ASTVผู้จัดการรายวัน – นักการตลาด ชี้การตลาดปีฉลูลำบาก ผจญวิกฤตเศรษฐกิจโลก ครึ่งปีแรกหืดขึ้นคอ ภาคเอกชนรอดูสถานการณ์ เม็ดเงินลงทุนหายวูบ แนะรักษาฐานลูกค้าเก่า พร้อมรอจังหวะควักนวัตกรรมขยายฐานลูกค้าใหม่ ปรับตัวเดินแผนรุกเข้าหาลูกค้า สร้างมูลค่าเพิ่มหาจุดขายตอบโจทย์ลูกค้า หวั่นตัดงบกระทบต่อตราสินค้า
นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจปี 2552 ยังคงเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งหากรัฐบาลชุดใหม่ทำให้การเมืองนิ่ง เศรษฐกิจก็จะไม่เลวร้ายอย่างที่คิด แต่หากการเมืองไม่นิ่ง คนก็จะไม่มีความเชื่อมั่นและไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย ผู้ประกอบการไม่กล้าลงทุน จำนวนคนตกงานมีเพิ่มขึ้น ส่วนสภาพเงินเฟ้อและดอกเบี้ยปีนี้ต่ำแตกต่างจากปีที่ผ่านมา ดังนั้นภาครัฐต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานให้ระดับรากหญ้า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม
อย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก ภาคเอกชนคงรอดูสถานการณ์ว่าเป็นไปในทิศทางใด เม็ดเงินในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้จะหายไป เพราะผู้ประกอบการไม่กล้าทุ่มงบในการทำตลาดหรือลงทุนเหมือนปีที่ผ่านมา ยกเว้นแต่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีงบประมาณเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ครึ่งปีหลังคาดว่าสภาพเศรษฐกิจน่าจะฟื้นแล้วกลับมาดีขึ้น สำหรับทิศทางตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในปีนี้ คาดว่ามีการขยายตัว 3-4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม มีอัตราการเติบโต 5% แต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน ตลาดตกลงอย่างมาก
**ชี้อุปโภคโภคบริโภคชิงแชร์เดือด**
นางสาวลักขณา ลีละยุทธโยธิน อดีตนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้ไม่ค่อยดีมากนัก เปรียบเสมือนไฟไหม้ป่า วิกฤตเศรษฐกิจการเงินลุกลามไปทั่วโลก ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับไฟไหม้บ้าน หมายถึง วิกฤติการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศไปพร้อมๆกัน ซึ่งนับว่าเป็นวิกฤตที่รุนแรงมากกว่า ปี 2540 เพราะในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งเราเผชิญกับปัญหาเพียงด้านเดียวเท่านั้น ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นในปี 2554 ซึ่งเมื่อเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ฟื้นตัวเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น
สภาพตลาดปีนี้การทำตลาดค่อนข้างลำบาก เพราะกำลังการซื้อของผู้บริโภคน้อยลงอย่างแน่นอน การทำของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือสินค้าอุปโภคบริโภค ต้องช่วงชิงส่วนแบ่งกัน การจัดแคมเปญชิงโชค ลด แลก แจก แถม แข่งเดือดเพื่อล่อใจผู้บริโภค ส่วนตลาดเสริมอาหาร คาดว่าจะได้รับผลกระต่อเศรษฐกิจบ้าง ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องสร้างมูลค่า เพื่อให้สินค้ามีความหลากหลาย
“ในภาวะอย่างนี้ นักการตลาดจะต้องไม่ตัดงบการตลาด แต่ต้องใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขณะเดียวกันควรรักษาฐานลูกค้าเก่า เพราะเป็นกลุ่มที่มีความจงรักภักดีต่อตราสินค้า ส่วนการขยายฐานลูกค้าใหม่ ต้องหาจังหวะและมีนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาทำตลาด”
พร้อมกันนี้ต้องปรับตัวเข้าหาลูกค้าทุกรูปแบบไม่ใช่รอให้ลูกค้าเดินเข้ามาหาอีกต่อไป ขณะเดียวกันต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้ว่า ทำไมเขาต้องซื้อ สินค้า-บริการของเรา เพราะท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ ลูกค้าพิถีพิถันในการจับจ่ายใช้สอยมากเป็นพิเศษ ต้องหาจุดขายให้เจอก่อน
แนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้น่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง โดยในช่วง 2เดือนแรก ประเทศไทยจะประสบปัญหาด้านการส่งออกลดลง ดังนั้นเรื่องเร่งด่วนที่ภาครัฐควรดำเนินการ คือ การสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับคืนมา
นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจปี 2552 ยังคงเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งหากรัฐบาลชุดใหม่ทำให้การเมืองนิ่ง เศรษฐกิจก็จะไม่เลวร้ายอย่างที่คิด แต่หากการเมืองไม่นิ่ง คนก็จะไม่มีความเชื่อมั่นและไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย ผู้ประกอบการไม่กล้าลงทุน จำนวนคนตกงานมีเพิ่มขึ้น ส่วนสภาพเงินเฟ้อและดอกเบี้ยปีนี้ต่ำแตกต่างจากปีที่ผ่านมา ดังนั้นภาครัฐต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานให้ระดับรากหญ้า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม
อย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก ภาคเอกชนคงรอดูสถานการณ์ว่าเป็นไปในทิศทางใด เม็ดเงินในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้จะหายไป เพราะผู้ประกอบการไม่กล้าทุ่มงบในการทำตลาดหรือลงทุนเหมือนปีที่ผ่านมา ยกเว้นแต่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีงบประมาณเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ครึ่งปีหลังคาดว่าสภาพเศรษฐกิจน่าจะฟื้นแล้วกลับมาดีขึ้น สำหรับทิศทางตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในปีนี้ คาดว่ามีการขยายตัว 3-4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม มีอัตราการเติบโต 5% แต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน ตลาดตกลงอย่างมาก
**ชี้อุปโภคโภคบริโภคชิงแชร์เดือด**
นางสาวลักขณา ลีละยุทธโยธิน อดีตนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้ไม่ค่อยดีมากนัก เปรียบเสมือนไฟไหม้ป่า วิกฤตเศรษฐกิจการเงินลุกลามไปทั่วโลก ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับไฟไหม้บ้าน หมายถึง วิกฤติการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศไปพร้อมๆกัน ซึ่งนับว่าเป็นวิกฤตที่รุนแรงมากกว่า ปี 2540 เพราะในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งเราเผชิญกับปัญหาเพียงด้านเดียวเท่านั้น ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นในปี 2554 ซึ่งเมื่อเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ฟื้นตัวเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น
สภาพตลาดปีนี้การทำตลาดค่อนข้างลำบาก เพราะกำลังการซื้อของผู้บริโภคน้อยลงอย่างแน่นอน การทำของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือสินค้าอุปโภคบริโภค ต้องช่วงชิงส่วนแบ่งกัน การจัดแคมเปญชิงโชค ลด แลก แจก แถม แข่งเดือดเพื่อล่อใจผู้บริโภค ส่วนตลาดเสริมอาหาร คาดว่าจะได้รับผลกระต่อเศรษฐกิจบ้าง ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องสร้างมูลค่า เพื่อให้สินค้ามีความหลากหลาย
“ในภาวะอย่างนี้ นักการตลาดจะต้องไม่ตัดงบการตลาด แต่ต้องใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขณะเดียวกันควรรักษาฐานลูกค้าเก่า เพราะเป็นกลุ่มที่มีความจงรักภักดีต่อตราสินค้า ส่วนการขยายฐานลูกค้าใหม่ ต้องหาจังหวะและมีนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาทำตลาด”
พร้อมกันนี้ต้องปรับตัวเข้าหาลูกค้าทุกรูปแบบไม่ใช่รอให้ลูกค้าเดินเข้ามาหาอีกต่อไป ขณะเดียวกันต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้ว่า ทำไมเขาต้องซื้อ สินค้า-บริการของเรา เพราะท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ ลูกค้าพิถีพิถันในการจับจ่ายใช้สอยมากเป็นพิเศษ ต้องหาจุดขายให้เจอก่อน
แนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้น่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง โดยในช่วง 2เดือนแรก ประเทศไทยจะประสบปัญหาด้านการส่งออกลดลง ดังนั้นเรื่องเร่งด่วนที่ภาครัฐควรดำเนินการ คือ การสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับคืนมา