ASTVผู้จัดการรายวัน – เอ็มเอฟซีประเมินกองทุนรวมปีฉลูโต 5% ลุ้นทิศทางราคาหลักทรัพย์ เป็นปัจจัยหนุน พร้อมระบุการแข่งขันปีนี้ กลยุทธ์ด้านราคาจะมีสูงขึ้น จากผู้เล่นรายใหม่ และการดึงลูกค้าเอื้อฐานแบงก์แม่ ขายโพรดักส์ในเครือ “พิชิต” ออกโรงแนะการทำงานของผู้กำกับ เน้นสร้างดุลยภาพ ระหว่างรักษาเสถียรภาพของตลาด และการพัฒนาระบบ เหตุถ่วงธุรกิจเดินได้ช้า ด้านสมาคมบลจ. สนับสนุนการลงทุนแบบ SRI พร้อมผลักดันตลาดหลักทรัพย์ ทำดัชนีอ้างอิงเฉพาะ
นายพิชิต อัตราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า การขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวมในปีนี้ น่าจะเติบโตได้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา หลังจากลดลงค่อนข้างเยอะจากราคาหลักทรัพย์ที่ลดลง โดยเชื่อว่าในปีนี้คงไม่เลวร้ายอย่างเช่นปีก่อน และถ้าราคาลงไม่มาก กองทุนรวมก็มีโอกาสเติบโตได้เช่นกัน ส่วนหนึ่ง น่าจะได้รับอานิสงส์จากการโยกเงินฝากเข้ามาลงทุนในกองทุนรวมด้วย โดยคาดการณ์ว่าน่าจะขยายตัวได้ประมาณ 5% เช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่น่าจะขยายตัวได้ 5% เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจกองทุนรวมในปีนี้ จะเห็นการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือประมาณช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพราะมีบริษัทจัดการกองทุนเพิ่มเข้ามา ทั้งนี้ ในปีหน้าเองเชื่อว่าจะมีบริษัทจัดการรายใหม่เพิ่มขึ้นมาในธุรกิจอีก 1 บริษัท เป็น 24 บริษัทจากปัจจุบันที่มีอยู่ 23 บริษัท
ทั้งนี้ ในปีหน้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (โพวิเดนท์ฟันด์) และกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) ยังเป็นเครื่องมือในการทำตลาดของบริษัทแม่เป็นหลัก ซึ่งการที่กองทุนทั้ง 2 ประเภทมีการกดราคา เนื่องจากต้องการฐานลูกค้าใหญ่ เพราะธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ สามารถใช้เป็นฐานในการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ต่อไปได้ ดังนั้น ของพวกนี้ จึงเป็นเหมือนของแถมสำหรับบริษัทจัดการที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นแม่
“ในปีหน้าช่องทางที่จะเอาเงินไปลงทุนจะลดลง โดยเฉพาะหุ้น กองทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) และการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ส่วนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) กองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) กองทุนที่กำหนดอายุการลงทุนชัดเจนและให้ผลตอบแทนชัดเจน รวมถึงกองทุนคุ้มครองเงินต้นที่จะได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะกองทุนเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่ำ”นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม การที่มีนวัตกรรมทางการลงทุนใหม่ จะช่วยลดการแข่งขันด้านราคาลงได้ แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้เกิดในอุตสาหกรรมกองทุนรวมในบ้านเรา สาเหตุที่สำคัญเพราะกฎหมายเป็นอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมการลงทุนใหม่ ดังนั้น จากข้อจำกัดที่มีอยู่ จึงทำให้การลงทุนใหม่หรือสินค้าใหม่ไม่เกิดขึ้นมาตอบสนอง นอกจากนี้ ยังเป็นการริดรอนสิทธิของนักลงทุนที่ต้องการนวัตกรรมการลงทุนใหม่ๆ ด้วย ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจว่า ถ้าประเทศไทยมีการเปิดเสรีทางการเงินเมื่อไหร่ ธุรกิจบลจ. อาจจะอยู่ยาก ถ้าไม่มีการพัฒนานวัตกรรมการลงทุนใหม่ๆ เลย
แนะผู้กำกับดูแลดุลยภาพของตลาด
นายพิชิตกล่าวถึงบทบาทขององค์กรกำกับดูแลในปัจจุบันว่า การเป็นผู้กำกับในประเทศกำลังพัฒนา ต้องยอมรับว่ายากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะวิธีคิดต่างกัน ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วเขามีสมมติฐานว่าเอกชนแข็งแรงกว่าภาครัฐ ดังนั้น ต้องดูแลไม่ให้เกิดการเอาเปรียบ ขณะเดียวกันต้องให้นวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ในมือเอกชน โดยที่ผู้กำกับเป็นผู้ดูแลอยู่ข้างหลัง แต่อย่างไรก็ตาม โมเดลของบ้านเรา เอกชนไม่แข็งแรงแบบนั้น ส่วนหนึ่งเพราะนโยบายภาครัฐเองไม่สนับสนุน
“ผู้กำกับในบ้านเรา ทำกับเอกชนเหมือนเป็นเด็ก เป็นผู้ที่อยู่ต่ำกว่าในเชิงความคิด มีความคิดว่ารัฐดีกว่าเอกชน ดังนั้น เอกชนจึงต้องตาม โดยนวัตกรรมใหม่อยู่กับภาครัฐเป็นหลัก ซึ่งในหลักวิธีคิดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเขาจะใช้ Nagative List (บัญชีลบ) คืออะไรที่รัฐไม่ห้าม เอกชนสามารถทำได้ แต่สำหรับประเทศๆไทย อยู่ในรูปแบบ Positive List (บัญชีบวก) นั่นคือ อะไรที่รัฐไม่ได้ให้ทำ ผิดหมด”นายพิชิตกล่าว
ทั้งนี้ การจัดการของผู้กำกับจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการกำกับดูแลที่มีดุลยภาพ นั่นคือมีความสมดุลระหว่างการรักษาเสถียรภาพของตลาดและการพัฒนาระบบ แต่ปัจจุบัน แนวทางการกำกับดูแลเบนไปในทางรักษาเสถียรภาพะมากเกินไป ทำให้การพัฒนาเกิดได้ช้าเกินไป
นายพิชิตกล่าวว่า แนวทางการกำกับดูแลถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวม เพราะถ้ายังเป็นอยู่เช่นนี้ การพัฒนาก็จะเป็นไปได้ช้า สาเหตุเพราะพลังขับเคลื่อนทั้งหมดจำกัดอยู่แค่ภาครัฐ ไม่ใช่พลังใหม่ๆ จากภาคเอกชน
กองทุนรวมปีหนูวูบ 3-5%
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) กล่าวว่า ภาพรวมและผลกระทบของกองทุนรวมที่ผ่านมา ไม่มีการเติบโต และลดลงไปประมาณ 6.5% ณ 28 พย 2551 เทียบกับสิ้นปี 2550 และจนถึงสิ้นปี 2551 คาดว่าขนาดรวมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมน่าจะมีขนาดลดลงไปประมาณ 3 - 5% ซึ่งถือว่าได้รับผลกระทบน้อยในแง่ขนาดของอุตสาหกรรม
ส่วนด้านผลประกอบการกองทุนนั้นหากเป็นกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (ยกเว้นกองทุนพันธบัตรเกาหลี) หากเป็นกองทุนที่มี underlying asset เป็นหุ้น และ สินค้าโภคภัณฑ์ จะมีผลประกอบการในปีนี้ติดลบตั้งแต่ประมาณ -10% ไปจนถึง – 70% ส่วนที่เป็นทองคำหรือ Gold link จะให้ผลตอบแทนปีนี้ประมาณ + 1% และกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ (ไม่รวมกองทุนพันธบัตรเกาหลี) ให้ผลตอบแทนส่วนใหญ่เป็นบวก สำหรับกองทุนพันธบัตรเกาหลีที่ทะยอยกันครบกำหนด ผู้ลงทุนก็ได้รับเงินต้นคืนบวกผลตอบแทน ครบถ้วน
สำหรับกองทุนหุ้นในประเทศที่ไม่รวมกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มีผลตอบแทนจากการลงทุนตั้งแต่ต้นปีจนถึง 12 ธค 2551 นี้ที่ค่าเฉลี่ยประมาณ -44.3% ในขณะที่ผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยเท่ากับ – 50.5% คือโดยเฉลี่ยทำได้ดีกว่า Benchmark
ส่วนกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปทั้งอุตสาหกรรม มีผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีจนถึง 12 ธค 2551 ที่ 3.54% ต่ำกว่า Benchmark ที่เท่ากับ 9.59% แต่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยที่หักภาษีแล้วเหลือ 2.08%
