เอเอฟพี -หลังขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำทำเนียบขาว บารัค โอบามาจะไม่ยอมเสียเวลา โดยจะเริ่มร่ายมนตร์"เปลี่ยนแปลง"ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และเรื่องสำคัญๆ ที่รออยู่ ได้แก่การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การยุติสงครามอิรัก และการเปิดยุคใหม่แห่งความรับผิดต่อหน้าที่ของภาครัฐ ทีมผู้ช่วยระดับสูงของเขาระบุเมื่อวันอาทิตย์ (18)
เดวิด แอ็กเซลร็อด ที่ปรึกษาอาวุโสของโอบามา ให้สัมภาษณ์กับโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นว่า ตั้งแต่ตอนที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กำลังจะหมดวาระลงแล้ว โอบามาก็ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อให้คองเกรสยอมอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 825,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นแผนการสำหรับดึงสหรัฐฯ ออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
"เขา (โอบามา) เข้ามาเริ่มงานล่วงหน้าสองสัปดาห์ เพื่อดูแลเรื่องแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะเห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจรอบนี้ใหญ่มากจริงๆ และเขาก็จะผลักดันเรื่องนี้ต่อไป" แอ็กเซลร็อดบอกและเสริมว่าโอบามาจะทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ในเรื่องอื่นๆ ด้วย
แอ็กเซลร็อดกล่าวอีกว่า โอบามามีกำหนดการประชุมกับคณะเสนาธิการทหารผสมของสหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ เพื่อเริ่มต้นถอนทหารออกจากอิรักอย่างเป็นระบบ
นอกจากนั้น โอบามาจะ "เข้ามีส่วนดำเนินการทางการทูตในทั่วโลกตั้งแต่เนิ่นๆ และในเชิงรุก" ผู้ช่วยคนสำคัญของโอบามาผู้นี้บอก โดยที่ในวันอาทิตย์ (18)นั่นเอง กองกำลังอาวุธของฝ่ายปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาได้ประกาศหยุดยิงเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ หลังจากที่อิสราเอลประกาศหยุดรบมาก่อนหน้านั้น
โอบามานั้นยืนกรานปฏิเสธที่จะกล่าวถึงวิกฤตการณ์ในตะวันออกกลาง ก่อนหน้าการเข้าพิธีสาบานตน โดยให้เหตุผลว่าสหรัฐฯ มี "ประธานาธิบดีเพียงคนเดียวในแต่ละวาระ"
ทว่านับจากวันอังคาร(20)นี้เป็นต้นไป โอบามาก็จะต้องรับช่วงมรดกปัญหาทั้งหมดต่อจากบุช เขาสัญญาว่าจะถอนกำลังทหารสหรัฐฯ ออกจากอิรักภายใน 16 เดือนและหันไปเสริมกำลังเพื่อไล่ล่ากลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถานแทน
ทางด้าน รอเบิร์ต กิบส์ ซึ่งกำลังจะเข้ารับตำแหน่งเลขานุการด้านสื่อมวลชนประจำทำเนียบขาว ให้สัมภาษณ์กับโทรทัศน์ฟ็อกซ์นิวส์ในวันอาทิตย์ ถึงงานที่โอบามาจะต้องเร่งทำว่า "อย่างแรกเลย โอบามาจะประชุมกับทีมเศรษฐกิจเพื่อดูว่าเรากำลังอยู่ตรงจุดไหนของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเพิ่มการลงทุน เพื่อให้ชาวอเมริกันรู้สึกมั่นใจว่าทุกอย่างกำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง" เขาบอกว่าคณะรัฐบาลชุดใหม่คงจะเร่งดำเนินการเรื่องการห้ามทรมานนักโทษและปิดค่ายกักกันนักโทษที่อ่าวกวนตานาโมด้วย
สำหรับแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นส.ส.พรรคเดโมแครต ให้สัมภาษณ์กับฟ็อกซ์นิวส์เช่นกันว่า หากสหรัฐฯ ไม่ใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลดังที่โอบามาเสนอแล้ว ก็จะเกิดการว่างงานสูงถึงเดือนละ 500,000 ตำแหน่ง เธอระบุว่าจะพยายามให้ส.ส.ของพรรครีพับลิกันลงมติเห็นชอบกับแผนดังกล่าว ซึ่งมีมาตรการด้านการลดภาษีอันเป็นที่ถูกอกถูกใจของพวกรีพบลิกัน นอกจากนั้นเธอยืนยันว่า "นี่ไม่ใช่แผนการลงทุนสร้างงานในภาครัฐแบบเก่าๆ แต่เป็นโครงการทำงานที่จะมีผลต่ออนาคตของประเทศ"
