ASTVผู้จัดการรายวัน - ครม.ผ่านงบกลางปี 1.15 แสนล้าน 18 โครงการเร่งด่วน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจให้เห็นผลเร็ว คาดอัดฉีดได้ มี.ค.นี้ งบ ศธ.ให้เรียนฟรี 15 ปีฉลุยตามที่ขอ ส่วนงบช่วยมนุษย์เงินเดือนสรุปเหลือแค่หัวละ 2 พันภายใน 6 เดือนค่อยลุ้นต่ออายุ แถมผู้มีสิทิ์ต้องมีเงินเดือนไม่เกิน 14,000 บาท สปส.เผยได้ประโยชน์ 8 ล้านกว่าคน เริ่มจ่ายเดือน เม.ย.ยิงตรงเข้าบัญชีลูกจ้าง หัวหน้าแรงงานไทยชี้จิ๊บจ๊อยเกินไป ขณะที่แชมป์งาบงบ ศธ.ตามคาด 1.82 ล้าน รองลงมาเป็น ก.แรงงานและคมนาคม ผงะ! ไข่มาร์คราคาตกจาก 2-2.20 บาท เหลือแค่ 1.80 บาทต่อฟอง มท.2 เพิ่มนโยบายประชานิยมเพียบ ทั้งน้ำประปา อบต.-หมู่บ้านฟรี พร้อมของบให้กำนันผู้ใหญ่บ้านอีก 6 พันล้าน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการใช้จ่ายเงินงบประมาณกลางปี 2552 ว่า ครม.มีมติเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2552 งบประมาณ 115,000 ล้านบาท เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่า น่าจะส่งถึงมือประชาชนได้ในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนมีนาคม 2552 นี้ โดย กระทรวงสำคัญที่ได้รับประมาณเพิ่มเติม 4 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ 18,258 ล้านบาท กระทรวงแรงงาน 1,6058 ล้านบาท กระทรวงคมนาคม 15,000 ล้านบาท และ กระทรวงมหาดไทย 12,557 ล้านบาท
ครม.ยังได้อนุมัติกรอบการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจเมื่อสัปดาห์ก่อน และแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้รัฐบาลสามารถนำนโยบายไปดำเนินการได้ ซึ่งจะเป็นแนวทางการทำงานจากงานวิจัยจากสหรัฐฯ ที่ทุกประเทศพยายามผลักดันงบประมาณให้ถึงมือประชาชน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การจัดสรรเงินงบประมาณกลางปีนั้น รัฐบาลจะยึดหลักการกระจายรายได้ไปยังประชาชนทั่วประเทศผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่ การเพิ่มรายได้ให้ข้าราชการด้วยการช่วยเหลือค่าครองชีพ 1.9 หมื่นล้านบาท เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 9 พันล้านบาท ขยายเวลาโครงการ 6 มาตรการ 6 เดือนเพื่อคนไทยทุกคน 1.1 หมื่นล้านบาท การจำหน่วยสินค้าราคาถูก 1 พันล้านบาท เรียนฟรี 1.9 หมื่นล้านบาท, ช่วยเหลือผู้ที่ถูกเลิกจ้างและผู้จบการศึกษาใหม่ 6.9 พันล้านบาท กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง 1.52 หมื่นล้านบาท เป็นต้น (ดูตาราง...18โครงการเร่งด่วนรัฐบาลมาร์ค 1)
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดทำรายละเอียดโครงการและกฎหมายเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า หลังจากนั้นจะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาในวันที่ 28 มกราคม 2552 นี้ โดยยังมอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยว ไปยังทำแผนฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องผูกพันกับงบกลางปี ซึ่งอาจเป็นการลดค่าธรรมเนียม การส่งเสริมให้ข้าราชการจัดสัมมนาในต่างจังหวัด
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจในวันนี้ (14 ม.ค.) ตนจะสั่งการให้ทางกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาในเรื่องของการปรับลดราคาสินค้าและค่าบริการให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง หลังจากมีการร้องเรียนการปรับลดราคาสินค้าและบริการยังไม่สะท้อนความเป็นจริงเท่าที่ควร และจะต้องนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และได้สั่งการให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเร่งทำมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวให้สามารถฟื้นฟูทำรายได้เข้าประเทศให้มากขึ้นต่อไปด้วยการช่วยเหลือลดภาระของผู้ประกอบการ