นางวรวรรณกล่าวว่า สำหรับทิศทางของสมาคมฯในปีหน้านั้น จะเน้นเรื่องการกำหนดแนวทางที่เราจะเป็น SRO (Self Regulated Organization) หรือการมีฐานข้อมูลอุตสาหกรรมที่ดีขึ้นเป็นศูนย์กลางไว้ที่สมาคม เพ่อให้บริษัทสมาชกสามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งในปีที่ผ่านมา เรามี Performance กองทุนตามมาตรฐานสากล (Lipper) ในเวบไซท์สมาคมแล้ว และจะทำให้อ่านง่ายขึ้นพร้อมทั้งนำไปใช้อ้างอิงได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ อีกไม่นานเว็บไซด์ของสมาคมฯ เอง ก็อยู่ระหว่างการปรับปรุง ซึ่งสาระสำคัญจะเป็นผลงานที่ผู้บริหารและพนักงานของสมาคมเขาคิดทำกันขึ้นมา การให้ความรู้แก่สาธารณชนในเรื่องการออมเพื่อเกษียณผ่านกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การยกระดับบุคลากรสมาคมให้มีความรู้และ exposure กับสมาคมที่คล้ายๆ กันในต่างประเทศ
นอกจากนี้ สมาคมยังสนับสนุนการลงทุนแบบ Social Responsibility Investment (SRI) โดยจะขอร้องไปทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ช่วยทำดัชนี SRI เพื่อเป็น Benchmark ด้วย
นายกสมาคมบลจ. กล่าวต่อว่า ในส่วนของบาบาทของรัฐบาลต่ออุตสาหกรรมกองทุนรวมนั้น เนื่องจากรัฐบาลมีภาระมากพออยู่แล้ว โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการรับมือเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ ดังนั้น จึงไม่ควรไปรบกวนรัฐให้ต้องรับภาระจากธุรกิจนี้เพิ่ม เพราะถือว่าขณะนี้ยังเลี้ยงตนเองได้ แต่อยากให้รัฐบาลใช้ทรัพยากรอันจำกัดที่มีอยู่เพื่อช่วยดูแลคนที่จะพบกับปัญหาทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะแรงงาน การเกษตร และ ภาคการผลิต ก่อน
สำหรับโครงการที่รัฐช่วยผลักดันได้ที่จะไม่รบกวนทรัพยากรเลยก็คือ Mandatory Provident Fund หรือที่เรียกว่า กองทุนบำเน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช) เพราะหากเรากลัวและไม่เริ่มสักที คนไทยที่อายุมากแล้วก็จะตกที่นั่งลำบากมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเริ่มทำเท่าที่จะทำได้ไปก่อน โดยดูภาวะเศรษฐกิจประกอบการออกกฏเกณฑ์บังคับใช้ไปด้วย
นายพิชิต อัตราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า การขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวมในปีนี้ น่าจะเติบโตได้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา หลังจากลดลงค่อนข้างเยอะจากราคาหลักทรัพย์ที่ลดลง โดยเชื่อว่าในปีนี้คงไม่เลวร้ายอย่างเช่นปีก่อน และถ้าราคาลงไม่มาก กองทุนรวมก็มีโอกาสเติบโตได้เช่นกัน ส่วนหนึ่ง น่าจะได้รับอานิสงส์จากการโยกเงินฝากเข้ามาลงทุนในกองทุนรวมด้วย โดยคาดการณ์ว่าน่าจะขยายตัวได้ประมาณ 5% เช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่น่าจะขยายตัวได้ 5% เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจกองทุนรวมในปีนี้ จะเห็นการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือประมาณช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพราะมีบริษัทจัดการกองทุนเพิ่มเข้ามา ทั้งนี้ ในปีหน้าเองเชื่อว่าจะมีบริษัทจัดการรายใหม่เพิ่มขึ้นมาในธุรกิจอีก 1 บริษัท เป็น 24 บริษัทจากปัจจุบันที่มีอยู่ 23 บริษัท
ทั้งนี้ ในปีหน้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (โพวิเดนท์ฟันด์) และกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) ยังเป็นเครื่องมือในการทำตลาดของบริษัทแม่เป็นหลัก ซึ่งการที่กองทุนทั้ง 2 ประเภทมีการกดราคา เนื่องจากต้องการฐานลูกค้าใหญ่ เพราะธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ สามารถใช้เป็นฐานในการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ต่อไปได้ ดังนั้น ของพวกนี้ จึงเป็นเหมือนของแถมสำหรับบริษัทจัดการที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นแม่
