ASTVผู้จัดการรายวัน- เผยร่างนโยบายรัฐบาลมาร์ค1 วางกรอบเร่งด่วน1ปีกู้ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ-สมานฉันท์การเมือง ดันตั้งองค์กรดับไฟใต้ ย้ำไม่ตั้งธงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนที่เหลือวาระ3ปีเน้น “ประชานิยม”หว่านคะแนนซื้อใจรากหญ้า "กษิต"เผยงานด้านต่างประเทศมี2เรื่องด่วน ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-สางปมขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน “อภิสิทธิ์” นำคณะรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณวันนี้ ประกาศชัดไม่ยอมให้ครม.แสวงหาผลประโยชน์ ยันในพรรคไม่มี "แก๊งออฟโฟร์" คอยป่วน "ชวน"เชื่อมือ"มาร์ค" คุมรัฐนาวาบริหารประเทศได้ ชี้พรรคขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ มั่นใจปชป.ไม่ถูกนายทุนครอบงำ เรื่องเงิน 80 ล้านให้ไปถาม"สุเทพ"
เมื่อวานนี้(21ธ.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำ ร่างนโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาว่า เวลานี้มีต้นร่างแล้ว เพียงแต่จะต้องมีการประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับรายละเอียดบางประการ ก่อนจะส่งให้พรรคร่วมดูได้ และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกในวันอังคาร (23 ธ.ค.) นี้ ก่อนจะแถลงต่อที่ประชุมรัฐสภา
ทั้งนี้ในนโยบายที่จัดทำแต่ละพรรคเป็นผู้เสนอมา และได้รับการบรรจุ ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่ก็สอดคล้องกัน ไม่มีอะไรที่แตกต่างกันในลักษณะที่จะเป็นปัญหาเลย เพราะที่นำเสนอมา สอดคล้องกับนโยบายหลักของพรรคประชาธิปัตย์เกือบทั้งหมด
สำหรับกรณีที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ขู่จะปิดล้อมสภาในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีบทเรียนกันมาแล้วในการแถลงนโยบายรัฐบาลชุดที่แล้ว และเราไม่อยากเห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในลักษณะนั้น ทั้งหมดคิดว่าประธานรัฐสภามีดุลพินิจพิจารณาในการตัดสินใจ ว่าจะเป็นอย่างไร
ส่วนการเตรียมสถานที่สำรองไว้นั้น ขึ้นอยู่กับประธานสภาฯ และสถานที่ต้องมีบันทึกการลงคะแนน ดังนั้นสถานที่จะต้องพร้อมด้วย แต่อย่าเพิ่งคิดไปไกลขนาดนั้น ทั้งนี้คิดว่าทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความราบรื่น เพราะบ้านเมืองเรามีปัญหาวิกฤติมาระยะหนึ่งแล้ว หากอยากเห็นประเทศเดินออกจากวิกฤติได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน คงไม่ลำพังเพียงแต่รัฐบาล หรือรัฐสภาเท่านั้น ประชาชนทั่วไปก็มีส่วนสำคัญในการพาประเทศออกจากวิกฤติ และนโยบาย คือคำตอบของสถานการณ์ที่ปรากฏในขณะนี้ จะมีทุกเรื่องครอบคลุม ส่วนการอภิปรายผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ตอบเพื่อนสมาชิก
"นโยบายจะมีสองส่วน คือ นโยบายเร่งด่วน ที่ระบุไว้ชัดว่าจะต้องทำภายใน 1 ปี หรือเริ่มต้นภายใน 1 ปี โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นที่จะต้องทำให้เร็ว เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม และการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น การแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ มาตรการรองรับการเกิดวิกฤตการว่างงาน ในส่วนที่สองนโยบายตามวาระของรัฐบาลที่เหลืออีก 3 ปี ทั้งนี้เชื่อว่านโยบายจะดึงใจคนรากหญ้าได้ เพราะมีหลายเรื่องที่แก้ปัญหารากหญ้าด้วย ทั้งเรื่องเดิมที่มีอยู่และนโยบายใหม่ที่จะเกิดขึ้น" นายจุรินทร์กล่าว
**เข็นประชานิยมเอาใจรากหญ้า
ทั้งนี้ ในรายละเอียดของนโยบายที่จะแถลงต่อสภา นายจุรินทร์เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า จะกำหนดเรื่องสำคัญหลายเรื่องซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่ประชานิยม อาทิ เรื่องการเรียนฟรี ฟรีค่าเทอมและอุปกรณ์ตำราเรียน รวม 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, เรื่องการรักษาฟรี ซึ่งจะเป็นการรักษาฟรีแบบมีคุณภาพที่ใช้เพียงบัตรประจำตัวประชาชน ไม่จำเป็นต้องบัตรทอง นอกจากนี้จะเปิดโอกาสให้คลินิกเอกชนเข้าร่วมโครงการด้วย, โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป คนละ 500 บาทต่อเดือน, การจัดตั้งกองทุนชราภาพ ในหมู่บ้าน เป็นหลักประกันยามชรา ซึ่งรัฐบาลจะออกเงินสมทบให้ส่วนหนึ่งทุกเดือน และเมื่อครบกำหนดอายุ 60 ปีก็จะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย, นโยบายสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร (อสม.) เดือนละ 600 บาท จำนวน 8 แสนคน
ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายกองทุนหมู่บ้านที่เป็นประชานิยมของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นโครงการประชานิยมที่ใช้เงินหว่านซื้อคะแนนนิยมมากกว่าผลทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน นโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็จะเดินหน้าต่อ เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเป็น การจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ที่รัฐบาลจะอนุมัติงบประมาณแบบให้เปล่า เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนนำไปใช้จ่ายในการจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมนุมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่นการฝึกอบรมอาชีพ ก่อสร้างลานตากข้าว ทำถนนเป็นต้น ซึ่งงบประมาณที่จะสนับสนุนให้ จะพยายามเพิ่มให้ได้มากกว่าเงินสนับสนุนกองทุนเอสเอ็มแอล จำนวน 1 เท่า หรือประมาณ 500,000 บาท จากเดิมที่แต่ละหมู่บ้านจะได้รับการสนับสนุน แห่งละ 250,000 บาท
**ไม่ตั้งธงแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายจุรินทร์ ยังกล่าวถึงจะบรรจุนโยบายการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคและกลุ่มรัฐบาลเดิมพยายามจะแก้ไขมาหลายครั้งในสมัยของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หรือ "กลุ่มเพื่อนเนวิน" ด้วยหรือไม่ ว่า เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ตั้งธงใส่ไว้ในนโยบาย เพียงแต่เป็นเรื่องของการพัฒนาประชาธิปไตย การพัฒนาการทางการเมือง ส่วนทั้งสองแนวทางที่ว่านี้ ที่สุดแล้วจะนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ อันนั้นเป็นเรื่องที่จะตามมาในทางปฏิบัติ แต่ไม่ได้ตั้งธงว่านับหนึ่งจะต้องมีนโยบายแก้รัฐธรรมนูญ
**ตั้งองค์กรดับไฟใต้
ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้นั้น ตรงนี้ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ได้บรรจุไว้ ซึ่งมีแนวทางชัดเจน จะจัดตั้งองค์กรขึ้นมาแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะเป็นองค์กรถาวร และมีกฎหมายรองรับชัดเจน ฉะนั้นจะมีการเสนอพระราชบัญญัติเข้าไปเพื่อจัดตั้งองค์กรรับผิดชอบด้านนโยบาย เพื่อให้การทำงานมีเอกภาพ เนื่องจากที่ผ่านมาการทำงานขาดเอกภาพ ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขปัญหามีด้วยกัน 2 ยุทธศาสตร์คือยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่