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในที่ประชุม ครม. กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานสถานการณ์และแนวทางแก้ไขราคาไข่ไก่ตกต่ำ ซึ่งมีการประมาณการผลผลิตไข่ไก่ ในปี 2552 ไว้จำนวน 9,492 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.39 % คิดเป็นบริโภคในประเทศ 9,112 ล้านฟอง ปัจจุบันราคาไข่ไก่คละ ณ แหล่งผลิตอ่อนตัวลง ฟองละ 2 - 2.20 บาท ในช่วงปลายปี 2551 เหลือฟองละ 1.80 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 2.10 บาท และคาดว่าแนวโน้มราคาจะทรงตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
รองโฆษกฯ กล่าวว่า แนวทางแก้ไข ด้านการผลิต ทางกระทรวงพาณิชย์เสนอให้มีการลดการผลิต โดยคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาไก่ไข่ และผลิตภัณฑ์ได้ขอความร่วมมือผู้ผลิตไก่พันธุ์ และผู้เลี้ยงไก่ไข่พันธุ์ และแม่ไก่ยืนกรงที่อายุ 72 และ 78 สัปดาห์ตามลำดับ และลดปริมาณการนำไก่ไข่เข้าเลี้ยง 10 % แต่ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นให้ไข่ไก่มีเสถียรภาพได้
นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาด้านการตลาด กระทรวงพาณิชย์เสนอให้กำหนดมาตรการแก้ไขราคาไข่ไก่และปริมาณผลผลิตไข่ไก่ส่วนเกิน ดังนี้ 1.รณรงค์เพิ่มการบริโภคไข่ไก่ทั่วประเทศ โดยการเชื่อมโยงให้เกษตรกรนำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง 2. เก็บสต็อกไข่ไก่เข้าห้องเย็น ในกรณีที่จำเป็น โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเก็บสต็อก
และ 3.มาตรการเร่งด่วน เห็นสมควรให้เด็กนักเรียนได้บริโภคไข่ไก่เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ อนามัย ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดปริมาณไข่ไก่ได้ปีละ 893 ล้านฟอง หรือ 10 %ของผลผลิต โดยจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการไข่โรงเรียน โดยการรับซื้อผลผลิตจากองค์กรผู้เลี้ยงไข่ไก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงไข่ไก่ นำมาเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนทั่วประเทศ เช่นเดียวกับนมโรงเรียนในปัจจุบัน
เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงที่ผ่านมากลุ่มเสื้อแดงนำไข่ไปปาใส่ฝ่ายตรงข้ามทั้งนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์และคณะรัฐมนตรี
นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า กรอบวงเงินงบประมาณกลางปี 2552 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.15 แสนล้านบาท ซึ่งได้ปรับลดลงจากกรอบเดิมที่เสนอมา 1.2 แสนล้านบาท หลังจากที่ได้ปรับปรุงการใช้จ่ายงบประมาณตามหลักการที่ว่าจะต้องเกิดการใช้จ่ายจริง งบประมาณดังกล่าวจะมีการจัดสรรให้กับ 18 โครงการ เน้นไปที่การแก้ปัญหาด้านแรงงาน การช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้ประจำ และส่วนหนึ่งประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท ตั้งไว้เป็นงบชดเชยเงินคงคลังที่จะนำออกมาใช้จ่ายก่อนเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆ จะนำเสนอรายละเอียดของการจัดสรรเงินงบประมาณตามกรอบดังกล่าวให้ ครม.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 20 ม.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐทั้งหมดสำนักงบประมาณได้ประเมินว่าคาดว่าจะใช้งบ 117,216 ล้านบาท โดยมีงบประมาณเพิ่มเติมจากงบฉุกเฉินและงบคงคลัง
