ASTVผู้จัดการรายวัน - แอลพีเอ็น เพลทมิล ประเมินตลาดเหล็กโลกปีนี้ยังผันผวน ชูนโยบายรับจ้างผลิตเพิ่มขึ้น ลดความเสี่ยงสต็อกวัตถุดิบ และประคองธุรกิจไม่ต้องปลดพนักงาน โดยปีนี้ตั้งเป้าหมายผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนให้ได้ 60% รวมทั้งเร่งพัฒนาเหล็กแผ่นเกรดพิเศษ เพื่อใช้ทำแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล ทดแทนการนำเข้า
นายสรรค์พงศ์ ปรีดาวิภาต ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท แอล พี เอ็น เพลทมิล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดแผ่นขนาดกำลังการผลิตปีละ 3.6 แสนตัน เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯจะให้ความสำคัญในการรับจ้างผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาวัตถุดิบที่ยังมีความผันผวนอยู่ แม้ว่าผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกอย่างกลุ่มอาซิลอ มิตทัล จะลดกำลังการผลิตโรงเหล็กในเครือฯ และปลดพนักงานลง เพื่อพยุงราคาเหล็กโลกไม่ให้ต่ำกว่านี้ จนทำให้ราคาเหล็กกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยเมื่อปลายปี 2551
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯได้ให้นโยบายที่จะรับจ้างผลิตคิดเป็นกึ่งหนึ่งของการผลิต ที่เหลือเป็นการผลิตทำตลาดเอง เน้นผลิตเหล็กแผ่นเกรดพิเศษ โดยปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าหมายที่จะผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นมาที่ 60%ของกำลังการผลิตหรือประมาณ 2 แสนตัน/ปี สูงกว่าปีที่แล้วที่ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนเพียง 40-50%ของกำลังการผลิตเท่านั้น ช่วยให้ใช้กำลังการผลิตเครื่องจักรมากขึ้น และไม่ต้องปลดพนักงานเหมือนโรงงานอื่นๆ
ด้วยนโยบายดังกล่าวทำให้บริษัทฯมีมาร์จินไม่แตกต่างมากนักแม้ว่าราคาเหล็กในตลาดโลกจะปรับขึ้นหรือลงก็ตาม เพียงแต่ช่วงราคาเหล็กสูงขึ้น ก็ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบมากขึ้นตามไปด้วย และมีคำสั่งซื้อเข้ามามากช่วยชดเชยได้ แต่ถ้าราคาเหล็กตกก็ไม่ได้รับผลกระทบจากการสต็อกวัตถุดิบ
นอกจากนี้ จะเร่งพัฒนาเหล็กเกรดพิเศษเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยล่าสุดบริษัทอยู่ระหว่างการยื่นขอการรับรองคุณภาพเหล็กAPI 2W เพื่อใช้ในแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล หากบริษัทฯได้ใบรับรองจะกลายเป็นผู้ผลิตรายที่ 7 ของโลกที่ผลิตได้ โดยบริษัทจะนำเข้าแสลปคุณภาพพิเศษจากต่างประเทศอย่างบราซิล เม็กซิโก และยูเครนมารีดเป็นเหล็กแผ่นรีดร้อน โดยมาร์จินค่อนข้างสูง
"ในปีที่แล้ว บริษัทฯมีผลการดำเนินงานขาดทุน เนื่องจากผลกระทบราคาจากสต็อกวัตถุดิบและการเดินเครื่องจักรไม่เต็มที่แค่ 40-50% ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนได้ปรับขึ้นไปสูงถึงตันละ 1,270 เหรียญสหรัฐ บอร์ดฯมีนโยบายที่จะไม่สต็อกวัตถุดิบ แต่จะผลิตสินค้าตามออเดอร์ลูกค้าเท่านั้น โดยลูกค้าจะเปิดL/Cก่อนสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมารีดเป็นเหล็กแผ่น ทำให้ปีที่แล้ว บริษัทฯเจ็บไม่มาก "
นายสรรค์พงศ์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้บริษัทฯไม่มีการลงทุนโครงการใหม่ๆ แต่จะเน้นพัฒนาคุณภาพเหล็กเกรดพิเศษ ทำให้มีการลงทุนด้านระบบสารสนเทศ(ไอที) มากขึ้น โดยตั้งเป้าส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นเป็น 40 % โดยปีก่อนที่ส่งออกเหล็กพิเศษใช้ทำท่อน้ำมันไปทดลองตลาดที่ซาอุดิอาระเบียประมาณ 1 หมื่นตัน และได้รับการตอบรับที่ดี เชื่อว่าปีนี้จะส่งออกเหล็กคุณภาพนี้ไปตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีบางโครงการเลื่อนโปรเจ็กต์ออกไปหลังราคาน้ำมันถูก
ปัจจุบันราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนในตลาดโลกค่อนข้างทรงตัวอยู่ที่เกือบ 500 เหรียญสหรัฐ/ตัน ดีขึ้นจากช่วงปลายปี 2551 ที่ราคาตกมากอยู่ที่ 300กว่าเหรียญสหรัฐ ขณะที่ราคาวัตถุดิบ คือแสลปอยู่ที่ 460-470 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งความต้องการใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนในไทยยังมีอยู่ หากรัฐบาลอัดฉีดการใช้จ่ายภาครัฐในการสร้างโครงการเมกะโปรเจ็กต์ จะช่วย เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจและประชาชนในการจับจ่ายใช้จ่าย เชื่อว่าความต้องการใช้เหล็กในประเทศจะกระเตื้องขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยก็ตาม