นายจุรินทร์ กล่าวว่า หลักใหญ่ของนโยบายการแก้ปัญหานี้คือ จะจัดตั้งองค์กรแก้ปัญหา โดยต้องเสนอออกพ.ร.บ.มารองรับ องค์กรตามกฎหมายที่จะผลักดันนี้ จะดึงภาครัฐ เอกชน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครองท้องถิ่น ผู้ปกครองท้องที่ และ ผู้ทรงคุณวุติฝ่ายประชาชน มาร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า องค์กรที่เกิดขึ้น จะซ้ำซ้อนกับ ศอ.บต.และ พตท. 43 ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ไม่ถึงกับจะแตกต่างถึงขนาดผลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน แต่จะมีกฎหมายรองรับชัดเจน ทุกฝ่ายจะมีส่วนร่วม มีรัฐมนตรีกำกับชัดเจน ทั้งนี้พตท.43 ไม่ใช่องค์กรเชิงนโยบาย แต่เป็นองค์กรเชิงปฏิบัติการ เป็นกองกำลังผสมที่ใช้ปฏิบัติการรักษาความสงบ องค์กรใหม่ภาพจะใหญ่กว่า การแก้ปัญหา นายกฯจะมอบหมายให้ใครรับผิดชอบโดยตรงก็ได้ เช่น รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
**"กษิต"เผย 2 งานเร่งด่วน
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศคนใหม่ กล่าวถึงแนวนโยบายเร่งด่วนในการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรมว.ต่างประเทศ ว่า นโยบายเร่งด่วนมี 2 ประเด็น คือ การจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะปัญหาพื้นที่ของไทยที่ถูกประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิ์ ซึ่งในประเด็นหลังนี้ คาดว่าน่าจะสามารถคลี่คลายปัญหาได้ เพราะภายหลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ได้ส่งสาส์นมาแสดงความยินดีกับนายอภิสิทธิ์เป็นคนแรก ส่วนประเด็นการติดตามนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ กล่าวว่า คงต้องขอตรวจสอบข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่เดินทางเข้ากระทรวง ในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ก่อนว่า ได้ดำเนินการถึงระดับใดแล้ว จึงจะสามารถให้ข้อมูลได้
**อภิสิทธิ์ยันหากแก้รธน.ต้องไม่ใช่เพื่อตัวเอง
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้(21ธ.ค.)ก่อนออกเดินทางไปร่วมงานสัมมนาส.ส.พรรคที่อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานีว่า ขณะนี้นโยบายของพรรคคืบหน้าไปมาก คิดว่าภายใน 1-2 วัน นี้น่าจะมีต้นร่างออกมา และเมื่อครม.มีโอกาสเข้าทำงานก็จะทบทวนแก้ไขเพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป
"เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมเห็นว่าการปฏิรูปการเมืองคงไม่สามารถทำได้หากไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก่อนหน้านี้ที่พูดกันเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลายส่วนมีความต้องการแตกต่างกัน บ้างต้องการแก้ไขเรื่องระบบเลือกตั้ง บางส่วนต้องการแก้ไขเรื่องที่มาของส.ว. รวมทั้งบางส่วนต้องการแก้ไขเพื่อฟอกผิดตัวเอง จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม ดังนั้นเราจึงต้องมานั่งคุยกันก่อนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่ออะไรให้ชัดเจน ว่าจะไม่เอารัฐธรรมนูญเป็นตัวตั้ง แล้วมุ่งไปยังการปฏิรูปการเมือง เมื่อชัดเจนแล้ว การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะหากพูดเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนก็อาจจะสับสนและนำไปสู่ความขัดแย้งได้ และอาจจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งได้พูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลแล้วทุกฝ่ายก็เห็นตรงกัน"นายกฯกล่าว
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เคยเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภาไปแล้ว แต่กฎหมายฉบับนี้มีลักษณะเป็นกฎหมายทางการเงิน ที่นายกฯจะต้องลงนามในการเสนอต่อรัฐสภา ที่ผ่านมาในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ไม่ยอมลงนาม โดยเรื่องนี้ตนพร้อมจะลงนามและเสนอต่อสภา เพราะเห็นว่าเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาได้
**ย้ำน้อมรับครม.ขี้เหร่-เสียงแข็งไม่มีแก๊งออฟโฟร์
นายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ถึงเสียงวิจารณ์โฉมหน้า ครม.ไม่ค่อยสมหวังว่า การวิพากษ์วิจารณ์ถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นสิ่งที่ตนเองได้มีการแลกเปลี่ยนกับหลายๆ ฝ่ายตั้งแต่ก่อนหน้านี้ โดยอธิบายให้ฟังถึงความจำเป็นต่างๆ โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจที่ต้องการเห็นการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด
"ขอย้ำอีกครั้งว่า น้อมรับทุกคำวิพากษ์จารณ์ และจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตระหนักถึงสภาพวิกฤติของประเทศ และสิ่งที่ผมได้ตัดสินใจไปเป็นเรื่องของการมีเสถียรภาพในทางการเมือง ที่จะเดินหน้าทำงานได้ทันที"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตอนนี้มีกระแสเรื่อง"แก๊งออฟโฟร์" ในพรรคประชาธิปัตย์ คือ กลุ่มนายวิทยา แก้วภารดัย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู และนางอัญชลี วานิช เทพบุตร จริงเท็จอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่มีหรอก ตนเห็นพาดหัวข่าวแล้วยังนึกไม่ออกว่า 4 ท่านไหน ยืนยันไม่มีแก๊งออฟโฟร์ เมื่อถามว่ามีแรงกดดันการบริหารงานอย่างไรหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มี ตนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ตอนนี้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ ความคาดหวังของประชาชนสูง ปัญหาก็เยอะ การเมืองเพิ่งผ่านสภาพที่เรียกว่า ยังมีความวุ่นวายกันอยู่ ฉะนั้นย่อมมีเป็นอุปสรรคธรรมดา ไม่ได้รู้สึกกดดันอะไร เพียงแต่ขณะนี้เรื่องที่เป็นห่วงที่สุดคือ ทำอย่างไรจะเดินตามแผนให้ได้ โดยเฉพาะตามกำหนดเวลา
เมื่อถามถึงปัญหาความขัดแย้งภายในพรรค ที่เกิดขึ้นหลังจากจัดตั้งครม. นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าได้ทำความเข้าใจกับเพื่อนสมาชิกพรรคทุกท่านเท่าที่จะทำได้ และยังมั่นใจว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะได้คุยกับกรรมการบริหารพรรค ที่คิดว่าอยู่ในข่ายที่จะได้เป็นรัฐมนตรี จนเกือบครบแล้ว
ส่วนนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รองหัวหน้าพรรค และส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ ที่มีข่าวว่าลาออก ก็ไม่มี ตนเพิ่งคุยกับนายเฉลิมชัย ไปเมื่อคืนก่อน
สำหรับภาคเอกชน ที่วิจารณ์ว่า ครม.ที่ออกมาค่อยถูกใจ เท่าใดนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากทำงานในลักษณะแลกเปลี่ยนสื่อสารตรงไปตรงมากับประชาชน มีปัญหาอะไร ตัดสินใจอย่างไร ก็รายงานให้ทราบ ประชาชนจะเห็นด้วยหรือไม่ก็แล้วแต่ ทั้งนี้ตนจะให้เหตุผลและรับฟัง อะไรที่เป็นความห่วงใยสะท้อนผ่านคำวิจารณ์มานั้น จะดูแลอย่างเต็มที่ ฉะนั้นความห่วงใยที่วิจารณ์ว่ารัฐมนตรีบางท่านมีประสบการณ์ไหม ตนก็ได้บอกให้รัฐมนตรีท่านนั้นไปจัดทีมงานให้เกิดความเชื่อมั่น อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนข้อคลางแคลงใจที่ใครจะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์นั้น ยืนยันได้ว่าเรื่องนี้ตนไม่ยอมแน่นอน ตนเข้าใจดีว่าหลายคนไม่สมหวังกับเรื่อง ครม. แต่ก็ได้อธิบายไปพอสมควร และจะต้องเดินหน้าทำงาน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า โอกาสที่ได้มาบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อต้องจัดรัฐบาล เพื่อให้มีความมั่นคง ตรงนี้ต้องสามารถผลักดันนโยบายได้นั่นคือหัวใจ