**เงินเดือนไม่ถึงหมื่นสี่รับฟรี 2 พัน
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ครม.ได้อนุมัติหลักการแนวทางการช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับมนุษย์เงินเดือนที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม (สปส.) และบุคลากรภาครัฐ เพื่อช่วยเหลือแรงงานในช่วง 6 เดือนแรก นับจากเดือน เม.ย. จากนั้นในงบประมาณปี 2553 จะช่วยเหลืออีก โดยโครงการส่วนใหญ่จะเน้นให้เกิดการใช้จ่ายอย่างรวดเร็ว สำหรับการลดเงินส่งเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกอบการและลูกจ้างแรงงาน จะต้องรอการประชุมบอร์ดกองทุนประกันสังคมอีกครั้ง เพื่อเสนอ ครม.พิจารณา
ขณะที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกล่าวย้ำว่า มาตรการดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง ข้าราชการประจำ และผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่ำกว่า 14,000 บาทต่อเดือน ชดเชยคนละ 2,000 บาท เพียงครั้งเดียวในรอบ 6 เดือน โดยแบ่งเป็นบุคลากรของภาครัฐ 1.2 ล้านคน ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 14,000 บาท จะได้รับค่าชดเชย 2,000 บาท และจะเริ่มจากเดือน เม.ย.ต่อไป 6 เดือน แล้วถึงจะพิจารณาใหม่อีกครั้ง
โดยในส่วนของภาครัฐจะใช้เงินงบประมาณ 2,328 ล้านบาท ส่วนผู้ประกันตน ที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม 8 ล้านคน ได้รับเงินช่วยเหลือรวม 16,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเตรียมจ่ายเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุ 3 ล้านคน 500 บาทต่อเดือน ส่วนเงินที่ส่งผ่านให้กองทุนหมู่บ้าน จะรอใช้งบประมาณจากส่วนอื่น ๆ ต่อไป
**ยิงตรงผ่านบัญชีธนาคาร
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ผู้ประกันในระบบประกันสังคมขณะนี้มีอยู่จำนวน 9.3 ล้านคน คนที่มีฐานเงินเดือนไม่เกิน 14,000 บาท ที่จะได้รับการช่วยเหลือครั้งนี้มี 8.01 ล้านคน โดย สปส.จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องฐานข้อมูลผู้ประกันตน พร้อมกับวางระบบเพื่อขอเลขที่บัญชีธนาคารของผู้ประกัน โดยแยกสมาชิกแต่ละธนาคาร หลังจากนั้นจะเสนอให้กับกรมบัญชีกลางจ่ายเงินเข้าสู่บัญชีของลูกจ้างผู้ประกันตนโดยตรง ไม่ต้องผ่านฝ่ายธุรการหรือฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการ
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลให้เราก็จะรับไว้ แต่ยังคิดไม่ออกว่าเงินจำนวนดังกล่าวให้มาแล้วจะไปใช้จ่ายอะไรบ้าง อาจจะลดภาระได้บ้างนิดหน่อย อยากให้รัฐบาลมองการแก้ไขปัญหาระยะยาวมากกว่าเพราะเรื่องนี้เป็นการแก้ไขปัญหาที่สั้นมาก ส่วนเรื่องการลดเงินสมทบของประกันสังคมต้องคิดให้ดีว่ากระทบกับกองทุนชราภาพในอนาคตหรือไม่ และจำนวนเงินดังกล่าวมีเพียงลูกจ้างที่อยู่ในระบบเท่านั้นที่ได้รับการช่วยเหลือ
