ปลัดกระทรวงการคลังเล็งหามาตรการที่สามารถเยียวยา ฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยเหลือภาคแรงงานที่จะประสบปัญหารุนแรงในปีหน้า ขณะที่ สศค.ร่างโรดแม็พระยะ 5-10 ปีแก้ปัญหาโครงสร้างเชิงสังคมพร้อมประสาน ก.แรงงาน-พัฒนาสังคมหารือบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตร่วมกัน
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังมีความเป็นห่วงภาคแรงงานที่เริ่มมีแนวโน้มถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นในระยะนี้และในปีหน้าหากยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ อาจทำให้จำนวนคนว่างเงินเพิ่มมากขึ้นทั้งกรณีที่ถูกเลิกจ้างและนักศึกษาที่จบใหม่ ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างหามาตรการมารองรับปัญหาดังกล่าวที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อเสนอ รมว.คลังคนใหม่
“ในเบื้องต้นได้มีการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ให้ขยายโครงการฝึกอบรมวิชาชีพในด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชนที่ว่างงานเพื่อเสริมทักษะทางด้านวิชาชีพ ซึ่งจะใช้หลักในการแก้ปัญหาคือ เข้าไปเยียวยา ฟื้นฟูและกระตุ้น ให้ภาคแรงงานสามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้” นายศุภรัตน์กล่าว
***จัดโรดแม็พเพิ่มขีดความสามารถ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า นอกจากมาตรการระยะสั้นที่รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาดำเนินการอย่างเร่งด่วนแล้ว กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการระยะกลางถึงระยะยาวเพื่อฟื้นขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจในระยะ 5 – 10 ปีข้างหน้าให้สามารถแข่งขันได้เต็มศักยภาพที่ประเทศไทยมี
ทั้งนี้ สศค.จะจัดเรียบเรียงหมวดหมู่มาตรการด้านต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะ 1 ปี 5 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้า แต่กรอบเวลาในการนำเสนอนั้นจะพิจารณาตามสถานการณ์ว่า ณ ขณะนั้นควรเสนอเรื่องใดตามลำดับความสำคัญ
“ตอนนี้ สศค.ระดมความคิดของบุคคลากรรวมทั้งขอความเห็นจากหน่วยงานภายนอกรวมทั้งผู้ที่เชี่ยวชาญเพื่อทำโรดแม็พไว้ ซึ่งวัตถุประสงค์ที่แท้จริงแล้วคือความต้องการจัดโครงสร้างทางสังคมทุกๆ ด้านให้เป็นระบบโดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในด้านการเงินก็จะวางกรอบไว้ว่า การระดมทุน การดำเนินงานของสถาบันการเงิน ภาวะตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนในระยะ 10 ปีต่อจากนี้จะมีหน้าตาออกมาเป็นอย่างไร” นายสมชัยกล่าว
***ปล่อยซอฟท์โลนสร้างผู้ประกอบการ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือในระดับเจ้าหน้าที่ร่วมกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ โดยเฉพาะมาตรการเพื่อชะลอการเลิกจ้างที่น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ในระดับหนึ่ง
โดยหากกระทรวงทั้งสองเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวกระทรวงการคลังก็จะเตรียมจัดทำโครงการเพื่อสงเคราะห์ผู้ตกงาน ส่งเสริมการฝึกทักษะ อบรมจัดจัดหางาน การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่รวมถึงการให้บริการด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้
“สิ่งที่คิดไว้และคาดว่าน่าจะสามารถดำเนินการออกมาเป็นรูปธรรมได้นั้นน่าจะเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่เช่นเดียวกับสมัยที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งจะปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟท์โลน เพื่อให้ผู้ที่ตกงานได้ฝึกฝนอาชีพและทำธุรกิจด้วยตนเอง จะสามารถสร้างผู้ประกอบการรายใหม่หรือเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นได้อีกมากเนื่องจากมีแรงจูงใจในเรื่องดอกเบี้ยที่ต่ำมากหากสามารถพัฒนาความพร้อมในส่วนนี้ได้ก็น่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกันหากกระทรวงแรงงานและ พัฒนาสังคมฯ เห็นด้วยกับแนวทางที่เราเตรียมเสนอก็พร้อมที่จะเดินหน้าได้ในทันที” แหล่งข่าวกล่าว.
