เอเอฟพี - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) เบน เบอร์นันกี กล่าวเมื่อวันอังคาร(13)ว่า จะเร่งเพิ่มมาตรการเชิงรุกในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งเขาระบุว่าได้ส่งผลกระทบต่อตลาดสินเชื่อรุนแรงกว่าวิกฤตการณ์ในญี่ปุ่นในทศวรรษ 1990
เบอร์นันกีกล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯยังมี "เครื่องมือที่ทรงอานุภาพ" อีกมากมาย ที่จะสามารถนำมาใช้คลี่คลายวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้ แม้ว่าในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของเฟดจะลดต่ำลงจนเกือบจะเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์แล้วก็ตาม เขาเชื่อว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวในปลายปี 2009 นี้
"เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวแน่นอน แต่วันเวลาและความเข้มแข็งของการฟื้นตัวยังไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จะเป็นปัจจัยตัดสินกำหนดเวลาและความแข็งแกร่งของการฟื้นตัว" ประธานเฟดเน้นย้ำระหว่างการแสดงปาฐกถาที่ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์
เบอร์นันกีกล่าวว่า เฟดยังมีเครื่องมือที่ทรงอานุภาพในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินและยับยั้งการทรุดตัวทางเศรษฐกิจได้อีกมาก แม้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน จะไม่สามารถทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้อีกต่อไปก็ตาม
ทั้งนี้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน หรือ เฟดฟันด์เรต ลงเหลือเพียง 0 - 0.25 เปอร์เซ็นต์เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อคลี่คลายปัญหาสินเชื่อตึงตัวรุนแรง
ประธานเฟดกล่าวว่า แม้อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนของสหรัฐฯจะอยู่ในระดับใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์ แต่เฟดก็ยังสามารถใช้ยุทธวิธีส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคตต่อสาธารณชนได้ และยุทธวิธีดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการกระตุ้นตลาดสินเชื่อให้ฟื้นตัว
เขากล่าวด้วยว่า เฟดจะดำเนินมาตรการเสริมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถาบันการเงินทุกแห่งสามารถเข้าถึงสินเชื่อระยะสั้นได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งจะร่วมมือกับธนาคารกลางของชาติต่าง ๆ ในการกระจายเงินดอลลาร์ออกสู่ตลาดโลกอย่างเพียงพอกับความต้องการ
ระหว่างการปาฐกถาครั้งนี้ เบอร์นันกีได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับมาตรการ "ผ่อนคลายปริมาณเงิน" ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นเคยใช้ในช่วงทศวรรษหลังปี 1990 เป็นครั้งแรก โดยกล่าวว่า ยุทธวิธีของเฟดจะแตกต่างกับมาตรการดังกล่าว ซึ่งน่าจะเรียกว่า "การผ่อนคลายสินเชื่อ" มากกว่า
ประธานเฟดอธิบายเพิ่มเติมว่า ทั้งสองวิธีเป็นการเพิ่มปริมาณเงินเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ว่า ระบบผ่อนคลายปริมาณเงินของญี่ปุ่นนั้น มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณทุนสำรองของธนาคาร ขณะที่ระบบการผ่อนคลายสินเชื่อของเฟด จะมุ่งเน้นที่ปริมาณสินทรัพย์และสินเชื่อของธนาคารกลาง
เบอร์นันกีกล่าวว่า ณ เวลานี้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยในตลาดสหรัฐฯขยายกว้างมากกว่า และตลาดสินเชื่อก็มีความตึงตัวมากกว่าในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในญี่ปุ่น เฟดจึงต้องแก้ไขด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยบางตัวลง และขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ภาคเอกชนปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาและว่าที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯนั้น เบอร์นันกีกล่าวว่า จะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจคึกคักขึ้นกว่าเดิมในระยะสั้น แต่คงไม่สามารถขับเคลื่อนการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะยาวได้ โดยไม่มีมาตรการอื่นมาเสริมเพื่อสร้างเสถียรภาพและความแข็งแกร่งของระบบการเงิน
ประธานเฟดกล่าวว่า ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน เป็นเรื่องยากที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้โดยไม่ได้รับการเกื้อหนุนจากระบบการเงินที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ และปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพในระบบการเงินของสหรัฐฯ คือการที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ 250,000 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งมาตรการเสริมอื่น ๆ เช่น การค้ำประกันเงินฝากและมาตรการเสริมสภาพคล่องของธนาคารกลาง
เบอร์นันกีกล่าวในตอนท้ายว่า เขาเห็นสัญญาณบางอย่างที่บ่งชี้ว่า สถานการณ์จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นในช่วงปลายปี 2009 นี้ แม้ว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงของการทรุดตัวอย่างรุนแรงต่อเนื่องไปจนตลอดไตรมาสแรกของปีนี้ก็ตาม.
