อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา ตั้งคณะทำงานพิจารณาสำนวน คดีแก๊งทนาย “ทักษิณ” ติดสินบนศาล หลังพนักงานสอบสวนส่งสำนวนสั่งไม่ฟ้อง อัยการ ชี้ ฟ้อง หรือไม่ฟ้อง ขึ้นอยู่กับหลักฐาน ขณะที่ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เตรียมปล่อยตัว “พิชิฎ-ศุภศรี” จันทร์ที่ 22 ธ.ค.นี้
วานนี้ (19 ธ.ค.) นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา เปิดเผยถึงกรณีที่นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงาน คดี พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ตกเป็นผู้ต้องหาคดีให้สินบน เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาการเมืองกรณีเงินถุงขนม 2 ล้านบาท ว่าพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งสาม ข้อหาให้สินบนแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 มาให้กับนายสมเจตน์ ชัยเฉลิมปรีชา อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงานอัยการเพื่อพิจารณาสำนวนทำความเห็นสั่งคดีแล้ว แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะนัดฟังคำสั่งเมื่อใดเนื่องจากต้องให้เวลาคณะทำงานอัยการ ใช้ดุลพินิจเพื่อทำความเห็น ซึ่งทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่ปรากฏ โดยการพิจารณาสำนวนอัยการอาจจะมีความเห็นให้ต้องสอบสวนเพิ่มเติมก็ได้
นายกายสิทธิ์ กล่าวว่า ในการสั่งคดีอัยการอาจจะมีความเห็นต่างจากพนักงานสอบสวนก็ได้ โดยอาจสั่งฟ้องทั้งหมด หรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาเพียงบางคน ซึ่งหากอัยการจะมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาบางคน และสั่งไม่ฟ้องบางคน ก็ต้องส่งความเห็นให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ทราบเพื่อพิจารณาว่าจะทำความเห็นแย้งหรือไม่ โดยถ้า ผบ.ตร.มีความเห็นยืนยันตามพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ว่าสมควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด ตามขั้นตอนก็จะต้องเสนอสำนวนพร้อมความเห็นให้นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พิจารณาเพื่อชี้ขาด ซึ่งความเห็นอัยการสูงสุดจะถือเป็นที่สุด
ส่วนผู้ต้องหาทั้งสามที่จะพ้นโทษจำคุก 6 เดือน คดีละเมิดอำนาจศาลโดยจะถูกปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ และทัณฑสถานหญิงกลาง ในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ อัยการจำเป็นต้องสั่งให้พนักงานสอบสวนอายัดตัวต่อเพื่อรอฟังการสั่งคดีติดสินบนหรือไม่ นายกายสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อคดีติดสินบนพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม มีความเห็นสมควรสั่งไม่ฟ้องในเบื้องต้นแล้ว ก็ถือว่าไม่มีเหตุจำเป็นต้องอายัดตัวผู้ต้องหาทั้งสาม ดังนั้น เมื่อพ้นโทษจำคุกคดีละเมิดอำนาจศาลก็ถือว่าผู้ต้องหาทั้งสามเป็นอิสระ แต่หากการสั่งคดีถ้าอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด หรือผู้ต้องหาบางคน พนักงานสอบสวนก็จะต้องติดตามตัวผู้ต้องหานั้นมาส่งมอบให้อัยการเพื่อยื่นฟ้องศาลต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 22 ธ.ค.เวลาประมาณ 08.00 น.ทางเรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร จะปล่อยตัว นายพิชิฎ ชื่นบาน และ น.ส. ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ ที่จะครบกำหนดจำคุก 6 เดือน ในวันจันทร์ที่ 22 ธ.ค.นี้ ตามที่ศาลฎีกาพิพากษา โดยขั้นตอนการปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 คน เจ้าหน้าที่ศาลอาญาจะนำหมายปล่อยตัวผู้ต้องหาไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ จากนั้นทางเรือนจำจะตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ถูกคุมขัง ก่อนจะปล่อยตัวออกนอกเรือนจำ
ส่วนนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานคดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาฯ และเป็นผู้ที่หิ้วถุง ขนมที่บรรจุเงิน 2 ล้านบาท ไปให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาจนเป็นเหตุให้ศาลพิพากษา ให้ติดคุก 6 เดือนเช่นกันนั้น นายธนา จะครบกำหนดออกจากเรือนจำหลังจากนายพิชิฎ และน.ส.ศุภศรี ประมาณ 1 สัปดาห์ เนื่องจากนายธนา ถูกควบคุมตัวเข้าคุมขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพล่าช้ากว่าเพื่อนร่วมทีมทนายที่ทำผิด เพราะนายธนา มีอาการเครียดจัด และได้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงเป็นเหตุในระยะเวลาต้องเลื่อนไปให้ครบ 6 เดือน
