ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียื่น รมว.อุตสาหกรรมช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องด่วน หลังแบงก์เข้มงวดปล่อยกู้หนัก ชี้ ปี 52 มีเอสเอ็มอีจ่อตาย 2.5 แสนราย กระทบต่อแรงงานถึง 2.5 ล้านคน หากรัฐไม่เร่งช่วยฉุดศก.ไทยหนัก
นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย หรือ เอสเอ็มอี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้เข้ายื่นเสนอปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างหนักของเอสเอ็มอีจากธนาคารเข้มงวดการปล่อยกู้มากขึ้น ทำให้เอสเอ็มอีไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน ซึ่งหากช่วยเหลือไม่ทันจะเสี่ยงต่อการปิดกิจการและเลิกจ้างงานจำนวนมากในปี 2552 ดังนั้นรัฐบาลควรจะมีมาตรการดูแลเป็นวาระแห่งชาติในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่มีปัญหา
ทั้งนี้ สมาชิกของสมาคมทั้ง 6,000 รายต้องการเงินเสริมสภาพคล่องรายละ 10 ล้านบาท รวมเป็นเงินประมาณ 60,000 ล้านบาท พร้อมทั้งต้องการให้รัฐบาลช่วยชดเชยดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ 3% คิดเป็นภาระประมาณ 1,800 ล้านบาทต่อปี หรือหากรัฐจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้แก่เอสเอ็มอีทั้งประเทศ อาจจะใช้งบก้อนแรกประมาณ 20,000 ล้านบาท หากปัญหาในเรื่องของสภาพคล่องยังไม่ได้รับการแก้ไข คาดการณ์ว่าเอสเอ็มอี ในปี 52-53 จะเลิกกิจการ 2.5 แสนราย หรือ ลดลงเกือบ 10% จากจำนวนเอสเอ็มอีทั้งหมด 2.2 ล้านราย และหากคิดเฉลี่ยการจ้างงานผู้ประกอบการเพียงรายละ 10 คนจะทำให้เกิดการเลิกจ้างงานประมาณ 2.5 ล้านคน
“หากรัฐยื่นมือเข้ามช่วยเหลือ อาจจะช่วยให้ผู้ประกอบการ 5 หมื่นราย ถึง 1 แสนราย อยู่รอด และช่วยไม่ให้สถานการณ์จ้างงานรุนแรงขึ้นอีก ขณะเดียวกันรัฐควรช่วยยกระดับฝีมือแรงงานผ่านหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้แรงงานมีการพัฒนาฝีมือแรงงานและใช้วิกฤตนี้เป็นเงื่อนไขในการปรับโครงสร้างของเอสเอ็มอีครั้งใหญ่”
นายวิเชียร กล่าวว่า วิกฤตต้มยำกุ้งเมือ ปี 2540 รัฐมีมาตรการช่วยเหลือด้วยการตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจขึ้นมาดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย (ธพว.) หวังว่าในวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกนี้รัฐบาลน่าจะมีมาตรการพิเศษขึ้นมาดูแลเอสเอ็มอีบ้าง หากปล่อยให้เอสเอ็มอีช่วยเหลือตัวเองเพียงอย่างเดียวคงทำให้เอสเอ็มอีล้มตายเป็นจำนวนมาก และจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง
นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย หรือ เอสเอ็มอี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้เข้ายื่นเสนอปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างหนักของเอสเอ็มอีจากธนาคารเข้มงวดการปล่อยกู้มากขึ้น ทำให้เอสเอ็มอีไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน ซึ่งหากช่วยเหลือไม่ทันจะเสี่ยงต่อการปิดกิจการและเลิกจ้างงานจำนวนมากในปี 2552 ดังนั้นรัฐบาลควรจะมีมาตรการดูแลเป็นวาระแห่งชาติในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่มีปัญหา
ทั้งนี้ สมาชิกของสมาคมทั้ง 6,000 รายต้องการเงินเสริมสภาพคล่องรายละ 10 ล้านบาท รวมเป็นเงินประมาณ 60,000 ล้านบาท พร้อมทั้งต้องการให้รัฐบาลช่วยชดเชยดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ 3% คิดเป็นภาระประมาณ 1,800 ล้านบาทต่อปี หรือหากรัฐจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้แก่เอสเอ็มอีทั้งประเทศ อาจจะใช้งบก้อนแรกประมาณ 20,000 ล้านบาท หากปัญหาในเรื่องของสภาพคล่องยังไม่ได้รับการแก้ไข คาดการณ์ว่าเอสเอ็มอี ในปี 52-53 จะเลิกกิจการ 2.5 แสนราย หรือ ลดลงเกือบ 10% จากจำนวนเอสเอ็มอีทั้งหมด 2.2 ล้านราย และหากคิดเฉลี่ยการจ้างงานผู้ประกอบการเพียงรายละ 10 คนจะทำให้เกิดการเลิกจ้างงานประมาณ 2.5 ล้านคน
“หากรัฐยื่นมือเข้ามช่วยเหลือ อาจจะช่วยให้ผู้ประกอบการ 5 หมื่นราย ถึง 1 แสนราย อยู่รอด และช่วยไม่ให้สถานการณ์จ้างงานรุนแรงขึ้นอีก ขณะเดียวกันรัฐควรช่วยยกระดับฝีมือแรงงานผ่านหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้แรงงานมีการพัฒนาฝีมือแรงงานและใช้วิกฤตนี้เป็นเงื่อนไขในการปรับโครงสร้างของเอสเอ็มอีครั้งใหญ่”
นายวิเชียร กล่าวว่า วิกฤตต้มยำกุ้งเมือ ปี 2540 รัฐมีมาตรการช่วยเหลือด้วยการตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจขึ้นมาดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย (ธพว.) หวังว่าในวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกนี้รัฐบาลน่าจะมีมาตรการพิเศษขึ้นมาดูแลเอสเอ็มอีบ้าง หากปล่อยให้เอสเอ็มอีช่วยเหลือตัวเองเพียงอย่างเดียวคงทำให้เอสเอ็มอีล้มตายเป็นจำนวนมาก และจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง