รอยเตอร์ – บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมอาเซียนพบปะกันที่กรุงจาการ์ตาวานนี้ (15) เพื่อประกาศการเริ่มบังคับใช้ “กฎบัตรอาเซียน” ซึ่งจะเป็นกรอบโครงทางกฎหมายสำหรับประชาคมที่มีสมาชิกราว 500 ล้านคนแห่งนี้ ทว่าความหวังที่จะทำให้อาเซียนพัฒนาไปสู่กลุ่มประชาคมในแบบเดียวกับสหภาพยุโรป ยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก และความผันผวนทางการเมืองในหมู่ประเทศสมาชิก
สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งถูกวิจารณ์เรื่อยมาว่าเป็นตาเวทีพูดคุยเท่านั้น ได้มีการลงนามในกฎบัตรอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2007 เพื่อเป็นกรอบโครงทางกฎหมาย รองรับเป้าหมายที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้สำเร็จภายในปี 2015 หลังจากนั้นแต่ละประเทศสมาชิกก็ได้ทยอยกันให้สัตยาบันจนครบทั้งหมดทั้ง 10 ชาติ
จอร์จ เหยียว รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ กล่าววานนี้ว่าอันตรายอย่างหนึ่งก็คือภูมิภาคอาเซียนอาจเผชิญกับแรงกดดันจากลัทธิกีดกันทางการค้า เขาบอกว่า “เป็นความจริงที่ว่าขณะนี้ทุกประเทศพบว่าลัทธิกีดกันทางการค้ามีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือจะต้องคิดเรื่องการค้าโดยใช้กระบวนการที่จะตอบโต้กับแรงกดดันของลัทธิกีดกันทางการค้าด้วย”
ส่วนนักวิเคราะห์เห็นว่า การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎบัตรดังกล่าว กำลังเผชิญกับปัญหายุ่งยากหลายประการ สืบเนื่องจากภูมิภาคอาเซียนนั้นมีความหลากหลายและมีประชากรรวมถึง 560 ล้านคน ดังที่เอริโก ตานูวิดจาจา นักเศรษฐศาสตร์แห่งธนาคารโอซีบีซีในสิงคโปร์กล่าวว่า “สำหรับช่วงเวลาในขณะนี้ จะเป็นดีกว่าถ้าเราเลื่อนการเจรจาและการเตรียมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจออกไปก่อน เพราะเรื่องสำคัญกว่าในตอนนี้ก็คือ สมาชิกอาเซียนจะสนับสนนซึ่งกันและกันอย่างไรเพื่อให้พ้นจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมีความเสียหายน้อยที่สุด”
ฮัสซัน วิราจุดา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่าอาเซียนควรรีบจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังกียในเดือนมกราคม โดยอาจจะเป็นที่บาหลี เพื่อที่จะคุยกันในเรื่องการขยาย “แผนการริเริ่มเชียงใหม่” (Chiang Mai Initiative) อันเป็นเครือข่ายข้อตกลงสว็อปสกุลเงินมูลค่ารวม 118,000 ล้านดอลลาร์ระหว่างกลุ่มอาเซียนกับ 3 ประเทศคู่เจรจาคือจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
นอกจากนั้น มารี ปันเกสตู รัฐมนตรีการค้าของอินโดนีเซีย เห็นว่าควรมีการลงนามในข้อตกลงการค้าในส่วนของสินค้า บริการ และการลงทุนในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่สิงคโปร์ในวันนี้(16) แต่ควรเลื่อนการลงนามในข้อตกลงการค้าระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และอินเดียออกไปจนกว่าจะถึงการประชุมสุดยอดอาเซียนในต้นปีหน้า
ทั้งนี้ ในขณะที่สหภาพยุโรปและกลุ่มข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) เป็นการรวมกลุ่มทางการค้าที่เข้มแข็ง แต่กลุ่มอาเซียนนั้นนับว่ายังตามหลังอยู่อีกไกล เพราะแม้แต่การประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งเดิมกำหนดให้มีขึ้นในการประชุมระดับผู้นำที่เชียงใหม่ในเดือนนี้ ก็มีอันต้องเลื่อนออกไป หลังจากที่เกิดวิกฤตทางการเมืองในไทย และทำให้อินโดนีเซียต้องเข้ามารับช่วงเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศแทน อย่างไรก็ตาม สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ระบุว่าการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนในไทยน่าจะมีขึ้นได้ในระหว่างวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2009
สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งถูกวิจารณ์เรื่อยมาว่าเป็นตาเวทีพูดคุยเท่านั้น ได้มีการลงนามในกฎบัตรอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2007 เพื่อเป็นกรอบโครงทางกฎหมาย รองรับเป้าหมายที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้สำเร็จภายในปี 2015 หลังจากนั้นแต่ละประเทศสมาชิกก็ได้ทยอยกันให้สัตยาบันจนครบทั้งหมดทั้ง 10 ชาติ
จอร์จ เหยียว รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ กล่าววานนี้ว่าอันตรายอย่างหนึ่งก็คือภูมิภาคอาเซียนอาจเผชิญกับแรงกดดันจากลัทธิกีดกันทางการค้า เขาบอกว่า “เป็นความจริงที่ว่าขณะนี้ทุกประเทศพบว่าลัทธิกีดกันทางการค้ามีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือจะต้องคิดเรื่องการค้าโดยใช้กระบวนการที่จะตอบโต้กับแรงกดดันของลัทธิกีดกันทางการค้าด้วย”
ส่วนนักวิเคราะห์เห็นว่า การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎบัตรดังกล่าว กำลังเผชิญกับปัญหายุ่งยากหลายประการ สืบเนื่องจากภูมิภาคอาเซียนนั้นมีความหลากหลายและมีประชากรรวมถึง 560 ล้านคน ดังที่เอริโก ตานูวิดจาจา นักเศรษฐศาสตร์แห่งธนาคารโอซีบีซีในสิงคโปร์กล่าวว่า “สำหรับช่วงเวลาในขณะนี้ จะเป็นดีกว่าถ้าเราเลื่อนการเจรจาและการเตรียมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจออกไปก่อน เพราะเรื่องสำคัญกว่าในตอนนี้ก็คือ สมาชิกอาเซียนจะสนับสนนซึ่งกันและกันอย่างไรเพื่อให้พ้นจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมีความเสียหายน้อยที่สุด”
ฮัสซัน วิราจุดา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่าอาเซียนควรรีบจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังกียในเดือนมกราคม โดยอาจจะเป็นที่บาหลี เพื่อที่จะคุยกันในเรื่องการขยาย “แผนการริเริ่มเชียงใหม่” (Chiang Mai Initiative) อันเป็นเครือข่ายข้อตกลงสว็อปสกุลเงินมูลค่ารวม 118,000 ล้านดอลลาร์ระหว่างกลุ่มอาเซียนกับ 3 ประเทศคู่เจรจาคือจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
นอกจากนั้น มารี ปันเกสตู รัฐมนตรีการค้าของอินโดนีเซีย เห็นว่าควรมีการลงนามในข้อตกลงการค้าในส่วนของสินค้า บริการ และการลงทุนในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่สิงคโปร์ในวันนี้(16) แต่ควรเลื่อนการลงนามในข้อตกลงการค้าระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และอินเดียออกไปจนกว่าจะถึงการประชุมสุดยอดอาเซียนในต้นปีหน้า
ทั้งนี้ ในขณะที่สหภาพยุโรปและกลุ่มข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) เป็นการรวมกลุ่มทางการค้าที่เข้มแข็ง แต่กลุ่มอาเซียนนั้นนับว่ายังตามหลังอยู่อีกไกล เพราะแม้แต่การประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งเดิมกำหนดให้มีขึ้นในการประชุมระดับผู้นำที่เชียงใหม่ในเดือนนี้ ก็มีอันต้องเลื่อนออกไป หลังจากที่เกิดวิกฤตทางการเมืองในไทย และทำให้อินโดนีเซียต้องเข้ามารับช่วงเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศแทน อย่างไรก็ตาม สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ระบุว่าการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนในไทยน่าจะมีขึ้นได้ในระหว่างวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2009