นายสรรค์พงศ์ ปรีดาวิภาต ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท แอล พี เอ็น เพลทมิล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดแผ่นขนาดกำลังการผลิตปีละ 3.6 แสนตัน เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทฯจะให้ความสำคัญในการรับจ้างผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านราคาวัตถุดิบที่ยังมีความผันผวนอยู่ แม้ว่าผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกอย่างกลุ่มอาซิลอ มิตทัล จะลดกำลังการผลิตโรงเหล็กในเครือฯ และปลดพนักงานลง เพื่อพยุงราคาเหล็กโลกไม่ให้ต่ำกว่านี้ จนทำให้ราคาเหล็กกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยเมื่อปลายปี 2551
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯได้ให้นโยบายที่จะรับจ้างผลิตคิดเป็นกึ่งหนึ่งของการผลิต ที่เหลือเป็นการผลิตทำตลาดเอง เน้นผลิตเหล็กแผ่นเกรดพิเศษ โดยปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าหมายที่จะผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นมาที่ 60%ของกำลังการผลิตหรือประมาณ 2 แสนตัน/ปี สูงกว่าปีที่แล้วที่ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนเพียง 40-50%ของกำลังการผลิตเท่านั้น ช่วยให้ใช้กำลังการผลิตเครื่องจักรมากขึ้น และไม่ต้องปลดพนักงานเหมือนโรงงานอื่นๆ
ด้วยนโยบายดังกล่าวทำให้บริษัทฯมีมาร์จินไม่แตกต่างมากนักแม้ว่าราคาเหล็กในตลาดโลกจะปรับขึ้นหรือลงก็ตาม เพียงแต่ช่วงราคาเหล็กสูงขึ้น ก็ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบมากขึ้นตามไปด้วย และมีคำสั่งซื้อเข้ามามากช่วยชดเชยได้ แต่ถ้าราคาเหล็กตกก็ไม่ได้รับผลกระทบจากการสต็อกวัตถุดิบ
นอกจากนี้ จะเร่งพัฒนาเหล็กเกรดพิเศษเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยล่าสุดบริษัทอยู่ระหว่างการยื่นขอการรับรองคุณภาพเหล็กAPI 2W เพื่อใช้ในแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล หากบริษัทฯได้ใบรับรองจะกลายเป็นผู้ผลิตรายที่ 7 ของโลกที่ผลิตได้ โดยบริษัทจะนำเข้าแสลปคุณภาพพิเศษจากต่างประเทศอย่างบราซิล เม็กซิโก และยูเครนมารีดเป็นเหล็กแผ่นรีดร้อน โดยมาร์จินค่อนข้างสูง
"ในปีที่แล้ว บริษัทฯมีผลการดำเนินงานขาดทุน เนื่องจากผลกระทบราคาจากสต็อกวัตถุดิบและการเดินเครื่องจักรไม่เต็มที่แค่ 40-50% ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนได้ปรับขึ้นไปสูงถึงตันละ 1,270 เหรียญสหรัฐ บอร์ดฯมีนโยบายที่จะไม่สต็อกวัตถุดิบ แต่จะผลิตสินค้าตามออเดอร์ลูกค้าเท่านั้น โดยลูกค้าจะเปิดL/Cก่อนสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมารีดเป็นเหล็กแผ่น ทำให้ปีที่แล้ว บริษัทฯเจ็บไม่มาก "
นายสรรค์พงศ์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้บริษัทฯไม่มีการลงทุนโครงการใหม่ๆ แต่จะเน้นพัฒนาคุณภาพเหล็กเกรดพิเศษ ทำให้มีการลงทุนด้านระบบสารสนเทศ(ไอที) มากขึ้น โดยตั้งเป้าส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นเป็น 40 % โดยปีก่อนที่ส่งออกเหล็กพิเศษใช้ทำท่อน้ำมันไปทดลองตลาดที่ซาอุดิอาระเบียประมาณ 1 หมื่นตัน และได้รับการตอบรับที่ดี เชื่อว่าปีนี้จะส่งออกเหล็กคุณภาพนี้ไปตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีบางโครงการเลื่อนโปรเจ็กต์ออกไปหลังราคาน้ำมันถูก
ปัจจุบันราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนในตลาดโลกค่อนข้างทรงตัวอยู่ที่เกือบ 500 เหรียญสหรัฐ/ตัน ดีขึ้นจากช่วงปลายปี 2551 ที่ราคาตกมากอยู่ที่ 300กว่าเหรียญสหรัฐ ขณะที่ราคาวัตถุดิบ คือแสลปอยู่ที่ 460-470 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งความต้องการใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนในไทยยังมีอยู่ หากรัฐบาลอัดฉีดการใช้จ่ายภาครัฐในการสร้างโครงการเมกะโปรเจ็กต์ จะช่วย เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจและประชาชนในการจับจ่ายใช้จ่าย เชื่อว่าความต้องการใช้เหล็กในประเทศจะกระเตื้องขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยก็ตาม