ASTV ผู้จัดการรายวัน - จับทิศอุตสาหกรรมรถยนต์ปีฉลู เจอวิกฤตเศรษฐกิจกระหน่ำสองเด้ง ทั้งตลาดในประเทศและส่งออก คาดยอดขายลดลงเหมือนกันไม่ต่ำกว่า 20% ส่งผลกระทบต่อการผลิต ลงทุนและการจ้างงาน เผยจะมีแรงงานลดลงไม่ต่ำกว่า 2.3 หมื่นคน เท่านั้นไม่พอกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ยังถูกลดเกรดลงทุนในตลาดหุ้นด้วย
ตลอดปี 2551 ที่ผ่านมา แม้ตลาดในประเทศจะชะลอตัวลง เนื่องจากยอดขายปิกอัพลดลงจากสภาวะออยล์ช็อกมากกว่า 15% แต่ก็ยังมียอดขายของรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง ที่ขยายตัวมากกว่า 28% ทำให้เมื่อหักลบกลบกันแล้ว ยอดขายน่าจะใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ประมาณ 6.3 แสนคัน หรือลดลงเล็กน้อย ขณะที่ยอดการส่งออกยังเติบโตต่อเนื่อง แม้ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี จะชะลอตัวจากพิษเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จนลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยพอประครองเอาตัวรอดไปได้
แต่สำหรับปี 2552 ซึ่งต่างทั้งคอนเฟิร์มและฟันธง! ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกแบบเต็มๆ อุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทย จะมีชะตากรรมอย่างไร? โดยเฉพาะการส่งออกที่เคยประครองภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ไม่ให้หัวทิ่มมาแล้วในปีที่ผ่านมา
**อุตฯ รถยนต์เจอวิกฤตซ้อน 2 เด้ง
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 แม้จะเจอวิกฤตซัดใส่อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากราคาน้ำมันแพง เศรษฐกิจชะลอตัว ความขัดแย้งทางการเมือง และวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่ในส่วนของตลาดส่งออกยังไปได้ ออร์เดอร์ส่งออกยังคงดีอยู่ แม้ช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี จะเริ่มมีสัญญาณลดลง
“ปัญหาซับไพรม์ที่ขยายเป็นวิกฤตการเงินของสหรัฐ และลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก ได้เริ่มส่งผลกระทบไปทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในปี 2552 นี้ มีความแตกต่างจากปีที่ผ่านมา เพราะจะเจอวิกฤตพร้อมๆ กันทั้ง 2 ด้าน คือ ตลาดในประเทศที่จะหดตัวจากสภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวไม่เกิน 2% ทำให้คาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.1-6.3 แสนคัน และอีกด้านตลาดส่งออกที่เคยประครองอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในปีที่ผ่านมา จะมีปริมาณลดลงเช่นเดียวกัน เห็นได้ชัดจากคำสั่งซื้อที่เริ่มลดลงแล้ว”
นายนินนาทกล่าวว่า เมื่อช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมา วิกฤตเศรษฐกิจโลกได้เริ่มส่งสัญญาณต่อการส่งออกรถยนต์แล้ว เพราะตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ไม่ว่าจะเป็นยุโรปและออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่มีส่วนแบ่งการส่งออกของไทยถึง 30% ได้ประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ และส่งผลทำให้กำลังซื้อลดลง
“ในปี 2552 นี้ อุตสาหกรรมรถยนต์จำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน เพื่อรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดกำลังการผลิต หรือแม้แต่การปรับลดจำนวนพนักงานอัตราจ้าง (ซับคอนแทรกท์)”
**ยอดขายใน ปท.-ส่งออกหล่นวูบ20%
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อทั้งตลาดในประเทศ และส่งออกรถยนต์จากไทย โดยแนวโน้มตลาดรถยนต์ไทยในปี 2552 จะชะลอตัวลงประมาณ 20% หรือเหลือเพียงประมาณ 5 แสนคัน จากปีที่ผ่านมาคาดว่าจะอยู่ที่ 6.3 แสนคัน