เมื่อถามว่า ห่วงที่ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ประกาศจะปิดล้อมรัฐสภา ในวันแถลงนโยบายหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่างที่ย้ำมาหลายครั้ง หากเป็นการใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญก็ไม่เป็นปัญหาอะไร และนโยบายสำคัญของเราคือ ทางเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีบทเรียนจากเหตุการณ์ในอดีต หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนเรื่องจะต้องย้ายสถานที่ประชุมหรือไม่นั้น ยังไม่ได้คิด ท่านประธานสภาฯ คงนัดประชุมตามปกติ
**เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ฯวันนี้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ได้นัดรัฐมนตรีเจอกันที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 15.00 น. วันนี้ (22ธ.ค.) เพื่อถ่ายรูปร่วมกันก่อนเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตน และในวันอังคาร (23 ธ.ค.) จะประชุมคณะรัฐมนตรีทันที ตั้งใจว่า ในวันนั้นจะอนุมัตินโยบายเลย และนอกจากเรื่องนโยบายแล้ว จะรับทราบรายการภาวะประเทศและการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะรัฐมนตรี
เมื่อถามว่าเป็นห่วงเรื่องการแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินหรือไม่ เพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะจะกำชับรัฐมนตรีอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบ นึกว่าการแสดงบัญชีส่วนใหญ่เฉพาะที่เป็น ส.ส.ก็แสดงอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าแบบฟอร์มมันต่างกันมากแค่ไหน คิดว่าคนเป็นนักการเมืองในยุคหลังมานี้ ต้องคุ้นเคยอยู่แล้ว แสดงบัญชีกันปีหนึ่งหลายครั้ง
เมื่อถามว่าจะต้องดูแลเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะบางครั้งมีกรณีการถือหุ้นเล็กๆน้อยๆ สุดท้ายต้องหลุดพ้นจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระบบระยะหลังจะใช้การรับรองตนเองทาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะให้ทุกคนรับรองตัวเอง หากไม่เป็นไปตามนั้นก็ต้องรับผลที่มีตามมาตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนเรื่องที่จะนำกรณีไม่เกณฑ์ทหารมาโจมตีนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าหยิบยกขึ้นมาก็ชี้แจง ซึ่งเรื่องนี้ได้ชี้แจงไปหลายครั้งแล้ว มั่นใจว่า ไม่มีปัญหา
**"สุเทพ"ลั่นปชป.ไม่มีแก๊งออฟโฟร์
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า ภายในพรรคไม่มีแก๊งออฟโฟร์ และไม่มีการจัดตั้งคลื่นใต้น้ำ ซึ่งผู้ที่มีอิทธิพลภายในพรรคมีเพียงตน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเท่านั้น ขออย่าไปสนใจเรื่องดังกล่าว เนื่องจากการเลือกรัฐมนตรีโควตาของพรรค ดำเนินการตามขั้นตอนที่ต้องนำเข้าที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค และที่ประชุมส.ส. เพื่อลงมติให้ความเห็นชอบรายชื่อรัฐมนตรีของพรรค
ขณะที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธที่จะตอบคำถามถึงกรณีที่ตนมีชื่อเป็นหนึ่งใน "แก๊งออฟโฟร์" โดยระบุว่า มีเพียงแก๊ง 166 คน ที่เป็น ส.ส.ของพรรคเท่านั้น ทั้งนี้ เกรงว่าจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ความขัดแย้งภายในพรรค ขณะที่เห็นว่าที่ผ่านมาการเลือกรัฐมนตรีภายในพรรคนั้น ดำเนินการตามกระบวนการตามข้อบังคับพรรคถูกต้องแล้ว ซึ่งตนจะมอบหมายให้นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าว
**"สาทิตย์-วีระชัย"พร้อมร่วมงาน
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ไม่มีความรู้สึกวิตกกังวลในการที่จะต้องทำงานร่วมกับ นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เพิ่งมีปัญหาขัดแย้งกับนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในเรื่องการชิงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะในเวลานี้ถือเป็นเวลาที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อประเทศชาติ และคงไม่ถือเอาเรื่องดังกล่าวมาเป็นตัวบั่นทอนการทำงานร่วมกันในอนาคตอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ นายสาทิตย์ ยังยืนยันด้วยว่านายนิพิฏฐ์ จะไม่ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ จากประเด็นปัญหาดังกล่าวอย่างแน่นอน เนื่องจากได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจภายในพรรคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
**"ชวน"ปลอบใจคนที่ผิดหวัง
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกระแสความขัดแย้งภายในพรรค หลังจัดตั้งครม. ว่า ต้องถามนายกฯ มีข้อจำกัดอย่างนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ต้องยอมรับว่า มีผู้อาวุโสที่มีความสามารถหลายคนไม่มีโอกาส แต่ข้อจำกัดนั้นเกิดจากจำนวนตำแหน่งที่มีน้อย ผู้จัดเองก็ลำบากใจ เข้าใจดีว่าหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ก็ลำบาก แต่เพื่อนเสียดายก็ได้มีการปอบใจกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการคุยกับ ส.ส.ที่มีความขัดแย้งหรือยัง นายชวน กล่าวว่า ได้คุยแล้ว โดยเฉพาะนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง คุยมากที่สุด ก็เข้าใจกันดี ซึ่งนายนิพิฏฐ์ จริงๆแล้วตนเป็นคนบอกกับพี่น้องชาวจังหวัดพัทลุงแล้วว่า เขามีความเหมาะสม มีโอกาส แต่เราคิดว่านั่นเป็นรัฐบาลหลังเลือกตั้ง แต่เมื่อมีข้อจำกัดอย่างนี้ก็ต้องให้กำลังใจนายนิพิฏฐ์ เพราะเป็นคนที่ทำงานหนัก
ทั้งนี้เวลาเป็นพรรคฝ่ายค้าน ใครที่ทำงานหนัก กล้าสู้ กล้าอภิปราย เราจะเห็นศักยภาพคนนั้นชัดเจน ฉะนั้นนายนิพิฏฐ์ เป็นคนหนึ่งที่โดดเด่น เหมือนกับ นายจุติ ไกรฤกษ์ ก็เป็นคนที่เราก็เสียดาย ไม่ต้องพูดถึงนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ แน่นอนเขาเป็นคนที่ทำงาน เสียสละ
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะโอกาสที่แต่งตั้งไปโดยไม่มีใครบ่นเลยคงจะยาก ไม่ว่าจะเป็นในพรรคหรือนอกพรรค ต้องถือว่าเป็นเรื่องปกติของการทำงานการเมืองอย่างนี้ ยิ่งพรรคที่มีทรัพยากรคนเยอะยิ่งมีปัญหาของคนที่มีความเหมาะสมไม่ได้เป็น แต่หากพรรคมีคนน้อยคนก็ไม่พออีกเหมือนกัน ฉะนั้นคนมากไว้ก็ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะเป็นแรงกระเพื่อมกระทบเสถียรภาพรัฐบาลให้สั่นคลอนหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า คิดว่าปัญหามีอยู่ เป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ถึงกับทำให้เสถียรภพรัฐบาลมีปัญหา เพราะเชื่อมือหัวหน้าพรรค นายกรัฐมนตรี จะดูแลได้ดี แม้กระทั่งกระทรวงที่มีผู้ปรารภว่าตัวบุคคลอาวุโสน้อย มีประสบการณ์น้อยไปก็ตาม แต่ตนเชื่อว่านายกรัฐมนตรี จะเข้าไปลดช่องว่างได้