สำหรับกรณีที่มีการกล่าวคดีติดสินบน สืบเนื่องจากคดีถุงขนม 2 ล้าน ที่นายอนันต์ เลขานุการศาลฎีกา (ขณะเกิดเหตุ 10 มิ.ย.51) ทำหนังสือบันทึกถึงนายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกาว่า เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. เวลา 09.30 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มารายงานตัวต่อศาลฎีกาฯ ซึ่งนายอนันต์ เลขานุการศาลฎีกาไปตรวจดูความ เรียบร้อยที่ศาลฎีกาฯ
หลังจากนั้น ม.ล.ฐิติพงศ์ ชมพูนุช นิติกรประจำแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เข้ามาสอบถามเรื่องที่ทนาย พ.ต.ท.ทักษิณ นำสิ่งของซึ่งเป็นถุงกระดาษสีขาวปิดสก็อตเทปใสมิดชิด มาให้เจ้าหน้าที่ว่าจะรับไว้ได้หรือไม่ โดยเมื่อเปิดถุงแล้วพบธนบัตร 1,000 บาท จำนวน 2 ตั้งๆ ละ 10 มัด รวมประมาณ 2 ล้านบาท นายอนันต์จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ส่งคืน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางมาถึงศาลเพื่อรายงานตัว ซึ่งต่อมาได้มีการตั้งองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา ไต่สวนกรณีดังกล่าวและเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.51 ศาลฎีกา มีคำสั่งให้จำคุกนายพิชิฏ, น.ส.ศุภศรี และนายธนา คนละ 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากเห็นว่าการนำถุงกระดาษใส่เงิน 2 ล้านบาทให้ ม.ล.ฐิติพงศ์ ถือว่าเป็นเหตุจูงใจให้เจ้าหน้าที่ของศาลฎีกาฯ กระทำการอันมิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่อาจเชื่อโยงเป็นประโยชน์ในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดา ฯ การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามซึ่งกระทำการร่วมกันจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพานิชย์ ม.31 (1), 33 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และน่าจะมีมูลความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ตามประมลกฎหมายอาญา มาตรา 144 หรือความผิดอื่นต่อเจ้าพนักงาน จึงให้นายอนันต์ เลขานุการศาลฎีกา ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
วานนี้ (19 ธ.ค.) นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา เปิดเผยถึงกรณีที่นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงาน คดี พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ตกเป็นผู้ต้องหาคดีให้สินบน เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาการเมืองกรณีเงินถุงขนม 2 ล้านบาท ว่าพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งสาม ข้อหาให้สินบนแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 มาให้กับนายสมเจตน์ ชัยเฉลิมปรีชา อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงานอัยการเพื่อพิจารณาสำนวนทำความเห็นสั่งคดีแล้ว แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะนัดฟังคำสั่งเมื่อใดเนื่องจากต้องให้เวลาคณะทำงานอัยการ ใช้ดุลพินิจเพื่อทำความเห็น ซึ่งทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่ปรากฏ โดยการพิจารณาสำนวนอัยการอาจจะมีความเห็นให้ต้องสอบสวนเพิ่มเติมก็ได้
นายกายสิทธิ์ กล่าวว่า ในการสั่งคดีอัยการอาจจะมีความเห็นต่างจากพนักงานสอบสวนก็ได้ โดยอาจสั่งฟ้องทั้งหมด หรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาเพียงบางคน ซึ่งหากอัยการจะมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาบางคน และสั่งไม่ฟ้องบางคน ก็ต้องส่งความเห็นให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ทราบเพื่อพิจารณาว่าจะทำความเห็นแย้งหรือไม่ โดยถ้า ผบ.ตร.มีความเห็นยืนยันตามพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ว่าสมควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด ตามขั้นตอนก็จะต้องเสนอสำนวนพร้อมความเห็นให้นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พิจารณาเพื่อชี้ขาด ซึ่งความเห็นอัยการสูงสุดจะถือเป็นที่สุด
