ก่อนอื่นผมขอแสดงความยินดีกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่กำลังจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี คุณหมออรรถสิทธิ์และครอบครัวเวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์ และคนไทยที่อยากยุติระบอบทักษิณ
ผมเองก็โล่งอกไปเปลาะหนึ่ง เหมือนเมื่อกองทัพยึดอำนาจขับไล่รัฐบาลทักษิณออกไป 19 กันยายน 2549 คนที่ต่อต้านรัฐประหารมาตลอดชีวิตอย่างผม คงจะรู้สึกอะไรมากกว่านั้นไม่ได้
ครั้งนี้ก็เหมือนกัน การแย่งอำนาจรัฐคืนจากระบอบทักษิณ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ผมก็ยอมทั้งสิ้น แต่เป็นการยอมชั่วคราว เพื่อคอยดูว่า เขาจะรู้จักเป็นประชาธิปไตย โดยการนำภาคประชาชนเข้ามาผนึกกำลังอย่างเข้มแข็ง เป็นการเมืองที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ผมไม่อาจคิดได้ว่า การตั้งรัฐบาลของอภิสิทธิ์ครั้งนี้เป็นไปตามครรลองรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย แต่ผมหวังว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์จะไม่ผิดพลาดเหมือนกับคมช. ที่หวงและสงวนอำนาจไว้ในหมู่ทหารและบริวารเท่านั้น ซ้ำยังขาดความตั้งใจและไร้ความสามารถที่จะปกป้องสถาบันกษัตริย์ สร้างหรือปูทางไปสู่ราชประชาสมาสัยหรือระบอบการเมืองที่ประชาชนกับกษัตริย์มีส่วนร่วมพึ่งกันและกันอย่างจริงจัง
ผมทำนายในวันที่ 24 ตุลาคม 2549 เพียง 5 วันหลังการรัฐประหารว่า คมช.จะทำให้ระบอบทักษิณชนะได้กลับมาอีก ผมว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่มีทางเลือก อภิสิทธิ์จะต้องไม่ยอมให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้เป็นอันขาด
ผมศึกษาการเมืองไทยมากว่า 50 ปี เชื่อว่า ความชั่วร้ายมิได้มาจากประชาชน แต่มาจากนักการเมือง ทหาร ข้าราชการ สื่อ และนักวิชาการ ลดหลั่นกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคการเมืองชั่วคราว และแก๊งเลือกตั้งที่ผูกขาดอำนาจการเมือง โดยอาศัยนักเลือกตั้งไม่ถึงหนึ่งพันคนที่พร้อมจะเฮโล “ชนะไหน เข้าด้วย ช่วยกระพือ เหมือนกระสือ ฝูงห่า ลงหากิน”
พรรคการเมืองทุกพรรค หัวหน้าตั้งหรือตั้งเพื่อหัวหน้า เป็นแก๊งแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า” ทั้งสิ้น ชีวิตของพรรคขึ้นอยู่กับอำนาจวาสนาของหัวหน้า เมื่อหัวหน้าสิ้น พรรคก็สิ้น พวกสัมภเวสีก็เร่ร่อนสัญจรต่อไป
ผมจึงตั้งกฎว่า พรรคหัวหน้าตั้งไม่ยั่งยืน “ความชั่วคราว” จึงทำให้เมืองไทยต้องตกเป็นเหยื่อด้วย พรรคชั่วคราวมีลักษณะมูมมาม แย่งกันกินแย่งกันใหญ่ ไม่มีจริยธรรมศีลธรรมใดๆ ทั้งสิ้น
พรรคเดียวที่ไม่มีหัวหน้าตั้ง คือ พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็เป็นพรรคเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งเป็นแก๊งเลือกตั้ง อดีตหัวหน้าพรรคท่านหนึ่งสารภาพกับผมว่า ยังมองไม่เห็นทางแก้ สมาชิกแก๊งเลือกตั้งประชาธิปัตย์ก็มูมมามเหมือนแก๊งเลือกตั้งอื่นๆ ทั่วไป บางครั้งก็ทำให้รัฐบาลล่ม เช่น กรณีที่ดิน สปก. ในสมัยชวน 1 เป็นต้น