บรรดาสมาชิกรัฐสภาของพรรคเดโมแครตคาดหวังว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา และโอบามาจะสามารถลงนามรับรองได้ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ นอกจากนั้นโอบามายังจะเข้าไปดูแลแผนกอบกู้ช่วยชีวิตภาคการเงิน ที่ยังเหลือเงินอยู่ราวครึ่งหนึ่งของจำนวน 700,000 ล้านดอลลาร์ด้วย
รัฐบาลบุชถูกกล่าวหาโจมตีว่าใช้จ่ายเงินครึ่งแรกของแผนกอบกู้ดังกล่าวไปอย่างเปล่าประโยชน์ เพราะแม้ทุ่มเงินไปให้แก่ธนาคารต่างๆ แล้ว ก็ยังไม่อาจทำให้แบงก์เหล่านี้ยอมหวนกลับมาทำหน้าที่ปล่อยกู้ตามปกติ และปัญหาภาคการเงินที่กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจโดยรวมจึงยังไม่ได้รับการแก้ไข
ในประเด็นนี้ แลร์รี ซัมเมอร์ส์ ผู้ช่วยอาวุโสด้านเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาวของโอบามากล่าวต่อโทรทัศน์ซีบีเอสว่า "จุดมุ่งเน้น (ของการใช้เงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งในแผนการกอบกู้)จะไม่ใช่การให้เงินแก่ธนาคารอีกแล้ว แต่จะเป็นการทุ่มเงินให้แก่จุดต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจที่กำลังต้องการสินเชื่อ" โดยเขาหมายรวมถึงทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย รถยนต์ ธุรกิจขนาดย่อม ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการจัดสรรอย่างโปร่งใสและเน้นความรับผิดต่อหน้าที่ของภาครัฐด้วย
สำหรับ ราห์ม เอมานูเอล ประธานเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวคนใหม่ กล่าวกับโทรทัศน์เอ็นบีซี ถึงสุนทรพจน์ของโอบามาในพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีวันอังคาร(20)นี้ว่า จะมีการกล่าวถึงการสร้าง "ยุคแห่งความรับผิดชอบ" ขึ้นแทนที่ "วัฒนธรรมแบบปล่อยปละละเลย" ที่มีมานานในสหรัฐฯ
เดวิด แอ็กเซลร็อด ที่ปรึกษาอาวุโสของโอบามา ให้สัมภาษณ์กับโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นว่า ตั้งแต่ตอนที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กำลังจะหมดวาระลงแล้ว โอบามาก็ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อให้คองเกรสยอมอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 825,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นแผนการสำหรับดึงสหรัฐฯ ออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
"เขา (โอบามา) เข้ามาเริ่มงานล่วงหน้าสองสัปดาห์ เพื่อดูแลเรื่องแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะเห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจรอบนี้ใหญ่มากจริงๆ และเขาก็จะผลักดันเรื่องนี้ต่อไป" แอ็กเซลร็อดบอกและเสริมว่าโอบามาจะทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ในเรื่องอื่นๆ ด้วย
แอ็กเซลร็อดกล่าวอีกว่า โอบามามีกำหนดการประชุมกับคณะเสนาธิการทหารผสมของสหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ เพื่อเริ่มต้นถอนทหารออกจากอิรักอย่างเป็นระบบ
นอกจากนั้น โอบามาจะ "เข้ามีส่วนดำเนินการทางการทูตในทั่วโลกตั้งแต่เนิ่นๆ และในเชิงรุก" ผู้ช่วยคนสำคัญของโอบามาผู้นี้บอก โดยที่ในวันอาทิตย์ (18)นั่นเอง กองกำลังอาวุธของฝ่ายปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาได้ประกาศหยุดยิงเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ หลังจากที่อิสราเอลประกาศหยุดรบมาก่อนหน้านั้น
