มาม่า เดินหน้าทำตลาดเชิงรุกต่อเนื่อง พร้อมกำเม็ดเงิน 2,000 ล้านบาท ลงทุนได้ทุกเมื่อ เผยปีนี้ตั้งงบ 700 ล้านบาท เตรียมออกไฟท์ติ้งแบรนด์ 5บาทเดือนมีนาคม รับวิกฤติเศรษฐกิจ ส่วนกลางปีเปิดตัวบะหมี่แบบอบไม่ทอด ขยายตลาดส่งออกเพิ่ม คาดทั้งปีนี้โต 9%
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์มาม่า เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯ มีแผนการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่อเนื่องในเชิงรุกมากขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์เวเฟอร์และบิสกิตด้วย เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ปีนี้ตั้งงบประมาณการลงทุนรวมไว้ที่ 500-700 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว แต่จะเน้นหนักไปทางด้านการลงทุนใหม่ ส่วนการปรับปรุงเครื่องจักรการผลิตเก่าก็มีประจำอยู่แล้ว
"ตอนนี้ที่บริษัทฯ มีเงินสดสำรองไว้พร้อมที่จะลงทุนมากกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งแนวทางการลงทุนนั้นก็มีทั้ง 2 แบบคือ การลงทุนแบบแนวดิ่งและการลงทุนแบบแนวราบ"
โดยภายในไตรมาสแรก คือ เดือนมีนาคมบริษัทฯ เตรียมที่จะออกสินค้าแบรนด์ใหม่ที่จะมีราคาขายต่ำกว่า มาม่า ที่ขาย 6 บาท คือจะวางขายราคา 5 บาท หรือเป็นไฟท์ติ้งแบรนด์ เพื่อรองรับกำลังซื้อที่หดตัวลง โดยเบื้องต้นจะวางขายจำนวน 2 รสชาติก่อน ซึ่งอาจจะเป็นรสชาติเก่าๆ ที่เคยทำมา แต่จะไม่ทำรสชาติต้มยำเพราะจะไปซ้ำกับมาม่า ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมการว่าจะใช้แบรนด์อะไร และประสานกับทางหน่วยงานภาครัฐเนื่องจากเป็นสินค้าควบคุมราคา
"ผมเชื่อว่าปีนี้การแข่งขันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องราคา ทั้งลดแลกแจกแถม" นายพิพัฒกล่าว
ขณะที่ในช่วงกลางปีนี้ก็มีแผนที่จะเปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอบ โดยไม่ใช้วิธีการทอดเหมือนแบบเดิมที่ทำตลาดมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยจะเป็นการลงทุนซื้อเครื่องจักรจากประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า Vacuum Mixer ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการ หลังจากที่วางแผนโครงการนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เหตุผลหลักๆ ที่มาม่าใช้วิธีใหม่นี้ เนื่องจากว่าจะทำให้ต้นทุนลดลงส่วนหนึ่งและผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม เพราะปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น
นอกจากนั้นแล้วในปีนี้มีแผนที่จะให้ความสำคัญกับการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในระดับสูงหรือกลุ่มไฮเอนด์มากขึ้น เพื่อตอบรับกับเทรนด์การรักษาสุภาพ แม้ว่าตลาดพรีเมียมจะยังเป็นตลาดเล็กมากก็ตาม แต่ก็เป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
สินค้าบิสกิต เวเฟอร์ และคุกกี้ ที่มีตลาดรวม 6,500 ล้านบาท ถือว่ามีอัตราเติบโตที่ดี จะมีการลงทุนด้านเครื่องจักรเพิ่มเพื่อเพิ่มกำลังผลิตและประเภทสินค้าให้มากขึ้น
สำหรับการรุกตลาดต่างประเทศนั้น ปีนี้จะมองหาการขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น หลังจากที่อเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของมาม่ามีสัดส่วนรายได้กว่า 50% จากมูลค่าส่งออกทั้งหมดของบริษัทฯ เหลือเพียง 25% ในขณะนี้ อีกทั้งอเมริกายังได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจอีกด้วย โดยตลาดใหม่เช่น เยอรมัน ไซปรัส เม็กซิโก สเปน แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะทำตลาดยาก โดยขณะนี้มีตลาดอยู่กว่า 30 ประเทศ และมีสัดส่วนรายได้ที่ 15%
