล้ว ยืนยันไม่กระทบเงินกองทุน 5แสนล้าน แต่กำไรอาจหดตัว 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่บรรดาสมาชิกออกโรงค้าน พร้อมไม่เห็นด้วย หวั่นอนาคตกองทุนสั่นคลอน
นายไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอดีตเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) อนุมัติการนำเงินกองทุนประกันสังคมกว่า 1 พันล้านบาท ดำเนินโครงการซื้อข้าวสารแจกผู้ประกันตนกว่า 9.3 ล้านคน คนละ 5 กิโลกรัมว่า ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงการเดิมที่เคยเสนอมาช่วยเหลือผู้ประกันตนในช่วงที่มีการจำกัดการซื้อข้าว ดังนั้นกระทรวงแรงงานควรมีมาตรการอื่น ในการช่วยเหลือผู้ประกันตนจะดีกว่า
โดยคิดว่าการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตน หลังถูกเลิกจ้างใน 2 ลักษณะ คือ การบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ใช้แรงงานสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อถูกเลิกจ้าง และการฝึกทักษะฝีมือในการปรับเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งโครงการดังกล่าวควรจะใช้งบประมาณของรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ ไม่ใช่นำเงินในกองทุนประกันสังคมมาใช้ และโครงการดังกล่าว นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบให้ตนเองศึกษาและดำเนินการ
“หากกระทรวงแรงงานต้องการช่วยเหลือผู้ประกันตนในลักษณะของสินค้าอุปโภค บริโภคจริง ก็อาจมีการขอความร่วมมือจากสถานประกอบการและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ในการจัดมุมสินค้าให้กับผู้ประกันตน ที่มีบัตรประกันสังคม โดยอาจจะมีการลดราคาสินค้าในอัตราร้อยละ 5-10 ของราคาสินค้า น่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า”นายไพโรจน์ กล่าว
ด้านนายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความเห็นคัดค้านกับมติคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ว่า โครงการดังกล่าวไม่ใช่แนวความคิดของตน แต่เป็นเรื่องเก่าที่ทำมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว และมีการเสนอให้บอร์ด สปส.พิจารณาถึง 6 ครั้ง ซึ่งล่าสุดแม้ข้อสรุปของบอร์ด สปส.จะยังไม่มาถึงตนอย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อมวลชน ตนได้พิจารณาถึงข้อดีข้อเสียแล้ว เห็นว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน หากยังเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป ก็อาจเกิดประโยชน์กับผู้ประกันตนไม่มากนัก เพราะข้าวสาร 5 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 100 กว่าบาท แต่ทั้งโครงการต้องใช้เงินถึง 1,000 ล้านบาท จึงสั่งให้มีการยกเลิกโครงการดังกล่าวไปแล้ว
นายไพฑูรย์ ยังกล่าวถึงมติที่ประชุม บอร์ด สปส.ที่จะให้นายจ้างและลูกจ้างการลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมร้อยละ 2.5 ว่าจะยังคงเดินหน้าต่อ เพราะเป็นนโยบายที่ตนมอบให้ สปส.พิจารณาเองโดยเห็นว่าหากทำได้จะช่วยไม่ให้กองทุนประกันสังคม ได้รับผลกระทบหากคนตกงานจำนวนมากถึง 1 ล้านคน ซึ่งอาจต้องเสียเงินจากกรณีว่างงาน มากกว่า 40,000 ล้านบาท พร้อมยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับกองทุนฯ ในอนาคต เพราะทำในระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและนายจ้างภายในปีนี้เท่านั้น
โดย น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)เห็นว่า หากมีการลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฯร้อยละ 2.5 จริง จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างได้เล็กน้อยเท่านั้น แต่ประโยชน์ตกอยู่กับนายจ้าง และจะส่งผลกระทบกับเงินกองทุนในอนาคตด้วย ขณะที่การจัดซื้อข้าวแก่ผู้ประกันตนนั้น ตนคัดค้าน เพราะอาจเป็นช่องทางให้มีการทุจริตขึ้นจึงแนะว่าทำคูปองค่าครองชีพเข้าท่ากว่า