ส่วนผู้ต้องหาทั้งสามที่จะพ้นโทษจำคุก 6 เดือน คดีละเมิดอำนาจศาลโดยจะถูกปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ และทัณฑสถานหญิงกลาง ในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ อัยการจำเป็นต้องสั่งให้พนักงานสอบสวนอายัดตัวต่อเพื่อรอฟังการสั่งคดีติดสินบนหรือไม่ นายกายสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อคดีติดสินบนพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม มีความเห็นสมควรสั่งไม่ฟ้องในเบื้องต้นแล้ว ก็ถือว่าไม่มีเหตุจำเป็นต้องอายัดตัวผู้ต้องหาทั้งสาม ดังนั้น เมื่อพ้นโทษจำคุกคดีละเมิดอำนาจศาลก็ถือว่าผู้ต้องหาทั้งสามเป็นอิสระ แต่หากการสั่งคดีถ้าอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด หรือผู้ต้องหาบางคน พนักงานสอบสวนก็จะต้องติดตามตัวผู้ต้องหานั้นมาส่งมอบให้อัยการเพื่อยื่นฟ้องศาลต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 22 ธ.ค.เวลาประมาณ 08.00 น.ทางเรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร จะปล่อยตัว นายพิชิฎ ชื่นบาน และ น.ส. ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ ที่จะครบกำหนดจำคุก 6 เดือน ในวันจันทร์ที่ 22 ธ.ค.นี้ ตามที่ศาลฎีกาพิพากษา โดยขั้นตอนการปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 คน เจ้าหน้าที่ศาลอาญาจะนำหมายปล่อยตัวผู้ต้องหาไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ จากนั้นทางเรือนจำจะตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ถูกคุมขัง ก่อนจะปล่อยตัวออกนอกเรือนจำ
ส่วนนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานคดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาฯ และเป็นผู้ที่หิ้วถุง ขนมที่บรรจุเงิน 2 ล้านบาท ไปให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาจนเป็นเหตุให้ศาลพิพากษา ให้ติดคุก 6 เดือนเช่นกันนั้น นายธนา จะครบกำหนดออกจากเรือนจำหลังจากนายพิชิฎ และน.ส.ศุภศรี ประมาณ 1 สัปดาห์ เนื่องจากนายธนา ถูกควบคุมตัวเข้าคุมขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพล่าช้ากว่าเพื่อนร่วมทีมทนายที่ทำผิด เพราะนายธนา มีอาการเครียดจัด และได้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงเป็นเหตุในระยะเวลาต้องเลื่อนไปให้ครบ 6 เดือน
สำหรับกรณีที่มีการกล่าวคดีติดสินบน สืบเนื่องจากคดีถุงขนม 2 ล้าน ที่นายอนันต์ เลขานุการศาลฎีกา (ขณะเกิดเหตุ 10 มิ.ย.51) ทำหนังสือบันทึกถึงนายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกาว่า เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. เวลา 09.30 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มารายงานตัวต่อศาลฎีกาฯ ซึ่งนายอนันต์ เลขานุการศาลฎีกาไปตรวจดูความ เรียบร้อยที่ศาลฎีกาฯ
หลังจากนั้น ม.ล.ฐิติพงศ์ ชมพูนุช นิติกรประจำแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เข้ามาสอบถามเรื่องที่ทนาย พ.ต.ท.ทักษิณ นำสิ่งของซึ่งเป็นถุงกระดาษสีขาวปิดสก็อตเทปใสมิดชิด มาให้เจ้าหน้าที่ว่าจะรับไว้ได้หรือไม่ โดยเมื่อเปิดถุงแล้วพบธนบัตร 1,000 บาท จำนวน 2 ตั้งๆ ละ 10 มัด รวมประมาณ 2 ล้านบาท นายอนันต์จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ส่งคืน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางมาถึงศาลเพื่อรายงานตัว ซึ่งต่อมาได้มีการตั้งองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา ไต่สวนกรณีดังกล่าวและเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.51 ศาลฎีกา มีคำสั่งให้จำคุกนายพิชิฏ, น.ส.ศุภศรี และนายธนา คนละ 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากเห็นว่าการนำถุงกระดาษใส่เงิน 2 ล้านบาทให้ ม.ล.ฐิติพงศ์ ถือว่าเป็นเหตุจูงใจให้เจ้าหน้าที่ของศาลฎีกาฯ กระทำการอันมิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่อาจเชื่อโยงเป็นประโยชน์ในคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดา ฯ การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามซึ่งกระทำการร่วมกันจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพานิชย์ ม.31 (1), 33 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และน่าจะมีมูลความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ตามประมลกฎหมายอาญา มาตรา 144 หรือความผิดอื่นต่อเจ้าพนักงาน จึงให้นายอนันต์ เลขานุการศาลฎีกา ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป