ASTVผู้จัดการรายวัน - "ตำรวจ -อัยการ-สนง.เขต" ตัวการเหตุสยอง "ซานติก้า" ผลสอบฉบับ ยธ. ระบุชัด เข้าข่ายผิดวินัยฐานปล่อยให้เปิดบริการผิดกฎหมายทั้งที่มีการจับกุมไปถึง 47 ครั้ง แต่ไม่ปิดผับนรก ชี้เจ้าของอาคาร ต้องรับผิดฐานประมาท ขณะที่ศาลออกหมายจับ "เสี่ยขาว -กรรมการผู้จัดการ" ใน 2 ข้อหา “จงรัก” ลั่นสอบเพิ่มหากพบผู้ใดเกี่ยวข้องออกหมายจับเพิ่มแน่ เชื่อเหตุเพลิงไหม้เกิดจากพลุ และเอฟเฟกต์ ส่วนเหยื่อผับนรกตายเพิ่มอีก 2 ยอดผูเสียชีวิตรวม 66 ศพแล้ว
วานนี้ (12 ม.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม เปิดเผยถึงผลความคืบหน้าการสืบสวนข้อเท็จจริงคดีซานติก้าผับว่า นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และคณะทำงาน ได้รายงานผลความคืบหน้าว่ามีข้อมูลรายละเอียดเพิ่มขึ้นหลายประการ ซึ่งบางเรื่องยังไม่ปรากฏเป็นข่าว ส่วนกรณีที่พบข้อมูลว่ามีการจับกุมผู้บริหารซานติก้าถึง 47 ครั้ง แต่ในที่สุดอัยการสั่งไม่ฟ้องนั้น ได้มีการขยายผลสอบสวนข้อเท็จจริง และยังไม่สามารถตอบได้ว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่ เพราะตนไม่ได้ตั้งเป้าสอบสวนเฉพาะประเด็นมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่สั่งการให้สอบสวนข้อเท็จจริงทุกส่วนว่าใครเข้ามาอยู่ในวงจรการกระทำผิดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ยังกำชับให้ตรวจสอบหาช่องโหว่ของกฎหมายและวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะนี้ขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ามีการรายงานข้อมูลแล้วว่านายตำรวจคนใดเป็นผู้ลงนามในคำสั่งไม่ฟ้องซานติก้าผับ แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายชื่อในตอนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีการก่อสร้างอาคารเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยแต่กลับดัดแปลงเป็นสถานบริการ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า หากข้อเท็จจริงปรากฏเช่นนั้นชัดเจนก็ถือว่ามีความผิดและต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการค้นหาแบบการก่อสร้างอาคารมาพิจารณา ซึ่งเชื่อว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์ คดีดังกล่าวจะมีความชัดเจน ทั้งนี้ การแถลงสรุปสำนวนจะรอให้ตำรวจสรุปผลการสอบสวนก่อน เพราะตนไม่ต้องการชิงดีชิงเด่นด้วยการสรุปคดีตัดหน้าตำรวจ
นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ผลการสืบสวนเริ่มมีความชัดเจนว่าสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้มาจากอะไรบ้าง และน่าเชื่อว่าเหตุเพลิงไหม้ได้คุกรุ่นขึ้นมาก่อนแล้ว แต่ไม่มีใครสังเกตเห็นจนกระทั่งไฟลุกลามขึ้น สำหรับเรื่องการจ่ายเงินค่าชดเชยให้ผู้เสียหาย ได้สั่งให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเร่งจ่ายเงินให้ผู้เสียหายทันทีที่ตำรวจสรุปสำนวนว่าเป็นความผิดอาญา พร้อมกับสั่งการให้กรมคุ้มครองสิทธิฯฟ้องไล่เบี้ยจากผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และนำเงินมาคืนให้แก่รัฐ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า คณะทำงานสอบสวนกรณีเพลิงไหม้ซานติก้าผับได้ตรวจสอบเอกสารย้อนหลังในหลายประเด็น พบว่าเจ้าหน้าที่รัฐหลายหน่วยงานอยู่ในข่ายต้องรับผิดทางวินัยและอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อาทิ กรณีการเปิดสถานบริการโดยไม่มีใบอนุญาต ซึ่ง สน.