รอยเตอร์ - ในช่วงเวลา 100 วันแรกของประธานาธิบดีบารัค โอบามาหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันนี้(20) ดูเหมือนไม่มีอะไรที่จะเป็นวาระสำคัญเร่งด่วนเหนือไปกว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับสู่ภาวะปกติ
ผู้นำสหรัฐคนใหม่ทราบดีว่า งานสำคัญอันดับแรกของเขาคืออะไร จึงไม่แปลกที่เขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงก่อนเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ พบปะหารือกับสมาชิกรัฐสภาเกี่ยวกับแผนการใช้จ่ายงบประมาณ 825,000 ล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการขออำนาจในการจัดสรรกองทุนฟื้นฟูช่วยชีวิตภาคการเงินที่เหลืออยู่อีก 350,000 ล้านดอลลาร์
ต่อไปนี้คือปัญหาท้าทายบางประการที่โอบามาจะต้องเผชิญ และแนวทางที่เขาวางไว้เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
**เศรษฐกิจทรุดฮวบ**
เศรษฐกิจสหรัฐทรุดตัวลงสู่ภาวะถดถอยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2007 และทรุดตัวต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 12 เดือนแล้ว ซึ่งนับเป็นภาวะถดถอยที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 หากภาวะเศรษฐกิจถดถอยดำเนินต่อเนื่องไปเกินกว่า 16 เดือน ก็จะเป็นสถิติใหม่ของภาวะถดถอยที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งร้ายแรง (The Great Depression) ในทศวรรษ 1930
ในช่วงเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา นายจ้างในสหรัฐฯปลดคนงานออกแล้วกว่า 1.9 ล้านอัตรา รวมตลอดปี 2008 มีคนอเมริกันตกงานไปแล้วกว่า 2.6 ล้านคน เป็นยอดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา อัตราว่างงานของคนอเมริกันพุ่งขึ้นเป็น 7.2 เปอร์เซ็นต์ จาก 6.8 เปอร์เซ็นต์ในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่โอบามาเตือนว่าตัวเลขอัตราว่างงานอาจเพิ่มขึ้นเป็น 2 หลักก่อนที่สถานการณ์จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
การบังคับจำนองบ้านพักอาศัยยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ทุกวัน ผู้บริหารระดับนโยบายกังวลว่า ตลาดบ้านพักอาศัยในสหรัฐ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแผ่นดินไหวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ อาจจะยังไม่ถึงจุดต่ำสุดด้วยซ้ำไป
**ครั้งนี้สาหัสแค่ไหนเมื่อเทียบกับครั้งก่อนๆ**
การตกต่ำอย่างรุนแรงของราคาหุ้น ประกอบกับการล่มสลายของของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อย่างเช่น เลห์แมนบราเธอร์ส และแบร์สเติร์น รวมทั้งอาการซวดเซของซิตี้กรุ๊ป ทำให้หลายฝ่ายเกิดความรู้สึกว่า วิกฤตการณ์ครั้งนี้รุนแรงไม่น้อยกว่ายุค เกรท ดีเพรสชั่น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับผลกระทบที่มีต่อวิถีการดำรงชีวิตของชาวอเมริกันโดยทั่วไปแล้ว หลายฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ปัญหาคราวนี้เทียบได้กับวิกฤตการณ์รุนแรงในยุคต้นทศวรรษ 1980 เสียมากกว่า จะแตกต่างกันตรงที่ว่าวิกฤตการณ์ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์กังวลต่อปัญหาภาวะเงินฝืดมากกว่าภาวะเงินเฟ้อเท่านั้นเอง
ในยุค เกรท ดีเพรสชั่น ซึ่งคนอเมริกันตกงานถึง 1 ใน 4 ของประเทศ ประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดีลาโน รูสเวลท์ แก้ไขปัญหาด้วยนโยบาย "นิวดีล" ขณะที่นโยบายกอบกู้เศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามาก็มีแนวทางคล้ายคลึงกัน
**โอบามากำลังจะทำอะไรเพื่อแก้ปัญหา**
โอบามามีแผนจะร่วมมือกับรัฐสภาที่ฝ่ายเดโมแครทครองเสียงข้างมาก อัดฉีดงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจในในปริมาณสูงกว่า 800,000 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่างบประมาณดังกล่าวจะได้รับการอนุมัติภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว จะนำไปใช้ในโครงการลงทุนสร้างระบบสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น ถนนหนทาง โรงเรียน และการวิจัยพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน รวมทั้งจะอยู่ในรูปมาตรการปรับลดภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ทีมงานเศรษฐกิจของโอบามาก็ประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวให้วุฒิสภามีมติอนุมัติให้รัฐบาลดำเนินการจัดสรรงบประมาณตามแผนการฟื้นฟูช่วยชีวิตภาคการเงินที่เหลืออยู่ 350,000 ล้านดอลลาร์ต่อไปได้ทันทีโดยไม่ต้องเสนอโครงการใหม่
ในระยะยาว ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศให้คำมั่นด้วยว่า จะมีการปรับโครงสร้างระบบการเงินอย่างขนานใหญ่ เพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมตลาดวอลสตรีท ซึ่งถูกมองว่าเป็นชนวนปัญหาที่นำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งนี้ เนื่องจากความล้มเหลวของระบบการตรวจสอบและควบคุมหละหลวมเกินไป
อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจเชื่อกันว่า การปรับโครงสร้างระบบการเงินของสหรัฐนั้นประธานาธิบดีโอบามาคงจะไม่ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนเท่ากับการเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