อย่างไรก็ตามนายพิพัฒ กล่าวว่า ในปี 2551 ที่ผ่านมา จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกลางปีพุ่งสูงกว่า 40 บาทต่อลิตร ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าทุกประเภท ต้องปรับราคาขึ้น ซึ่งมาม่าเองก็หนึ่งในนั้นที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่ทางตรงแต่ทางอ้อม จนทำให้ต้องปรับราคาเพิ่มอีก 1 บาท เป็น 6 บาทในขนาดซอง เพราะถ้าหากไม่ปรับราคาขึ้น ก็ไม่รู้ว่าวันนี้มาม่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเราเคยปรับราคามาเมื่อปี 2540 และล่าสุดก็คือปีที่แล้วนี้เอง
ต้นทุนหลักๆ ของมาม่า คือ ข้าวสาลี สัดส่วน 30-40% น้ำมันปาล์ม สัดส่วน 17% ซึ่ง 2 ปัจจัยนี้ถือเป็นตัวกำหนดราคาขายปลีกก็ว่าได้ ส่วนที่เหลือเช่น เครื่องปรุงรส 10% แพกเกจจิ้ง 10% ที่เหลือเป็นอื่นๆ
นายพิพัฒ กล่าวว่า วางเป้าหมายผลประกอบการของปี 2552 จะต้องเติบโต 9% ( แบ่งเป็นสินค้าเดิมโต 6% และจากสินค้าใหม่ 3%) หรือมีรายได้รวมอยู่ที่ 7,700 ล้านบาท และคาดว่าวัตถุดิบปีนี้เช่น แป้งสาลีจะมีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค แต่พื้นที่เพาะปลูกลดลง ราคายังปรับตัวสูงอยู่ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีผลทำให้ราคานั้นลดลงไม่มากเท่าปีก่อน และน้ำมันปาล์มที่รัฐบาลประกันราคาขาย ทำให้ราคาขายในประเทศสูงกว่าสถานการณ์โลก
สำหรับผลประกอบการของบริษัทฯ เมื่อปี 2551 ช่วงครึ่งปีแรกยอดขายต่ำกว่าที่คาดไว้ เพราะเมื่อขึ้นราคา 1 บาท ตลาดหายไปส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะบางช่วงยอดตกไปกว่า 30% โดยตลาดรวมตกลงประมาณ 3.2% ส่วนของมาม่านั้นตกลง 2% แต่ก็ตกน้อยกว่าตลาดรวม โดยมีรายได้รวม 7,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนหน้า 15% และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 8% จากมูลค่าตลาดรวม 10,000 ล้านบาทขึ้นไป แต่มาม่าก็มีแชร์เพิ่มขึ้นจาก 51.8% เป็น 52.1% ล่าสุดอยู่ที่ 53% ทั้งนี้ตลาดประเภทซอง มีสัดส่วน 87% จากเดิม 88% ประเภทเส้นขาว 7% เท่าเดิม ส่วนแบบคัพจาก 5% เป็น 6%
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์มาม่า เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯ มีแผนการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่อเนื่องในเชิงรุกมากขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์เวเฟอร์และบิสกิตด้วย เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ปีนี้ตั้งงบประมาณการลงทุนรวมไว้ที่ 500-700 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว แต่จะเน้นหนักไปทางด้านการลงทุนใหม่ ส่วนการปรับปรุงเครื่องจักรการผลิตเก่าก็มีประจำอยู่แล้ว
"ตอนนี้ที่บริษัทฯ มีเงินสดสำรองไว้พร้อมที่จะลงทุนมากกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งแนวทางการลงทุนนั้นก็มีทั้ง 2 แบบคือ การลงทุนแบบแนวดิ่งและการลงทุนแบบแนวราบ"
โดยภายในไตรมาสแรก คือ เดือนมีนาคมบริษัทฯ เตรียมที่จะออกสินค้าแบรนด์ใหม่ที่จะมีราคาขายต่ำกว่า มาม่า ที่ขาย 6 บาท คือจะวางขายราคา 5 บาท หรือเป็นไฟท์ติ้งแบรนด์ เพื่อรองรับกำลังซื้อที่หดตัวลง โดยเบื้องต้นจะวางขายจำนวน 2 รสชาติก่อน ซึ่งอาจจะเป็นรสชาติเก่าๆ ที่เคยทำมา แต่จะไม่ทำรสชาติต้มยำเพราะจะไปซ้ำกับมาม่า ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมการว่าจะใช้แบรนด์อะไร และประสานกับทางหน่วยงานภาครัฐเนื่องจากเป็นสินค้าควบคุมราคา
"ผมเชื่อว่าปีนี้การแข่งขันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องราคา ทั้งลดแลกแจกแถม" นายพิพัฒกล่าว