**เรียนฟรี 15 ปี 1.8 หมื่นล้านฉลุย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุม ครม. ว่า ครม.อนุมัติงบตามที่กระทรวงฯ ขอใช้ในนโยบายเรียนฟรี 15 ปี รวม 18,258 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายในส่วนตำราเรียน 6,000 ล้านบาท อุปรกรณ์การเรียน 2,000 ล้านบาท เครื่องแบบนักเรียน 2 ชุดต่อปี 4,500 ล้านบาท ค่ากิจกรรมพิเศษ 4,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือใช้ในส่วนของการศึกษาเอกชน 1,500 ล้านบาท และที่เหลือเกือบ 1,000 ล้านบาทจะเป็นงบประมาณสำหรับโรงเรียนที่สังกัดกระทรวงอื่น (อ่านรายละเอียด...ครม.อนุมัติ 1.9 หมื่นล้านเรียนฟรี 15 ปี...หน้า 14)
**ตจว.ใช้ประปา อบต.-หมู่บ้านฟรี
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ( มท.2 ) ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายในการลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนรากหญ้า สืบเนื่องจากโครงการ 6 เดือน 6 มาตรการ ของรัฐบาล ซึ่งจะมีการเพิ่มความช่วยเหลือด้านการประปาฟรี ซึ่งจากเดิม สำหรับผู้ใช้ประปาจากการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค หากมีการใช้น้ำประปา ไม่เกิน 50 หน่วย จะสามารถใช้ฟรี แต่จะมีการใช้เกณฑ์ใหม่ เปลี่ยนเป็นไม่เกิน 30 หน่วย ใช้ฟรี และจะมีการเพิ่มการบริการในส่วนประชาชนรากหญ้า ที่ใช้ประปาองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) และประปาหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในลักษณะเดียวกัน คือ หากใช้ไม่เกิน 30 หน่วยจะสามารถใช้ประปาได้ฟรี ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น 5.2 ล้านครัวเรือน โดยในการประชุม ครม.วันที่ 13 ม.ค.ได้เสนอเป็นวาจาต่อที่ประชุม ครม.แล้ว และ ครม.เห็นด้วยในหลักการ ดังนั้น ในสัปดาห์หน้า จะมีการจัดทำรายละเอียดเสนอต่อ ครม.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท และเริ่มต้นโครงการได้ในเดือน ก.พ. 52 ต่อเนื่องจากนโยบายเดิม ส่วนการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้านั้น ยังเหมือนเดิม เพราะประชาชนต้องใช้บริการจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอยู่แล้ว
**เพิ่มค่าตอบแทนกำนันผู้ใหญ่บ้าน
นายบุญจงเปิดเผยด้วยว่า ครม. เห็นชอบในหลักการ การเพิ่มค่าครองชีพกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพราะเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่ช่วยราชการทุกกรมกองในกระทรวงมหาดไทย ทำงานใกล้ชิดประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบัน กำนันผู้ใหญ่บ้าน จะต้องช่วยงานในด้านการสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้ของบประมาณเพื่อเพิ่มค่าตอบแทนกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 6,008 ล้านบาท มีผลในการเพิ่มค่าตอบแทน 5 ตำแหน่ง ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว แต่อย่างไรก็ตาม งบประมาณจะได้รับการอนุมัติเท่าจำนวนที่ขอหรือไม่ ต้องรอให้มีการผ่านสภา เพื่อออกเป็น พ.ร.บ.ประกาศใช้ ซึ่งจะเร่งนำเรื่องเข้าสู่สภาในวันที่ 26 ม.ค.นี้
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุม ครม.เศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา กระทรวงการคมนาคม ที่นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม จากกลุ่มเพื่อนเนวิน เป็นผู้เสนอโครงการถนนไร้ฝุ่นลาดยาง ซึ่งยังคงเสนอของบประมาณเท่าเดิมคือ 3.4 หมื่นล้านบาท ปรากฏว่าการจัดสรรวันนี้ (13 ม.ค.) ได้งบประมาณเพียง 1,500 ล้านบาท