ทองหล่อได้จับกุมดำเนินคดีกับซานติก้าผับรวม 47 ครั้ง แต่กลับไม่มีการสั่งปิดสถานบริการทั้งที่ศาลปกครองสูงสุดได้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วไปแล้ว นอกจากนี้ ในชั้นการพิจารณาสำนวนคดี พบว่ามีการจับกุมดำเนินคดีผู้บริหารซานติก้าผับ ตั้งแต่ปี 2547-2549 ในข้อหาร่วมกันจัดตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำหน่ายสุราในเวลาห้ามจำหน่าย โดยสำนวนคดีได้ถูกส่งให้อัยการในระยะเวลาที่ต่างกัน แต่อัยการไม่ได้สั่งคดีภายในระยะเวลาอันควร ต่อมาได้มีการรวมสำนวนคดีทั้ง 3 ปีและมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีร่วมกันจัดตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตในปี 2551 ส่วนคดีจำหน่ายสุราในเวลาห้ามจำหน่ายยังไม่มีการพิจารณาสั่งคดี จากนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยนายตำรวจระดับรอง ผบ.ตร.ไม่ได้ทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการทำให้คดียุติลง
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า สำหรับบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ (2003) เจ้าของอาคารซานติก้าผับได้ขออนุญาตจากเขตวัฒนา ก่อสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์และพักอาศัย ต่อมามีการดัดแปลงเป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเขตวัฒนา ซึ่งซานติก้าผับได้เปิดให้บริการอย่างเปิดเผยนานเกือบ 5 ปี เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมควรรู้ว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย แต่การตรวจสอบไม่พบหลักฐานว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบการดัดแปลงการใช้อาคารเป็นสถานบริการ นอกจากนี้ ซานติก้าผับเป็นอาคารสาธารณะประเภทสถานบริการ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้อยู่ในข่ายที่ต้องตรวจสอบอาคารและจัดระบบการป้องกันอัคคีภัย แต่บริษัท ไวท์แอนด์ บราเธอร์ฯ กลับฝ่าฝืนไม่ตรวจสอบอาคารตามที่กฎหมายกำหนด และไม่จัดให้มีอุปกรณ์หรือระบบป้องกันอัคคีภัยให้เพียงพอ โดยบริเวณที่พบผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก คือบริเวณที่ลดระดับจากพื้นทางเข้าประมาณ 1.50 เมตร เจ้าของอาคารจึงต้องรับผิดฐานประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส
วันเดียวกัน ที่สน.ทองหล่อ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.ดนัยธร วงศ์ไทย ผบช.สนว. พล.ต.ต.โชคชัย ดีประเสริฐวิทย์ ผบก.น.5 พ.ต.อ.ขจรศักดิ์ ปานสาคร รอง ผบก.น.5 พ.ต.อ.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผกก.สน.ทองหล่อ พ.ต.ท.ชนิน วชิรปาณีกูล รอง ผกก.สส.สน.ทองหล่อ และพนักงานสอบสวน เดินทางเข้าประชุมสรุปผลการดำเนินการทางคดีเพลิงไหม้ซานติก้าผับที่ห้องฝ่ายปฏิบติการจราจร สน.ทองหล่อ โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 1 ชั่วโมง
***ออกหมายจับเสี่ยขาวแล้ว
พล.ต.อ.จงรัก เปิดเผยว่า วันนี้ได้มาประชุมสรุปผลการดำเนินการทางคดีในเบื้องต้น โดยขณะนี้พนักงานสอบสวนได้ขออนุมัติหมายจับจากศาลจังหวัดพระโขนง เลขที่ ส.47/52 และ ส.48/52 ลงวันที่ 10 ม.ค.52 เพื่อจับกุม นายวิสุข หรือเสี่ยขาว เสร็จสวัสดิ์ หุ้นส่วนใหญ่ของซานติก้าผับ และนายสุริยา ฤทธิ์ระบือ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ ตามลำดับ ในความผิด 2 ข้อหา คือ ร่วมกันกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และข้อหาร่วมกันเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานบริการ ยิมยอมและปล่อยปละละเลยให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งพนักงานสอบสวนจะติดต่อให้มารับทราบข้อกล่าวหา โดยที่ไม่ต้องติดตามจับกุมตัว เนื่องจากมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งอยู่แล้ว