ขณะที่ในช่วงกลางปีนี้ก็มีแผนที่จะเปิดตัวบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบอบ โดยไม่ใช้วิธีการทอดเหมือนแบบเดิมที่ทำตลาดมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยจะเป็นการลงทุนซื้อเครื่องจักรจากประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า Vacuum Mixer ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการ หลังจากที่วางแผนโครงการนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เหตุผลหลักๆ ที่มาม่าใช้วิธีใหม่นี้ เนื่องจากว่าจะทำให้ต้นทุนลดลงส่วนหนึ่งและผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม เพราะปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น
นอกจากนั้นแล้วในปีนี้มีแผนที่จะให้ความสำคัญกับการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในระดับสูงหรือกลุ่มไฮเอนด์มากขึ้น เพื่อตอบรับกับเทรนด์การรักษาสุภาพ แม้ว่าตลาดพรีเมียมจะยังเป็นตลาดเล็กมากก็ตาม แต่ก็เป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
สินค้าบิสกิต เวเฟอร์ และคุกกี้ ที่มีตลาดรวม 6,500 ล้านบาท ถือว่ามีอัตราเติบโตที่ดี จะมีการลงทุนด้านเครื่องจักรเพิ่มเพื่อเพิ่มกำลังผลิตและประเภทสินค้าให้มากขึ้น
สำหรับการรุกตลาดต่างประเทศนั้น ปีนี้จะมองหาการขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น หลังจากที่อเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลักของมาม่ามีสัดส่วนรายได้กว่า 50% จากมูลค่าส่งออกทั้งหมดของบริษัทฯ เหลือเพียง 25% ในขณะนี้ อีกทั้งอเมริกายังได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจอีกด้วย โดยตลาดใหม่เช่น เยอรมัน ไซปรัส เม็กซิโก สเปน แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะทำตลาดยาก โดยขณะนี้มีตลาดอยู่กว่า 30 ประเทศ และมีสัดส่วนรายได้ที่ 15%
อย่างไรก็ตามนายพิพัฒ กล่าวว่า ในปี 2551 ที่ผ่านมา จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกลางปีพุ่งสูงกว่า 40 บาทต่อลิตร ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าทุกประเภท ต้องปรับราคาขึ้น ซึ่งมาม่าเองก็หนึ่งในนั้นที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่ทางตรงแต่ทางอ้อม จนทำให้ต้องปรับราคาเพิ่มอีก 1 บาท เป็น 6 บาทในขนาดซอง เพราะถ้าหากไม่ปรับราคาขึ้น ก็ไม่รู้ว่าวันนี้มาม่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเราเคยปรับราคามาเมื่อปี 2540 และล่าสุดก็คือปีที่แล้วนี้เอง
ต้นทุนหลักๆ ของมาม่า คือ ข้าวสาลี สัดส่วน 30-40% น้ำมันปาล์ม สัดส่วน 17% ซึ่ง 2 ปัจจัยนี้ถือเป็นตัวกำหนดราคาขายปลีกก็ว่าได้ ส่วนที่เหลือเช่น เครื่องปรุงรส 10% แพกเกจจิ้ง 10% ที่เหลือเป็นอื่นๆ
นายพิพัฒ กล่าวว่า วางเป้าหมายผลประกอบการของปี 2552 จะต้องเติบโต 9% ( แบ่งเป็นสินค้าเดิมโต 6% และจากสินค้าใหม่ 3%) หรือมีรายได้รวมอยู่ที่ 7,700 ล้านบาท และคาดว่าวัตถุดิบปีนี้เช่น แป้งสาลีจะมีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค แต่พื้นที่เพาะปลูกลดลง ราคายังปรับตัวสูงอยู่ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีผลทำให้ราคานั้นลดลงไม่มากเท่าปีก่อน และน้ำมันปาล์มที่รัฐบาลประกันราคาขาย ทำให้ราคาขายในประเทศสูงกว่าสถานการณ์โลก
สำหรับผลประกอบการของบริษัทฯ เมื่อปี 2551 ช่วงครึ่งปีแรกยอดขายต่ำกว่าที่คาดไว้ เพราะเมื่อขึ้นราคา 1 บาท ตลาดหายไปส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะบางช่วงยอดตกไปกว่า 30% โดยตลาดรวมตกลงประมาณ 3.2% ส่วนของมาม่านั้นตกลง 2% แต่ก็ตกน้อยกว่าตลาดรวม โดยมีรายได้รวม 7,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนหน้า 15% และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 8% จากมูลค่าตลาดรวม 10,000 ล้านบาทขึ้นไป แต่มาม่าก็มีแชร์เพิ่มขึ้นจาก 51.8% เป็น 52.1% ล่าสุดอยู่ที่ 53% ทั้งนี้ตลาดประเภทซอง มีสัดส่วน 87% จากเดิม 88% ประเภทเส้นขาว 7% เท่าเดิม ส่วนแบบคัพจาก 5% เป็น 6%