**คาดจีดีพีประเทศโต 2.5%ต่อปี
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ 20 ม.ค.นี้ และวันที่ 28 ม.ค.จะนำเข้าพิจารณาที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนายกรัฐมนตรีย้ำเป้าหมายที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็ว ขณะเดียวกันเชื่อว่าเมื่อแผนกระตุ้นเศรษฐกิจประกาศใช้กับงบกลางปี คาดว่าอัตราการขยายทางเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เบื้องต้น ค่าน้ำจะช่วยเหลือโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 30 ลบ.เมตรต่อเดือน ค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ส่วนรถเมล์รถไฟยังเหมือนเดิม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการใช้จ่ายเงินงบประมาณกลางปี 2552 ว่า ครม.มีมติเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2552 งบประมาณ 115,000 ล้านบาท เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่า น่าจะส่งถึงมือประชาชนได้ในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนมีนาคม 2552 นี้ โดย กระทรวงสำคัญที่ได้รับประมาณเพิ่มเติม 4 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ 18,258 ล้านบาท กระทรวงแรงงาน 1,6058 ล้านบาท กระทรวงคมนาคม 15,000 ล้านบาท และ กระทรวงมหาดไทย 12,557 ล้านบาท
ครม.ยังได้อนุมัติกรอบการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจเมื่อสัปดาห์ก่อน และแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้รัฐบาลสามารถนำนโยบายไปดำเนินการได้ ซึ่งจะเป็นแนวทางการทำงานจากงานวิจัยจากสหรัฐฯ ที่ทุกประเทศพยายามผลักดันงบประมาณให้ถึงมือประชาชน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การจัดสรรเงินงบประมาณกลางปีนั้น รัฐบาลจะยึดหลักการกระจายรายได้ไปยังประชาชนทั่วประเทศผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่ การเพิ่มรายได้ให้ข้าราชการด้วยการช่วยเหลือค่าครองชีพ 1.9 หมื่นล้านบาท เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 9 พันล้านบาท ขยายเวลาโครงการ 6 มาตรการ 6 เดือนเพื่อคนไทยทุกคน 1.1 หมื่นล้านบาท การจำหน่วยสินค้าราคาถูก 1 พันล้านบาท เรียนฟรี 1.9 หมื่นล้านบาท, ช่วยเหลือผู้ที่ถูกเลิกจ้างและผู้จบการศึกษาใหม่ 6.9 พันล้านบาท กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง 1.52 หมื่นล้านบาท เป็นต้น (ดูตาราง...18โครงการเร่งด่วนรัฐบาลมาร์ค 1)
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดทำรายละเอียดโครงการและกฎหมายเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า หลังจากนั้นจะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาในวันที่ 28 มกราคม 2552 นี้ โดยยังมอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยว ไปยังทำแผนฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องผูกพันกับงบกลางปี ซึ่งอาจเป็นการลดค่าธรรมเนียม การส่งเสริมให้ข้าราชการจัดสัมมนาในต่างจังหวัด
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจในวันนี้ (14 ม.ค.) ตนจะสั่งการให้ทางกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาในเรื่องของการปรับลดราคาสินค้าและค่าบริการให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง หลังจากมีการร้องเรียนการปรับลดราคาสินค้าและบริการยังไม่สะท้อนความเป็นจริงเท่าที่ควร และจะต้องนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และได้สั่งการให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเร่งทำมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวให้สามารถฟื้นฟูทำรายได้เข้าประเทศให้มากขึ้นต่อไปด้วยการช่วยเหลือลดภาระของผู้ประกอบการ
