ASTV ผู้จัดการรายวัน – นักลงทุนผวาพิษเศรษฐกิจทำให้ผลประกอบการบริษัทเอกชนทั่วโลกทรุดหนัก แห่เทขายหุ้นลดความเสี่ยงกดดันดัชนีตลาดหุ้นร่วงระนาว ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเจอข่าว “ปตท.” ขาดทุนมหาศาลถล่มซ้ำ ดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วง 19 จุด ด้านโบรกเกอร์ แนะถือเงินสดหรือเก็งกำไรระยะสั้น สั่งจับตาปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก ระบุแบงก์ชาติต้องหั่นดอกเบี้ยเกิน 0.75% จะช่วยผลักดันตลาดหุ้นระยะสั้น
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (13 ม.ค.) ถูกปกคลุมด้วยปัจจัยลบจากต่างประเทศที่ต่างคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ทั่วโลกจะมีผลประกอบการเลวร้ายกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนจนเป็นแรงกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเองยังได้รับข่าวร้ายของบริษัทจดทะเบียนไทยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบมจ.ปตท. (PTT) ที่จะประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดดำเนินการ หลังจากราคาน้ำมันโลกผันผวนและปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้า ก่อนจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วในช่วงบ่าย ขณะที่ระหว่างการซื้อขายไดปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 451.18 จุด และปิดการซื้อขายระดับต่ำสุดที่ 433.81 จุด ลดลงจากวันก่อนถึง 18.99 จุด หรือคิดเป็น 4.19% มูลค่าการซื้อขายรวม 12,905.06 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง คือ มียอดขายสุทธิ 1,007.66 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,347.04 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,354.69 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ. ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 156 บาท ลดลง 12 บาท หรือ 7.14% มูลค่าการซื้อขาย 1,388.62 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 100 บาท ลดลง 8 บาท หรือ 7.41% มูลค่าการซื้อขาย 1,351.41 ล้านบาท และบมจ.บ้านปู (BANPU) ปิดที่ 220 บาท ลดลง 20 บาท หรือ 8.33% มูลค่าการซื้อขาย 1,265.98 ล้านบาท
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมากกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของกลุ่มปตท. ซึ่งมีน้ำหนักมากต่อดัชนีตลาดหุ้นไทย ขณะที่ตลาดหุ้นภูมิภาคปรับตัวลงจากตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะประสบปัญหาขาดทุนเช่นเดียวกันไทย
ขณะที่การประกาศดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะตกต่ำ โดยดูได้จากตัวเลขการปลดคนงานในสหรัฐฯ รวมทั้งได้มีมการปรับมุมมองเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปีนี้ลงเป็นติดลบ 1.5% จากเดิมที่ติดลบ 1%
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ หากดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง จะเป็นแรงกดดันให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคและตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงไปในทิศทางเดียวกัน โดยมองว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 52 นี้ ตลาดเอเชียคงจะยังอิงอยู่กับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ก็จะแยกออกจากกัน
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงเช้าได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง บวกกับความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อผลประกอบการไตรมาส 4/51 ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ขณะที่ช่วงบ่ายยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากการคาดการณ์ผลการดำเนินงานของกลุ่มบมจ.ปตท.ในไตรมาส 4/51 จะประสบปัญหาขาดทุนตามทิศทางราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ วันนี้ (14 ม.ค.) คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ซึ่งนักลงทุนต้องติดตามทิศทางดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ และตลาดเอเชีย รวมถึงราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยกลยุทธ์การลงทุนแนะทยอยซื้อดัชนีอ่อนตัวใกล้ระดับ 420 จุด และขายเมื่อดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ประเมินแนวรับอยู่ที่ 420 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 442-446 จุด
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) หรือ CNS กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงสอดคล้องกับตลาดหุ้นในต่างประเทศ เพราะสภาพเศรษฐกิจโลกยังหดตัว ประกอบตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นสูงขึ้น บวกกับการที่ราคาน้ำมันโลกปรับลดอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท. ทำให้มีแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานออกมาเป็นจำนวนมาก