ทางเลือกที่อภิสิทธิ์ในฐานะผู้นำรุ่นใหม่ไม่มีทางหลีกเลี่ยง คือ การสร้างพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นพรรคการเมืองที่แท้จริง เลิกเป็นแก๊งเลือกตั้ง
การที่อภิสิทธิ์ต้องพึ่งแก๊งเลือกตั้งขึ้นมาสู่ตำแหน่งหรือ ทั้ง เนวิน สนั่น บรรหาร สมศักดิ์ ฯลฯ อภิสิทธิ์จะมีทางเลือกหรือที่จะไม่ตอบแทนบุญคุณคนพวกนี้หรือ นอกจากนั้นก็มีกลุ่มธุรกิจ แม้กระทั่งคิงส์พาวเวอร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มเอ็มลิ้งก์ และแกน ตท. 6-10 ของประวิตร-อนุพงษ์ การเมืองน้ำแบบกงจักรกวนน้ำเน่าจะต้องแผลงฤทธิ์เป็นวิกฤตหลักและปัญหาสำคัญของการเมืองไทย ต่อไป
หากผมอยากจะอธิษฐานขอให้สิบปีต่อจากปีใหม่นี้เป็นต้นไป เป็นสิบปีที่ดีที่สุดสำหรับเมืองไทย สำหรับพระเจ้าอยู่หัว สำหรับประชาชนที่รักสามัคคี ช่วยกันสร้างความสุขให้แก่ตน แก่สังคม และประเทศชาติ ผมและท่านผู้อ่านมีสิทธิจะขอจากอภิสิทธิ์ได้หรือไม่
อภิสิทธิ์อายุน้อยยังไม่ถึง 45 ปี สุขภาพดี ความรู้สูง จากสถาบันชั้นนำของโลก มีบุคลิกเฉลียวฉลาด ไม่เคยด่างพร้อยว่าขี้หลักมักได้หรือคดโกง ถ้าประชาชนพากันเอาใจช่วย และเรียกร้องให้อภิสิทธิ์นำพาประเทศไทยออกจากระบอบทักษิณ ปูหนทางไปสู่ราชประชาสมาสัย หรือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ศานติสุขและเสรีภาพเป็นที่อิจฉาของชาวโลก ทำสิบปีให้เป็นสิบปีที่ดีที่สุดของอภิสิทธิ์ สิบปีที่ดีที่สุดขอพระเจ้าอยู่หัว สิบปีที่ดีที่สุดของพี่น้องชาวไทย อภิสิทธิ์จะเห็นแก่ตัว เห็นแก่พรรค จนกระทั่งปฏิเสธคำขอของประวัติศาสตร์และชาติบ้านเมืองเชียวหรือ
ผมเองไม่แน่ใจว่า อภิสิทธิ์จะอยู่ได้นานสักเท่าไร การเกิดของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถ้าจะเทียบกับการได้มาซึ่งอำนาจของพรรคไทยรักไทยครั้งที่ 2 ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบไป ด้วยข้อหาว่าเข้าสู่อำนาจรัฐโดยวิธีการนอกครรลองของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนั้น น่าจะไม่ห่างไกลกันสักเท่าไร
ความชอบธรรมสำหรับผู้ครองอำนาจแผ่นดินนั้น ขึ้นอยู่ที่ (1) มาชอบ (2) อยู่(หรือปฏิบัติหน้าที่) ชอบ และ (3) ไปชอบ
สิ่งที่เผชิญหน้าอภิสิทธิ์อยู่ ณ วันนี้ คือข้อ (2) และ ข้อ (3) มิใช่ข้อ (1) สังคมที่มักง่าย ลืมง่าย และขี้เกียจคิดอย่างสังคมไทย อาจจะไม่มีใครตั้งแง่กับอภิสิทธิ์ในข้อ (1) เลยก็ได้
ปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศไม่ใช่ปัญหาเศรษฐกิจหรือปัญหาต่างประเทศ แต่เป็นปัญหาของการเมือง อภิสิทธิ์จะต้องเลือกข้างระหว่างแดงกับเหลือง ระหว่างระบอบทักษิณกับระบอบกษัตริย์ประชาธิปไตย มิใช่เอาผ้าขาวมาผูก ยืนอยู่ตรงกลาง
ผมว่า 7 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งและการต่อสู้ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรทุกอย่างของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ทุน และสินทรัพย์ต่างๆ ตลอดจนงบประมาณและโครงการอันอาจจะนำมาซึ่งทุน และแม้กระทั่งทรัพยากรมนุษย์ในระบบราชการหรือมวลชน ไม่ว่ารากหญ้าหรือชนชั้นกลาง เพื่อจะนำมาใช้เป็นกำลังและต้นทุนในการโค่นล้มสถาปนาหรือรักษาระบอบที่ต่อสู้กัน
นี่เป็นเรื่องรีบด่วนที่นายกรัฐมนตรีจะต้องเข้าใจ เพราะนายกรัฐมนตรีจะต้องนำพาประชาชน กองทัพ และระบบราชการเลือกข้างและเลือกระบบการเมืองอย่างเด็ดขาดจะแจ้งและเข้าใจว่าความเสียหายที่เกิดจากรัฐบาลร่างทรงของระบอบทักษิณนั้น แพร่ขยายและรุนแรงจนเกือบไม่น่าเชื่อ
อภิสิทธิ์ไม่มีทางเลือก นอกจากจะต้องรีบทำระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้เป็นจริง โดยรีบจัดการเรื่องต่อไปนี้
1. ป้องกัน ปราบปราม ขุดรากถอนโคน กิจกรรมที่เป็นการบั่นทอนทำลายสถาบันฯ ทุกรูปแบบทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคและท้องถิ่นที่นักการเมืองระดับชาติ ข้าราชการส่วนภูมิภาค ตำรวจ และพนักงานการปกครองท้องถิ่น สถานีวิทยุชุมชน หอประกาศข่าว ได้ร่วมมือกันเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
2. ให้ความรู้และการศึกษานักเรียน ข้าราชการ พระภิกษุสงฆ์ และประชาชนทั่วไปให้เข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทั้งในและนอกประเทศ ที่เป็นแบบอย่างของความเป็นธรรม เสรีภาพ และความสมบูรณ์พูนสุขของประชาชน
3. ส่งเสริม ปรับปรุง และปฏิรูปองค์กรและสถาบันที่รับใช้พระมหา กษัตริย์ เช่น สำนักราชเลขาธิการ คณะองคมนตรี ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตำรวจทหารที่ต้องถวายอารักขาและความปลอดภัย ให้มีความทันสมัย เป็นที่เลื่อมใสของประชาชน ไม่เป็นแหล่งหรือตกเป็นข่าวลือในทางที่จะเสื่อมเสียหรือเข้าใจผิดถึงองค์พระมหากษัตริย์และราชวงศ์
4. ทำให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวในภาคปฏิบัติ อาศัยประชาธิปไตยอังกฤษเป็นแบบ โดย (1) นายกฯ เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายรายงาน รับคำแนะนำ ตักเตือน ให้กำลังใจจากในหลวง โดยไม่ต้องมีการจดบันทึกหรือเปิดเผย ทั้งนี้จะเป็นสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ต่อครั้งแล้วแต่จะทรงโปรดฯ แต่ต้องมีกำหนดหมายที่แน่นอนเป็นประจำ (2) ถวายพระราชอำนาจส่วนพระองค์และพระราชอำนาจพิเศษ (Personal Powers and Royal Prerogatives) ตามหลักรัฐธรรมนูญหรือจารีตประชาธิปไตยที่มีอยู่ ไม่มากหรือไม่น้อยไปกว่ารัฐบาลอังกฤษ
5. นายกรัฐมนตรีไปตอบคำถามในสภาผู้แทนราษฎรสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ณ วันที่กำหนดไว้แน่นอนเป็นประจำ คำถามนี้มิใช่กระทู้ทั่วไปตามแบบไทยที่ขาดความหมายไปมาก แต่เป็นแบบเดียวกับ Prime Minister’s Questions ของอังกฤษซึ่งอภิสิทธิ์รู้เรื่องดี และรู้พอที่จะอธิบายให้สภาฯ กับประชาชนฟังว่านี่เป็นราชประชาสมาสัยแบบหนึ่ง คือการที่นายกฯ ทำตามปฏิญาณที่ให้ไว้กับพระมหากษัตริย์ หรือที่พระมหากษัตริย์อ่านในสภาฯ เพื่อทำหน้าที่มิให้ตกหล่นหรือตกอยู่ในความประมาท และเพื่อให้ปวงราษฎรรับทราบตลอดว่ารัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทำอะไร
ทางเลือกหรือทางที่อภิสิทธิ์จะต้องไม่เลือกในการบริหารราชการแผ่นดิน และทางการเมืองยังมีอยู่อีกมาก เราจะพูดกันในตอนต่อไป
ผมเองก็โล่งอกไปเปลาะหนึ่ง เหมือนเมื่อกองทัพยึดอำนาจขับไล่รัฐบาลทักษิณออกไป 19 กันยายน 2549 คนที่ต่อต้านรัฐประหารมาตลอดชีวิตอย่างผม คงจะรู้สึกอะไรมากกว่านั้นไม่ได้
ครั้งนี้ก็เหมือนกัน การแย่งอำนาจรัฐคืนจากระบอบทักษิณ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ผมก็ยอมทั้งสิ้น แต่เป็นการยอมชั่วคราว เพื่อคอยดูว่า เขาจะรู้จักเป็นประชาธิปไตย โดยการนำภาคประชาชนเข้ามาผนึกกำลังอย่างเข้มแข็ง เป็นการเมืองที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ผมไม่อาจคิดได้ว่า การตั้งรัฐบาลของอภิสิทธิ์ครั้งนี้เป็นไปตามครรลองรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย แต่ผมหวังว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์จะไม่ผิดพลาดเหมือนกับคมช. ที่หวงและสงวนอำนาจไว้ในหมู่ทหารและบริวารเท่านั้น ซ้ำยังขาดความตั้งใจและไร้ความสามารถที่จะปกป้องสถาบันกษัตริย์ สร้างหรือปูทางไปสู่ราชประชาสมาสัยหรือระบอบการเมืองที่ประชาชนกับกษัตริย์มีส่วนร่วมพึ่งกันและกันอย่างจริงจัง
ผมทำนายในวันที่ 24 ตุลาคม 2549 เพียง 5 วันหลังการรัฐประหารว่า คมช.จะทำให้ระบอบทักษิณชนะได้กลับมาอีก ผมว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่มีทางเลือก อภิสิทธิ์จะต้องไม่ยอมให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้เป็นอันขาด
ผมศึกษาการเมืองไทยมากว่า 50 ปี เชื่อว่า ความชั่วร้ายมิได้มาจากประชาชน แต่มาจากนักการเมือง ทหาร ข้าราชการ สื่อ และนักวิชาการ ลดหลั่นกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคการเมืองชั่วคราว และแก๊งเลือกตั้งที่ผูกขาดอำนาจการเมือง โดยอาศัยนักเลือกตั้งไม่ถึงหนึ่งพันคนที่พร้อมจะเฮโล “ชนะไหน เข้าด้วย ช่วยกระพือ เหมือนกระสือ ฝูงห่า ลงหากิน”
พรรคการเมืองทุกพรรค หัวหน้าตั้งหรือตั้งเพื่อหัวหน้า เป็นแก๊งแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า” ทั้งสิ้น ชีวิตของพรรคขึ้นอยู่กับอำนาจวาสนาของหัวหน้า เมื่อหัวหน้าสิ้น พรรคก็สิ้น พวกสัมภเวสีก็เร่ร่อนสัญจรต่อไป
ผมจึงตั้งกฎว่า พรรคหัวหน้าตั้งไม่ยั่งยืน “ความชั่วคราว” จึงทำให้เมืองไทยต้องตกเป็นเหยื่อด้วย พรรคชั่วคราวมีลักษณะมูมมาม แย่งกันกินแย่งกันใหญ่ ไม่มีจริยธรรมศีลธรรมใดๆ ทั้งสิ้น
พรรคเดียวที่ไม่มีหัวหน้าตั้ง คือ พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็เป็นพรรคเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งเป็นแก๊งเลือกตั้ง อดีตหัวหน้าพรรคท่านหนึ่งสารภาพกับผมว่า ยังมองไม่เห็นทางแก้ สมาชิกแก๊งเลือกตั้งประชาธิปัตย์ก็มูมมามเหมือนแก๊งเลือกตั้งอื่นๆ ทั่วไป บางครั้งก็ทำให้รัฐบาลล่ม เช่น กรณีที่ดิน สปก. ในสมัยชวน 1 เป็นต้น
ทางเลือกที่อภิสิทธิ์ในฐานะผู้นำรุ่นใหม่ไม่มีทางหลีกเลี่ยง คือ การสร้างพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นพรรคการเมืองที่แท้จริง เลิกเป็นแก๊งเลือกตั้ง