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนมีเห็นว่า ทั้งสองคนได้จัดให้มีการแสดงขึ้นในวันขึ้นปีใหม่ ทั้งๆ ที่สภาพอาคารไม่พร้อม โดยพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตวัฒนา หรือเจ้าหน้าที่สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ระบุว่าสถานที่เกิดเหตุนั้นรับแขกได้เพียง 500 คน หรือมีพื้นที่เพียง 500 ตารางเมตร แต่ทางซานติก้าผับได้มีการส่งเอสเอ็มเอสเชิญชวนแขกไปนับหมื่นราย และมีแขกที่เดินทางมาเที่ยวเกินกว่า 1,000 ราย เกินกว่าที่อาคารจะรับได้ นอกจากนี้ ระบบรักษาความปลอดภัย เช่น ประตูฉุกเฉิน ป้ายทางหนีไฟ สัญญาณไฟแจ้งเหตุ ระบบดับเพลิงอัตโนมัติก็ไม่มี แสดงให้เห็นว่า ผู้ต้องหาแสวงหาผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้า จึงถือว่าเข้าข่ายความผิดกระทำการโดยประมาท
พล.ต.อ.จงรัก กล่าวต่อว่า หลังจากนี้พนักงานสอบสวนจะได้ทำการสอบสวนเพิ่มเติมว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องที่จะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมบ้าง เช่น คนจุดพลุ หรือคนหรือทำเอฟเฟกต์ จะต้องร่วมรับผิดชอบแน่นอน หากพบว่าพยานหลักฐานเชิ่มโยงไปถึงใครก็จะออกหมายจับเพิ่มเติมแน่นอน ส่วนการสอบสวนหาสาเหตุของเพลิงไหม้นั้น ขณะนี้คืบหน้าไปกว่า 80% แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการตรวจพิสูจน์ที่แน่นอนว่า เหตุเพลิงไหม้จะเกิดขึ้นจะพลุหรือเอฟเฟกต์ ซึ่งจากการสอบสวนทีมทำเอฟเฟกต์ยืนยันว่าเอฟเฟกต์ที่ใช้นั้นไม่สูงเกิน 5 เมตร แต่เพดานที่เกิดเหตุสูงกว่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องรอผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อีกครั้งว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่เชื่อว่าเกิดจากสองสาเหตุนี้แน่นอน
อย่างไรก็ตามทราบว่า นายปุณณรัตน์ แสนเมืองชิน คนกดสวิตช์เอฟเฟกต์ได้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุไปแล้ว นอกจากนี้ยังได้รับรายงานเพิ่มเติ่มว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย คือ น.ส.มนันท์ยา บุญสาร ที่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลคลองตันตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุแล้ว แต่ญาติเพิ่งมาแจ้งให้ตำรวจทราบ และรายล่าสุดเพิ่งเสียชีวิตเมื่อช่วงเช้าวันนี้คือ น.ส.มายะดะห์ ฮัซซัน อาลี อะห์หมัด ชาวซูดาน ทำให้ยอดรวมของผู้เสียชีวิตทั้งหมดเพิ่มเป็น 66 รายแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าที่ผ่านมา นางวีณา เลิศกมลมาศ ผอ.สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 เดินทางมาที่ สน.ทองหล่อ เพื่อติดตามความคืบหน้าของคดี พร้อมเปิดเผยว่า สำหรับลูกจ้างของซานติก้าผับที่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ทางซานติก้าผับจะต้องเสียค่าทำศพรายละ 2,300 บาท และค่าทดแทนการเสียชีวิต เป็นเงิน 60% ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 8 ปี ส่วนผู้บาดเจ็บสาหัสที่ต้องหยุดพักงานและรักษาตัวต้องจ่ายค่าทดแทนการหยุดงานเป็นเงิน 60 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง โดยถึงขณะนี้มีพนักงานที่เสียชีวิตมารับการดำเนินการช่วยเหลือแล้ว 2 ราย เหลืออีก 6 รายที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากทั้งหมด 8 ราย.
