แปลกใจกันไปตามๆกันกับการสละโควตาเก้าอี้ มท.1 ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผิดธรรมเนียมพรรคแกนนำรัฐบาล ที่เกือบทุกยุค ถือว่ากระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงาน หรือ มือไม้สำคัญสำหรับสร้างเครือข่ายทางการเมือง
นอกจากนี้ยังมี พาณิชย์ คมนาคม ซึ่งถือว่าเป็นกระทรวงหลักระดับเกรดเอก็ยอมสละให้กับพรรคร่วมรัฐบาลและกลุ่มการเมืองที่ย้ายขั้วมาสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ
เรียกได้ว่ายอมถอยบางส่วนเพื่อรักษาเป้าหมายสำคัญเอาไว้
อย่างไรก็ดีถ้าพิจารณาในแง่ของยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ยังควบคุมเอาไว้อย่างมั่นคง นั่นคือ กระทรวงการคลัง ที่วางตัวระดับ “ขุนพล” หลัก อย่าง กรณ์ จาติกวณิช เพื่อทำงานให้สอดประสานกับ นายกรัฐมนตรีที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมโดยตรง
ขณะเดียวกัน ในด้านการต่างประเทศที่ถือว่าเป็นหน่วยงานที่ต้องสร้างภาพลักษณ์ในสายตานานาชาติก็จัดวาง กษิต ภิรมย์ นักการทูตมืออาชีพที่ในวงการรู้จักและเชื่อมือกันมานานเข้าไปดูแล และยิ่งในวาระพิเศษที่ประเทศไทยจะต้องรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปีหน้า รวมทั้งมีกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในต้นปี ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพื่อเรียกความเชื่อมั่น
นอกจากนั้นยังมี กระทรวงยุติธรรม ที่ต้องดูแลคดีสำคัญ ศึกษาธิการ สาธารณสุข รวมทั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ดูแลสื่อของรัฐ เป็นต้น
ทุกหน่วยงานดังกล่าว หากพิจารณาในแง่ของยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งในและต่างประเทศ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งยวด และสอดคล้องกับกระแสของโลกยุคใหม่ ยุคโลกาภิวัฒน์ ทั้งสิ้น
ส่วนกระทรวงกลาโหมก็ประนีประนอมกับฝ่ายกองทัพด้วยการยอมเปิดทางให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ที่มี “สายสัมพันธ์ที่ดี” กับบรรดาบิ๊กๆ เพื่อลดความหวาดระแวงและลดแรงกระเพื่อมได้อย่างลงตัว
หากโฟกัสในระดับสากลแล้ว กระทรวงหลักๆในคณะรัฐบาลที่ต้องถูกจับจ้องมากที่สุด ก็จะหนีไม่พ้น กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม
ดังนั้น หากพิจารณาโดยสรุปแล้วถือว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำยอมเสียสละกระทรวงสำคัญอย่าง กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย ยอมยกให้พรรคร่วมรัฐบาล หรือ “กลุ่มเพื่อนเนวิน” เข้ามาดูแลนั้น ทางหนึ่งนอกจากเป็นการ “ซื้อใจ” กันแบบเต็มที่แล้ว อีกทางหนึ่งยังเป็นการลดแรงเสียดทานทางการเมือง ไม่ให้ตกเป็นเป้าโดยตรง
และที่สำคัญในวันที่ 11 มกราคมปีหน้าจะต้องมีรายการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ชุดใหญ่ ซึ่งมีผลสำคัญต่อสถานะของรัฐบาลผสม และรับรู้กันอยู่แล้วว่าส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือกับอีสานเป็นหลัก
และในเงื่อนไขด้านระยะเวลาอันจำกัด หากปล่อยให้กลุ่มเพื่อนเนวินลงไปชนในพื้นที่ “สีแดง” แยกสลายเครือข่ายระบอบทักษิณ มันก็น่าจะเหมาะสม วินวินกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่หรือ
แต่นาทีนี้ทั้งหลายทั้งปวงมันก็ขึ้นอยู่กับว่า ผู้จัดการรัฐบาลคนใหม่อย่าง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” จะสามารถ “เคลียร์” ในหมู่คนกันเองภายในพรรคให้เข้าใจกันได้แค่ไหน เพราะเกมนี้ถือว่า “เสี่ยงวงแตก” ไม่เบาเหมือนกัน !!.