การที่อภิสิทธิ์ต้องพึ่งแก๊งเลือกตั้งขึ้นมาสู่ตำแหน่งหรือ ทั้ง เนวิน สนั่น บรรหาร สมศักดิ์ ฯลฯ อภิสิทธิ์จะมีทางเลือกหรือที่จะไม่ตอบแทนบุญคุณคนพวกนี้หรือ นอกจากนั้นก็มีกลุ่มธุรกิจ แม้กระทั่งคิงส์พาวเวอร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มเอ็มลิ้งก์ และแกน ตท. 6-10 ของประวิตร-อนุพงษ์ การเมืองน้ำแบบกงจักรกวนน้ำเน่าจะต้องแผลงฤทธิ์เป็นวิกฤตหลักและปัญหาสำคัญของการเมืองไทย ต่อไป
หากผมอยากจะอธิษฐานขอให้สิบปีต่อจากปีใหม่นี้เป็นต้นไป เป็นสิบปีที่ดีที่สุดสำหรับเมืองไทย สำหรับพระเจ้าอยู่หัว สำหรับประชาชนที่รักสามัคคี ช่วยกันสร้างความสุขให้แก่ตน แก่สังคม และประเทศชาติ ผมและท่านผู้อ่านมีสิทธิจะขอจากอภิสิทธิ์ได้หรือไม่
อภิสิทธิ์อายุน้อยยังไม่ถึง 45 ปี สุขภาพดี ความรู้สูง จากสถาบันชั้นนำของโลก มีบุคลิกเฉลียวฉลาด ไม่เคยด่างพร้อยว่าขี้หลักมักได้หรือคดโกง ถ้าประชาชนพากันเอาใจช่วย และเรียกร้องให้อภิสิทธิ์นำพาประเทศไทยออกจากระบอบทักษิณ ปูหนทางไปสู่ราชประชาสมาสัย หรือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ศานติสุขและเสรีภาพเป็นที่อิจฉาของชาวโลก ทำสิบปีให้เป็นสิบปีที่ดีที่สุดของอภิสิทธิ์ สิบปีที่ดีที่สุดขอพระเจ้าอยู่หัว สิบปีที่ดีที่สุดของพี่น้องชาวไทย อภิสิทธิ์จะเห็นแก่ตัว เห็นแก่พรรค จนกระทั่งปฏิเสธคำขอของประวัติศาสตร์และชาติบ้านเมืองเชียวหรือ
ผมเองไม่แน่ใจว่า อภิสิทธิ์จะอยู่ได้นานสักเท่าไร การเกิดของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถ้าจะเทียบกับการได้มาซึ่งอำนาจของพรรคไทยรักไทยครั้งที่ 2 ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบไป ด้วยข้อหาว่าเข้าสู่อำนาจรัฐโดยวิธีการนอกครรลองของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนั้น น่าจะไม่ห่างไกลกันสักเท่าไร
ความชอบธรรมสำหรับผู้ครองอำนาจแผ่นดินนั้น ขึ้นอยู่ที่ (1) มาชอบ (2) อยู่(หรือปฏิบัติหน้าที่) ชอบ และ (3) ไปชอบ
สิ่งที่เผชิญหน้าอภิสิทธิ์อยู่ ณ วันนี้ คือข้อ (2) และ ข้อ (3) มิใช่ข้อ (1) สังคมที่มักง่าย ลืมง่าย และขี้เกียจคิดอย่างสังคมไทย อาจจะไม่มีใครตั้งแง่กับอภิสิทธิ์ในข้อ (1) เลยก็ได้
ปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศไม่ใช่ปัญหาเศรษฐกิจหรือปัญหาต่างประเทศ แต่เป็นปัญหาของการเมือง อภิสิทธิ์จะต้องเลือกข้างระหว่างแดงกับเหลือง ระหว่างระบอบทักษิณกับระบอบกษัตริย์ประชาธิปไตย มิใช่เอาผ้าขาวมาผูก ยืนอยู่ตรงกลาง
ผมว่า 7 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งและการต่อสู้ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรทุกอย่างของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ทุน และสินทรัพย์ต่างๆ ตลอดจนงบประมาณและโครงการอันอาจจะนำมาซึ่งทุน และแม้กระทั่งทรัพยากรมนุษย์ในระบบราชการหรือมวลชน ไม่ว่ารากหญ้าหรือชนชั้นกลาง เพื่อจะนำมาใช้เป็นกำลังและต้นทุนในการโค่นล้มสถาปนาหรือรักษาระบอบที่ต่อสู้กัน