ขณะเดียวกัน นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการประกันสังคม กล่าวถึงมาตรการการช่วยเหลือผู้ประกันตนที่มีเงินเดือนไม่เกิน 14,999 บาทต่อคนเพียงครั้งเดียว ในวงเงิน 2,000 บาท ว่า ในวันที่ 28 มกราคมนี้ จะนำเลขบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนทั้งหมดเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และจะเข้าประชุมวาระที่ 2-3 ในวันที่ 10 – 11 กุมภาพันธ์ หลังจากนี้จะนำเข้าวุฒิสภาหลังจากที่มีการเห็นชอบแล้วจะมีการนำทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ทั้งนี้ในวันที่ 28 มกราคม จะนำโครงการของงบประมาณกลางปี จำนวน 1.15 แสนล้านบาทเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ส่วนในเดือนพฤศจิกายน ปี 2551 มีผู้ถูกเลิกจ้างงานทะเบียนการว่างงาน เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของเดือนเดียวกันในปี 50 และในเดือนธันวาคม ปี 51 มีจำนวนผู้ที่เลิกจ้างมาขึ้นทะเบียนการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของปี 50 จำนวนกว่า 20,000 คน และในปี 2551 สำนักงานประกันสังคมได้จ่ายเงินทดแทนการประกันการว่างงานแก่ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างไปแล้วกว่า 2,400 ล้านบาท
ทั้งนี้ ล่าสุด นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดสปส.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดสปส.(20 ม.ค.) มีมติเห็นชอบในหลักการ ลดการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลง จากเดิมที่นายจ้างและลูกจ้างต้องจ่าย 5% ของรายได้ เหลือจ่ายเพียง 2.5% โดยระหว่างนี้ สปส.จะใช้เวลา 60 วันในการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติร่างกฎกระทรวง ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ ในระหว่างกระบวนการจัดทำจะมีการประเมินสถานการณ์เลิกจ้างว่ามีความรุนแรงหรือไม่ ก่อนที่จะนำมาบังคับใช้อีกครั้ง โดยมีระยะเวลาของการลดการจ่ายเงินสมทบจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมนี้
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการลดจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนครั้งนี้ ไม่ได้กระทบต่อเงินกองทุนประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันเงินกองทุนประกันสังคมมีกว่า 500,000 ล้านบาท แต่จะกระทบกับผลกำไรของกองทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท
นายไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอดีตเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) อนุมัติการนำเงินกองทุนประกันสังคมกว่า 1 พันล้านบาท ดำเนินโครงการซื้อข้าวสารแจกผู้ประกันตนกว่า 9.3 ล้านคน คนละ 5 กิโลกรัมว่า ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงการเดิมที่เคยเสนอมาช่วยเหลือผู้ประกันตนในช่วงที่มีการจำกัดการซื้อข้าว ดังนั้นกระทรวงแรงงานควรมีมาตรการอื่น ในการช่วยเหลือผู้ประกันตนจะดีกว่า
โดยคิดว่าการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตน หลังถูกเลิกจ้างใน 2 ลักษณะ คือ การบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ใช้แรงงานสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อถูกเลิกจ้าง และการฝึกทักษะฝีมือในการปรับเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งโครงการดังกล่าวควรจะใช้งบประมาณของรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ ไม่ใช่นำเงินในกองทุนประกันสังคมมาใช้ และโครงการดังกล่าว นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบให้ตนเองศึกษาและดำเนินการ
“หากกระทรวงแรงงานต้องการช่วยเหลือผู้ประกันตนในลักษณะของสินค้าอุปโภค บริโภคจริง ก็อาจมีการขอความร่วมมือจากสถานประกอบการและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ในการจัดมุมสินค้าให้กับผู้ประกันตน ที่มีบัตรประกันสังคม โดยอาจจะมีการลดราคาสินค้าในอัตราร้อยละ 5-10 ของราคาสินค้า น่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า”นายไพโรจน์ กล่าว