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในที่ประชุม ครม. กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานสถานการณ์และแนวทางแก้ไขราคาไข่ไก่ตกต่ำ ซึ่งมีการประมาณการผลผลิตไข่ไก่ ในปี 2552 ไว้จำนวน 9,492 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.39 % คิดเป็นบริโภคในประเทศ 9,112 ล้านฟอง ปัจจุบันราคาไข่ไก่คละ ณ แหล่งผลิตอ่อนตัวลง ฟองละ 2 - 2.20 บาท ในช่วงปลายปี 2551 เหลือฟองละ 1.80 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 2.10 บาท และคาดว่าแนวโน้มราคาจะทรงตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
รองโฆษกฯ กล่าวว่า แนวทางแก้ไข ด้านการผลิต ทางกระทรวงพาณิชย์เสนอให้มีการลดการผลิต โดยคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาไก่ไข่ และผลิตภัณฑ์ได้ขอความร่วมมือผู้ผลิตไก่พันธุ์ และผู้เลี้ยงไก่ไข่พันธุ์ และแม่ไก่ยืนกรงที่อายุ 72 และ 78 สัปดาห์ตามลำดับ และลดปริมาณการนำไก่ไข่เข้าเลี้ยง 10 % แต่ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นให้ไข่ไก่มีเสถียรภาพได้
นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาด้านการตลาด กระทรวงพาณิชย์เสนอให้กำหนดมาตรการแก้ไขราคาไข่ไก่และปริมาณผลผลิตไข่ไก่ส่วนเกิน ดังนี้ 1.รณรงค์เพิ่มการบริโภคไข่ไก่ทั่วประเทศ โดยการเชื่อมโยงให้เกษตรกรนำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง 2. เก็บสต็อกไข่ไก่เข้าห้องเย็น ในกรณีที่จำเป็น โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเก็บสต็อก
และ 3.มาตรการเร่งด่วน เห็นสมควรให้เด็กนักเรียนได้บริโภคไข่ไก่เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ อนามัย ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดปริมาณไข่ไก่ได้ปีละ 893 ล้านฟอง หรือ 10 %ของผลผลิต โดยจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทยดำเนินโครงการไข่โรงเรียน โดยการรับซื้อผลผลิตจากองค์กรผู้เลี้ยงไข่ไก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงไข่ไก่ นำมาเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนทั่วประเทศ เช่นเดียวกับนมโรงเรียนในปัจจุบัน
เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงที่ผ่านมากลุ่มเสื้อแดงนำไข่ไปปาใส่ฝ่ายตรงข้ามทั้งนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์และคณะรัฐมนตรี
นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า กรอบวงเงินงบประมาณกลางปี 2552 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.15 แสนล้านบาท ซึ่งได้ปรับลดลงจากกรอบเดิมที่เสนอมา 1.2 แสนล้านบาท หลังจากที่ได้ปรับปรุงการใช้จ่ายงบประมาณตามหลักการที่ว่าจะต้องเกิดการใช้จ่ายจริง งบประมาณดังกล่าวจะมีการจัดสรรให้กับ 18 โครงการ เน้นไปที่การแก้ปัญหาด้านแรงงาน การช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้ประจำ และส่วนหนึ่งประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท ตั้งไว้เป็นงบชดเชยเงินคงคลังที่จะนำออกมาใช้จ่ายก่อนเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆ จะนำเสนอรายละเอียดของการจัดสรรเงินงบประมาณตามกรอบดังกล่าวให้ ครม.พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 20 ม.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐทั้งหมดสำนักงบประมาณได้ประเมินว่าคาดว่าจะใช้งบ 117,216 ล้านบาท โดยมีงบประมาณเพิ่มเติมจากงบฉุกเฉินและงบคงคลัง
