ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ดทอท.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือสายการบิน ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ (26พ.ย.-5ธ.ค.) ยอมเฉือนเนื้องดเก็บค่า Landing & Parking Fee ค่าเช่าที่ และค่าตอบแทน รวม 10 วัน และยืดจ่ายค่าเช่าชดเชยค่าเสียโอกาสอีก 60 วัน พร้อมสั่งเร่งทำแผนลดค่าใช้จ่ายรับมือปัญหาเศรษฐกิจปี 52 ด้าน"โสภณ"เรียกข้อมูลผลงานทุกรัฐวิสหกิจสรุปก่อนแถลงนโยบายต่อสภา
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการทอท.ที่มีนายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมปิดล้อมสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ ระหว่างวันที่ 26 พ.ย.-5 ธ.ค. 2551 รวม 10 วัน ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ ทอท.และผู้ประกอบการ สายการบิน หน่วยงานราชการ และผู้ประกอบการร้านค้าและบริการต่าง ๆ โดยแบ่งความช่วยเหลือเป็น 2 ระยะ โดยระยะสั้น ประกอบด้วย
1.ยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขึ้น – ลง ของอากาศยานและค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน (Landing & Parking Fee) ระยะเวลา 10 วัน ตามวันที่ปิดสนามบิน (26 พ.ย.- 5 ธ.ค.51) ซึ่งทอท.จะต้องนำเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
2. ยกเว้นการจัดเก็บค่าเช่าพื้นที่และค่าตอบแทนในส่วนของค่าตอบแทนคงที่และค่าตอบแทนขั้นต่ำ เป็นระยะเวลา 10 วัน ( 26 พ.ย.- 5 ธ.ค.51) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องยกเว้นค่าบริการให้กับสายการบิน หรือผู้ใช้บริการในอัตราที่ไม่น้อยกว่าที่ได้รับความช่วยเหลือจาก ทอท.
3.ให้ขยายระยะเวลาการชำระค่าเช่าพื้นที่และค่าตอบแทน สำหรับเดือน พ.ย. – ธ.ค.51 เป็นเวลา 60 วัน โดยยกเว้นค่าปรับ ซึ่งมีค่าเสียโอกาสจากการขยายเวลาการรับชำระค่าเช่าพื้นที่และค่าตอบแทน โดยความช่วยเหลือข้อ 2และ3 จะมีผลรวมถึงท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานเชียงราย ที่ได้รับผลกระทบจากถูกชุมนุมปิดล้อมด้วยเช่นกัน ส่วนมาตรการช่วยเหลือระยะยาวนั้น ทอท.จะต้องศึกษาข้อมูลและสถิติปริมาณการจราจรที่ลดลงที่แท้จริง ก่อนกำหนดมาตรการฟื้นฟูกิจการผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายต่อไป
นายเสรีรัตน์ กล่าวว่า ทอท.ได้มีแผนปฏิบัติเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่จะเกิดขึ้นทุกท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และรับรองโดยกรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) ซึ่งจะแบ่งสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็น 13 สถานการณ์ ดังนี้ 1. อากาศยานอุบัติเหตุ 2. อากาศยานอุบัติการณ์บนพื้นดิน 3. เหตุฉุกเฉินในเที่ยวบิน 4. เพลิงไหม้อาคารสถานที่และเพลิงระเบิด 5. สินค้าอันตรายก่อให้เกิดอุบัติเหตุอุบัติการณ์ 6. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 7. การก่อกวนของฝูงชน 8. การแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 9. การขู่วางระเบิดอากาศยาน 10. การขู่วางระเบิดอาคาร 11. วัตถุที่ยังไม่ระเบิด 12. การเข้ายึดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 13. เหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งมีการฝึกซ้อมเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ 3 วิธี คือฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ โดยเป็นการฝึกซ้อมเหมือนจริงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทุก 2 ปี ,ฝึกซ้อมบางส่วน เฉพาะหน่วย ทุกปี และฝึกซ้อมบนโต๊ะจำลอง เป็นการฝึกซ้อมเพื่อตรวจสอบขั้นตอนการปฏิบัติงานในการตอบโต้สถานการณ์ หรือเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันก่อนการฝึกเต็มรูปแบบ จะทำการฝึกทุก 6 เดือน
นอกจากนี้บอร์ดทอท.ยังได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารเร่งจัดทำแผนปรับลดค่าใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 (1ต.ค.51-30 ก.ย.52) เพื่อรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจโลก และความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ โดยให้เสนอแผนในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป
ด้านนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด นำส่งผลงานในรอบ 3 เดือน ,6 เดือน หรือ 1 ปี มาให้ตรวจสอบภาย ในวันที่ 29 ธ.ค.นี้ เพื่อประเมินผลการทำงานของแต่ละหน่วยงาน และนำไปใช้ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธ.ค. 2551
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการทอท.ที่มีนายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมปิดล้อมสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ ระหว่างวันที่ 26 พ.ย.-5 ธ.ค. 2551 รวม 10 วัน ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ ทอท.และผู้ประกอบการ สายการบิน หน่วยงานราชการ และผู้ประกอบการร้านค้าและบริการต่าง ๆ โดยแบ่งความช่วยเหลือเป็น 2 ระยะ โดยระยะสั้น ประกอบด้วย
1.ยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขึ้น – ลง ของอากาศยานและค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน (Landing & Parking Fee) ระยะเวลา 10 วัน ตามวันที่ปิดสนามบิน (26 พ.ย.- 5 ธ.ค.51) ซึ่งทอท.จะต้องนำเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
2. ยกเว้นการจัดเก็บค่าเช่าพื้นที่และค่าตอบแทนในส่วนของค่าตอบแทนคงที่และค่าตอบแทนขั้นต่ำ เป็นระยะเวลา 10 วัน ( 26 พ.ย.- 5 ธ.ค.51) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องยกเว้นค่าบริการให้กับสายการบิน หรือผู้ใช้บริการในอัตราที่ไม่น้อยกว่าที่ได้รับความช่วยเหลือจาก ทอท.
3.ให้ขยายระยะเวลาการชำระค่าเช่าพื้นที่และค่าตอบแทน สำหรับเดือน พ.ย. – ธ.ค.51 เป็นเวลา 60 วัน โดยยกเว้นค่าปรับ ซึ่งมีค่าเสียโอกาสจากการขยายเวลาการรับชำระค่าเช่าพื้นที่และค่าตอบแทน โดยความช่วยเหลือข้อ 2และ3 จะมีผลรวมถึงท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานเชียงราย ที่ได้รับผลกระทบจากถูกชุมนุมปิดล้อมด้วยเช่นกัน ส่วนมาตรการช่วยเหลือระยะยาวนั้น ทอท.จะต้องศึกษาข้อมูลและสถิติปริมาณการจราจรที่ลดลงที่แท้จริง ก่อนกำหนดมาตรการฟื้นฟูกิจการผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายต่อไป
นายเสรีรัตน์ กล่าวว่า ทอท.ได้มีแผนปฏิบัติเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่จะเกิดขึ้นทุกท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และรับรองโดยกรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) ซึ่งจะแบ่งสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็น 13 สถานการณ์ ดังนี้ 1. อากาศยานอุบัติเหตุ 2. อากาศยานอุบัติการณ์บนพื้นดิน 3. เหตุฉุกเฉินในเที่ยวบิน 4. เพลิงไหม้อาคารสถานที่และเพลิงระเบิด 5. สินค้าอันตรายก่อให้เกิดอุบัติเหตุอุบัติการณ์ 6. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 7. การก่อกวนของฝูงชน 8. การแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 9. การขู่วางระเบิดอากาศยาน 10. การขู่วางระเบิดอาคาร 11. วัตถุที่ยังไม่ระเบิด 12. การเข้ายึดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 13. เหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งมีการฝึกซ้อมเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ 3 วิธี คือฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ โดยเป็นการฝึกซ้อมเหมือนจริงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทุก 2 ปี ,ฝึกซ้อมบางส่วน เฉพาะหน่วย ทุกปี และฝึกซ้อมบนโต๊ะจำลอง เป็นการฝึกซ้อมเพื่อตรวจสอบขั้นตอนการปฏิบัติงานในการตอบโต้สถานการณ์ หรือเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันก่อนการฝึกเต็มรูปแบบ จะทำการฝึกทุก 6 เดือน
นอกจากนี้บอร์ดทอท.ยังได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารเร่งจัดทำแผนปรับลดค่าใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 (1ต.ค.51-30 ก.ย.52) เพื่อรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจโลก และความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ โดยให้เสนอแผนในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป
ด้านนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด นำส่งผลงานในรอบ 3 เดือน ,6 เดือน หรือ 1 ปี มาให้ตรวจสอบภาย ในวันที่ 29 ธ.ค.นี้ เพื่อประเมินผลการทำงานของแต่ละหน่วยงาน และนำไปใช้ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธ.ค. 2551