ด้านนายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความเห็นคัดค้านกับมติคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ว่า โครงการดังกล่าวไม่ใช่แนวความคิดของตน แต่เป็นเรื่องเก่าที่ทำมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว และมีการเสนอให้บอร์ด สปส.พิจารณาถึง 6 ครั้ง ซึ่งล่าสุดแม้ข้อสรุปของบอร์ด สปส.จะยังไม่มาถึงตนอย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อมวลชน ตนได้พิจารณาถึงข้อดีข้อเสียแล้ว เห็นว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน หากยังเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป ก็อาจเกิดประโยชน์กับผู้ประกันตนไม่มากนัก เพราะข้าวสาร 5 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเพียง 100 กว่าบาท แต่ทั้งโครงการต้องใช้เงินถึง 1,000 ล้านบาท จึงสั่งให้มีการยกเลิกโครงการดังกล่าวไปแล้ว
นายไพฑูรย์ ยังกล่าวถึงมติที่ประชุม บอร์ด สปส.ที่จะให้นายจ้างและลูกจ้างการลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมร้อยละ 2.5 ว่าจะยังคงเดินหน้าต่อ เพราะเป็นนโยบายที่ตนมอบให้ สปส.พิจารณาเองโดยเห็นว่าหากทำได้จะช่วยไม่ให้กองทุนประกันสังคม ได้รับผลกระทบหากคนตกงานจำนวนมากถึง 1 ล้านคน ซึ่งอาจต้องเสียเงินจากกรณีว่างงาน มากกว่า 40,000 ล้านบาท พร้อมยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับกองทุนฯ ในอนาคต เพราะทำในระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและนายจ้างภายในปีนี้เท่านั้น
โดย น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)เห็นว่า หากมีการลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฯร้อยละ 2.5 จริง จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างได้เล็กน้อยเท่านั้น แต่ประโยชน์ตกอยู่กับนายจ้าง และจะส่งผลกระทบกับเงินกองทุนในอนาคตด้วย ขณะที่การจัดซื้อข้าวแก่ผู้ประกันตนนั้น ตนคัดค้าน เพราะอาจเป็นช่องทางให้มีการทุจริตขึ้นจึงแนะว่าทำคูปองค่าครองชีพเข้าท่ากว่า
ขณะเดียวกัน นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการประกันสังคม กล่าวถึงมาตรการการช่วยเหลือผู้ประกันตนที่มีเงินเดือนไม่เกิน 14,999 บาทต่อคนเพียงครั้งเดียว ในวงเงิน 2,000 บาท ว่า ในวันที่ 28 มกราคมนี้ จะนำเลขบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนทั้งหมดเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และจะเข้าประชุมวาระที่ 2-3 ในวันที่ 10 – 11 กุมภาพันธ์ หลังจากนี้จะนำเข้าวุฒิสภาหลังจากที่มีการเห็นชอบแล้วจะมีการนำทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ทั้งนี้ในวันที่ 28 มกราคม จะนำโครงการของงบประมาณกลางปี จำนวน 1.15 แสนล้านบาทเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ส่วนในเดือนพฤศจิกายน ปี 2551 มีผู้ถูกเลิกจ้างงานทะเบียนการว่างงาน เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของเดือนเดียวกันในปี 50 และในเดือนธันวาคม ปี 51 มีจำนวนผู้ที่เลิกจ้างมาขึ้นทะเบียนการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของปี 50 จำนวนกว่า 20,000 คน และในปี 2551 สำนักงานประกันสังคมได้จ่ายเงินทดแทนการประกันการว่างงานแก่ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างไปแล้วกว่า 2,400 ล้านบาท
ทั้งนี้ ล่าสุด นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดสปส.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดสปส.(20 ม.ค.) มีมติเห็นชอบในหลักการ ลดการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลง จากเดิมที่นายจ้างและลูกจ้างต้องจ่าย 5% ของรายได้ เหลือจ่ายเพียง 2.5% โดยระหว่างนี้ สปส.จะใช้เวลา 60 วันในการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติร่างกฎกระทรวง ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ ในระหว่างกระบวนการจัดทำจะมีการประเมินสถานการณ์เลิกจ้างว่ามีความรุนแรงหรือไม่ ก่อนที่จะนำมาบังคับใช้อีกครั้ง โดยมีระยะเวลาของการลดการจ่ายเงินสมทบจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมนี้
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการลดจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนครั้งนี้ ไม่ได้กระทบต่อเงินกองทุนประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันเงินกองทุนประกันสังคมมีกว่า 500,000 ล้านบาท แต่จะกระทบกับผลกำไรของกองทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท