xs
xsm
sm
md
lg

พล.อ.อ.อิทธิพร เสืออากาศยุคที่ 4

เผยแพร่:   โดย: ว.ร.ฤทธาคนี

คริส เบลล์ นักเขียนเรื่องการสงครามชาวอังกฤษได้จัดให้ F-16 เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ หรือรบได้ทุกรูปแบบ เป็นเครื่องบินรบยุคที่ 4 ในปัจจุบันนี้มีการกำหนดว่าเครื่องบินรบที่เข้าประจำการตั้งแต่ ค.ศ. 1980-2010 เป็นเครื่องบินรบยุคที่ 4 แต่ คริส เบลล์หยิบยกว่า F-16 เป็นเครื่องบินรบที่บินด้วยระบบสั่งการบินไฟฟ้าหรือ Fly By Wire ขณะที่เครื่องบินของ Air Bus เป็นเครื่องบินโดยสารที่บินด้วยระบบไฟฟ้าเช่นกัน

F-16 เป็นเครื่องบินรบที่บินด้วยระบบดิจิตอล และใช้ระบบ Head up Display on Glass Cockpit หรือระบบแสดงการประมวลผลของการบินรบทุกระบบของเครื่องบินถูกนำไปฉายปรากฏบนกระโปรงแก้วครอบหรือ All Glass Canopy ที่นักบินสามารถบังคับเครื่องบินบินรบได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องก้มดูแผงหน้าปัดเครื่องบินที่มีอยู่นับร้อย นักบินจึงต้องมีสติตลอดเวลาขณะที่สมองสั่งการว่าจะต้องดูระบบอะไรเป็นหลักในขณะไหน และกำลังทำอะไรอยู่ เช่น กำลังบิน Dog Fight อยู่หรือกำลังบินโจมตีทั้งระเบิด นักบินจะต้องเลือกใช้ Modeให้ถูกต้องมิฉะนั้นถูกยิงตก

ปัจจุบันมีกลุ่มเครื่องบินขับไล่เรียกว่ายุคที่ 4 ครึ่งหรือ Fourth and A half Generation Fighter ที่ Grippen หรือ Jas 39 ของสวีเดนรวมอยู่ด้วย ถ้าไม่เชื่อก็ลองเข้าใน Website wikipedia และ click ที่พิมพ์ว่า Fourth Generation Jet Fighter ก็จะพบว่ามีกลุ่มเครื่องบินรบแบบต่างๆ ในกลุ่มยุคนี้และยุคหน้า

กองทัพอากาศไทยจัดหาเครื่องบิน F-16 ฝูงแรกโดยการตัดสินใจของ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ.ขณะนั้นในปี 2531 ภายใต้รหัสโครงการว่า สันตินเรศวร 1

โดยครั้งนี้ ทอ.ต้องเตรียมการรับเครื่องบิน F-16 ทุกมิติให้พร้อมโดยเฉพาะคนเพราะรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นห่วงความสามารถของนักบินไทยว่าจะบินเครื่องขับไล่ไอพ่นยุคที่ 4 ได้หรือไม่ ทางการกลาโหมสหรัฐฯ เดินทางมาประเมินความสามารถนักบิน ทอ.ไทยเป็นอันดับแรก และนักบินโดยกลุ่มแรกมี พล.อ.อ.อิทธิพล ขณะมียศเป็นนาวาอากาศโทร่วมอยู่ด้วยในฐานะหัวหน้าชุดซึ่งความสามารถครบถ้วน ทั้งภาควิชาการและฝีมือบินซึ่งเทคนิคการบิน F-16 เป็นบทเรียนใหม่ทั้งสิ้นจากอนาล็อกมาเป็นดิจิตอล

นักบินในกลุ่มนี้มีหลายคน เช่น พล.อ.ท.ประจิน จั่นตองและ พล.อ.ท.ชนะ อยู่สถาพร ซึ่งนักบินเหล่านี้ไม่ได้รับการกลั่นกรองและยอมรับเฉพาะในกองทัพอากาศไทยเท่านั้น แต่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ต้องยอมรับด้วยเพราะกลั่นกรองโดยนักบินอเมริกันเองและนักบิน F-16 ชุดแรกนี้จะต้องไปฝึกบินจนสามารถควบคุม F-16 ได้ดีปลอดภัยเพื่อบิน F-16 จำนวน 12 เครื่องจากสหรัฐฯ กลับโคราช และต้องเป็นกลุ่มที่ต้องตรวจรับ F-16 ฝูงแรกจำนวน 12 เครื่องนี้อีกด้วย จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับ F-16 ละเอียด

ผู้บังคับฝูงบิน F-16 คนแรกคือ พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ จึงสามรถพูดได้ว่าเขาคือแม่ทัพอากาศเครื่องขับไล่ไอพ่นยุคที่ 4 หรือเสืออากาศยุคที่ 4 นั่นเอง การสร้างวัฒนธรรมองค์กรหรือการสร้างวัฒนธรรมนักบินขับไล่ยุคที่ 4 นั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะวัฒนธรรมใหม่นั้นจะเข้มข้นควบระหว่างความรู้และฝีมือบินรบ

และเป็นเรื่องมหัศจรรย์มากคือนับตั้งแต่กองทัพอากาศไทยมี F-16 เข้าประจำการตั้งแต่ พ.ศ. 2531 จนปัจจุบันก็ครบ 20 ปีแล้ว แต่ยังไม่เคยมี F-16 ประสบอุบัติเหตุเลยแม้แต่เครื่องเดียว และปรากฏการณ์นี้วิเคราะห์ได้ 2 ประการคือ การเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้บังคับฝูงบินที่ต้องมีวินัยการบินดีเยี่ยม และจะต้องมีความขยันมุ่งมั่นที่จะใฝ่หาวิชาความรู้เกี่ยวกับการบินการรบ การบินให้รอดจากการยิงของข้าศึก และการเอาชนะข้าศึกทุกรูปแบบตลอดเวลา จึงไม่เป็นที่สงสัยว่าวัฒนธรรมองค์กรฝูงบินขับไล่ยุคที่ 4 และยุคที่ 4 ครึ่ง ที่ถูกวางรากฐานไว้โดยผู้ฝูงอิทธิพล ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการรักษาศักยภาพการรบทางอากาศไว้เพื่อรักษาน่านฟ้าไทย

“ผู้ฝูงอิทธิพร” เป็นหัวหน้าหมู่นำกำลังรบ F-16 จำนวน 8 เครื่องเข้าร่วมทำการซ้อมรบทางอากาศที่ Clark Air Force Base ของ ทอ.สหรัฐฯ ที่ 13 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ และทอ.สหรัฐฯเรียกว่าการฝึกนี้ว่า Cope Thunder ณ สนามฝึกการรบทางอากาศที่ Crow Valley ที่ซึ่งนักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองกำลังทางอากาศนาวิกโยธิน สหรัฐฯ ซ้อมรบกันเป็นประจำทุกปี

ในการฝึกแต่ละครั้งมีเครื่องบินรบมากกว่า 100 เครื่อง ทั้ง F-16, F-15, F-14, F-18 ทำการบินฝึกพร้อมๆ กันและ F-5 แบบพิเศษทำหน้าที่เป็นฝ่ายข้าศึกสมมติทำการบินเหมือน Mig-21 ทำการรบทั้งแบบอากาศสู่อากาศ และอากาศสู่พื้นดินโดยมีระบบจรวดต่อสู้อากาศยานที่ฝ่ายอดีตโซเวียตมีใช้และจำลองผลด้วยคอมพิวเตอร์ให้เหมือนจริงคือ ถ้าเรดาร์จับได้และนักบินหนีไม่ออก ก็ถือว่าถูกยิงตก

และผู้ฝูงอิทธิพรได้รับเกียรตินำหมู่บินใหญ่ (Package) มีเครื่องบินกว่า 100 เครื่องเป็น Air Campaign ที่กล่าวเช่นนี้เพราะนักบินฝรั่งไม่ค่อยยอมให้ใครมาเป็นหัวหน้าหมู่บินรบขนาดใหญ่เช่นนี้ถ้าฝีมือบินไม่ยิ่งใหญ่พอ

นอกจากนั้น ผบ.ทอ.คนปัจจุบันเป็นผู้หนึ่งที่ทำการบินกับ Jas 39 Grippen ของสวีเดน ประเทศเป็นกลางที่ต้องมีปรัชญาว่า “การที่จะเอาชนะการรุกรานได้ต้องมีอำนาจการรบที่สมบูรณ์แบบทรงประสิทธิภาพเท่านั้นจึงจะรักษาอำนาจอธิปไตยไว้ได้” ความเป็นกลางทางรัฐศาสตร์ในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นไม่แน่ที่จะรักษาอธิปไตยไว้ได้ นอกจากระบบอาวุธที่ดีเยี่ยมเท่านั้น

หาก Jas 39 Grippen ไม่ดีพอ ผบ.ทอ. พล.อ.อ.อิทธิพรในฐานะเป็นนักบิน F-16 คงจะไม่กล้าเสนอให้เลือก Grippen และหากมีการต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะแล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดินของสวีเดนคงยอมไม่ได้ ระบบออมบุสแมน (Ombusman) เป็นระบบการเมืองของสวีเดน แม้กระทั่งอังกฤษก็นำไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันและประกันประสิทธิภาพนักการเมืองในสภา ดังนั้นหากบริษัทของสวีเดนจะต้องจ่ายเงินให้ใครสักคนหนึ่งเพื่อให้ขายของได้นั้น บรรดาสมาชิกรัฐสภาสวีเดนคงต้องออกมาโจมตีคนจ่ายเงินแน่นอน ไม่เชื่อก็ลองสอบถามออมบุสแมนคนปัจจุบันของสวีเดนดู

หากจะบอกคนใน ทอ.ว่าได้ ผบ.ทอ.ที่มีประสิทธิภาพไหม ก็ลองคิดถึงการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่คนเล่นต้องมีหูตาไว คิดเร็ว ส่วนความซื่อสัตย์สุจริตนั้น ต้องเฝ้าดูว่าลูกทหารอากาศจะทรยศต่อวงศ์ตระกูลหรือไม่ และหากมีข้อสงสัยก็ให้แจ้ง ป.ป.ช.ได้เลยครับ

(nidd.riddhagni@gmail.com)
กำลังโหลดความคิดเห็น