วานนี้ (12 ม.ค.) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. แถลงถึงภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อมส.ส. 29 ตำแหน่งใน 22 จังหวัด ว่าขณะนี้ได้รับรายงานผลคะแนนอย่างเป็นทางการแล้ว 17 จังหวัด ประกอบด้วย กทม. ฉะเชิงเทรา นครปฐม นราธิวาส บุรีรัมย์ ปทุมธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี อุบลราชธานี ทั้งนี้ยังคงเหลืออีก 5 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน อุดรธานี ลำปาง นครพนม ศรีสะเกษ ที่คาดว่าจะสามารถรายงานผลคะแนนอย่างเป็นทางการมาได้ภายในวันนี้ (13 ม.ค.) จากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมกกต.เพื่อรับรองผลการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการปรากฏว่า พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 10 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 7 ที่นั่ง พรรคเพื่อไทยได้ 5 ที่นั่ง พรรคประชาราชได้ 4 ที่นั่ง และพรรคเพื่อแผ่นดินได้ 3 ที่นั่ง
ส่วนสถิติการเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 7,838,714 คน มาใช้สิทธิ 4,347,913 คน คิดเป็น ร้อยละ 55.47 มีบัตรเสียทั้งสิ้น 155,163 ใบ คิดเป็นร้อยละ3.57 ไม่ประสงค์ลงคะแนน 308,947 ใบ คิดเป็นร้อยละ 7.11 ส่วนจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุดคือ จ.ลำพูน 234,103 คน คิดเป็นร้อยละ 75.26 ส่วน จ.ที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุด คือจ.สมุทรปราการ มาใช้สิทธิ 156,582 คน คิดเป็นร้อยละ 43.37 ส่วนจังหวัดที่มีบัตรเสียน้อยที่สุดได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด 3,678 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.92 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนน้อยที่สุดคือ จ.ร้อยเอ็ด 4,664 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.44
สำหรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตเลือกตั้ง เบื้องต้นได้รับรายงาน 11 เรื่อง ประกอบด้วย จ.นครพนม ร้องเรื่องแจกเงิน ซึ่งกกต. จังหวัดรับเป็นเรื่องร้องคัดค้านแล้ว จ.อุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 1 เรื่อง โดยใช้วิทยุชุมชนหาเสียง ซึ่งรับเป็นเรื่องร้องคัดค้านแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการสืบสวนก่อนที่จะรับเป็นเรื่องร้องคัดค้านหากมีมูล ประกอบด้วย จ.มหาสารคาม 2 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องใช้รูปหัวหน้าพรรคหาเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต และเรื่องจัดให้มีมหรสพ งานเลี้ยง จ.ร้อยเอ็ด 1 เรื่อง กรณีปราศรัยใส่ร้าย จ.ลำพูน 2 เรื่อง กรณีใช้เงินเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และปราศรัยใส่ร้าย จ.สิงห์บุรี 1 เรื่อง กรณีใช้ป้ายหาเสียงหลอกลวงให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม จ.อ่างทอง 1 เรื่อง โฆษณาหาเสียงทำให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม และจ.อุทัยธานี 1 เรื่อง กรณีโฆษณาหาเสียงเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ที่ประชุม กกต จะมีการประชุมเพื่อรับรองผลคะแนนเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ม.ค. ทั้งนี้ ในส่วนการประกาศรับรองการเป็น ส.ส.นั้น หากผู้ที่ได้รับเลือกตั้งรายใดไม่มีเรื่องร้องเรียน ทาง กกต. ก็จะประกาศรับรองผลได้ทันที
ส่วนปัญหาการนับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่เขตพญาไทนั้น ทาง กกต.กทม. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบได้ตั้งคณะกรรมสืบสวนสอบสวนแล้ว และมีมติให้นับคะแนนเลือกตั้งในเขตดังกล่าวต่อไป และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนแล้วเสร็จ ก็จะส่งให้ กกต.กลาง เพื่อวินิจฉัย
ทั้งนี้ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการปรากฏว่า พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 10 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 7 ที่นั่ง พรรคเพื่อไทยได้ 5 ที่นั่ง พรรคประชาราชได้ 4 ที่นั่ง และพรรคเพื่อแผ่นดินได้ 3 ที่นั่ง
ส่วนสถิติการเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 7,838,714 คน มาใช้สิทธิ 4,347,913 คน คิดเป็น ร้อยละ 55.47 มีบัตรเสียทั้งสิ้น 155,163 ใบ คิดเป็นร้อยละ3.57 ไม่ประสงค์ลงคะแนน 308,947 ใบ คิดเป็นร้อยละ 7.11 ส่วนจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุดคือ จ.ลำพูน 234,103 คน คิดเป็นร้อยละ 75.26 ส่วน จ.ที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุด คือจ.สมุทรปราการ มาใช้สิทธิ 156,582 คน คิดเป็นร้อยละ 43.37 ส่วนจังหวัดที่มีบัตรเสียน้อยที่สุดได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด 3,678 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.92 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนน้อยที่สุดคือ จ.ร้อยเอ็ด 4,664 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.44
สำหรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตเลือกตั้ง เบื้องต้นได้รับรายงาน 11 เรื่อง ประกอบด้วย จ.นครพนม ร้องเรื่องแจกเงิน ซึ่งกกต. จังหวัดรับเป็นเรื่องร้องคัดค้านแล้ว จ.อุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 1 เรื่อง โดยใช้วิทยุชุมชนหาเสียง ซึ่งรับเป็นเรื่องร้องคัดค้านแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการสืบสวนก่อนที่จะรับเป็นเรื่องร้องคัดค้านหากมีมูล ประกอบด้วย จ.มหาสารคาม 2 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องใช้รูปหัวหน้าพรรคหาเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต และเรื่องจัดให้มีมหรสพ งานเลี้ยง จ.ร้อยเอ็ด 1 เรื่อง กรณีปราศรัยใส่ร้าย จ.ลำพูน 2 เรื่อง กรณีใช้เงินเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และปราศรัยใส่ร้าย จ.สิงห์บุรี 1 เรื่อง กรณีใช้ป้ายหาเสียงหลอกลวงให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม จ.อ่างทอง 1 เรื่อง โฆษณาหาเสียงทำให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม และจ.อุทัยธานี 1 เรื่อง กรณีโฆษณาหาเสียงเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ที่ประชุม กกต จะมีการประชุมเพื่อรับรองผลคะแนนเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ม.ค. ทั้งนี้ ในส่วนการประกาศรับรองการเป็น ส.ส.นั้น หากผู้ที่ได้รับเลือกตั้งรายใดไม่มีเรื่องร้องเรียน ทาง กกต. ก็จะประกาศรับรองผลได้ทันที
ส่วนปัญหาการนับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่เขตพญาไทนั้น ทาง กกต.กทม. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบได้ตั้งคณะกรรมสืบสวนสอบสวนแล้ว และมีมติให้นับคะแนนเลือกตั้งในเขตดังกล่าวต่อไป และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนแล้วเสร็จ ก็จะส่งให้ กกต.กลาง เพื่อวินิจฉัย