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังมีความเป็นห่วงภาคแรงงานที่เริ่มมีแนวโน้มถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นในระยะนี้และในปีหน้าหากยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ อาจทำให้จำนวนคนว่างเงินเพิ่มมากขึ้นทั้งกรณีที่ถูกเลิกจ้างและนักศึกษาที่จบใหม่ ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างหามาตรการมารองรับปัญหาดังกล่าวที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อเสนอ รมว.คลังคนใหม่
“ในเบื้องต้นได้มีการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ให้ขยายโครงการฝึกอบรมวิชาชีพในด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชนที่ว่างงานเพื่อเสริมทักษะทางด้านวิชาชีพ ซึ่งจะใช้หลักในการแก้ปัญหาคือ เข้าไปเยียวยา ฟื้นฟูและกระตุ้น ให้ภาคแรงงานสามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้” นายศุภรัตน์กล่าว
***จัดโรดแม็พเพิ่มขีดความสามารถ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า นอกจากมาตรการระยะสั้นที่รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาดำเนินการอย่างเร่งด่วนแล้ว กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการระยะกลางถึงระยะยาวเพื่อฟื้นขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจในระยะ 5 – 10 ปีข้างหน้าให้สามารถแข่งขันได้เต็มศักยภาพที่ประเทศไทยมี
ทั้งนี้ สศค.จะจัดเรียบเรียงหมวดหมู่มาตรการด้านต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะ 1 ปี 5 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้า แต่กรอบเวลาในการนำเสนอนั้นจะพิจารณาตามสถานการณ์ว่า ณ ขณะนั้นควรเสนอเรื่องใดตามลำดับความสำคัญ
“ตอนนี้ สศค.ระดมความคิดของบุคคลากรรวมทั้งขอความเห็นจากหน่วยงานภายนอกรวมทั้งผู้ที่เชี่ยวชาญเพื่อทำโรดแม็พไว้ ซึ่งวัตถุประสงค์ที่แท้จริงแล้วคือความต้องการจัดโครงสร้างทางสังคมทุกๆ ด้านให้เป็นระบบโดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในด้านการเงินก็จะวางกรอบไว้ว่า การระดมทุน การดำเนินงานของสถาบันการเงิน ภาวะตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนในระยะ 10 ปีต่อจากนี้จะมีหน้าตาออกมาเป็นอย่างไร” นายสมชัยกล่าว
***ปล่อยซอฟท์โลนสร้างผู้ประกอบการ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือในระดับเจ้าหน้าที่ร่วมกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ โดยเฉพาะมาตรการเพื่อชะลอการเลิกจ้างที่น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ในระดับหนึ่ง
โดยหากกระทรวงทั้งสองเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวกระทรวงการคลังก็จะเตรียมจัดทำโครงการเพื่อสงเคราะห์ผู้ตกงาน ส่งเสริมการฝึกทักษะ อบรมจัดจัดหางาน การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่รวมถึงการให้บริการด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้
“สิ่งที่คิดไว้และคาดว่าน่าจะสามารถดำเนินการออกมาเป็นรูปธรรมได้นั้นน่าจะเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่เช่นเดียวกับสมัยที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งจะปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟท์โลน เพื่อให้ผู้ที่ตกงานได้ฝึกฝนอาชีพและทำธุรกิจด้วยตนเอง จะสามารถสร้างผู้ประกอบการรายใหม่หรือเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นได้อีกมากเนื่องจากมีแรงจูงใจในเรื่องดอกเบี้ยที่ต่ำมากหากสามารถพัฒนาความพร้อมในส่วนนี้ได้ก็น่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกันหากกระทรวงแรงงานและ พัฒนาสังคมฯ เห็นด้วยกับแนวทางที่เราเตรียมเสนอก็พร้อมที่จะเดินหน้าได้ในทันที” แหล่งข่าวกล่าว.