โอบามานั้นยืนกรานปฏิเสธที่จะกล่าวถึงวิกฤตการณ์ในตะวันออกกลาง ก่อนหน้าการเข้าพิธีสาบานตน โดยให้เหตุผลว่าสหรัฐฯ มี "ประธานาธิบดีเพียงคนเดียวในแต่ละวาระ"
ทว่านับจากวันอังคาร(20)นี้เป็นต้นไป โอบามาก็จะต้องรับช่วงมรดกปัญหาทั้งหมดต่อจากบุช เขาสัญญาว่าจะถอนกำลังทหารสหรัฐฯ ออกจากอิรักภายใน 16 เดือนและหันไปเสริมกำลังเพื่อไล่ล่ากลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถานแทน
ทางด้าน รอเบิร์ต กิบส์ ซึ่งกำลังจะเข้ารับตำแหน่งเลขานุการด้านสื่อมวลชนประจำทำเนียบขาว ให้สัมภาษณ์กับโทรทัศน์ฟ็อกซ์นิวส์ในวันอาทิตย์ ถึงงานที่โอบามาจะต้องเร่งทำว่า "อย่างแรกเลย โอบามาจะประชุมกับทีมเศรษฐกิจเพื่อดูว่าเรากำลังอยู่ตรงจุดไหนของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเพิ่มการลงทุน เพื่อให้ชาวอเมริกันรู้สึกมั่นใจว่าทุกอย่างกำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง" เขาบอกว่าคณะรัฐบาลชุดใหม่คงจะเร่งดำเนินการเรื่องการห้ามทรมานนักโทษและปิดค่ายกักกันนักโทษที่อ่าวกวนตานาโมด้วย
สำหรับแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นส.ส.พรรคเดโมแครต ให้สัมภาษณ์กับฟ็อกซ์นิวส์เช่นกันว่า หากสหรัฐฯ ไม่ใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลดังที่โอบามาเสนอแล้ว ก็จะเกิดการว่างงานสูงถึงเดือนละ 500,000 ตำแหน่ง เธอระบุว่าจะพยายามให้ส.ส.ของพรรครีพับลิกันลงมติเห็นชอบกับแผนดังกล่าว ซึ่งมีมาตรการด้านการลดภาษีอันเป็นที่ถูกอกถูกใจของพวกรีพบลิกัน นอกจากนั้นเธอยืนยันว่า "นี่ไม่ใช่แผนการลงทุนสร้างงานในภาครัฐแบบเก่าๆ แต่เป็นโครงการทำงานที่จะมีผลต่ออนาคตของประเทศ"
บรรดาสมาชิกรัฐสภาของพรรคเดโมแครตคาดหวังว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา และโอบามาจะสามารถลงนามรับรองได้ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ นอกจากนั้นโอบามายังจะเข้าไปดูแลแผนกอบกู้ช่วยชีวิตภาคการเงิน ที่ยังเหลือเงินอยู่ราวครึ่งหนึ่งของจำนวน 700,000 ล้านดอลลาร์ด้วย
รัฐบาลบุชถูกกล่าวหาโจมตีว่าใช้จ่ายเงินครึ่งแรกของแผนกอบกู้ดังกล่าวไปอย่างเปล่าประโยชน์ เพราะแม้ทุ่มเงินไปให้แก่ธนาคารต่างๆ แล้ว ก็ยังไม่อาจทำให้แบงก์เหล่านี้ยอมหวนกลับมาทำหน้าที่ปล่อยกู้ตามปกติ และปัญหาภาคการเงินที่กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจโดยรวมจึงยังไม่ได้รับการแก้ไข
ในประเด็นนี้ แลร์รี ซัมเมอร์ส์ ผู้ช่วยอาวุโสด้านเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาวของโอบามากล่าวต่อโทรทัศน์ซีบีเอสว่า "จุดมุ่งเน้น (ของการใช้เงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งในแผนการกอบกู้)จะไม่ใช่การให้เงินแก่ธนาคารอีกแล้ว แต่จะเป็นการทุ่มเงินให้แก่จุดต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจที่กำลังต้องการสินเชื่อ" โดยเขาหมายรวมถึงทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย รถยนต์ ธุรกิจขนาดย่อม ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการจัดสรรอย่างโปร่งใสและเน้นความรับผิดต่อหน้าที่ของภาครัฐด้วย
สำหรับ ราห์ม เอมานูเอล ประธานเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวคนใหม่ กล่าวกับโทรทัศน์เอ็นบีซี ถึงสุนทรพจน์ของโอบามาในพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีวันอังคาร(20)นี้ว่า จะมีการกล่าวถึงการสร้าง "ยุคแห่งความรับผิดชอบ" ขึ้นแทนที่ "วัฒนธรรมแบบปล่อยปละละเลย" ที่มีมานานในสหรัฐฯ