สำหรับการส่งออกในปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 770,000 คัน เพราะการส่งออกยังเป็นไปได้ดีในช่วง 10 เดือนแรก เพิ่งมาชะลอในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี จากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐฯ จนส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทำให้ปี 2552 ไทยได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งคาดว่าการส่งออกจากไทยจะลดลง 20%
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังคงไม่สามารถประเมินได้มากนักว่า การส่งออกจะเป็นไปในทิศทางใด เพราะผู้สั่งซื้อไม่ว่าจะประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรป ยังไม่มีคำสั่งซื้อชัดเจน เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังอยู่ในสภาวะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสภาวะเศรษฐกิจ จนส่งผลให้เกิดปัญหาสภาพคล่องอย่างหนัก ขณะที่คำสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นก็ลดลง ส่วนประเทศออสเตรเลียชัดเจนว่ายอดสั่งซื้อลดลงประมาณ 20-30%
นายโมริคาซุ ซกกิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า การส่งออกรถยนต์จากประเทศไทย โดยเฉพาะตลาดยุโรปในปี 2552 ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกแน่นอน ซึ่งจากคำยืนยันของนายโอลิเวียร์ เฮย์เนนส์ ประธานกลุ่มอีซูซุเบเนลักซ์ ตัวแทนจำหน่ายรถอีซูซุในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ ได้แก่ เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก แม้ในปีที่ผ่านมาตลาดปิกอัพอีซูซุในตลาดเบเนลักซ์จะขยายตัวอย่างน่าตื่นเต้น แต่คาดการณ์ว่าปี 2552 นี้ คงจะไม่ขยายตัวนัก หรืออาจจะหดตัวเสียด้วยซ้ำ
นายมิจิโร่ อิมาอิ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โดย กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์รวมในประเทศปีนี้ คาดว่าจะมีปริมาณต่ำกว่า 6 แสนคัน และโดยเฉพาะตลาดส่งออกที่มีออร์เดอร์ลดลง บริษัทจึงกำลังพิจารณาเรื่องแผนการผลิต โดยจะมีการปรับเวลารถยนต์หนึ่งคัน ที่ออกจากสายการผลิต (Tag time) ให้ช้าลง เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด
“มิตซูบิชิส่งออกรถจากไทยไปกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลกระทบกับการส่งออกไปตลาดหลักอย่าง กลุ่มประเทศในยุโรป อเมริกาใต้ รวมถึงประเทศในแถบตะวันออกกลาง แต่ทั้งนี้เรามีหน่วยงานพิเศษจากบริษัทแม่ประเทศญี่ปุ่น คอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งล่าสุดประเมินว่ายอดส่งออกในปีนี้ จะลดลงเป็นตัวเลขสองหลัก(%) เมื่อเทียบกับปี 2551”
**ลดกำลังการผลิต-เลิกจ้างแรงงาน
ผลพวงจากยอดขายในประเทศ และส่งออกเริ่มมีสัญญาณคำสั่งซื้อลดลง ทำให้บริษัทรถยนต์เริ่มมีการปรับตัวรับสถานการณ์ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด หรือจีเอ็มในประเทศไทย ได้มีการปรับลดกำลังการผลิตโรงงานที่จ.ระยอง 10-15% และทยอยหยุดไลน์การผลิตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ไปจนถึงมกราคม 2552 โดยพนักงานประจำได้รับเงินเดือน 75% หลังจากนั้นจึงจะมาทบทวนสถานการณ์กันอีกครั้ง และนอกจากนี้จีเอ็มยังดีเลย์การลงทุนโครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลในไทยมูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ออกไปอีก 1 ปี
เช่นเดียวกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้มีแผนลดกําลังการผลิตลงตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551–พฤษภาคม 2552 จํานวน 30% หรือประมาณ 4 หมื่นคัน และกำลังพิจาณาอย่างลึกซึ้งว่าจะเลื่อนลงทุนโครงการอีโคคาร์ออกไปหรือไม่ ด้านอีซูซุจะลดกําลังการผลิตลง 10-20% หรือ 3 หมื่นคัน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2551 –มีนาคม 2552
