เอเอฟพี - ผู้คนทุกสาขาอาชีพทั่วโลก ตั้งแต่พวกนักเล่นหุ้นไปจนถึงเหล่าทหารผู้อ่อนล้าในสนามรบ รวมทั้งสามัญชนคนทั่วไปต่างเฝ้ารอชมภาพเหตุการณ์ในพิธีสาบานตนของบารัค โอบามา ในวันอังคาร (20) ก่อนที่ประธานาธิบดีเชื้อสายแอฟริกันคนแรกจะนำสหรัฐฯ เข้าสู่ยุคใหม่แห่งการเป็นผู้นำโลก ท่ามกลางภารกิจหนักหน่วงที่รอคอยการแก้ไขอยู่
"การที่โอบามาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีทำให้คนอเมริกันรู้สึกว่าประเทศชาติกำลังก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง" หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิง เฮรัลด์ ในออสเตรเลียสรุปรวบยอดความคิดอ่านของผู้สนับสนุนโอบามาไว้อย่างชัดเจนที่สุด และยังให้ความเห็นแบบทีเล่นทีจริงอีกด้วยว่า การเลือกประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้นสำคัญเกินกว่าที่จะปล่อยให้เป็นเรื่องของคนอเมริกันเพียงลำพัง และโอบามาก็เป็นตัวเลือกของคนจำนวนมากทั่วโลกหลังจากยุคสมัยของจอร์จ ดับเบิลยู บุช
"ดิฉันไม่เคยเห็นมาก่อนว่าประชาคมโลกจะตื่นเต้นกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มากมายเท่าครั้งนี้" แมเดอลีน อัลไบรต์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศในยุคของบิลล์ คลินตันให้ความเห็นกับบีบีซีซึ่งทำสำรวจความเห็นของประชาชนใน 17 ประเทศ และพบว่าราวสองในสามเชื่อว่าโอบามาจะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศอื่นๆ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ด้านนายกรัฐมนตรีโฮเซ หลุยส์ ซาปาเตโร แห่งสเปนให้ความเห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกอาจจะกินเวลาสั้นลงหากรัฐบาลโอบามาสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาได้สำเร็จ
ทว่านายกรัฐมนตรีวลาดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซีย กลับแสดงท่าทีเย็นชาต่อความหวังของพวกที่มองโลกในแง่ดีว่า "ผมเชื่ออย่างมากว่าความผิดหวังรุนแรงที่สุดนั้นเกิดจากความคาดหวังสูงนั่นเอง"
คำอธิบายเรียบๆ ของปูตินเน้นย้ำให้เห็นถึงปัญหายุ่งยากต่างๆ ที่รอคอยโอบามาอยู่เบื้องหน้า โดยที่ความนิยมในตัวเขานั้นก็จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจแก้ปัญหาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจระดับโลก สงครามในอัฟกานิสถานและอิรัก ตลอดจนความตกต่ำลงของสหรัฐฯ ในเวทีโลก ทั้งนี้ยังไม่นับถึงความคาดหวังว่าเขาจะสะสางปัญหาอีกมากมายตั้งแต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก สันติภาพในตะวันออกกลาง หรือการยุติโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
อย่างไรก็ตาม โอบามาก็เข้าใจเช่นกันว่าเขาอาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ได้รวดเร็วอย่างที่เคยคิดไว้ อย่างเช่นเรื่องการยกเลิกค่ายกักกันผู้ต้องสงสัยในคดีก่อการร้ายที่อ่าวกวนตานาโม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางความรู้สึกที่สำคัญในยุคของประธานาธิบดีบุช
"เป็นที่ชัดเจนว่าโอบามาคงทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้ในระหว่างการหาเสียงได้อย่างช้าๆ ถ้าหากจะยังมีการรักษาสัญญากันอยู่" หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ของไทยระบุพร้อมกับชี้ด้วยว่า "ประธานาธิบดีคนใหม่นี้ยังแทบไม่มีประสบการณ์แบบผู้ใหญ่ของกิจการโลก"
ส่วนที่อินโดนีเซียซึ่งมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก และโอบามาเคยใช้ชีวิตวัยเด็กที่นี่ราวสี่ปี หนังสือพิมพ์ จาการ์ตาโพสต์ กล่าวถึงโอบามาว่าจะถูกมองเป็น "พี่น้อง" คนหนึ่ง แต่นั่นไม่ใช่คำตอบสำหรับปัญหาทุกปัญหา
"ชาวอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศมุสลิมอื่นๆ ล้วนมีความคาดหวังบางประการ ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่คงจะไม่สามารถสนองตอบให้ได้"
ทว่าอย่างน้อยที่สุด ทั่วโลกจะเฝ้าจับตาดูงานเฉลิมฉลองพิธีสาบานตนอย่างเปี่ยมด้วยความหวังต่อโอบามาและสหรัฐฯ รวมทั้งการที่เขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทำเนียบขาวได้อย่างเหลือเชื่อ
"พอถึงวันพรุ่งนี้เขาก็จะกลายเป็นเหยื่อของการเมืองตามปกติ และบางทีเขาอาจจะเป็นเหมือนประธานาธิบดีคนอื่นๆ เท่านั้นเอง" หนังสือพิมพ์อินเดียน เอ็กซ์เพรสให้ความเห็น
"แต่ปล่อยความวิตกกังวลกับเสียงวิจารณ์ไว้ให้เป็นเรื่องของวันพรุ่งนี้เถอะ ถึงยังไงวันนี้เขาก็ไม่ได้เป็นแค่ว่าที่ประธานาธิบดี และไม่ใช่แค่ประธานาธิบดีคนหนึ่ง แต่เขาคือสัญลักษณ์ของความหวังที่เป็นจริงของผู้มีจิตวิญญาณประชาธิปไตย และของคำมั่นสัญญาที่ว่าทุกคนมีอำนาจเท่าเทียมกัน"
"การที่โอบามาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีทำให้คนอเมริกันรู้สึกว่าประเทศชาติกำลังก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง" หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิง เฮรัลด์ ในออสเตรเลียสรุปรวบยอดความคิดอ่านของผู้สนับสนุนโอบามาไว้อย่างชัดเจนที่สุด และยังให้ความเห็นแบบทีเล่นทีจริงอีกด้วยว่า การเลือกประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้นสำคัญเกินกว่าที่จะปล่อยให้เป็นเรื่องของคนอเมริกันเพียงลำพัง และโอบามาก็เป็นตัวเลือกของคนจำนวนมากทั่วโลกหลังจากยุคสมัยของจอร์จ ดับเบิลยู บุช
"ดิฉันไม่เคยเห็นมาก่อนว่าประชาคมโลกจะตื่นเต้นกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มากมายเท่าครั้งนี้" แมเดอลีน อัลไบรต์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศในยุคของบิลล์ คลินตันให้ความเห็นกับบีบีซีซึ่งทำสำรวจความเห็นของประชาชนใน 17 ประเทศ และพบว่าราวสองในสามเชื่อว่าโอบามาจะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศอื่นๆ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ด้านนายกรัฐมนตรีโฮเซ หลุยส์ ซาปาเตโร แห่งสเปนให้ความเห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกอาจจะกินเวลาสั้นลงหากรัฐบาลโอบามาสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาได้สำเร็จ
ทว่านายกรัฐมนตรีวลาดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซีย กลับแสดงท่าทีเย็นชาต่อความหวังของพวกที่มองโลกในแง่ดีว่า "ผมเชื่ออย่างมากว่าความผิดหวังรุนแรงที่สุดนั้นเกิดจากความคาดหวังสูงนั่นเอง"
คำอธิบายเรียบๆ ของปูตินเน้นย้ำให้เห็นถึงปัญหายุ่งยากต่างๆ ที่รอคอยโอบามาอยู่เบื้องหน้า โดยที่ความนิยมในตัวเขานั้นก็จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจแก้ปัญหาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจระดับโลก สงครามในอัฟกานิสถานและอิรัก ตลอดจนความตกต่ำลงของสหรัฐฯ ในเวทีโลก ทั้งนี้ยังไม่นับถึงความคาดหวังว่าเขาจะสะสางปัญหาอีกมากมายตั้งแต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก สันติภาพในตะวันออกกลาง หรือการยุติโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
อย่างไรก็ตาม โอบามาก็เข้าใจเช่นกันว่าเขาอาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ได้รวดเร็วอย่างที่เคยคิดไว้ อย่างเช่นเรื่องการยกเลิกค่ายกักกันผู้ต้องสงสัยในคดีก่อการร้ายที่อ่าวกวนตานาโม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางความรู้สึกที่สำคัญในยุคของประธานาธิบดีบุช
"เป็นที่ชัดเจนว่าโอบามาคงทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้ในระหว่างการหาเสียงได้อย่างช้าๆ ถ้าหากจะยังมีการรักษาสัญญากันอยู่" หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ของไทยระบุพร้อมกับชี้ด้วยว่า "ประธานาธิบดีคนใหม่นี้ยังแทบไม่มีประสบการณ์แบบผู้ใหญ่ของกิจการโลก"
ส่วนที่อินโดนีเซียซึ่งมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก และโอบามาเคยใช้ชีวิตวัยเด็กที่นี่ราวสี่ปี หนังสือพิมพ์ จาการ์ตาโพสต์ กล่าวถึงโอบามาว่าจะถูกมองเป็น "พี่น้อง" คนหนึ่ง แต่นั่นไม่ใช่คำตอบสำหรับปัญหาทุกปัญหา
"ชาวอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศมุสลิมอื่นๆ ล้วนมีความคาดหวังบางประการ ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่คงจะไม่สามารถสนองตอบให้ได้"
ทว่าอย่างน้อยที่สุด ทั่วโลกจะเฝ้าจับตาดูงานเฉลิมฉลองพิธีสาบานตนอย่างเปี่ยมด้วยความหวังต่อโอบามาและสหรัฐฯ รวมทั้งการที่เขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทำเนียบขาวได้อย่างเหลือเชื่อ
"พอถึงวันพรุ่งนี้เขาก็จะกลายเป็นเหยื่อของการเมืองตามปกติ และบางทีเขาอาจจะเป็นเหมือนประธานาธิบดีคนอื่นๆ เท่านั้นเอง" หนังสือพิมพ์อินเดียน เอ็กซ์เพรสให้ความเห็น
"แต่ปล่อยความวิตกกังวลกับเสียงวิจารณ์ไว้ให้เป็นเรื่องของวันพรุ่งนี้เถอะ ถึงยังไงวันนี้เขาก็ไม่ได้เป็นแค่ว่าที่ประธานาธิบดี และไม่ใช่แค่ประธานาธิบดีคนหนึ่ง แต่เขาคือสัญลักษณ์ของความหวังที่เป็นจริงของผู้มีจิตวิญญาณประชาธิปไตย และของคำมั่นสัญญาที่ว่าทุกคนมีอำนาจเท่าเทียมกัน"