**เงินเดือนไม่ถึงหมื่นสี่รับฟรี 2 พัน
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ครม.ได้อนุมัติหลักการแนวทางการช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับมนุษย์เงินเดือนที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม (สปส.) และบุคลากรภาครัฐ เพื่อช่วยเหลือแรงงานในช่วง 6 เดือนแรก นับจากเดือน เม.ย. จากนั้นในงบประมาณปี 2553 จะช่วยเหลืออีก โดยโครงการส่วนใหญ่จะเน้นให้เกิดการใช้จ่ายอย่างรวดเร็ว สำหรับการลดเงินส่งเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกอบการและลูกจ้างแรงงาน จะต้องรอการประชุมบอร์ดกองทุนประกันสังคมอีกครั้ง เพื่อเสนอ ครม.พิจารณา
ขณะที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกล่าวย้ำว่า มาตรการดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง ข้าราชการประจำ และผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่ำกว่า 14,000 บาทต่อเดือน ชดเชยคนละ 2,000 บาท เพียงครั้งเดียวในรอบ 6 เดือน โดยแบ่งเป็นบุคลากรของภาครัฐ 1.2 ล้านคน ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 14,000 บาท จะได้รับค่าชดเชย 2,000 บาท และจะเริ่มจากเดือน เม.ย.ต่อไป 6 เดือน แล้วถึงจะพิจารณาใหม่อีกครั้ง
โดยในส่วนของภาครัฐจะใช้เงินงบประมาณ 2,328 ล้านบาท ส่วนผู้ประกันตน ที่เป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม 8 ล้านคน ได้รับเงินช่วยเหลือรวม 16,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเตรียมจ่ายเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุ 3 ล้านคน 500 บาทต่อเดือน ส่วนเงินที่ส่งผ่านให้กองทุนหมู่บ้าน จะรอใช้งบประมาณจากส่วนอื่น ๆ ต่อไป
**ยิงตรงผ่านบัญชีธนาคาร
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ผู้ประกันในระบบประกันสังคมขณะนี้มีอยู่จำนวน 9.3 ล้านคน คนที่มีฐานเงินเดือนไม่เกิน 14,000 บาท ที่จะได้รับการช่วยเหลือครั้งนี้มี 8.01 ล้านคน โดย สปส.จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องฐานข้อมูลผู้ประกันตน พร้อมกับวางระบบเพื่อขอเลขที่บัญชีธนาคารของผู้ประกัน โดยแยกสมาชิกแต่ละธนาคาร หลังจากนั้นจะเสนอให้กับกรมบัญชีกลางจ่ายเงินเข้าสู่บัญชีของลูกจ้างผู้ประกันตนโดยตรง ไม่ต้องผ่านฝ่ายธุรการหรือฝ่ายบุคคลของสถานประกอบการ
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลให้เราก็จะรับไว้ แต่ยังคิดไม่ออกว่าเงินจำนวนดังกล่าวให้มาแล้วจะไปใช้จ่ายอะไรบ้าง อาจจะลดภาระได้บ้างนิดหน่อย อยากให้รัฐบาลมองการแก้ไขปัญหาระยะยาวมากกว่าเพราะเรื่องนี้เป็นการแก้ไขปัญหาที่สั้นมาก ส่วนเรื่องการลดเงินสมทบของประกันสังคมต้องคิดให้ดีว่ากระทบกับกองทุนชราภาพในอนาคตหรือไม่ และจำนวนเงินดังกล่าวมีเพียงลูกจ้างที่อยู่ในระบบเท่านั้นที่ได้รับการช่วยเหลือ
**เรียนฟรี 15 ปี 1.8 หมื่นล้านฉลุย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุม ครม. ว่า ครม.อนุมัติงบตามที่กระทรวงฯ ขอใช้ในนโยบายเรียนฟรี 15 ปี รวม 18,258 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายในส่วนตำราเรียน 6,000 ล้านบาท อุปรกรณ์การเรียน 2,000 ล้านบาท เครื่องแบบนักเรียน 2 ชุดต่อปี 4,500 ล้านบาท ค่ากิจกรรมพิเศษ 4,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือใช้ในส่วนของการศึกษาเอกชน 1,500 ล้านบาท และที่เหลือเกือบ 1,000 ล้านบาทจะเป็นงบประมาณสำหรับโรงเรียนที่สังกัดกระทรวงอื่น (อ่านรายละเอียด...ครม.อนุมัติ 1.9 หมื่นล้านเรียนฟรี 15 ปี...หน้า 14)
**ตจว.ใช้ประปา อบต.