รอยเตอร์ - นักวิชาการรัฐศาสตร์ทรงอิทธิพล ซามูเอล ฮันติงตัน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "The Clash of Civilizations" ซึ่งทำนายว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกกับโลกมุสลิม จนจุดชนวนให้เกิดการถกเถียงโต้แย้งกันอย่างฮือฮา ได้ถึงแก่มรณกรรมแล้ว สิริอายุรวม 81 ปี ทั้งนี้ตามการแถลงของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันเสาร์(27)
ฮันติงตันซึ่งสอนอยู่ที่ฮาร์วาร์ดมา 58 ปีก่อนที่จะปลดเกษียณในปี 2007 ได้เสียชีวิตตั้งแต่วันพุธ(24) ณ สถานพักฟื้นแห่งหนึ่งบนเกาะมาร์ธาส์ วินยาร์ด มลรัฐแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยดังแห่งนี้ระบุในเว็บไซต์ของตน
ในหนังสือเรื่อง "The Clash of Civilizations anf the Remaking of World Order" ของเขาที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1996 โดยเป็นการเขียนขยายจากบทความของเขาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร "Foreign Affairs"ในปี 1993 นั้น ฮันติงตันได้แบ่งโลกออกเป็นอารยธรรมต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์กัน โดยการจำแนกแยกแยะนี้อิงอยู่กับวัฒนธรรมประเพณีทางศาสนาเป็นสำคัญ อาทิ คริสต์, อิสลาม, ฮินดู, และขงจื๊อ เขาเสนอด้วยว่า การแข่งขันกันและการขัดแย้งกันระหว่างอารยธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
การที่เขามองว่า ศาสนาต่างหากหาใช่อุดมการณ์ไม่ จะกลายเป็นแหล่งที่มาของความขัดแย้งในโลกยุคหลังสงครามเย็นเช่นนี้ เป็นการจุดชนวนทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโลกตะวันตกกับโลกมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรมโจมตีสหรัฐฯเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001
ถึงแม้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทฤษฎีของเขามองโลกอย่างหยาบง่ายเกินไป หรือตามถ้อยคำของ เอดเวิร์ด ซาอิด นักวิชาการชื่อดังด้านตะวันออกกลางได้กล่าวถึงงานเขียนของฮันติงตันว่า เป็นการส่งเสริมแนวความคิดแบบ "ตะวันตกVSคนอื่นๆ ที่เหลือของโลก" แต่ฮันติงตันได้บอกกับวารสาร Islamica เมื่อปี 2007 ว่า "ข้อโต้แย้งของผมยังคงอยู่ตรงที่ว่า อัตลักษณ์, ความเป็นปรปักษ์กัน, และการเข้าร่วมผูกพันกัน ในเชิงวัฒนธรรมนั้น จะไม่เพียงแสดงบทบาทเท่านั้น แต่ยังจะแสดงบทบาทอันมีความสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่างๆ อีกด้วย"
หนังสืออีกเล่มหนึ่งของฮันติงติงที่ชื่อ "Who Are We? The Challenges to America's National Identity" ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2004 ก็กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนเช่นกัน โดยที่เขาเสนอว่า การที่มีผู้อพยพชาวเม็กซิกันจำนวนมากมายมหาศาลเข้าไปสหรัฐฯ กำลังคุกคามอัตลักษณ์และเอกภาพแห่งชาติของอเมริกัน
"ผู้คนทั่วทั้งโลกต่างศึกษาและถกเถียงกันเกี่ยวกับแนวความคิดของเขา" เฮนรี โรซอฟสกี เพื่อนและศาสตราจารย์เกียรติคุณของฮาวาร์ด เขียนไว้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย "ผมเชื่อว่าเขาเป็นหนึ่งในนักรัฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาอย่างไม่มีข้อกังขาเลย"
ฮันติงตันเป็นผู้เขียน, ผู้เขียนร่วม, และเป็นบรรณาธิการของหนังสือต่างๆ จำนวนรวม 17 เล่ม และเคยทำงานให้กับทำเนียบขาวในปี 1977 และ 1978 ยุคประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ในตำแหน่งผู้ประสานงานเพื่อการวางแผนด้านความมั่นคงให้แก่สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ
ฮันติงตันซึ่งสอนอยู่ที่ฮาร์วาร์ดมา 58 ปีก่อนที่จะปลดเกษียณในปี 2007 ได้เสียชีวิตตั้งแต่วันพุธ(24) ณ สถานพักฟื้นแห่งหนึ่งบนเกาะมาร์ธาส์ วินยาร์ด มลรัฐแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยดังแห่งนี้ระบุในเว็บไซต์ของตน
ในหนังสือเรื่อง "The Clash of Civilizations anf the Remaking of World Order" ของเขาที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1996 โดยเป็นการเขียนขยายจากบทความของเขาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร "Foreign Affairs"ในปี 1993 นั้น ฮันติงตันได้แบ่งโลกออกเป็นอารยธรรมต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์กัน โดยการจำแนกแยกแยะนี้อิงอยู่กับวัฒนธรรมประเพณีทางศาสนาเป็นสำคัญ อาทิ คริสต์, อิสลาม, ฮินดู, และขงจื๊อ เขาเสนอด้วยว่า การแข่งขันกันและการขัดแย้งกันระหว่างอารยธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
การที่เขามองว่า ศาสนาต่างหากหาใช่อุดมการณ์ไม่ จะกลายเป็นแหล่งที่มาของความขัดแย้งในโลกยุคหลังสงครามเย็นเช่นนี้ เป็นการจุดชนวนทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโลกตะวันตกกับโลกมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรมโจมตีสหรัฐฯเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001
ถึงแม้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทฤษฎีของเขามองโลกอย่างหยาบง่ายเกินไป หรือตามถ้อยคำของ เอดเวิร์ด ซาอิด นักวิชาการชื่อดังด้านตะวันออกกลางได้กล่าวถึงงานเขียนของฮันติงตันว่า เป็นการส่งเสริมแนวความคิดแบบ "ตะวันตกVSคนอื่นๆ ที่เหลือของโลก" แต่ฮันติงตันได้บอกกับวารสาร Islamica เมื่อปี 2007 ว่า "ข้อโต้แย้งของผมยังคงอยู่ตรงที่ว่า อัตลักษณ์, ความเป็นปรปักษ์กัน, และการเข้าร่วมผูกพันกัน ในเชิงวัฒนธรรมนั้น จะไม่เพียงแสดงบทบาทเท่านั้น แต่ยังจะแสดงบทบาทอันมีความสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่างๆ อีกด้วย"
หนังสืออีกเล่มหนึ่งของฮันติงติงที่ชื่อ "Who Are We? The Challenges to America's National Identity" ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2004 ก็กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนเช่นกัน โดยที่เขาเสนอว่า การที่มีผู้อพยพชาวเม็กซิกันจำนวนมากมายมหาศาลเข้าไปสหรัฐฯ กำลังคุกคามอัตลักษณ์และเอกภาพแห่งชาติของอเมริกัน
"ผู้คนทั่วทั้งโลกต่างศึกษาและถกเถียงกันเกี่ยวกับแนวความคิดของเขา" เฮนรี โรซอฟสกี เพื่อนและศาสตราจารย์เกียรติคุณของฮาวาร์ด เขียนไว้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย "ผมเชื่อว่าเขาเป็นหนึ่งในนักรัฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาอย่างไม่มีข้อกังขาเลย"
ฮันติงตันเป็นผู้เขียน, ผู้เขียนร่วม, และเป็นบรรณาธิการของหนังสือต่างๆ จำนวนรวม 17 เล่ม และเคยทำงานให้กับทำเนียบขาวในปี 1977 และ 1978 ยุคประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ในตำแหน่งผู้ประสานงานเพื่อการวางแผนด้านความมั่นคงให้แก่สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