แม้ปัจจุบันค่ายรถยนต์ 3 ค่ายใหญ่ อย่างโตโยต้า อีซูซุ และฮอนด้า ยังไม่มีแผนลดคนงานหรือเลิกจ้าง เนื่องจากเห็นว่าการปลดคนงานจะเป็นมาตรการสุดท้าย เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องอาศัยความชำนาญของพนักงานในการประกอบรถยนต์ โดยเบื้องต้นจะเป็นการปรับลดต้นทุนรูปแบบต่าง ๆ ก่อน ไม่ว่าจะเป็นลดการทำงานล่วงเวลา ลดคนงานในส่วนของพนักงานชั่วคราว รวมทั้งกำหนดปรับเปลี่ยนเวลาประกอบรถยนต์ให้เหมาะสมกับยอดคำสั่งซื้อ
แต่นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 14 สหภาพแรงงาน มีพนักงาน 20,969 คน พบว่ามี 6 บริษัท เริ่มประกาศงดโอที วันธรรมดา และวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่มีกำหนด ส่วนอีก 5 บริษัท เริ่มลดชั่วโมงการทำงานโดยไม่ได้แจ้งเหตุผลทำให้คนงานกว่า 1.3 หมื่นคนได้รับผลกระทบรายได้ลดลง
นายถาวร ชลัษเฐียร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โดยจำนวนแรงงานภาคยานยนต์รวมผู้ผลิตชิ้นส่วนทุกบริษัท มีจำนวนรวมอยู่ที่ 3.5 แสนคน แบ่งเป็นพนักงานประจำ 8.7 หมื่นคน และซับคอนแทรคท์ 2.62 แสนคน คาดว่าจะมีจำนวนแรงงานที่จะลดลงประมาณ 2.3 หมื่นคน แต่ในส่วนของบริษัทที่ยังมีออเดอร์ดีอยู่คงไม่ลดแรงงานลง แต่จะลดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา หรือโอทีลงแทน
**ปรับลดเกรดหุ้นกลุ่มอุตฯ ยานยนต์
จากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจ ที่เริ่มส่งสัญญาณต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย ซึ่งจะเห็นได้จากคำสั่งซื้อรถยนต์จากต่างประเทศ ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมา และตลาดรถยนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้กำลังการผลิตรถยนต์ในไทยปี 2552 น่าจะลดลงอย่างมาก ซึ่งตรงนี้ยังส่งผลต่อภาคการลงทุนในภาคตลาดทุนด้วย
บล.เอเซียพลัส คาดการณ์ผลิตรถยนต์ในไทยปี 2552 จะลดลงจากปีที่ผ่านมา 12% หรือจาก 1.4 ล้านคัน เหลือ 1.2 ล้านคัน ตามภาวะหดตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ที่ได้รับแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งน่าจะส่งผลให้ยอดขายลดลงต่อเนื่องจากปี 2551 ที่ประเมินจะอยู่ที่ 6.3 แสนคัน เหลือเพียง 5.8-5.9 แสนคัน ส่วนตลาดส่งออกประเมินยอดลดลง 15% หรือเท่ากับ 6.5 แสนคัน จากปี 2551 ที่คาดว่าจะเติบโต 15% จากปีก่อน หรือมีปริมาณส่งออก 7.7 แสนคัน
ดังนั้นหากพิจารณาหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ พบว่าบริษัท อาปิโก้ไฮเทค (AH) อาจได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้หลักมาจากการผลิตโครงช่วงล่างปิกอัพ (สัดส่วนรายได้ 40%) ให้กับอีซูซุและ จีเอ็ม(เชฟโรเลต) ซึ่งตลาดปิกอัพตกลงมาก ขณะที่ STANLY กลุ่มลูกค้าหลักเป็นฮอนด้าที่ตลาดเก๋งน่าไปได้ สําหรับ SAT แม้รายได้หลักมาจากการผลิตชิ้นส่วนเพลาข้างปิกอัพ แต่มีกลุ่มลูกค้ากระจายตัวทั้งมิตซูบิชิ, โตโยต้า ฮอนด้า อีซูซุ และเอเอที (ฟอร์ด-มาสด้า)
โดยเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา บล.กิมเอ็งได้มีมุมมองต่อการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นลบ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมกับแนะนำหากคิดจะลงทุนในกลุ่มนี้ ควรรอดูสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมด้านลบให้ผ่อนคลายเสียก่อน
ขณะที่ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ระบุว่าแนวโน้มให้ปรับลดการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จากเท่ากับตลาดเป็นน้อยกว่าตลาด แต่หากยังเลือกลงทุนกลุ่มนี้ ในสภาวะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แนะนำให้เลือกลงทุนสูงสุดหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ จากฐานะการเงินแข็งแกร่ง ปราศจากหนี้ มีเงินสดในมือสูง.