ส่วนการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านนั้น หากจะมี เห็นว่าไม่เป็นไร เป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย แต่ได้เตือนแล้วในเรื่องการเข้าประชุม เพราะองค์ประชุมอยู่ที่รัฐบาล เพราะรัฐบาลมีเสียงข้างมาก หากฝ่ายค้านไม่มาประชุมอย่าไปบ่น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องทำให้ครบองค์ประชุม ส.ส.จะต้องมีความรับผิดชอบ
**โยนสุเทพแจงเงิน 80 ล้าน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีการเปิดเผยการจ่ายเงิน 80 ล้านบาท ให้พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน กล่าวว่า เพิ่งเห็นข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ ก่อนหน้านี้ไม่เคยได้ยินข่าวมาก่อน และไม่คิดว่าจะเป็นอย่างนั้น เท่าที่อยู่ในพรรคมา กรณีที่ใคร หรือนายทุนจะมาครอบงำ เป็นทำไม่ได้ ในพรรคคนเขาไม่ยอมหรอก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องถามเลขาธิการพรรค เพราะพวกเราไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนนั้นจะเข้ามา
**"จุติ"แจงเหตุไม่ได้ร่วมสัมมนา
นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส. พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ที่พลาดหวังจากตำแหน่งรัฐมนตรีใน"ครม.มาร์ค1" เปิดแถลงข่าวที่พรรค กรณีที่มีการวิจารณ์ว่าผู้ที่ไม่ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีตรีแล้วไม่ไปร่วมสัมมนาที่เกาะสมุย ว่า เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันที่ครอบครัวตนทำบุญกระดูกให้กับบรรพบุรุษทุกปี ซึ่งตนได้แจ้งให้เลขาธิการพรรค และหัวหน้าพรรครับทราบแล้ว ขอยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การประท้วงหรือน้อยใจ
ส่วนที่มีข่าว และมีการการโค้ดคำพูดของตน ที่ยอมรับว่า คณะรัฐมนตรีชุดนี้ขี้เหร่ นั้น ยืนยันว่าไม่เคยแสดงความเห็นในเรื่องนี้ เพราะหลังจากที่พรรคประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรี ตนเก็บตัวเงียบไม่เคยให้สัมภาษณ์เลย เกรงว่าเรื่องนี้จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงต้องแถลงให้ทราบทั่วกัน
**แก๊งออฟโฟร์แค่แก๊งกินข้าว
ส่วนเรื่องแก๊งออฟโฟร์ ในพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายจุติ กล่าวว่า ไม่เชื่อว่าจะมี แต่ขอออกตัวว่า ช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ค่อยได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะคุณแม่ป่วย นอนห้องไอซียู 3 สัปดาห์ ตนก็ไปนอนเฝ้าอยู่ ไม่มีโอกาสติดตามข่าว ตอนนี้แม่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ก็ดีใจ
กรณีของแก๊งออฟโฟร์ จากรายชื่อที่ระบุว่ามานั้น เป็นแก๊งกินข้าว ไม่ใช่แก๊งการเมือง แต่จะไปรับประทานอาหารด้วยกันอยู่สม่ำเสมอตั้งแต่ปี 2538 ทั้ง นายสาทิตย์ นายวิทยา และตนเอง และนางอัญชลี ตนไม่เชื่อว่า จะเป็นแก๊งคลื่นใต้น้ำ ที่มาพูดไม่ได้พูดให้ใคร แต่เป็นข้อเท็จจริง
"ผมเชื่อมั่นว่า ขณะนี้คนที่ถูกเป็นเป้าหมาย คือ 6 รายชื่อ ที่มีชื่อผมเองด้วย ที่ไม่ได้มีโอกาสเป็นรัฐมนตรี และจะถูกนำไปสู่การขยายความขัดแย้ง ผมเชื่อว่าทั้ง 6 คน รวมทั้งผมด้วยมีสปิริตพอที่จะรักษาพรรคประชาธิปัตย์ไว้ได้ เรื่องความเสียใจ ผิดหวัง ความเจ็บปวดเป็นเรื่องส่วนตัว อยากให้เก็บไว้ข้างใน ปล่อยให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่มีสมาธิในการแก้ปัญหาของประเทศสำคัญที่สุด อยากเรียนให้ทราบว่า ต้องให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ มีสมาธิในการแก้ไขปัญหา หากมีใครพยายามเขย่ามาก จะทำให้ประเทศไทยเสียอำนาจการต่อรองของประเทศ เชื่อว่าเพื่อนผมทั้งหมดไม่มีใครประสงค์เช่นนั้น แต่การแสดงออกเป็นสิทธิ์ของเขา เชื่อว่าทุกคนจบ ไม่ทำต่อเนื่อง และไม่เชื่อว่าจะขยายผลไปแบบ 10 มกราคม ปี 2529 มั่นใจ" นายจุติ กล่าว
นายจุติ กล่าวด้วยว่า ตนมาอยู่พรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี 38 สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ ตั้งแต่นั้นมาไม่มีเปลี่ยนใจ จะผิดพลาดอะไร ก็เป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าพรรค หนีไม่พ้น ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม เชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ แกร่งพอที่จะรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้หมด
**ยันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยแนวนโยบายบริหารกระทรวงคร่าวๆ กับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า จะนำโครงการตามพระราชดำริทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการวิจัยพัฒนาและทดลองมากมาย ผลักดันให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน รวมถึงผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งตลอด 10-20 ปีที่ผ่านมามีผลงานมากมาย แต่คนยังไม่รู้จัก
"วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องทำให้คนมีรายได้เพิ่ม จะหยิบยกผลงานเหล่านั้นมาส่งเสริมเพื่อสร้างงาน เพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยเฉพาะคนด้อยโอกาสและคนยากจน โดยต้องเป็นผลงานที่ใช้ได้ทันที ทั้งนี้เชื่อว่าว่าคนกระทรวงวิทยาศาสตร์มีความพร้อมมากกว่ากระทรวงอื่นๆ มีผลงานโดดเด่น เพียงแต่ไม่มีคนหยิบยกมาเผยแพร่ สบายใจมากที่ได้มาอยู่ตรงนี้" คุณหญิงกัลยากล่าว
พร้อมกันนี้ได้ยกตัวอย่างผลงานของกระทรวงและโครงการตามพระราชดำริที่ได้นำไปเผยแพร่แก่ประชาชนและเกิดประโยชน์แล้ว เช่น เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าซึ่งมีการติดตั้งที่ จ.พิษณุโลก ทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้สำหรับที่นาและไร่ และมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีองค์การบริหารส่วนตำบลรับไปดูแลต่อ หรือโครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) ช่วยให้อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ เป็นต้น
ทางด้านนโยบายพลังงานทดแทน รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เผยว่าจะทำเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ โดยร่วมมือกับกระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหรัณ์ ซึ่งแนวคิดในการทำงานแบบเป็นคลัสเตอร์นี้ยังไม่ได้เผยให้ทางพรรคได้ทราบ โดยจะพัฒนาพลังงานจากชีวมวล ขยะพลาสติก น้ำเสียจากโรงงาน เป็นต้น
ส่วนนโยบายทางด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คุณหญิงกัลยาเผยว่ายังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แต่การศึกษาทางด้านนิวเคลียร์ ส่งเสริมให้ทันเทคโนโลยีและสร้างคนเป็นสิ่งทีทำได้ ทั้งนี้ต้องใช้เวลา 10-20 ปีจึงจะมีความพร้อม ซึ่งหากตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตอนนี้ต้องเข้าคิวซื้อเทคโนโลยีไปอีก 15 ปี แต่วันนี้ไทยยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเอาหรือไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