นี่เป็นเรื่องรีบด่วนที่นายกรัฐมนตรีจะต้องเข้าใจ เพราะนายกรัฐมนตรีจะต้องนำพาประชาชน กองทัพ และระบบราชการเลือกข้างและเลือกระบบการเมืองอย่างเด็ดขาดจะแจ้งและเข้าใจว่าความเสียหายที่เกิดจากรัฐบาลร่างทรงของระบอบทักษิณนั้น แพร่ขยายและรุนแรงจนเกือบไม่น่าเชื่อ
อภิสิทธิ์ไม่มีทางเลือก นอกจากจะต้องรีบทำระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้เป็นจริง โดยรีบจัดการเรื่องต่อไปนี้
1. ป้องกัน ปราบปราม ขุดรากถอนโคน กิจกรรมที่เป็นการบั่นทอนทำลายสถาบันฯ ทุกรูปแบบทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคและท้องถิ่นที่นักการเมืองระดับชาติ ข้าราชการส่วนภูมิภาค ตำรวจ และพนักงานการปกครองท้องถิ่น สถานีวิทยุชุมชน หอประกาศข่าว ได้ร่วมมือกันเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
2. ให้ความรู้และการศึกษานักเรียน ข้าราชการ พระภิกษุสงฆ์ และประชาชนทั่วไปให้เข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทั้งในและนอกประเทศ ที่เป็นแบบอย่างของความเป็นธรรม เสรีภาพ และความสมบูรณ์พูนสุขของประชาชน
3. ส่งเสริม ปรับปรุง และปฏิรูปองค์กรและสถาบันที่รับใช้พระมหา กษัตริย์ เช่น สำนักราชเลขาธิการ คณะองคมนตรี ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตำรวจทหารที่ต้องถวายอารักขาและความปลอดภัย ให้มีความทันสมัย เป็นที่เลื่อมใสของประชาชน ไม่เป็นแหล่งหรือตกเป็นข่าวลือในทางที่จะเสื่อมเสียหรือเข้าใจผิดถึงองค์พระมหากษัตริย์และราชวงศ์
4. ทำให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวในภาคปฏิบัติ อาศัยประชาธิปไตยอังกฤษเป็นแบบ โดย (1) นายกฯ เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายรายงาน รับคำแนะนำ ตักเตือน ให้กำลังใจจากในหลวง โดยไม่ต้องมีการจดบันทึกหรือเปิดเผย ทั้งนี้จะเป็นสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ต่อครั้งแล้วแต่จะทรงโปรดฯ แต่ต้องมีกำหนดหมายที่แน่นอนเป็นประจำ (2) ถวายพระราชอำนาจส่วนพระองค์และพระราชอำนาจพิเศษ (Personal Powers and Royal Prerogatives) ตามหลักรัฐธรรมนูญหรือจารีตประชาธิปไตยที่มีอยู่ ไม่มากหรือไม่น้อยไปกว่ารัฐบาลอังกฤษ
5. นายกรัฐมนตรีไปตอบคำถามในสภาผู้แทนราษฎรสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ณ วันที่กำหนดไว้แน่นอนเป็นประจำ คำถามนี้มิใช่กระทู้ทั่วไปตามแบบไทยที่ขาดความหมายไปมาก แต่เป็นแบบเดียวกับ Prime Minister’s Questions ของอังกฤษซึ่งอภิสิทธิ์รู้เรื่องดี และรู้พอที่จะอธิบายให้สภาฯ กับประชาชนฟังว่านี่เป็นราชประชาสมาสัยแบบหนึ่ง คือการที่นายกฯ ทำตามปฏิญาณที่ให้ไว้กับพระมหากษัตริย์ หรือที่พระมหากษัตริย์อ่านในสภาฯ เพื่อทำหน้าที่มิให้ตกหล่นหรือตกอยู่ในความประมาท และเพื่อให้ปวงราษฎรรับทราบตลอดว่ารัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทำอะไร
ทางเลือกหรือทางที่อภิสิทธิ์จะต้องไม่เลือกในการบริหารราชการแผ่นดิน และทางการเมืองยังมีอยู่อีกมาก เราจะพูดกันในตอนต่อไป