เอเอฟพี – หกประเทศอาเซียนเร่งลงนามในข้อตกลงการค้า 3 ฉบับเมื่อวานนี้(16)ที่สิงคโปร์ ซึ่งจะเปิดทางให้ภูมิภาคแถบนี้มีการบูรณาการกันเป็นตลาดหนึ่งเดียวตามเวลาที่กำหนดไว้ หลังจากการประชุมระดับผู้นำต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นต้นปีหน้า เพราะความไม่พร้อมของประเทศไทยผู้เป็นเจ้าภาพ
รัฐมนตรีเศรษฐกิจจาก 6 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, สิงคโปร์, และมาเลเซีย ได้ลงนามในข้อตกลง 3 ฉบับที่ครอบคลุมเรื่องการค้าสินค้า, การลงทุน และภาคบริการ
“ข้อตกลงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งกระบวนการบูรณาการทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป จึงทำให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนตกลงหารือกันที่สิงคโปร์เพื่อลงนามและให้สัญญาเหล่านี้บังคับใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” รัฐมนตรีการค้ามาเลเซีย มุคห์ยิดดิน ยัซซินกล่าว
ข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับที่ลงนามกันที่สิงคโปร์วานนี้ เดิมกำหนดกันไว้ว่าสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ชาติจะลงนามโดยพร้อมเพรียงกันในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนประจำปีที่จะจัดขึ้นในประเทศไทยกลางเดือนนี้ แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมือง จึงทำให้ไทยประกาศเลื่อนการประชุมซัมมิตนี้ออกไปเป็นเดือนมีนาคมปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ภายหลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศ ทางกระทรวงต่างประเทศของไทยก็ประกาศว่าจะจัดให้มีการประชุมระดับผู้นำของอาเซียนในวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2008
“บรรดารัฐมนตรีเศรษฐกิจทั้งหลายเห็นว่ากระบวนการบูรณาการอาเซียนจำจะต้องเดินหน้าต่อไป” โดยเฉพาะการลงนามในข้อตกลงด้านการค้า เพราะไม่สามารถรอไปได้จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ ลิมฮึงเกียงกล่าว
“เรารู้สึกเราควรจะหารือกัน ลงนามและเดินหน้าตามที่ได้วางแผนไว้ เพราะว่าหากเราเลื่อนทุกอย่างไปจนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ เราก็เสียเวลาไปอีกถึงสองเดือน” ลิมแจงและบอกอีกว่าการลงนามในสัญญานี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตรุนแรง
เท่าที่ผ่านมาอาเซียนสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มาก แต่ปัญหาการขาดแคลนสินเชื่อที่ลุกลามไปทั่วโลกจะทำให้ระดับของเงินทุนโดยตรงไหลเข้าจะลดลงเรื่อย ๆในช่วงสองปีข้างหน้า “และหากว่าอาเซียนไม่สามารถจะแสดงศักยภาพอื่นเพื่อดึงดูดเงินลงทุนเข้ามาได้อีก ผมก็คิดว่าเราจะเสียโอกาสนี้ไปตลอด” ลิมกล่าว
รัฐมนตรีการค้าอินโดนีเซีย มารี ปังเกสตู ก็ออกมาเน้นว่าความต้องการของอาเซียนที่จะทำให้ประเทศสมาชิกมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นขึ้นในช่วงที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับเศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรง
“ดิฉันคิดว่าจากมุมมองของอาเซียน มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องแสดงให้เห็นว่าไม่มีสิ่งใดมาหน่วงเหนี่ยวความก้าวหน้าของการบูรณาการกันเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้” มารีกล่าว
ข้อตกลง 3 ฉบับที่ลงนามกันคราวนี้ เป็นข้อตกลงเพื่อเปิดเสรีการค้าในภาคบริการ และการให้ผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุน ขณะที่ข้อตกลงเรื่องเปิดเสรีการค้าตัวสินค้า กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรที่เก็บจากสินค้าของชาติสมาชิกด้วยกันลงเหลือระหว่าง 0- 5% โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของอาเซียนที่จะสถาปนาเขตตลาดและฐานอุตสาหกรรมที่เป็นหนึ่งเดียวขึ้นมาภายในปี 2015
นอกเหนือจาก 6 ประเทศที่ลงนามไปแล้ว อีก 4 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหลืออยู่ ได้แก่ เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ไทย, และพม่า มีกำหนดที่จะเซ็นข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับนี้ในเวลาต่อไป ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่หลายๆ ราย