ผู้นำสหรัฐคนใหม่ทราบดีว่า งานสำคัญอันดับแรกของเขาคืออะไร จึงไม่แปลกที่เขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงก่อนเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ พบปะหารือกับสมาชิกรัฐสภาเกี่ยวกับแผนการใช้จ่ายงบประมาณ 825,000 ล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการขออำนาจในการจัดสรรกองทุนฟื้นฟูช่วยชีวิตภาคการเงินที่เหลืออยู่อีก 350,000 ล้านดอลลาร์
ต่อไปนี้คือปัญหาท้าทายบางประการที่โอบามาจะต้องเผชิญ และแนวทางที่เขาวางไว้เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
**เศรษฐกิจทรุดฮวบ**
เศรษฐกิจสหรัฐทรุดตัวลงสู่ภาวะถดถอยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2007 และทรุดตัวต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 12 เดือนแล้ว ซึ่งนับเป็นภาวะถดถอยที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 หากภาวะเศรษฐกิจถดถอยดำเนินต่อเนื่องไปเกินกว่า 16 เดือน ก็จะเป็นสถิติใหม่ของภาวะถดถอยที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งร้ายแรง (The Great Depression) ในทศวรรษ 1930
ในช่วงเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา นายจ้างในสหรัฐฯปลดคนงานออกแล้วกว่า 1.9 ล้านอัตรา รวมตลอดปี 2008 มีคนอเมริกันตกงานไปแล้วกว่า 2.6 ล้านคน เป็นยอดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา อัตราว่างงานของคนอเมริกันพุ่งขึ้นเป็น 7.2 เปอร์เซ็นต์ จาก 6.8 เปอร์เซ็นต์ในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่โอบามาเตือนว่าตัวเลขอัตราว่างงานอาจเพิ่มขึ้นเป็น 2 หลักก่อนที่สถานการณ์จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
การบังคับจำนองบ้านพักอาศัยยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ทุกวัน ผู้บริหารระดับนโยบายกังวลว่า ตลาดบ้านพักอาศัยในสหรัฐ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแผ่นดินไหวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ อาจจะยังไม่ถึงจุดต่ำสุดด้วยซ้ำไป
**ครั้งนี้สาหัสแค่ไหนเมื่อเทียบกับครั้งก่อนๆ**
การตกต่ำอย่างรุนแรงของราคาหุ้น ประกอบกับการล่มสลายของของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อย่างเช่น เลห์แมนบราเธอร์ส และแบร์สเติร์น รวมทั้งอาการซวดเซของซิตี้กรุ๊ป ทำให้หลายฝ่ายเกิดความรู้สึกว่า วิกฤตการณ์ครั้งนี้รุนแรงไม่น้อยกว่ายุค เกรท ดีเพรสชั่น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับผลกระทบที่มีต่อวิถีการดำรงชีวิตของชาวอเมริกันโดยทั่วไปแล้ว หลายฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ปัญหาคราวนี้เทียบได้กับวิกฤตการณ์รุนแรงในยุคต้นทศวรรษ 1980 เสียมากกว่า จะแตกต่างกันตรงที่ว่าวิกฤตการณ์ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์กังวลต่อปัญหาภาวะเงินฝืดมากกว่าภาวะเงินเฟ้อเท่านั้นเอง
ในยุค เกรท ดีเพรสชั่น ซึ่งคนอเมริกันตกงานถึง 1 ใน 4 ของประเทศ ประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดีลาโน รูสเวลท์ แก้ไขปัญหาด้วยนโยบาย "นิวดีล" ขณะที่นโยบายกอบกู้เศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามาก็มีแนวทางคล้ายคลึงกัน
**โอบามากำลังจะทำอะไรเพื่อแก้ปัญหา**
โอบามามีแผนจะร่วมมือกับรัฐสภาที่ฝ่ายเดโมแครทครองเสียงข้างมาก อัดฉีดงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจในในปริมาณสูงกว่า 800,000 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่างบประมาณดังกล่าวจะได้รับการอนุมัติภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว จะนำไปใช้ในโครงการลงทุนสร้างระบบสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น ถนนหนทาง โรงเรียน และการวิจัยพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน รวมทั้งจะอยู่ในรูปมาตรการปรับลดภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ทีมงานเศรษฐกิจของโอบามาก็ประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวให้วุฒิสภามีมติอนุมัติให้รัฐบาลดำเนินการจัดสรรงบประมาณตามแผนการฟื้นฟูช่วยชีวิตภาคการเงินที่เหลืออยู่ 350,000 ล้านดอลลาร์ต่อไปได้ทันทีโดยไม่ต้องเสนอโครงการใหม่
ในระยะยาว ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศให้คำมั่นด้วยว่า จะมีการปรับโครงสร้างระบบการเงินอย่างขนานใหญ่ เพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมตลาดวอลสตรีท ซึ่งถูกมองว่าเป็นชนวนปัญหาที่นำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งนี้ เนื่องจากความล้มเหลวของระบบการตรวจสอบและควบคุมหละหลวมเกินไป
อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจเชื่อกันว่า การปรับโครงสร้างระบบการเงินของสหรัฐนั้นประธานาธิบดีโอบามาคงจะไม่ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนเท่ากับการเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว