รอยเตอร์ – โตโยต้า มอเตอร์ประกาศวานนี้(6)ว่า จะหยุดการผลิตในโรงงานต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลา 11 วันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม สืบจากยอดขายที่ชะลอตัวอย่างมากในสหรัฐฯ จนทำให้โชว์รูมของพวกดีลเลอร์เต็มไปด้วยรถที่ยังขายไม่ออก
ยอดขายในสหรัฐฯประจำเดือนธันวาคมของโตโยต้าตกลงไปถึง 37% อันเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบมากกว่า 25 ปีและย่ำแย่เสียยิ่งกว่าคู่แข่งอย่างเจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และฟอร์ด มอเตอร์ที่กำลังกระเสือกกระสนดิ้นรนหนีให้พ้นการล้มละลาย
“ผมไม่เคยคิดว่าวิกฤตจะลุกลามรวดเร็วเช่นนี้ และยังได้สร้างรอยแผลลึกเอาไว้ให้เรา” ประธานกรรมการบริหารของโตโยต้า คัตสึอากิ วาทานาเบะ กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงโตเกียว
ก่อนหน้านี้โตโยต้าได้ออกมาประกาศหยุดการผลิตรถเป็นเวลา 3 วันในเดือนมกราคมนี้ ในโรงงานที่ญี่ปุ่น 12 แห่งที่โตโยต้าเป็นเจ้าของโดยตรง ซึ่งประกอบด้วยโรงงานประกอบรถยนต์ 4 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ตลอดจนชิ้นส่วนอื่น ๆอีก 8 แห่ง
การหยุดผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในครั้งนี้เป็นเรื่องที่น้อยคนคาดคิดมาก่อน เมื่อปี 1993 โตโยต้าได้เคยประกาศหยุดการผลิต 1 วันต่อเดือน อันเนื่องมาจากค่าเงินเยนแข็งมากจนยอดขายตก
โรงงานในญี่ปุ่นนั้นผลิตรถยนต์ราว 40%ของที่โตโยต้าส่งไปขายในสหรัฐฯ และตอนนี้ที่ท่าเรือตลอดจนโชว์รูมในสหรัฐฯ มีรถยนต์และรถบรรทุกต่างประเทศจอดอยู่เต็มไปหมด
ผู้ผลิตรถยนต์ต่างพากันลดกำลังการผลิตลงกันถ้วนหน้า เพราะว่าผู้บริโภคกุมกระเป๋าแน่นไม่ซื้อของใหญ่ ๆราคาสูง ๆ เนื่องจากได้รับผลพวงจากภาวะสินเชื่อตึงตัว แม้ว่าบริษัทต่าง ๆจะพยายามเสนอโปรโมชั่นจูงใจเพียงใดก็ตาม
ส่วนคู่แข่งสัญชาติเดียวกันของโตโยต้า คือ ฮอนด้า มอเตอร์ และนิสสัน มอเตอร์ต่างก็มีแผนการลดกำลังการผลิตรถยนต์ลงอย่างน้อย 200,000 คันสำหรับปีการเงินนี้ (เม.ย.2008-มี.ค.2009) และนักเศรษฐศาสตร์คาดกันว่าในสามเดือนที่เหลืออยู่นี้ อาจจะมีการลดประมาณการลงอีก
โตโยต้ายังมิได้เปิดเผยตัวเลขรถยนต์ที่จะลดลงจากการยุติการผลิตชั่วคราวนี้ จากสถิติของปี 2007 กำลังการผลิตรวมของ 4 บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นนั้นอยู่ที่ 130,000 คันต่อเดือน โฆษกของโตโยต้ากล่าวว่าแม้จะหยุดการผลิต แต่คนงานก็ยังได้เงินเดือนอยู่ โดยถือว่าเป็นวันหยุดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวันทำงาน
เมื่อสองสัปดาห์ก่อนโตโยต้าออกมาเตือนว่า บริษัทน่าจะขาดทุนจากการดำเนินงานเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปี เนื่องจากยอดขายที่ดิ่งลง รวมทั้งค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นอย่างมาก และกล่าวว่ามีความจำเป็นต้องปรับกำลังการผลิตใหม่หลังจากเดือนมกราคมเป็นต้นไป
บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่ายอดขายที่ลดลงในสหรัฐฯนั้นไม่เป็นที่น่าประหลาดใจ และภาพรวมในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯก็ยังไม่มืดมน
“การที่จะให้ตลาดหุ้นกลับมาประเมินภาคอุตสาหกรรมนี้กันใหม่(ในทางที่ดีขึ้น) ก็จะต้องมีเงื่อนไข 2 ประการเกิดขึ้นเสียก่อน นั่นคือ ข่าวร้ายต่างๆได้สิ้นสุดลงแล้ว รวมทั้งตัวเลขในบัญชีจะต้องกลับมาเป็นตัวดำอีกครั้งในปีการเงินหน้า” โคอิชิ สุกิโมโต นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์ของเมอร์ริลลินช์ กล่าวและบอกว่าตอนนี้ยังไม่มีปัจจัยทั้งสองอย่าง ซึ่งทำให้ภาพรวมย่ำแย่อย่างมาก
โตโยต้าเองก็ยังได้ออกมามาบอกอีกว่าหากสถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก ก็อาจจะหยุดการผลิตในโรงงาน 12 แห่งเพิ่มขึ้นอีก 6 วันในเดือนหน้า และอีก 5 วันในเดือนมีนาคม
วาตานาเบะบอกว่า เขาอยากจะเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะหล่นลงจนถึงก้นเหวได้ภายในช่วงใดช่วงหนึ่งของปีนี้ แต่เขาก็เตือนว่า “แต่ถ้าคุณมองดูตลาดรถยนต์ในตอนนี้ มันโหดเอามากๆ จริงๆ เราจึงยังจำเป็นต้องเดินหน้ากับสมมุติฐานที่ว่า สถานการณ์นี้ยังจะดำเนินต่อเนื่องไปอีก”
ยอดขายในสหรัฐฯประจำเดือนธันวาคมของโตโยต้าตกลงไปถึง 37% อันเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบมากกว่า 25 ปีและย่ำแย่เสียยิ่งกว่าคู่แข่งอย่างเจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และฟอร์ด มอเตอร์ที่กำลังกระเสือกกระสนดิ้นรนหนีให้พ้นการล้มละลาย
“ผมไม่เคยคิดว่าวิกฤตจะลุกลามรวดเร็วเช่นนี้ และยังได้สร้างรอยแผลลึกเอาไว้ให้เรา” ประธานกรรมการบริหารของโตโยต้า คัตสึอากิ วาทานาเบะ กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงโตเกียว
ก่อนหน้านี้โตโยต้าได้ออกมาประกาศหยุดการผลิตรถเป็นเวลา 3 วันในเดือนมกราคมนี้ ในโรงงานที่ญี่ปุ่น 12 แห่งที่โตโยต้าเป็นเจ้าของโดยตรง ซึ่งประกอบด้วยโรงงานประกอบรถยนต์ 4 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ตลอดจนชิ้นส่วนอื่น ๆอีก 8 แห่ง
การหยุดผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในครั้งนี้เป็นเรื่องที่น้อยคนคาดคิดมาก่อน เมื่อปี 1993 โตโยต้าได้เคยประกาศหยุดการผลิต 1 วันต่อเดือน อันเนื่องมาจากค่าเงินเยนแข็งมากจนยอดขายตก
โรงงานในญี่ปุ่นนั้นผลิตรถยนต์ราว 40%ของที่โตโยต้าส่งไปขายในสหรัฐฯ และตอนนี้ที่ท่าเรือตลอดจนโชว์รูมในสหรัฐฯ มีรถยนต์และรถบรรทุกต่างประเทศจอดอยู่เต็มไปหมด
ผู้ผลิตรถยนต์ต่างพากันลดกำลังการผลิตลงกันถ้วนหน้า เพราะว่าผู้บริโภคกุมกระเป๋าแน่นไม่ซื้อของใหญ่ ๆราคาสูง ๆ เนื่องจากได้รับผลพวงจากภาวะสินเชื่อตึงตัว แม้ว่าบริษัทต่าง ๆจะพยายามเสนอโปรโมชั่นจูงใจเพียงใดก็ตาม
ส่วนคู่แข่งสัญชาติเดียวกันของโตโยต้า คือ ฮอนด้า มอเตอร์ และนิสสัน มอเตอร์ต่างก็มีแผนการลดกำลังการผลิตรถยนต์ลงอย่างน้อย 200,000 คันสำหรับปีการเงินนี้ (เม.ย.2008-มี.ค.2009) และนักเศรษฐศาสตร์คาดกันว่าในสามเดือนที่เหลืออยู่นี้ อาจจะมีการลดประมาณการลงอีก
โตโยต้ายังมิได้เปิดเผยตัวเลขรถยนต์ที่จะลดลงจากการยุติการผลิตชั่วคราวนี้ จากสถิติของปี 2007 กำลังการผลิตรวมของ 4 บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นนั้นอยู่ที่ 130,000 คันต่อเดือน โฆษกของโตโยต้ากล่าวว่าแม้จะหยุดการผลิต แต่คนงานก็ยังได้เงินเดือนอยู่ โดยถือว่าเป็นวันหยุดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวันทำงาน
เมื่อสองสัปดาห์ก่อนโตโยต้าออกมาเตือนว่า บริษัทน่าจะขาดทุนจากการดำเนินงานเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปี เนื่องจากยอดขายที่ดิ่งลง รวมทั้งค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นอย่างมาก และกล่าวว่ามีความจำเป็นต้องปรับกำลังการผลิตใหม่หลังจากเดือนมกราคมเป็นต้นไป
บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่ายอดขายที่ลดลงในสหรัฐฯนั้นไม่เป็นที่น่าประหลาดใจ และภาพรวมในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯก็ยังไม่มืดมน
“การที่จะให้ตลาดหุ้นกลับมาประเมินภาคอุตสาหกรรมนี้กันใหม่(ในทางที่ดีขึ้น) ก็จะต้องมีเงื่อนไข 2 ประการเกิดขึ้นเสียก่อน นั่นคือ ข่าวร้ายต่างๆได้สิ้นสุดลงแล้ว รวมทั้งตัวเลขในบัญชีจะต้องกลับมาเป็นตัวดำอีกครั้งในปีการเงินหน้า” โคอิชิ สุกิโมโต นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์ของเมอร์ริลลินช์ กล่าวและบอกว่าตอนนี้ยังไม่มีปัจจัยทั้งสองอย่าง ซึ่งทำให้ภาพรวมย่ำแย่อย่างมาก
โตโยต้าเองก็ยังได้ออกมามาบอกอีกว่าหากสถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก ก็อาจจะหยุดการผลิตในโรงงาน 12 แห่งเพิ่มขึ้นอีก 6 วันในเดือนหน้า และอีก 5 วันในเดือนมีนาคม
วาตานาเบะบอกว่า เขาอยากจะเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะหล่นลงจนถึงก้นเหวได้ภายในช่วงใดช่วงหนึ่งของปีนี้ แต่เขาก็เตือนว่า “แต่ถ้าคุณมองดูตลาดรถยนต์ในตอนนี้ มันโหดเอามากๆ จริงๆ เราจึงยังจำเป็นต้องเดินหน้ากับสมมุติฐานที่ว่า สถานการณ์นี้ยังจะดำเนินต่อเนื่องไปอีก”