วานนี้ (12 ม.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม เปิดเผยถึงผลความคืบหน้าการสืบสวนข้อเท็จจริงคดีซานติก้าผับว่า นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และคณะทำงาน ได้รายงานผลความคืบหน้าว่ามีข้อมูลรายละเอียดเพิ่มขึ้นหลายประการ ซึ่งบางเรื่องยังไม่ปรากฏเป็นข่าว ส่วนกรณีที่พบข้อมูลว่ามีการจับกุมผู้บริหารซานติก้าถึง 47 ครั้ง แต่ในที่สุดอัยการสั่งไม่ฟ้องนั้น ได้มีการขยายผลสอบสวนข้อเท็จจริง และยังไม่สามารถตอบได้ว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่ เพราะตนไม่ได้ตั้งเป้าสอบสวนเฉพาะประเด็นมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่สั่งการให้สอบสวนข้อเท็จจริงทุกส่วนว่าใครเข้ามาอยู่ในวงจรการกระทำผิดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ยังกำชับให้ตรวจสอบหาช่องโหว่ของกฎหมายและวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะนี้ขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ามีการรายงานข้อมูลแล้วว่านายตำรวจคนใดเป็นผู้ลงนามในคำสั่งไม่ฟ้องซานติก้าผับ แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายชื่อในตอนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีการก่อสร้างอาคารเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยแต่กลับดัดแปลงเป็นสถานบริการ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า หากข้อเท็จจริงปรากฏเช่นนั้นชัดเจนก็ถือว่ามีความผิดและต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการค้นหาแบบการก่อสร้างอาคารมาพิจารณา ซึ่งเชื่อว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์ คดีดังกล่าวจะมีความชัดเจน ทั้งนี้ การแถลงสรุปสำนวนจะรอให้ตำรวจสรุปผลการสอบสวนก่อน เพราะตนไม่ต้องการชิงดีชิงเด่นด้วยการสรุปคดีตัดหน้าตำรวจ
นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ผลการสืบสวนเริ่มมีความชัดเจนว่าสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้มาจากอะไรบ้าง และน่าเชื่อว่าเหตุเพลิงไหม้ได้คุกรุ่นขึ้นมาก่อนแล้ว แต่ไม่มีใครสังเกตเห็นจนกระทั่งไฟลุกลามขึ้น สำหรับเรื่องการจ่ายเงินค่าชดเชยให้ผู้เสียหาย ได้สั่งให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเร่งจ่ายเงินให้ผู้เสียหายทันทีที่ตำรวจสรุปสำนวนว่าเป็นความผิดอาญา พร้อมกับสั่งการให้กรมคุ้มครองสิทธิฯฟ้องไล่เบี้ยจากผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และนำเงินมาคืนให้แก่รัฐ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า คณะทำงานสอบสวนกรณีเพลิงไหม้ซานติก้าผับได้ตรวจสอบเอกสารย้อนหลังในหลายประเด็น พบว่าเจ้าหน้าที่รัฐหลายหน่วยงานอยู่ในข่ายต้องรับผิดทางวินัยและอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อาทิ กรณีการเปิดสถานบริการโดยไม่มีใบอนุญาต ซึ่ง สน.ทองหล่อได้จับกุมดำเนินคดีกับซานติก้าผับรวม 47 ครั้ง แต่กลับไม่มีการสั่งปิดสถานบริการทั้งที่ศาลปกครองสูงสุดได้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วไปแล้ว นอกจากนี้ ในชั้นการพิจารณาสำนวนคดี พบว่ามีการจับกุมดำเนินคดีผู้บริหารซานติก้าผับ ตั้งแต่ปี 2547-2549 ในข้อหาร่วมกันจัดตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำหน่ายสุราในเวลาห้ามจำหน่าย โดยสำนวนคดีได้ถูกส่งให้อัยการในระยะเวลาที่ต่างกัน แต่อัยการไม่ได้สั่งคดีภายในระยะเวลาอันควร ต่อมาได้มีการรวมสำนวนคดีทั้ง 3 ปีและมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีร่วมกันจัดตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตในปี 2551 ส่วนคดีจำหน่ายสุราในเวลาห้ามจำหน่ายยังไม่มีการพิจารณาสั่งคดี จากนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยนายตำรวจระดับรอง ผบ.ตร.ไม่ได้ทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการทำให้คดียุติลง
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า สำหรับบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ (2003) เจ้าของอาคารซานติก้าผับได้ขออนุญาตจากเขตวัฒนา ก่อสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์และพักอาศัย ต่อมามีการดัดแปลงเป็นสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเขตวัฒนา ซึ่งซานติก้าผับได้เปิดให้บริการอย่างเปิดเผยนานเกือบ 5 ปี เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมควรรู้ว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย แต่การตรวจสอบไม่พบหลักฐานว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบการดัดแปลงการใช้อาคารเป็นสถานบริการ นอกจากนี้ ซานติก้าผับเป็นอาคารสาธารณะประเภทสถานบริการ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้อยู่ในข่ายที่ต้องตรวจสอบอาคารและจัดระบบการป้องกันอัคคีภัย แต่บริษัท ไวท์แอนด์ บราเธอร์ฯ กลับฝ่าฝืนไม่ตรวจสอบอาคารตามที่กฎหมายกำหนด และไม่จัดให้มีอุปกรณ์หรือระบบป้องกันอัคคีภัยให้เพียงพอ โดยบริเวณที่พบผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก คือบริเวณที่ลดระดับจากพื้นทางเข้าประมาณ 1.50 เมตร เจ้าของอาคารจึงต้องรับผิดฐานประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส
วันเดียวกัน ที่สน.ทองหล่อ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.ดนัยธร วงศ์ไทย ผบช.สนว. พล.ต.ต.โชคชัย ดีประเสริฐวิทย์ ผบก.น.5 พ.ต.อ.ขจรศักดิ์ ปานสาคร รอง ผบก.น.5 พ.ต.อ.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผกก.สน.ทองหล่อ พ.ต.ท.ชนิน วชิรปาณีกูล รอง ผกก.สส.สน.ทองหล่อ และพนักงานสอบสวน เดินทางเข้าประชุมสรุปผลการดำเนินการทางคดีเพลิงไหม้ซานติก้าผับที่ห้องฝ่ายปฏิบติการจราจร สน.ทองหล่อ โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 1 ชั่วโมง
***ออกหมายจับเสี่ยขาวแล้ว
พล.ต.อ.จงรัก เปิดเผยว่า วันนี้ได้มาประชุมสรุปผลการดำเนินการทางคดีในเบื้องต้น โดยขณะนี้พนักงานสอบสวนได้ขออนุมัติหมายจับจากศาลจังหวัดพระโขนง เลขที่ ส.47/52 และ ส.48/52 ลงวันที่ 10 ม.ค.52 เพื่อจับกุม นายวิสุข หรือเสี่ยขาว เสร็จสวัสดิ์ หุ้นส่วนใหญ่ของซานติก้าผับ และนายสุริยา ฤทธิ์ระบือ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ ตามลำดับ ในความผิด 2 ข้อหา คือ ร่วมกันกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และข้อหาร่วมกันเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานบริการ ยิมยอมและปล่อยปละละเลยให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งพนักงานสอบสวนจะติดต่อให้มารับทราบข้อกล่าวหา โดยที่ไม่ต้องติดตามจับกุมตัว เนื่องจากมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งอยู่แล้ว