"ตอนนี้น้ำมันถูกลงคนก็คิดว่ายังไม่จำเป็น และพลังงานทดแทนก็มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีก็โรงไฟฟ้าต้นแบบที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบ สามารถสร้างไฟฟ้าให้แก่ 200 ครัวเรือนด้วยต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ถูกลง 50% กระทรวงวิทยาศาสตร์น่าจะหยิบยกตรงนี้มาส่งเสริมเพื่อสร้างงานให้ชุมชน เมื่อไฟฟ้าเหลือก็ขายเข้ากริด อีกทั้งชุมชนก็จะมีต้นไม้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการความก้าวหน้าไปมาก แม้จะยังไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ สำหรับนิวเคลียรืก็ศึกษาได้ แต่ยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน" คุณหญิงกัลยากล่าว
เมื่อวานนี้(21ธ.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำ ร่างนโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาว่า เวลานี้มีต้นร่างแล้ว เพียงแต่จะต้องมีการประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับรายละเอียดบางประการ ก่อนจะส่งให้พรรคร่วมดูได้ และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกในวันอังคาร (23 ธ.ค.) นี้ ก่อนจะแถลงต่อที่ประชุมรัฐสภา
ทั้งนี้ในนโยบายที่จัดทำแต่ละพรรคเป็นผู้เสนอมา และได้รับการบรรจุ ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่ก็สอดคล้องกัน ไม่มีอะไรที่แตกต่างกันในลักษณะที่จะเป็นปัญหาเลย เพราะที่นำเสนอมา สอดคล้องกับนโยบายหลักของพรรคประชาธิปัตย์เกือบทั้งหมด
สำหรับกรณีที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ขู่จะปิดล้อมสภาในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีบทเรียนกันมาแล้วในการแถลงนโยบายรัฐบาลชุดที่แล้ว และเราไม่อยากเห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในลักษณะนั้น ทั้งหมดคิดว่าประธานรัฐสภามีดุลพินิจพิจารณาในการตัดสินใจ ว่าจะเป็นอย่างไร
ส่วนการเตรียมสถานที่สำรองไว้นั้น ขึ้นอยู่กับประธานสภาฯ และสถานที่ต้องมีบันทึกการลงคะแนน ดังนั้นสถานที่จะต้องพร้อมด้วย แต่อย่าเพิ่งคิดไปไกลขนาดนั้น ทั้งนี้คิดว่าทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความราบรื่น เพราะบ้านเมืองเรามีปัญหาวิกฤติมาระยะหนึ่งแล้ว หากอยากเห็นประเทศเดินออกจากวิกฤติได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน คงไม่ลำพังเพียงแต่รัฐบาล หรือรัฐสภาเท่านั้น ประชาชนทั่วไปก็มีส่วนสำคัญในการพาประเทศออกจากวิกฤติ และนโยบาย คือคำตอบของสถานการณ์ที่ปรากฏในขณะนี้ จะมีทุกเรื่องครอบคลุม ส่วนการอภิปรายผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ตอบเพื่อนสมาชิก
"นโยบายจะมีสองส่วน คือ นโยบายเร่งด่วน ที่ระบุไว้ชัดว่าจะต้องทำภายใน 1 ปี หรือเริ่มต้นภายใน 1 ปี โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นที่จะต้องทำให้เร็ว เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม และการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น การแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ มาตรการรองรับการเกิดวิกฤตการว่างงาน ในส่วนที่สองนโยบายตามวาระของรัฐบาลที่เหลืออีก 3 ปี ทั้งนี้เชื่อว่านโยบายจะดึงใจคนรากหญ้าได้ เพราะมีหลายเรื่องที่แก้ปัญหารากหญ้าด้วย ทั้งเรื่องเดิมที่มีอยู่และนโยบายใหม่ที่จะเกิดขึ้น" นายจุรินทร์กล่าว
**เข็นประชานิยมเอาใจรากหญ้า
ทั้งนี้ ในรายละเอียดของนโยบายที่จะแถลงต่อสภา นายจุรินทร์เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า จะกำหนดเรื่องสำคัญหลายเรื่องซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่ประชานิยม อาทิ เรื่องการเรียนฟรี ฟรีค่าเทอมและอุปกรณ์ตำราเรียน รวม 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, เรื่องการรักษาฟรี ซึ่งจะเป็นการรักษาฟรีแบบมีคุณภาพที่ใช้เพียงบัตรประจำตัวประชาชน ไม่จำเป็นต้องบัตรทอง นอกจากนี้จะเปิดโอกาสให้คลินิกเอกชนเข้าร่วมโครงการด้วย, โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป คนละ 500 บาทต่อเดือน, การจัดตั้งกองทุนชราภาพ ในหมู่บ้าน เป็นหลักประกันยามชรา ซึ่งรัฐบาลจะออกเงินสมทบให้ส่วนหนึ่งทุกเดือน และเมื่อครบกำหนดอายุ 60 ปีก็จะได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย, นโยบายสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร (อสม.) เดือนละ 600 บาท จำนวน 8 แสนคน
ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายกองทุนหมู่บ้านที่เป็นประชานิยมของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นโครงการประชานิยมที่ใช้เงินหว่านซื้อคะแนนนิยมมากกว่าผลทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน นโยบายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็จะเดินหน้าต่อ เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเป็น การจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ที่รัฐบาลจะอนุมัติงบประมาณแบบให้เปล่า เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนนำไปใช้จ่ายในการจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมนุมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่นการฝึกอบรมอาชีพ ก่อสร้างลานตากข้าว ทำถนนเป็นต้น ซึ่งงบประมาณที่จะสนับสนุนให้ จะพยายามเพิ่มให้ได้มากกว่าเงินสนับสนุนกองทุนเอสเอ็มแอล จำนวน 1 เท่า หรือประมาณ 500,000 บาท จากเดิมที่แต่ละหมู่บ้านจะได้รับการสนับสนุน แห่งละ 250,000 บาท
**ไม่ตั้งธงแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายจุรินทร์ ยังกล่าวถึงจะบรรจุนโยบายการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคและกลุ่มรัฐบาลเดิมพยายามจะแก้ไขมาหลายครั้งในสมัยของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หรือ "กลุ่มเพื่อนเนวิน" ด้วยหรือไม่ ว่า เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ตั้งธงใส่ไว้ในนโยบาย เพียงแต่เป็นเรื่องของการพัฒนาประชาธิปไตย การพัฒนาการทางการเมือง ส่วนทั้งสองแนวทางที่ว่านี้ ที่สุดแล้วจะนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ อันนั้นเป็นเรื่องที่จะตามมาในทางปฏิบัติ แต่ไม่ได้ตั้งธงว่านับหนึ่งจะต้องมีนโยบายแก้รัฐธรรมนูญ
**ตั้งองค์กรดับไฟใต้
ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้นั้น ตรงนี้ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ได้บรรจุไว้ ซึ่งมีแนวทางชัดเจน จะจัดตั้งองค์กรขึ้นมาแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะเป็นองค์กรถาวร และมีกฎหมายรองรับชัดเจน ฉะนั้นจะมีการเสนอพระราชบัญญัติเข้าไปเพื่อจัดตั้งองค์กรรับผิดชอบด้านนโยบาย เพื่อให้การทำงานมีเอกภาพ เนื่องจากที่ผ่านมาการทำงานขาดเอกภาพ ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขปัญหามีด้วยกัน 2 ยุทธศาสตร์คือยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่
นายจุรินทร์ กล่าวว่า หลักใหญ่ของนโยบายการแก้ปัญหานี้คือ จะจัดตั้งองค์กรแก้ปัญหา โดยต้องเสนอออกพ.ร.บ.มารองรับ องค์กรตามกฎหมายที่จะผลักดันนี้ จะดึงภาครัฐ เอกชน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครองท้องถิ่น ผู้ปกครองท้องที่ และ ผู้ทรงคุณวุติฝ่ายประชาชน มาร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า องค์กรที่เกิดขึ้น จะซ้ำซ้อนกับ ศอ.บต.และ พตท. 43 ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ไม่ถึงกับจะแตกต่างถึงขนาดผลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน แต่จะมีกฎหมายรองรับชัดเจน ทุกฝ่ายจะมีส่วนร่วม มีรัฐมนตรีกำกับชัดเจน ทั้งนี้พตท.43 ไม่ใช่องค์กรเชิงนโยบาย แต่เป็นองค์กรเชิงปฏิบัติการ เป็นกองกำลังผสมที่ใช้ปฏิบัติการรักษาความสงบ องค์กรใหม่ภาพจะใหญ่กว่า การแก้ปัญหา นายกฯจะมอบหมายให้ใครรับผิดชอบโดยตรงก็ได้ เช่น รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