-หมู่บ้านฟรี
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ( มท.2 ) ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายในการลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนรากหญ้า สืบเนื่องจากโครงการ 6 เดือน 6 มาตรการ ของรัฐบาล ซึ่งจะมีการเพิ่มความช่วยเหลือด้านการประปาฟรี ซึ่งจากเดิม สำหรับผู้ใช้ประปาจากการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค หากมีการใช้น้ำประปา ไม่เกิน 50 หน่วย จะสามารถใช้ฟรี แต่จะมีการใช้เกณฑ์ใหม่ เปลี่ยนเป็นไม่เกิน 30 หน่วย ใช้ฟรี และจะมีการเพิ่มการบริการในส่วนประชาชนรากหญ้า ที่ใช้ประปาองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) และประปาหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในลักษณะเดียวกัน คือ หากใช้ไม่เกิน 30 หน่วยจะสามารถใช้ประปาได้ฟรี ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น 5.2 ล้านครัวเรือน โดยในการประชุม ครม.วันที่ 13 ม.ค.ได้เสนอเป็นวาจาต่อที่ประชุม ครม.แล้ว และ ครม.เห็นด้วยในหลักการ ดังนั้น ในสัปดาห์หน้า จะมีการจัดทำรายละเอียดเสนอต่อ ครม.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท และเริ่มต้นโครงการได้ในเดือน ก.พ. 52 ต่อเนื่องจากนโยบายเดิม ส่วนการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้านั้น ยังเหมือนเดิม เพราะประชาชนต้องใช้บริการจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอยู่แล้ว
**เพิ่มค่าตอบแทนกำนันผู้ใหญ่บ้าน
นายบุญจงเปิดเผยด้วยว่า ครม. เห็นชอบในหลักการ การเพิ่มค่าครองชีพกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพราะเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่ช่วยราชการทุกกรมกองในกระทรวงมหาดไทย ทำงานใกล้ชิดประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุบัน กำนันผู้ใหญ่บ้าน จะต้องช่วยงานในด้านการสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้ของบประมาณเพื่อเพิ่มค่าตอบแทนกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 6,008 ล้านบาท มีผลในการเพิ่มค่าตอบแทน 5 ตำแหน่ง ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว แต่อย่างไรก็ตาม งบประมาณจะได้รับการอนุมัติเท่าจำนวนที่ขอหรือไม่ ต้องรอให้มีการผ่านสภา เพื่อออกเป็น พ.ร.บ.ประกาศใช้ ซึ่งจะเร่งนำเรื่องเข้าสู่สภาในวันที่ 26 ม.ค.นี้
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุม ครม.เศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา กระทรวงการคมนาคม ที่นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม จากกลุ่มเพื่อนเนวิน เป็นผู้เสนอโครงการถนนไร้ฝุ่นลาดยาง ซึ่งยังคงเสนอของบประมาณเท่าเดิมคือ 3.4 หมื่นล้านบาท ปรากฏว่าการจัดสรรวันนี้ (13 ม.ค.) ได้งบประมาณเพียง 1,500 ล้านบาท
**คาดจีดีพีประเทศโต 2.5%ต่อปี
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ 20 ม.ค.นี้ และวันที่ 28 ม.ค.จะนำเข้าพิจารณาที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนายกรัฐมนตรีย้ำเป้าหมายที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็ว ขณะเดียวกันเชื่อว่าเมื่อแผนกระตุ้นเศรษฐกิจประกาศใช้กับงบกลางปี คาดว่าอัตราการขยายทางเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เบื้องต้น ค่าน้ำจะช่วยเหลือโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 30 ลบ.เมตรต่อเดือน ค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ส่วนรถเมล์รถไฟยังเหมือนเดิม