ตลอดปี 2551 ที่ผ่านมา แม้ตลาดในประเทศจะชะลอตัวลง เนื่องจากยอดขายปิกอัพลดลงจากสภาวะออยล์ช็อกมากกว่า 15% แต่ก็ยังมียอดขายของรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง ที่ขยายตัวมากกว่า 28% ทำให้เมื่อหักลบกลบกันแล้ว ยอดขายน่าจะใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ประมาณ 6.3 แสนคัน หรือลดลงเล็กน้อย ขณะที่ยอดการส่งออกยังเติบโตต่อเนื่อง แม้ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี จะชะลอตัวจากพิษเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จนลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยพอประครองเอาตัวรอดไปได้
แต่สำหรับปี 2552 ซึ่งต่างทั้งคอนเฟิร์มและฟันธง! ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกแบบเต็มๆ อุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทย จะมีชะตากรรมอย่างไร? โดยเฉพาะการส่งออกที่เคยประครองภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ไม่ให้หัวทิ่มมาแล้วในปีที่ผ่านมา
**อุตฯ รถยนต์เจอวิกฤตซ้อน 2 เด้ง
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 แม้จะเจอวิกฤตซัดใส่อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากราคาน้ำมันแพง เศรษฐกิจชะลอตัว ความขัดแย้งทางการเมือง และวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่ในส่วนของตลาดส่งออกยังไปได้ ออร์เดอร์ส่งออกยังคงดีอยู่ แม้ช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี จะเริ่มมีสัญญาณลดลง
“ปัญหาซับไพรม์ที่ขยายเป็นวิกฤตการเงินของสหรัฐ และลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก ได้เริ่มส่งผลกระทบไปทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในปี 2552 นี้ มีความแตกต่างจากปีที่ผ่านมา เพราะจะเจอวิกฤตพร้อมๆ กันทั้ง 2 ด้าน คือ ตลาดในประเทศที่จะหดตัวจากสภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัวไม่เกิน 2% ทำให้คาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.1-6.3 แสนคัน และอีกด้านตลาดส่งออกที่เคยประครองอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในปีที่ผ่านมา จะมีปริมาณลดลงเช่นเดียวกัน เห็นได้ชัดจากคำสั่งซื้อที่เริ่มลดลงแล้ว”
นายนินนาทกล่าวว่า เมื่อช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมา วิกฤตเศรษฐกิจโลกได้เริ่มส่งสัญญาณต่อการส่งออกรถยนต์แล้ว เพราะตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ไม่ว่าจะเป็นยุโรปและออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่มีส่วนแบ่งการส่งออกของไทยถึง 30% ได้ประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ และส่งผลทำให้กำลังซื้อลดลง
“ในปี 2552 นี้ อุตสาหกรรมรถยนต์จำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน เพื่อรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดกำลังการผลิต หรือแม้แต่การปรับลดจำนวนพนักงานอัตราจ้าง (ซับคอนแทรกท์)”
**ยอดขายใน ปท.-ส่งออกหล่นวูบ20%
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อทั้งตลาดในประเทศ และส่งออกรถยนต์จากไทย โดยแนวโน้มตลาดรถยนต์ไทยในปี 2552 จะชะลอตัวลงประมาณ 20% หรือเหลือเพียงประมาณ 5 แสนคัน จากปีที่ผ่านมาคาดว่าจะอยู่ที่ 6.3 แสนคัน
สำหรับการส่งออกในปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 770,000 คัน เพราะการส่งออกยังเป็นไปได้ดีในช่วง 10 เดือนแรก เพิ่งมาชะลอในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี จากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐฯ จนส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทำให้ปี 2552 ไทยได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งคาดว่าการส่งออกจากไทยจะลดลง 20%