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนมีเห็นว่า ทั้งสองคนได้จัดให้มีการแสดงขึ้นในวันขึ้นปีใหม่ ทั้งๆ ที่สภาพอาคารไม่พร้อม โดยพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตวัฒนา หรือเจ้าหน้าที่สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ระบุว่าสถานที่เกิดเหตุนั้นรับแขกได้เพียง 500 คน หรือมีพื้นที่เพียง 500 ตารางเมตร แต่ทางซานติก้าผับได้มีการส่งเอสเอ็มเอสเชิญชวนแขกไปนับหมื่นราย และมีแขกที่เดินทางมาเที่ยวเกินกว่า 1,000 ราย เกินกว่าที่อาคารจะรับได้ นอกจากนี้ ระบบรักษาความปลอดภัย เช่น ประตูฉุกเฉิน ป้ายทางหนีไฟ สัญญาณไฟแจ้งเหตุ ระบบดับเพลิงอัตโนมัติก็ไม่มี แสดงให้เห็นว่า ผู้ต้องหาแสวงหาผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้า จึงถือว่าเข้าข่ายความผิดกระทำการโดยประมาท
พล.ต.อ.จงรัก กล่าวต่อว่า หลังจากนี้พนักงานสอบสวนจะได้ทำการสอบสวนเพิ่มเติมว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องที่จะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมบ้าง เช่น คนจุดพลุ หรือคนหรือทำเอฟเฟกต์ จะต้องร่วมรับผิดชอบแน่นอน หากพบว่าพยานหลักฐานเชิ่มโยงไปถึงใครก็จะออกหมายจับเพิ่มเติมแน่นอน ส่วนการสอบสวนหาสาเหตุของเพลิงไหม้นั้น ขณะนี้คืบหน้าไปกว่า 80% แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการตรวจพิสูจน์ที่แน่นอนว่า เหตุเพลิงไหม้จะเกิดขึ้นจะพลุหรือเอฟเฟกต์ ซึ่งจากการสอบสวนทีมทำเอฟเฟกต์ยืนยันว่าเอฟเฟกต์ที่ใช้นั้นไม่สูงเกิน 5 เมตร แต่เพดานที่เกิดเหตุสูงกว่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องรอผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อีกครั้งว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่เชื่อว่าเกิดจากสองสาเหตุนี้แน่นอน
อย่างไรก็ตามทราบว่า นายปุณณรัตน์ แสนเมืองชิน คนกดสวิตช์เอฟเฟกต์ได้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุไปแล้ว นอกจากนี้ยังได้รับรายงานเพิ่มเติ่มว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย คือ น.ส.มนันท์ยา บุญสาร ที่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลคลองตันตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุแล้ว แต่ญาติเพิ่งมาแจ้งให้ตำรวจทราบ และรายล่าสุดเพิ่งเสียชีวิตเมื่อช่วงเช้าวันนี้คือ น.ส.มายะดะห์ ฮัซซัน อาลี อะห์หมัด ชาวซูดาน ทำให้ยอดรวมของผู้เสียชีวิตทั้งหมดเพิ่มเป็น 66 รายแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าที่ผ่านมา นางวีณา เลิศกมลมาศ ผอ.สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 เดินทางมาที่ สน.ทองหล่อ เพื่อติดตามความคืบหน้าของคดี พร้อมเปิดเผยว่า สำหรับลูกจ้างของซานติก้าผับที่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ทางซานติก้าผับจะต้องเสียค่าทำศพรายละ 2,300 บาท และค่าทดแทนการเสียชีวิต เป็นเงิน 60% ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 8 ปี ส่วนผู้บาดเจ็บสาหัสที่ต้องหยุดพักงานและรักษาตัวต้องจ่ายค่าทดแทนการหยุดงานเป็นเงิน 60 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง โดยถึงขณะนี้มีพนักงานที่เสียชีวิตมารับการดำเนินการช่วยเหลือแล้ว 2 ราย เหลืออีก 6 รายที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากทั้งหมด 8 ราย.