เบอร์นันกีกล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯยังมี "เครื่องมือที่ทรงอานุภาพ" อีกมากมาย ที่จะสามารถนำมาใช้คลี่คลายวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้ แม้ว่าในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของเฟดจะลดต่ำลงจนเกือบจะเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์แล้วก็ตาม เขาเชื่อว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวในปลายปี 2009 นี้
"เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวแน่นอน แต่วันเวลาและความเข้มแข็งของการฟื้นตัวยังไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จะเป็นปัจจัยตัดสินกำหนดเวลาและความแข็งแกร่งของการฟื้นตัว" ประธานเฟดเน้นย้ำระหว่างการแสดงปาฐกถาที่ ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์
เบอร์นันกีกล่าวว่า เฟดยังมีเครื่องมือที่ทรงอานุภาพในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินและยับยั้งการทรุดตัวทางเศรษฐกิจได้อีกมาก แม้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน จะไม่สามารถทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้อีกต่อไปก็ตาม
ทั้งนี้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน หรือ เฟดฟันด์เรต ลงเหลือเพียง 0 - 0.25 เปอร์เซ็นต์เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อคลี่คลายปัญหาสินเชื่อตึงตัวรุนแรง
ประธานเฟดกล่าวว่า แม้อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนของสหรัฐฯจะอยู่ในระดับใกล้ศูนย์เปอร์เซ็นต์ แต่เฟดก็ยังสามารถใช้ยุทธวิธีส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคตต่อสาธารณชนได้ และยุทธวิธีดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการกระตุ้นตลาดสินเชื่อให้ฟื้นตัว
เขากล่าวด้วยว่า เฟดจะดำเนินมาตรการเสริมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถาบันการเงินทุกแห่งสามารถเข้าถึงสินเชื่อระยะสั้นได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งจะร่วมมือกับธนาคารกลางของชาติต่าง ๆ ในการกระจายเงินดอลลาร์ออกสู่ตลาดโลกอย่างเพียงพอกับความต้องการ
ระหว่างการปาฐกถาครั้งนี้ เบอร์นันกีได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับมาตรการ "ผ่อนคลายปริมาณเงิน" ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นเคยใช้ในช่วงทศวรรษหลังปี 1990 เป็นครั้งแรก โดยกล่าวว่า ยุทธวิธีของเฟดจะแตกต่างกับมาตรการดังกล่าว ซึ่งน่าจะเรียกว่า "การผ่อนคลายสินเชื่อ" มากกว่า
ประธานเฟดอธิบายเพิ่มเติมว่า ทั้งสองวิธีเป็นการเพิ่มปริมาณเงินเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ว่า ระบบผ่อนคลายปริมาณเงินของญี่ปุ่นนั้น มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณทุนสำรองของธนาคาร ขณะที่ระบบการผ่อนคลายสินเชื่อของเฟด จะมุ่งเน้นที่ปริมาณสินทรัพย์และสินเชื่อของธนาคารกลาง
เบอร์นันกีกล่าวว่า ณ เวลานี้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยในตลาดสหรัฐฯขยายกว้างมากกว่า และตลาดสินเชื่อก็มีความตึงตัวมากกว่าในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในญี่ปุ่น เฟดจึงต้องแก้ไขด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยบางตัวลง และขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ภาคเอกชนปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาและว่าที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯนั้น เบอร์นันกีกล่าวว่า จะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจคึกคักขึ้นกว่าเดิมในระยะสั้น แต่คงไม่สามารถขับเคลื่อนการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะยาวได้ โดยไม่มีมาตรการอื่นมาเสริมเพื่อสร้างเสถียรภาพและความแข็งแกร่งของระบบการเงิน
ประธานเฟดกล่าวว่า ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน เป็นเรื่องยากที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้โดยไม่ได้รับการเกื้อหนุนจากระบบการเงินที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ และปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพในระบบการเงินของสหรัฐฯ คือการที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ 250,000 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งมาตรการเสริมอื่น ๆ เช่น การค้ำประกันเงินฝากและมาตรการเสริมสภาพคล่องของธนาคารกลาง
เบอร์นันกีกล่าวในตอนท้ายว่า เขาเห็นสัญญาณบางอย่างที่บ่งชี้ว่า สถานการณ์จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นในช่วงปลายปี 2009 นี้ แม้ว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงของการทรุดตัวอย่างรุนแรงต่อเนื่องไปจนตลอดไตรมาสแรกของปีนี้ก็ตาม.