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังคงไม่สามารถประเมินได้มากนักว่า การส่งออกจะเป็นไปในทิศทางใด เพราะผู้สั่งซื้อไม่ว่าจะประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรป ยังไม่มีคำสั่งซื้อชัดเจน เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังอยู่ในสภาวะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสภาวะเศรษฐกิจ จนส่งผลให้เกิดปัญหาสภาพคล่องอย่างหนัก ขณะที่คำสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นก็ลดลง ส่วนประเทศออสเตรเลียชัดเจนว่ายอดสั่งซื้อลดลงประมาณ 20-30%
นายโมริคาซุ ซกกิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า การส่งออกรถยนต์จากประเทศไทย โดยเฉพาะตลาดยุโรปในปี 2552 ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกแน่นอน ซึ่งจากคำยืนยันของนายโอลิเวียร์ เฮย์เนนส์ ประธานกลุ่มอีซูซุเบเนลักซ์ ตัวแทนจำหน่ายรถอีซูซุในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ ได้แก่ เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก แม้ในปีที่ผ่านมาตลาดปิกอัพอีซูซุในตลาดเบเนลักซ์จะขยายตัวอย่างน่าตื่นเต้น แต่คาดการณ์ว่าปี 2552 นี้ คงจะไม่ขยายตัวนัก หรืออาจจะหดตัวเสียด้วยซ้ำ
นายมิจิโร่ อิมาอิ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โดย กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์รวมในประเทศปีนี้ คาดว่าจะมีปริมาณต่ำกว่า 6 แสนคัน และโดยเฉพาะตลาดส่งออกที่มีออร์เดอร์ลดลง บริษัทจึงกำลังพิจารณาเรื่องแผนการผลิต โดยจะมีการปรับเวลารถยนต์หนึ่งคัน ที่ออกจากสายการผลิต (Tag time) ให้ช้าลง เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด
“มิตซูบิชิส่งออกรถจากไทยไปกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลกระทบกับการส่งออกไปตลาดหลักอย่าง กลุ่มประเทศในยุโรป อเมริกาใต้ รวมถึงประเทศในแถบตะวันออกกลาง แต่ทั้งนี้เรามีหน่วยงานพิเศษจากบริษัทแม่ประเทศญี่ปุ่น คอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งล่าสุดประเมินว่ายอดส่งออกในปีนี้ จะลดลงเป็นตัวเลขสองหลัก(%) เมื่อเทียบกับปี 2551”
**ลดกำลังการผลิต-เลิกจ้างแรงงาน
ผลพวงจากยอดขายในประเทศ และส่งออกเริ่มมีสัญญาณคำสั่งซื้อลดลง ทำให้บริษัทรถยนต์เริ่มมีการปรับตัวรับสถานการณ์ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด หรือจีเอ็มในประเทศไทย ได้มีการปรับลดกำลังการผลิตโรงงานที่จ.ระยอง 10-15% และทยอยหยุดไลน์การผลิตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ไปจนถึงมกราคม 2552 โดยพนักงานประจำได้รับเงินเดือน 75% หลังจากนั้นจึงจะมาทบทวนสถานการณ์กันอีกครั้ง และนอกจากนี้จีเอ็มยังดีเลย์การลงทุนโครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลในไทยมูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ออกไปอีก 1 ปี
เช่นเดียวกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้มีแผนลดกําลังการผลิตลงตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551–พฤษภาคม 2552 จํานวน 30% หรือประมาณ 4 หมื่นคัน และกำลังพิจาณาอย่างลึกซึ้งว่าจะเลื่อนลงทุนโครงการอีโคคาร์ออกไปหรือไม่ ด้านอีซูซุจะลดกําลังการผลิตลง 10-20% หรือ 3 หมื่นคัน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2551 –มีนาคม 2552
แม้ปัจจุบันค่ายรถยนต์ 3 ค่ายใหญ่ อย่างโตโยต้า อีซูซุ และฮอนด้า ยังไม่มีแผนลดคนงานหรือเลิกจ้าง เนื่องจากเห็นว่าการปลดคนงานจะเป็นมาตรการสุดท้าย เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องอาศัยความชำนาญของพนักงานในการประกอบรถยนต์ โดยเบื้องต้นจะเป็นการปรับลดต้นทุนรูปแบบต่าง ๆ ก่อน ไม่ว่าจะเป็นลดการทำงานล่วงเวลา ลดคนงานในส่วนของพนักงานชั่วคราว รวมทั้งกำหนดปรับเปลี่ยนเวลาประกอบรถยนต์ให้เหมาะสมกับยอดคำสั่งซื้อ
แต่นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 14 สหภาพแรงงาน มีพนักงาน 20,969 คน พบว่ามี 6 บริษัท เริ่มประกาศงดโอที วันธรรมดา และวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่มีกำหนด ส่วนอีก 5 บริษัท เริ่มลดชั่วโมงการทำงานโดยไม่ได้แจ้งเหตุผลทำให้คนงานกว่า 1.3 หมื่นคนได้รับผลกระทบรายได้ลดลง
นายถาวร ชลัษเฐียร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โดยจำนวนแรงงานภาคยานยนต์รวมผู้ผลิตชิ้นส่วนทุกบริษัท มีจำนวนรวมอยู่ที่ 3.5 แสนคน แบ่งเป็นพนักงานประจำ 8.7 หมื่นคน และซับคอนแทรคท์ 2.62 แสนคน คาดว่าจะมีจำนวนแรงงานที่จะลดลงประมาณ 2.3 หมื่นคน แต่ในส่วนของบริษัทที่ยังมีออเดอร์ดีอยู่คงไม่ลดแรงงานลง แต่จะลดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา หรือโอทีลงแทน
**ปรับลดเกรดหุ้นกลุ่มอุตฯ ยานยนต์
จากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจ ที่เริ่มส่งสัญญาณต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย ซึ่งจะเห็นได้จากคำสั่งซื้อรถยนต์จากต่างประเทศ ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมา และตลาดรถยนต์ในประเทศที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้กำลังการผลิตรถยนต์ในไทยปี 2552 น่าจะลดลงอย่างมาก ซึ่งตรงนี้ยังส่งผลต่อภาคการลงทุนในภาคตลาดทุนด้วย
บล.เอเซียพลัส คาดการณ์ผลิตรถยนต์ในไทยปี 2552 จะลดลงจากปีที่ผ่านมา 12% หรือจาก 1.4 ล้านคัน เหลือ 1.2 ล้านคัน ตามภาวะหดตัวของตลาดรถยนต์ในประเทศ ที่ได้รับแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งน่าจะส่งผลให้ยอดขายลดลงต่อเนื่องจากปี 2551 ที่ประเมินจะอยู่ที่ 6.3 แสนคัน เหลือเพียง 5.8-5.9 แสนคัน ส่วนตลาดส่งออกประเมินยอดลดลง 15% หรือเท่ากับ 6.5 แสนคัน จากปี 2551 ที่คาดว่าจะเติบโต 15% จากปีก่อน หรือมีปริมาณส่งออก 7.7 แสนคัน
ดังนั้นหากพิจารณาหุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ พบว่าบริษัท อาปิโก้ไฮเทค (AH) อาจได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้หลักมาจากการผลิตโครงช่วงล่างปิกอัพ (สัดส่วนรายได้ 40%) ให้กับอีซูซุและ จีเอ็ม(เชฟโรเลต) ซึ่งตลาดปิกอัพตกลงมาก ขณะที่ STANLY กลุ่มลูกค้าหลักเป็นฮอนด้าที่ตลาดเก๋งน่าไปได้ สําหรับ SAT แม้รายได้หลักมาจากการผลิตชิ้นส่วนเพลาข้างปิกอัพ แต่มีกลุ่มลูกค้ากระจายตัวทั้งมิตซูบิชิ, โตโยต้า ฮอนด้า อีซูซุ และเอเอที (ฟอร์ด-มาสด้า)
โดยเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา บล.กิมเอ็งได้มีมุมมองต่อการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นลบ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมกับแนะนำหากคิดจะลงทุนในกลุ่มนี้ ควรรอดูสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมด้านลบให้ผ่อนคลายเสียก่อน
ขณะที่ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ระบุว่าแนวโน้มให้ปรับลดการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จากเท่ากับตลาดเป็นน้อยกว่าตลาด แต่หากยังเลือกลงทุนกลุ่มนี้ ในสภาวะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แนะนำให้เลือกลงทุนสูงสุดหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ จากฐานะการเงินแข็งแกร่ง ปราศจากหนี้ มีเงินสดในมือสูง.