“ดัชนีตลาดหุ้นไทยคงจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ แต่นักลงทุนควรรอดูผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) งธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) ในวันนี้ และผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ดังนั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมีแนวรับที่ 425-427 จุด และแนวต้านที่ 450 จุด”
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ฟาร์อีสท์ จำกัด กล่าวว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง ตลอดจนการคาดการณ์ของตลาดต่อผลประกอบการไตรมาส 4/51 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะมาย่ำแย่ จึงทำให้มีแรงเทขายออกมาในหุ้นกลุ่มหลักของตลาดออกมาตลอดวัน
ขณะที่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่าจะปรับลดดอกเบี้ยไม่เกิน 0.50-0.75% ซึ่งเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้แล้ว จึงไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก
“ตลาดหุ้นไทยน่าจะผันผวนตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยนักลงทุนควรจับตาผลการประชุมของ กนง. กลยุทธ์ช่วงนี้นักลงทุนควรเก็งกำไรระยะสั้นในหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มีแนวรับอยู่ระหว่าง 424-429 จุด แนวต้านที่ 440-444 จุด” นางสาวจิตติมากล่าว
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงกว่า 4% มากกว่าตลาดหุ้นภูมิภาค เกิดจากแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทในเครือปตท. ที่คาดว่าประสบปัญหาขาดทุนเป็นจำนวนมหาศาล จึงทำให้นักลงทุนรีบเทขายลดความเสี่ยงออกมาก่อนเนื่องจากหวั่นเกรงว่าราคาหุ้นจะลดลงไปต่ำกว่าปัจจุบันมาก และสะท้อนปัจจัยลบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลงต่ำกว่า 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ขณะเดียวกัน กลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่กำลังจะทยอยประกาศผลการดำเนินงาน คาดว่าจะมีกำไรสุทธิลดลงตามสภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินที่ถดถอยเช่นเดียวกัน
สำหรับแนวโน้มในวันนี้ จะยังถูกปกคลุมด้วยเรื่องของผลประกอบการของบริษัทเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่หากธปท. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.75% อาจจะช่วยผลักดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะสั้น ดังนั้นนักลงทุนควรถือเงินสดเพื่อรอจังหวะเข้าลงทุน ประเมินแนวรับ 400 จุด แนวต้าน 450 จุด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (13 ม.ค.) ถูกปกคลุมด้วยปัจจัยลบจากต่างประเทศที่ต่างคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ทั่วโลกจะมีผลประกอบการเลวร้ายกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนจนเป็นแรงกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเองยังได้รับข่าวร้ายของบริษัทจดทะเบียนไทยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบมจ.ปตท. (PTT) ที่จะประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดดำเนินการ หลังจากราคาน้ำมันโลกผันผวนและปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้า ก่อนจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วในช่วงบ่าย ขณะที่ระหว่างการซื้อขายไดปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 451.18 จุด และปิดการซื้อขายระดับต่ำสุดที่ 433.81 จุด ลดลงจากวันก่อนถึง 18.99 จุด หรือคิดเป็น 4.19% มูลค่าการซื้อขายรวม 12,905.06 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง คือ มียอดขายสุทธิ 1,007.66 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,347.04 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,354.69 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ. ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 156 บาท ลดลง 12 บาท หรือ 7.14% มูลค่าการซื้อขาย 1,388.62 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 100 บาท ลดลง 8 บาท หรือ 7.41% มูลค่าการซื้อขาย 1,351.41 ล้านบาท และบมจ.บ้านปู (BANPU) ปิดที่ 220 บาท ลดลง 20 บาท หรือ 8.33% มูลค่าการซื้อขาย 1,265.98 ล้านบาท
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมากกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของกลุ่มปตท. ซึ่งมีน้ำหนักมากต่อดัชนีตลาดหุ้นไทย ขณะที่ตลาดหุ้นภูมิภาคปรับตัวลงจากตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะประสบปัญหาขาดทุนเช่นเดียวกันไทย