นอกจากนี้ยังมี พาณิชย์ คมนาคม ซึ่งถือว่าเป็นกระทรวงหลักระดับเกรดเอก็ยอมสละให้กับพรรคร่วมรัฐบาลและกลุ่มการเมืองที่ย้ายขั้วมาสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ
เรียกได้ว่ายอมถอยบางส่วนเพื่อรักษาเป้าหมายสำคัญเอาไว้
อย่างไรก็ดีถ้าพิจารณาในแง่ของยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ยังควบคุมเอาไว้อย่างมั่นคง นั่นคือ กระทรวงการคลัง ที่วางตัวระดับ “ขุนพล” หลัก อย่าง กรณ์ จาติกวณิช เพื่อทำงานให้สอดประสานกับ นายกรัฐมนตรีที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมโดยตรง
ขณะเดียวกัน ในด้านการต่างประเทศที่ถือว่าเป็นหน่วยงานที่ต้องสร้างภาพลักษณ์ในสายตานานาชาติก็จัดวาง กษิต ภิรมย์ นักการทูตมืออาชีพที่ในวงการรู้จักและเชื่อมือกันมานานเข้าไปดูแล และยิ่งในวาระพิเศษที่ประเทศไทยจะต้องรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปีหน้า รวมทั้งมีกำหนดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในต้นปี ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพื่อเรียกความเชื่อมั่น
นอกจากนั้นยังมี กระทรวงยุติธรรม ที่ต้องดูแลคดีสำคัญ ศึกษาธิการ สาธารณสุข รวมทั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ดูแลสื่อของรัฐ เป็นต้น
ทุกหน่วยงานดังกล่าว หากพิจารณาในแง่ของยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งในและต่างประเทศ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งยวด และสอดคล้องกับกระแสของโลกยุคใหม่ ยุคโลกาภิวัฒน์ ทั้งสิ้น
ส่วนกระทรวงกลาโหมก็ประนีประนอมกับฝ่ายกองทัพด้วยการยอมเปิดทางให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ที่มี “สายสัมพันธ์ที่ดี” กับบรรดาบิ๊กๆ เพื่อลดความหวาดระแวงและลดแรงกระเพื่อมได้อย่างลงตัว
หากโฟกัสในระดับสากลแล้ว กระทรวงหลักๆในคณะรัฐบาลที่ต้องถูกจับจ้องมากที่สุด ก็จะหนีไม่พ้น กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม
ดังนั้น หากพิจารณาโดยสรุปแล้วถือว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำยอมเสียสละกระทรวงสำคัญอย่าง กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย ยอมยกให้พรรคร่วมรัฐบาล หรือ “กลุ่มเพื่อนเนวิน” เข้ามาดูแลนั้น ทางหนึ่งนอกจากเป็นการ “ซื้อใจ” กันแบบเต็มที่แล้ว อีกทางหนึ่งยังเป็นการลดแรงเสียดทานทางการเมือง ไม่ให้ตกเป็นเป้าโดยตรง
และที่สำคัญในวันที่ 11 มกราคมปีหน้าจะต้องมีรายการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ชุดใหญ่ ซึ่งมีผลสำคัญต่อสถานะของรัฐบาลผสม และรับรู้กันอยู่แล้วว่าส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือกับอีสานเป็นหลัก
และในเงื่อนไขด้านระยะเวลาอันจำกัด หากปล่อยให้กลุ่มเพื่อนเนวินลงไปชนในพื้นที่ “สีแดง” แยกสลายเครือข่ายระบอบทักษิณ มันก็น่าจะเหมาะสม วินวินกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่หรือ
แต่นาทีนี้ทั้งหลายทั้งปวงมันก็ขึ้นอยู่กับว่า ผู้จัดการรัฐบาลคนใหม่อย่าง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” จะสามารถ “เคลียร์” ในหมู่คนกันเองภายในพรรคให้เข้าใจกันได้แค่ไหน เพราะเกมนี้ถือว่า “เสี่ยงวงแตก” ไม่เบาเหมือนกัน !!.