**"กษิต"เผย 2 งานเร่งด่วน
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศคนใหม่ กล่าวถึงแนวนโยบายเร่งด่วนในการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรมว.ต่างประเทศ ว่า นโยบายเร่งด่วนมี 2 ประเด็น คือ การจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะปัญหาพื้นที่ของไทยที่ถูกประเทศกัมพูชาอ้างสิทธิ์ ซึ่งในประเด็นหลังนี้ คาดว่าน่าจะสามารถคลี่คลายปัญหาได้ เพราะภายหลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ได้ส่งสาส์นมาแสดงความยินดีกับนายอภิสิทธิ์เป็นคนแรก ส่วนประเด็นการติดตามนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ กล่าวว่า คงต้องขอตรวจสอบข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่เดินทางเข้ากระทรวง ในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ก่อนว่า ได้ดำเนินการถึงระดับใดแล้ว จึงจะสามารถให้ข้อมูลได้
**อภิสิทธิ์ยันหากแก้รธน.ต้องไม่ใช่เพื่อตัวเอง
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้(21ธ.ค.)ก่อนออกเดินทางไปร่วมงานสัมมนาส.ส.พรรคที่อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานีว่า ขณะนี้นโยบายของพรรคคืบหน้าไปมาก คิดว่าภายใน 1-2 วัน นี้น่าจะมีต้นร่างออกมา และเมื่อครม.มีโอกาสเข้าทำงานก็จะทบทวนแก้ไขเพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป
"เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมเห็นว่าการปฏิรูปการเมืองคงไม่สามารถทำได้หากไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก่อนหน้านี้ที่พูดกันเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลายส่วนมีความต้องการแตกต่างกัน บ้างต้องการแก้ไขเรื่องระบบเลือกตั้ง บางส่วนต้องการแก้ไขเรื่องที่มาของส.ว. รวมทั้งบางส่วนต้องการแก้ไขเพื่อฟอกผิดตัวเอง จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม ดังนั้นเราจึงต้องมานั่งคุยกันก่อนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่ออะไรให้ชัดเจน ว่าจะไม่เอารัฐธรรมนูญเป็นตัวตั้ง แล้วมุ่งไปยังการปฏิรูปการเมือง เมื่อชัดเจนแล้ว การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะหากพูดเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนก็อาจจะสับสนและนำไปสู่ความขัดแย้งได้ และอาจจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งได้พูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลแล้วทุกฝ่ายก็เห็นตรงกัน"นายกฯกล่าว
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เคยเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภาไปแล้ว แต่กฎหมายฉบับนี้มีลักษณะเป็นกฎหมายทางการเงิน ที่นายกฯจะต้องลงนามในการเสนอต่อรัฐสภา ที่ผ่านมาในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ไม่ยอมลงนาม โดยเรื่องนี้ตนพร้อมจะลงนามและเสนอต่อสภา เพราะเห็นว่าเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาได้
**ย้ำน้อมรับครม.ขี้เหร่-เสียงแข็งไม่มีแก๊งออฟโฟร์
นายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ถึงเสียงวิจารณ์โฉมหน้า ครม.ไม่ค่อยสมหวังว่า การวิพากษ์วิจารณ์ถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นสิ่งที่ตนเองได้มีการแลกเปลี่ยนกับหลายๆ ฝ่ายตั้งแต่ก่อนหน้านี้ โดยอธิบายให้ฟังถึงความจำเป็นต่างๆ โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจที่ต้องการเห็นการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด
"ขอย้ำอีกครั้งว่า น้อมรับทุกคำวิพากษ์จารณ์ และจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตระหนักถึงสภาพวิกฤติของประเทศ และสิ่งที่ผมได้ตัดสินใจไปเป็นเรื่องของการมีเสถียรภาพในทางการเมือง ที่จะเดินหน้าทำงานได้ทันที"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตอนนี้มีกระแสเรื่อง"แก๊งออฟโฟร์" ในพรรคประชาธิปัตย์ คือ กลุ่มนายวิทยา แก้วภารดัย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู และนางอัญชลี วานิช เทพบุตร จริงเท็จอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่มีหรอก ตนเห็นพาดหัวข่าวแล้วยังนึกไม่ออกว่า 4 ท่านไหน ยืนยันไม่มีแก๊งออฟโฟร์ เมื่อถามว่ามีแรงกดดันการบริหารงานอย่างไรหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มี ตนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ตอนนี้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ ความคาดหวังของประชาชนสูง ปัญหาก็เยอะ การเมืองเพิ่งผ่านสภาพที่เรียกว่า ยังมีความวุ่นวายกันอยู่ ฉะนั้นย่อมมีเป็นอุปสรรคธรรมดา ไม่ได้รู้สึกกดดันอะไร เพียงแต่ขณะนี้เรื่องที่เป็นห่วงที่สุดคือ ทำอย่างไรจะเดินตามแผนให้ได้ โดยเฉพาะตามกำหนดเวลา
เมื่อถามถึงปัญหาความขัดแย้งภายในพรรค ที่เกิดขึ้นหลังจากจัดตั้งครม. นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าได้ทำความเข้าใจกับเพื่อนสมาชิกพรรคทุกท่านเท่าที่จะทำได้ และยังมั่นใจว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะได้คุยกับกรรมการบริหารพรรค ที่คิดว่าอยู่ในข่ายที่จะได้เป็นรัฐมนตรี จนเกือบครบแล้ว
ส่วนนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รองหัวหน้าพรรค และส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ ที่มีข่าวว่าลาออก ก็ไม่มี ตนเพิ่งคุยกับนายเฉลิมชัย ไปเมื่อคืนก่อน
สำหรับภาคเอกชน ที่วิจารณ์ว่า ครม.ที่ออกมาค่อยถูกใจ เท่าใดนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากทำงานในลักษณะแลกเปลี่ยนสื่อสารตรงไปตรงมากับประชาชน มีปัญหาอะไร ตัดสินใจอย่างไร ก็รายงานให้ทราบ ประชาชนจะเห็นด้วยหรือไม่ก็แล้วแต่ ทั้งนี้ตนจะให้เหตุผลและรับฟัง อะไรที่เป็นความห่วงใยสะท้อนผ่านคำวิจารณ์มานั้น จะดูแลอย่างเต็มที่ ฉะนั้นความห่วงใยที่วิจารณ์ว่ารัฐมนตรีบางท่านมีประสบการณ์ไหม ตนก็ได้บอกให้รัฐมนตรีท่านนั้นไปจัดทีมงานให้เกิดความเชื่อมั่น อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนข้อคลางแคลงใจที่ใครจะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์นั้น ยืนยันได้ว่าเรื่องนี้ตนไม่ยอมแน่นอน ตนเข้าใจดีว่าหลายคนไม่สมหวังกับเรื่อง ครม. แต่ก็ได้อธิบายไปพอสมควร และจะต้องเดินหน้าทำงาน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า โอกาสที่ได้มาบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อต้องจัดรัฐบาล เพื่อให้มีความมั่นคง ตรงนี้ต้องสามารถผลักดันนโยบายได้นั่นคือหัวใจ
เมื่อถามว่า ห่วงที่ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ประกาศจะปิดล้อมรัฐสภา ในวันแถลงนโยบายหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่างที่ย้ำมาหลายครั้ง หากเป็นการใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญก็ไม่เป็นปัญหาอะไร และนโยบายสำคัญของเราคือ ทางเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีบทเรียนจากเหตุการณ์ในอดีต หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนเรื่องจะต้องย้ายสถานที่ประชุมหรือไม่นั้น ยังไม่ได้คิด ท่านประธานสภาฯ คงนัดประชุมตามปกติ
**เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ฯวันนี้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ได้นัดรัฐมนตรีเจอกันที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 15.00 น. วันนี้ (22ธ.ค.) เพื่อถ่ายรูปร่วมกันก่อนเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตน และในวันอังคาร (23 ธ.ค.) จะประชุมคณะรัฐมนตรีทันที ตั้งใจว่า ในวันนั้นจะอนุมัตินโยบายเลย และนอกจากเรื่องนโยบายแล้ว จะรับทราบรายการภาวะประเทศและการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะรัฐมนตรี
เมื่อถามว่าเป็นห่วงเรื่องการแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินหรือไม่ เพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะจะกำชับรัฐมนตรีอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบ นึกว่าการแสดงบัญชีส่วนใหญ่เฉพาะที่เป็น ส.ส.ก็แสดงอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าแบบฟอร์มมันต่างกันมากแค่ไหน คิดว่าคนเป็นนักการเมืองในยุคหลังมานี้ ต้องคุ้นเคยอยู่แล้ว แสดงบัญชีกันปีหนึ่งหลายครั้ง
เมื่อถามว่าจะต้องดูแลเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะบางครั้งมีกรณีการถือหุ้นเล็กๆน้อยๆ สุดท้ายต้องหลุดพ้นจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระบบระยะหลังจะใช้การรับรองตนเองทาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะให้ทุกคนรับรองตัวเอง หากไม่เป็นไปตามนั้นก็ต้องรับผลที่มีตามมาตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนเรื่องที่จะนำกรณีไม่เกณฑ์ทหารมาโจมตีนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าหยิบยกขึ้นมาก็ชี้แจง ซึ่งเรื่องนี้ได้ชี้แจงไปหลายครั้งแล้ว มั่นใจว่า ไม่มีปัญหา
**"สุเทพ"ลั่นปชป.ไม่มีแก๊งออฟโฟร์
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า ภายในพรรคไม่มีแก๊งออฟโฟร์ และไม่มีการจัดตั้งคลื่นใต้น้ำ ซึ่งผู้ที่มีอิทธิพลภายในพรรคมีเพียงตน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเท่านั้น ขออย่าไปสนใจเรื่องดังกล่าว เนื่องจากการเลือกรัฐมนตรีโควตาของพรรค ดำเนินการตามขั้นตอนที่ต้องนำเข้าที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค และที่ประชุมส.ส. เพื่อลงมติให้ความเห็นชอบรายชื่อรัฐมนตรีของพรรค
ขณะที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธที่จะตอบคำถามถึงกรณีที่ตนมีชื่อเป็นหนึ่งใน "แก๊งออฟโฟร์" โดยระบุว่า มีเพียงแก๊ง 166 คน ที่เป็น ส.ส.ของพรรคเท่านั้น ทั้งนี้ เกรงว่าจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ความขัดแย้งภายในพรรค ขณะที่เห็นว่าที่ผ่านมาการเลือกรัฐมนตรีภายในพรรคนั้น ดำเนินการตามกระบวนการตามข้อบังคับพรรคถูกต้องแล้ว ซึ่งตนจะมอบหมายให้นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าว
**"สาทิตย์-วีระชัย"พร้อมร่วมงาน
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ไม่มีความรู้สึกวิตกกังวลในการที่จะต้องทำงานร่วมกับ นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เพิ่งมีปัญหาขัดแย้งกับนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในเรื่องการชิงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะในเวลานี้ถือเป็นเวลาที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อประเทศชาติ และคงไม่ถือเอาเรื่องดังกล่าวมาเป็นตัวบั่นทอนการทำงานร่วมกันในอนาคตอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ นายสาทิตย์ ยังยืนยันด้วยว่านายนิพิฏฐ์ จะไม่ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ จากประเด็นปัญหาดังกล่าวอย่างแน่นอน เนื่องจากได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจภายในพรรคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
**"ชวน"ปลอบใจคนที่ผิดหวัง
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกระแสความขัดแย้งภายในพรรค หลังจัดตั้งครม. ว่า ต้องถามนายกฯ มีข้อจำกัดอย่างนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ต้องยอมรับว่า มีผู้อาวุโสที่มีความสามารถหลายคนไม่มีโอกาส แต่ข้อจำกัดนั้นเกิดจากจำนวนตำแหน่งที่มีน้อย ผู้จัดเองก็ลำบากใจ เข้าใจดีว่าหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ก็ลำบาก แต่เพื่อนเสียดายก็ได้มีการปอบใจกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการคุยกับ ส.ส.ที่มีความขัดแย้งหรือยัง นายชวน กล่าวว่า ได้คุยแล้ว โดยเฉพาะนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง คุยมากที่สุด ก็เข้าใจกันดี ซึ่งนายนิพิฏฐ์ จริงๆแล้วตนเป็นคนบอกกับพี่น้องชาวจังหวัดพัทลุงแล้วว่า เขามีความเหมาะสม มีโอกาส แต่เราคิดว่านั่นเป็นรัฐบาลหลังเลือกตั้ง แต่เมื่อมีข้อจำกัดอย่างนี้ก็ต้องให้กำลังใจนายนิพิฏฐ์ เพราะเป็นคนที่ทำงานหนัก
ทั้งนี้เวลาเป็นพรรคฝ่ายค้าน ใครที่ทำงานหนัก กล้าสู้ กล้าอภิปราย เราจะเห็นศักยภาพคนนั้นชัดเจน ฉะนั้นนายนิพิฏฐ์ เป็นคนหนึ่งที่โดดเด่น เหมือนกับ นายจุติ ไกรฤกษ์ ก็เป็นคนที่เราก็เสียดาย ไม่ต้องพูดถึงนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ แน่นอนเขาเป็นคนที่ทำงาน เสียสละ
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะโอกาสที่แต่งตั้งไปโดยไม่มีใครบ่นเลยคงจะยาก ไม่ว่าจะเป็นในพรรคหรือนอกพรรค ต้องถือว่าเป็นเรื่องปกติของการทำงานการเมืองอย่างนี้ ยิ่งพรรคที่มีทรัพยากรคนเยอะยิ่งมีปัญหาของคนที่มีความเหมาะสมไม่ได้เป็น แต่หากพรรคมีคนน้อยคนก็ไม่พออีกเหมือนกัน ฉะนั้นคนมากไว้ก็ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะเป็นแรงกระเพื่อมกระทบเสถียรภาพรัฐบาลให้สั่นคลอนหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า คิดว่าปัญหามีอยู่ เป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ถึงกับทำให้เสถียรภพรัฐบาลมีปัญหา เพราะเชื่อมือหัวหน้าพรรค นายกรัฐมนตรี จะดูแลได้ดี แม้กระทั่งกระทรวงที่มีผู้ปรารภว่าตัวบุคคลอาวุโสน้อย มีประสบการณ์น้อยไปก็ตาม แต่ตนเชื่อว่านายกรัฐมนตรี จะเข้าไปลดช่องว่างได้
ส่วนการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านนั้น หากจะมี เห็นว่าไม่เป็นไร เป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย แต่ได้เตือนแล้วในเรื่องการเข้าประชุม เพราะองค์ประชุมอยู่ที่รัฐบาล เพราะรัฐบาลมีเสียงข้างมาก หากฝ่ายค้านไม่มาประชุมอย่าไปบ่น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องทำให้ครบองค์ประชุม ส.ส.จะต้องมีความรับผิดชอบ