ขณะที่การประกาศดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะตกต่ำ โดยดูได้จากตัวเลขการปลดคนงานในสหรัฐฯ รวมทั้งได้มีมการปรับมุมมองเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปีนี้ลงเป็นติดลบ 1.5% จากเดิมที่ติดลบ 1%
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ หากดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง จะเป็นแรงกดดันให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคและตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงไปในทิศทางเดียวกัน โดยมองว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 52 นี้ ตลาดเอเชียคงจะยังอิงอยู่กับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ก็จะแยกออกจากกัน
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงเช้าได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง บวกกับความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อผลประกอบการไตรมาส 4/51 ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ขณะที่ช่วงบ่ายยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากการคาดการณ์ผลการดำเนินงานของกลุ่มบมจ.ปตท.ในไตรมาส 4/51 จะประสบปัญหาขาดทุนตามทิศทางราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ วันนี้ (14 ม.ค.) คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ซึ่งนักลงทุนต้องติดตามทิศทางดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ และตลาดเอเชีย รวมถึงราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยกลยุทธ์การลงทุนแนะทยอยซื้อดัชนีอ่อนตัวใกล้ระดับ 420 จุด และขายเมื่อดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ประเมินแนวรับอยู่ที่ 420 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 442-446 จุด
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) หรือ CNS กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงสอดคล้องกับตลาดหุ้นในต่างประเทศ เพราะสภาพเศรษฐกิจโลกยังหดตัว ประกอบตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นสูงขึ้น บวกกับการที่ราคาน้ำมันโลกปรับลดอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท. ทำให้มีแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานออกมาเป็นจำนวนมาก
“ดัชนีตลาดหุ้นไทยคงจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ แต่นักลงทุนควรรอดูผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) งธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) ในวันนี้ และผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ดังนั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมีแนวรับที่ 425-427 จุด และแนวต้านที่ 450 จุด”
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ฟาร์อีสท์ จำกัด กล่าวว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง ตลอดจนการคาดการณ์ของตลาดต่อผลประกอบการไตรมาส 4/51 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะมาย่ำแย่ จึงทำให้มีแรงเทขายออกมาในหุ้นกลุ่มหลักของตลาดออกมาตลอดวัน
ขณะที่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่าจะปรับลดดอกเบี้ยไม่เกิน 0.50-0.75% ซึ่งเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้แล้ว จึงไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก
“ตลาดหุ้นไทยน่าจะผันผวนตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยนักลงทุนควรจับตาผลการประชุมของ กนง. กลยุทธ์ช่วงนี้นักลงทุนควรเก็งกำไรระยะสั้นในหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มีแนวรับอยู่ระหว่าง 424-429 จุด แนวต้านที่ 440-444 จุด” นางสาวจิตติมากล่าว
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงกว่า 4% มากกว่าตลาดหุ้นภูมิภาค เกิดจากแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทในเครือปตท. ที่คาดว่าประสบปัญหาขาดทุนเป็นจำนวนมหาศาล จึงทำให้นักลงทุนรีบเทขายลดความเสี่ยงออกมาก่อนเนื่องจากหวั่นเกรงว่าราคาหุ้นจะลดลงไปต่ำกว่าปัจจุบันมาก และสะท้อนปัจจัยลบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลงต่ำกว่า 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ขณะเดียวกัน กลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่กำลังจะทยอยประกาศผลการดำเนินงาน คาดว่าจะมีกำไรสุทธิลดลงตามสภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินที่ถดถอยเช่นเดียวกัน
สำหรับแนวโน้มในวันนี้ จะยังถูกปกคลุมด้วยเรื่องของผลประกอบการของบริษัทเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่หากธปท. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.75% อาจจะช่วยผลักดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในระยะสั้น ดังนั้นนักลงทุนควรถือเงินสดเพื่อรอจังหวะเข้าลงทุน ประเมินแนวรับ 400 จุด แนวต้าน 450 จุด