“ในปีหน้าช่องทางที่จะเอาเงินไปลงทุนจะลดลง โดยเฉพาะหุ้น กองทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) และการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ส่วนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) กองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) กองทุนที่กำหนดอายุการลงทุนชัดเจนและให้ผลตอบแทนชัดเจน รวมถึงกองทุนคุ้มครองเงินต้นที่จะได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะกองทุนเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่ำ”นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม การที่มีนวัตกรรมทางการลงทุนใหม่ จะช่วยลดการแข่งขันด้านราคาลงได้ แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้เกิดในอุตสาหกรรมกองทุนรวมในบ้านเรา สาเหตุที่สำคัญเพราะกฎหมายเป็นอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมการลงทุนใหม่ ดังนั้น จากข้อจำกัดที่มีอยู่ จึงทำให้การลงทุนใหม่หรือสินค้าใหม่ไม่เกิดขึ้นมาตอบสนอง นอกจากนี้ ยังเป็นการริดรอนสิทธิของนักลงทุนที่ต้องการนวัตกรรมการลงทุนใหม่ๆ ด้วย ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจว่า ถ้าประเทศไทยมีการเปิดเสรีทางการเงินเมื่อไหร่ ธุรกิจบลจ. อาจจะอยู่ยาก ถ้าไม่มีการพัฒนานวัตกรรมการลงทุนใหม่ๆ เลย
แนะผู้กำกับดูแลดุลยภาพของตลาด
นายพิชิตกล่าวถึงบทบาทขององค์กรกำกับดูแลในปัจจุบันว่า การเป็นผู้กำกับในประเทศกำลังพัฒนา ต้องยอมรับว่ายากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะวิธีคิดต่างกัน ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วเขามีสมมติฐานว่าเอกชนแข็งแรงกว่าภาครัฐ ดังนั้น ต้องดูแลไม่ให้เกิดการเอาเปรียบ ขณะเดียวกันต้องให้นวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ในมือเอกชน โดยที่ผู้กำกับเป็นผู้ดูแลอยู่ข้างหลัง แต่อย่างไรก็ตาม โมเดลของบ้านเรา เอกชนไม่แข็งแรงแบบนั้น ส่วนหนึ่งเพราะนโยบายภาครัฐเองไม่สนับสนุน
“ผู้กำกับในบ้านเรา ทำกับเอกชนเหมือนเป็นเด็ก เป็นผู้ที่อยู่ต่ำกว่าในเชิงความคิด มีความคิดว่ารัฐดีกว่าเอกชน ดังนั้น เอกชนจึงต้องตาม โดยนวัตกรรมใหม่อยู่กับภาครัฐเป็นหลัก ซึ่งในหลักวิธีคิดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเขาจะใช้ Nagative List (บัญชีลบ) คืออะไรที่รัฐไม่ห้าม เอกชนสามารถทำได้ แต่สำหรับประเทศๆไทย อยู่ในรูปแบบ Positive List (บัญชีบวก) นั่นคือ อะไรที่รัฐไม่ได้ให้ทำ ผิดหมด”นายพิชิตกล่าว
ทั้งนี้ การจัดการของผู้กำกับจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการกำกับดูแลที่มีดุลยภาพ นั่นคือมีความสมดุลระหว่างการรักษาเสถียรภาพของตลาดและการพัฒนาระบบ แต่ปัจจุบัน แนวทางการกำกับดูแลเบนไปในทางรักษาเสถียรภาพะมากเกินไป ทำให้การพัฒนาเกิดได้ช้าเกินไป
นายพิชิตกล่าวว่า แนวทางการกำกับดูแลถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวม เพราะถ้ายังเป็นอยู่เช่นนี้ การพัฒนาก็จะเป็นไปได้ช้า สาเหตุเพราะพลังขับเคลื่อนทั้งหมดจำกัดอยู่แค่ภาครัฐ ไม่ใช่พลังใหม่ๆ จากภาคเอกชน
กองทุนรวมปีหนูวูบ 3-5%
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) กล่าวว่า ภาพรวมและผลกระทบของกองทุนรวมที่ผ่านมา ไม่มีการเติบโต และลดลงไปประมาณ 6.5% ณ 28 พย 2551 เทียบกับสิ้นปี 2550 และจนถึงสิ้นปี 2551 คาดว่าขนาดรวมของอุตสาหกรรมกองทุนรวมน่าจะมีขนาดลดลงไปประมาณ 3 - 5% ซึ่งถือว่าได้รับผลกระทบน้อยในแง่ขนาดของอุตสาหกรรม