**โยนสุเทพแจงเงิน 80 ล้าน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีการเปิดเผยการจ่ายเงิน 80 ล้านบาท ให้พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน กล่าวว่า เพิ่งเห็นข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ ก่อนหน้านี้ไม่เคยได้ยินข่าวมาก่อน และไม่คิดว่าจะเป็นอย่างนั้น เท่าที่อยู่ในพรรคมา กรณีที่ใคร หรือนายทุนจะมาครอบงำ เป็นทำไม่ได้ ในพรรคคนเขาไม่ยอมหรอก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องถามเลขาธิการพรรค เพราะพวกเราไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนนั้นจะเข้ามา
**"จุติ"แจงเหตุไม่ได้ร่วมสัมมนา
นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส. พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ที่พลาดหวังจากตำแหน่งรัฐมนตรีใน"ครม.มาร์ค1" เปิดแถลงข่าวที่พรรค กรณีที่มีการวิจารณ์ว่าผู้ที่ไม่ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีตรีแล้วไม่ไปร่วมสัมมนาที่เกาะสมุย ว่า เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันที่ครอบครัวตนทำบุญกระดูกให้กับบรรพบุรุษทุกปี ซึ่งตนได้แจ้งให้เลขาธิการพรรค และหัวหน้าพรรครับทราบแล้ว ขอยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การประท้วงหรือน้อยใจ
ส่วนที่มีข่าว และมีการการโค้ดคำพูดของตน ที่ยอมรับว่า คณะรัฐมนตรีชุดนี้ขี้เหร่ นั้น ยืนยันว่าไม่เคยแสดงความเห็นในเรื่องนี้ เพราะหลังจากที่พรรคประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรี ตนเก็บตัวเงียบไม่เคยให้สัมภาษณ์เลย เกรงว่าเรื่องนี้จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงต้องแถลงให้ทราบทั่วกัน
**แก๊งออฟโฟร์แค่แก๊งกินข้าว
ส่วนเรื่องแก๊งออฟโฟร์ ในพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายจุติ กล่าวว่า ไม่เชื่อว่าจะมี แต่ขอออกตัวว่า ช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ค่อยได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะคุณแม่ป่วย นอนห้องไอซียู 3 สัปดาห์ ตนก็ไปนอนเฝ้าอยู่ ไม่มีโอกาสติดตามข่าว ตอนนี้แม่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ก็ดีใจ
กรณีของแก๊งออฟโฟร์ จากรายชื่อที่ระบุว่ามานั้น เป็นแก๊งกินข้าว ไม่ใช่แก๊งการเมือง แต่จะไปรับประทานอาหารด้วยกันอยู่สม่ำเสมอตั้งแต่ปี 2538 ทั้ง นายสาทิตย์ นายวิทยา และตนเอง และนางอัญชลี ตนไม่เชื่อว่า จะเป็นแก๊งคลื่นใต้น้ำ ที่มาพูดไม่ได้พูดให้ใคร แต่เป็นข้อเท็จจริง
"ผมเชื่อมั่นว่า ขณะนี้คนที่ถูกเป็นเป้าหมาย คือ 6 รายชื่อ ที่มีชื่อผมเองด้วย ที่ไม่ได้มีโอกาสเป็นรัฐมนตรี และจะถูกนำไปสู่การขยายความขัดแย้ง ผมเชื่อว่าทั้ง 6 คน รวมทั้งผมด้วยมีสปิริตพอที่จะรักษาพรรคประชาธิปัตย์ไว้ได้ เรื่องความเสียใจ ผิดหวัง ความเจ็บปวดเป็นเรื่องส่วนตัว อยากให้เก็บไว้ข้างใน ปล่อยให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่มีสมาธิในการแก้ปัญหาของประเทศสำคัญที่สุด อยากเรียนให้ทราบว่า ต้องให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ มีสมาธิในการแก้ไขปัญหา หากมีใครพยายามเขย่ามาก จะทำให้ประเทศไทยเสียอำนาจการต่อรองของประเทศ เชื่อว่าเพื่อนผมทั้งหมดไม่มีใครประสงค์เช่นนั้น แต่การแสดงออกเป็นสิทธิ์ของเขา เชื่อว่าทุกคนจบ ไม่ทำต่อเนื่อง และไม่เชื่อว่าจะขยายผลไปแบบ 10 มกราคม ปี 2529 มั่นใจ" นายจุติ กล่าว
นายจุติ กล่าวด้วยว่า ตนมาอยู่พรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี 38 สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ ตั้งแต่นั้นมาไม่มีเปลี่ยนใจ จะผิดพลาดอะไร ก็เป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าพรรค หนีไม่พ้น ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม เชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ แกร่งพอที่จะรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้หมด
**ยันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยแนวนโยบายบริหารกระทรวงคร่าวๆ กับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า จะนำโครงการตามพระราชดำริทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการวิจัยพัฒนาและทดลองมากมาย ผลักดันให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน รวมถึงผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งตลอด 10-20 ปีที่ผ่านมามีผลงานมากมาย แต่คนยังไม่รู้จัก
"วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องทำให้คนมีรายได้เพิ่ม จะหยิบยกผลงานเหล่านั้นมาส่งเสริมเพื่อสร้างงาน เพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยเฉพาะคนด้อยโอกาสและคนยากจน โดยต้องเป็นผลงานที่ใช้ได้ทันที ทั้งนี้เชื่อว่าว่าคนกระทรวงวิทยาศาสตร์มีความพร้อมมากกว่ากระทรวงอื่นๆ มีผลงานโดดเด่น เพียงแต่ไม่มีคนหยิบยกมาเผยแพร่ สบายใจมากที่ได้มาอยู่ตรงนี้" คุณหญิงกัลยากล่าว
พร้อมกันนี้ได้ยกตัวอย่างผลงานของกระทรวงและโครงการตามพระราชดำริที่ได้นำไปเผยแพร่แก่ประชาชนและเกิดประโยชน์แล้ว เช่น เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าซึ่งมีการติดตั้งที่ จ.พิษณุโลก ทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้สำหรับที่นาและไร่ และมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีองค์การบริหารส่วนตำบลรับไปดูแลต่อ หรือโครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) ช่วยให้อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ เป็นต้น
ทางด้านนโยบายพลังงานทดแทน รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เผยว่าจะทำเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ โดยร่วมมือกับกระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหรัณ์ ซึ่งแนวคิดในการทำงานแบบเป็นคลัสเตอร์นี้ยังไม่ได้เผยให้ทางพรรคได้ทราบ โดยจะพัฒนาพลังงานจากชีวมวล ขยะพลาสติก น้ำเสียจากโรงงาน เป็นต้น
ส่วนนโยบายทางด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คุณหญิงกัลยาเผยว่ายังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แต่การศึกษาทางด้านนิวเคลียร์ ส่งเสริมให้ทันเทคโนโลยีและสร้างคนเป็นสิ่งทีทำได้ ทั้งนี้ต้องใช้เวลา 10-20 ปีจึงจะมีความพร้อม ซึ่งหากตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตอนนี้ต้องเข้าคิวซื้อเทคโนโลยีไปอีก 15 ปี แต่วันนี้ไทยยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเอาหรือไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
"ตอนนี้น้ำมันถูกลงคนก็คิดว่ายังไม่จำเป็น และพลังงานทดแทนก็มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีก็โรงไฟฟ้าต้นแบบที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบ สามารถสร้างไฟฟ้าให้แก่ 200 ครัวเรือนด้วยต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ถูกลง 50% กระทรวงวิทยาศาสตร์น่าจะหยิบยกตรงนี้มาส่งเสริมเพื่อสร้างงานให้ชุมชน เมื่อไฟฟ้าเหลือก็ขายเข้ากริด อีกทั้งชุมชนก็จะมีต้นไม้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการความก้าวหน้าไปมาก แม้จะยังไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ สำหรับนิวเคลียรืก็ศึกษาได้ แต่ยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน" คุณหญิงกัลยากล่าว