รัฐมนตรีเศรษฐกิจจาก 6 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, สิงคโปร์, และมาเลเซีย ได้ลงนามในข้อตกลง 3 ฉบับที่ครอบคลุมเรื่องการค้าสินค้า, การลงทุน และภาคบริการ
“ข้อตกลงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งกระบวนการบูรณาการทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป จึงทำให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนตกลงหารือกันที่สิงคโปร์เพื่อลงนามและให้สัญญาเหล่านี้บังคับใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” รัฐมนตรีการค้ามาเลเซีย มุคห์ยิดดิน ยัซซินกล่าว
ข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับที่ลงนามกันที่สิงคโปร์วานนี้ เดิมกำหนดกันไว้ว่าสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ชาติจะลงนามโดยพร้อมเพรียงกันในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนประจำปีที่จะจัดขึ้นในประเทศไทยกลางเดือนนี้ แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมือง จึงทำให้ไทยประกาศเลื่อนการประชุมซัมมิตนี้ออกไปเป็นเดือนมีนาคมปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ภายหลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศ ทางกระทรวงต่างประเทศของไทยก็ประกาศว่าจะจัดให้มีการประชุมระดับผู้นำของอาเซียนในวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2008
“บรรดารัฐมนตรีเศรษฐกิจทั้งหลายเห็นว่ากระบวนการบูรณาการอาเซียนจำจะต้องเดินหน้าต่อไป” โดยเฉพาะการลงนามในข้อตกลงด้านการค้า เพราะไม่สามารถรอไปได้จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ ลิมฮึงเกียงกล่าว
“เรารู้สึกเราควรจะหารือกัน ลงนามและเดินหน้าตามที่ได้วางแผนไว้ เพราะว่าหากเราเลื่อนทุกอย่างไปจนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ เราก็เสียเวลาไปอีกถึงสองเดือน” ลิมแจงและบอกอีกว่าการลงนามในสัญญานี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตรุนแรง
เท่าที่ผ่านมาอาเซียนสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มาก แต่ปัญหาการขาดแคลนสินเชื่อที่ลุกลามไปทั่วโลกจะทำให้ระดับของเงินทุนโดยตรงไหลเข้าจะลดลงเรื่อย ๆในช่วงสองปีข้างหน้า “และหากว่าอาเซียนไม่สามารถจะแสดงศักยภาพอื่นเพื่อดึงดูดเงินลงทุนเข้ามาได้อีก ผมก็คิดว่าเราจะเสียโอกาสนี้ไปตลอด” ลิมกล่าว
รัฐมนตรีการค้าอินโดนีเซีย มารี ปังเกสตู ก็ออกมาเน้นว่าความต้องการของอาเซียนที่จะทำให้ประเทศสมาชิกมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นขึ้นในช่วงที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับเศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรง
“ดิฉันคิดว่าจากมุมมองของอาเซียน มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องแสดงให้เห็นว่าไม่มีสิ่งใดมาหน่วงเหนี่ยวความก้าวหน้าของการบูรณาการกันเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้” มารีกล่าว
ข้อตกลง 3 ฉบับที่ลงนามกันคราวนี้ เป็นข้อตกลงเพื่อเปิดเสรีการค้าในภาคบริการ และการให้ผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุน ขณะที่ข้อตกลงเรื่องเปิดเสรีการค้าตัวสินค้า กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรที่เก็บจากสินค้าของชาติสมาชิกด้วยกันลงเหลือระหว่าง 0- 5% โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของอาเซียนที่จะสถาปนาเขตตลาดและฐานอุตสาหกรรมที่เป็นหนึ่งเดียวขึ้นมาภายในปี 2015
นอกเหนือจาก 6 ประเทศที่ลงนามไปแล้ว อีก 4 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหลืออยู่ ได้แก่ เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ไทย, และพม่า มีกำหนดที่จะเซ็นข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับนี้ในเวลาต่อไป ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่หลายๆ ราย