ส่วนด้านผลประกอบการกองทุนนั้นหากเป็นกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (ยกเว้นกองทุนพันธบัตรเกาหลี) หากเป็นกองทุนที่มี underlying asset เป็นหุ้น และ สินค้าโภคภัณฑ์ จะมีผลประกอบการในปีนี้ติดลบตั้งแต่ประมาณ -10% ไปจนถึง – 70% ส่วนที่เป็นทองคำหรือ Gold link จะให้ผลตอบแทนปีนี้ประมาณ + 1% และกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ (ไม่รวมกองทุนพันธบัตรเกาหลี) ให้ผลตอบแทนส่วนใหญ่เป็นบวก สำหรับกองทุนพันธบัตรเกาหลีที่ทะยอยกันครบกำหนด ผู้ลงทุนก็ได้รับเงินต้นคืนบวกผลตอบแทน ครบถ้วน
สำหรับกองทุนหุ้นในประเทศที่ไม่รวมกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มีผลตอบแทนจากการลงทุนตั้งแต่ต้นปีจนถึง 12 ธค 2551 นี้ที่ค่าเฉลี่ยประมาณ -44.3% ในขณะที่ผลตอบแทนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยเท่ากับ – 50.5% คือโดยเฉลี่ยทำได้ดีกว่า Benchmark
ส่วนกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปทั้งอุตสาหกรรม มีผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีจนถึง 12 ธค 2551 ที่ 3.54% ต่ำกว่า Benchmark ที่เท่ากับ 9.59% แต่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยที่หักภาษีแล้วเหลือ 2.08%
นางวรวรรณกล่าวว่า สำหรับทิศทางของสมาคมฯในปีหน้านั้น จะเน้นเรื่องการกำหนดแนวทางที่เราจะเป็น SRO (Self Regulated Organization) หรือการมีฐานข้อมูลอุตสาหกรรมที่ดีขึ้นเป็นศูนย์กลางไว้ที่สมาคม เพ่อให้บริษัทสมาชกสามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งในปีที่ผ่านมา เรามี Performance กองทุนตามมาตรฐานสากล (Lipper) ในเวบไซท์สมาคมแล้ว และจะทำให้อ่านง่ายขึ้นพร้อมทั้งนำไปใช้อ้างอิงได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ อีกไม่นานเว็บไซด์ของสมาคมฯ เอง ก็อยู่ระหว่างการปรับปรุง ซึ่งสาระสำคัญจะเป็นผลงานที่ผู้บริหารและพนักงานของสมาคมเขาคิดทำกันขึ้นมา การให้ความรู้แก่สาธารณชนในเรื่องการออมเพื่อเกษียณผ่านกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การยกระดับบุคลากรสมาคมให้มีความรู้และ exposure กับสมาคมที่คล้ายๆ กันในต่างประเทศ
นอกจากนี้ สมาคมยังสนับสนุนการลงทุนแบบ Social Responsibility Investment (SRI) โดยจะขอร้องไปทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ช่วยทำดัชนี SRI เพื่อเป็น Benchmark ด้วย
นายกสมาคมบลจ. กล่าวต่อว่า ในส่วนของบาบาทของรัฐบาลต่ออุตสาหกรรมกองทุนรวมนั้น เนื่องจากรัฐบาลมีภาระมากพออยู่แล้ว โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการรับมือเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ ดังนั้น จึงไม่ควรไปรบกวนรัฐให้ต้องรับภาระจากธุรกิจนี้เพิ่ม เพราะถือว่าขณะนี้ยังเลี้ยงตนเองได้ แต่อยากให้รัฐบาลใช้ทรัพยากรอันจำกัดที่มีอยู่เพื่อช่วยดูแลคนที่จะพบกับปัญหาทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะแรงงาน การเกษตร และ ภาคการผลิต ก่อน
สำหรับโครงการที่รัฐช่วยผลักดันได้ที่จะไม่รบกวนทรัพยากรเลยก็คือ Mandatory Provident Fund หรือที่เรียกว่า กองทุนบำเน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช) เพราะหากเรากลัวและไม่เริ่มสักที คนไทยที่อายุมากแล้วก็จะตกที่นั่งลำบากมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเริ่มทำเท่าที่จะทำได้ไปก่อน โดยดูภาวะเศรษฐกิจประกอบการออกกฏเกณฑ์บังคับใช้ไปด้วย