เอเอฟพี – รายงานที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ของรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุชัดเจนว่าความพยายามเท่าที่ผ่านมาในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก ต้องเผชิญทั้งศึกชิงอำนาจระหว่างหน่วยราชการต่างๆ , ความรุนแรงจากสงคราม, ตลอดจนการขาดความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานของสังคมอิรัก จนทำให้เงินงบประมาณที่ใช้จ่ายไปแล้วถึงราว 100,000 ล้านดอลลาร์ ได้ผลงานที่อยู่ในสภาพพิกลพิการและล้มเหลว ทั้งนี้ตามรายงานที่ปรากฏในเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์คืนวันเสาร์(13)
นิวยอร์กไทมส์บอกว่าได้รับสำเนาของรายงานความยาว 513 หน้าของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งบันทึกประวัติความเป็นมาในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก โดยที่รายงานซึ่งยังเป็นฉบับร่างนี้ ได้ถูกแจกจ่ายในวงแคบๆ เฉพาะพวกทำหน้าที่ให้คำวิจารณ์เชิงเทคนิค, ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบาย, และเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส
เอกสารชิ้นนี้มีตอนหนึ่งบอกว่า อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอลิน พาวเวลล์ ได้ร้องอุทธรณ์ภายหลังการรุกรานอิรักเมื่อปี 2003 ว่า กระทรวงกลาโหมอเมริกัน “ยังคงประดิษฐ์ตัวเลขกองกำลังรักษาความมั่นคงปลอดภัยของอิรักอยู่อย่างไม่ยอมเลิก – จำนวนจะกระโจนเพิ่มพรวดถึงสัปดาห์ละ 20,000 คน! ตอนนี้เรามี 80,000 คนแล้ว, ตอนนี้เรามี 100,000 คนแล้ว, ตอนนี้เรามี 120,000 คนแล้ว”
รายงานกล่าวด้วยว่า ข้อสรุปที่สำคัญๆ ของประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้ก็คือ รัฐบาลสหรัฐฯไม่ได้มีทั้งนโยบายหรือโครงสร้างทางองค์กรที่จำเป็นเอาเสียเลย เพื่อที่จะทำหน้าที่ดำเนินโครงการฟื้นฟูบูรณะเช่นนี้ ซึ่งมีขนาดใหญ่โตมหึมาที่สุดนับแต่แผนการมาร์แชล ในยุโรปยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้นมา
เมื่อมองโดยองค์รวมแล้ว เอกสารนี้สรุปว่า ความพยายามบูรณะเหล่านี้ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าการฟื้นฟูสิ่งที่ถูกทำลายไปในระหว่างการรุกราน ตลอดจนการฉกชิงปล้นสะดมอย่างกว้างขวางที่เกิดขึ้นภายหลังจากนั้นเท่านั้นเอง
นิวยอร์กไทมส์บอกว่า เอกสารนี้กล่าวว่า นับถึงกลางปี 2008 ได้มีการใช้เงินไปในการฟื้นฟูบูรณะอิรักแล้ว 117,000 ล้านดอลลาร์ โดยในจำนวนนี้ราว 50,000 ล้านดอลลาร์ เป็นเงินงบประมาณของสหรัฐฯ ซึ่งก็คือเงินจากผู้เสียภาษีชาวอเมริกัน
ในรายงานของนิวยอร์กไทมส์ มีการยกตัวอย่างกรณีหนึ่งจากเอกสารนี้ที่เล่าไว้ว่า ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (ยูเสด) ถูกสั่งให้ใช้เวลาภายใน 4 ชั่วโมง เพื่อตัดสินวินิจฉัยว่าถนนหนทางในอิรักที่จำเป็นต้องซ่อมแซมและเปิดใช้ขึ้นมาใหม่นั้น มีระยะทางเท่าใดกันแน่ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นใช้วิธีหาข้อมูลเอาจากห้องสมุดอ้างอิงของทางยูเสด แล้วประมาณการที่ได้มาด้วยวิธีนี้ของเขาก็ถูกบรรจุไว้ในแผนแม่บทฟื้นฟูบูรณะกันเลย โดยไม่มีการตรวจสอบอีก
นิวยอร์กไทมส์บอกว่าได้รับสำเนาของรายงานความยาว 513 หน้าของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งบันทึกประวัติความเป็นมาในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก โดยที่รายงานซึ่งยังเป็นฉบับร่างนี้ ได้ถูกแจกจ่ายในวงแคบๆ เฉพาะพวกทำหน้าที่ให้คำวิจารณ์เชิงเทคนิค, ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบาย, และเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส
เอกสารชิ้นนี้มีตอนหนึ่งบอกว่า อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอลิน พาวเวลล์ ได้ร้องอุทธรณ์ภายหลังการรุกรานอิรักเมื่อปี 2003 ว่า กระทรวงกลาโหมอเมริกัน “ยังคงประดิษฐ์ตัวเลขกองกำลังรักษาความมั่นคงปลอดภัยของอิรักอยู่อย่างไม่ยอมเลิก – จำนวนจะกระโจนเพิ่มพรวดถึงสัปดาห์ละ 20,000 คน! ตอนนี้เรามี 80,000 คนแล้ว, ตอนนี้เรามี 100,000 คนแล้ว, ตอนนี้เรามี 120,000 คนแล้ว”
รายงานกล่าวด้วยว่า ข้อสรุปที่สำคัญๆ ของประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้ก็คือ รัฐบาลสหรัฐฯไม่ได้มีทั้งนโยบายหรือโครงสร้างทางองค์กรที่จำเป็นเอาเสียเลย เพื่อที่จะทำหน้าที่ดำเนินโครงการฟื้นฟูบูรณะเช่นนี้ ซึ่งมีขนาดใหญ่โตมหึมาที่สุดนับแต่แผนการมาร์แชล ในยุโรปยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้นมา
เมื่อมองโดยองค์รวมแล้ว เอกสารนี้สรุปว่า ความพยายามบูรณะเหล่านี้ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าการฟื้นฟูสิ่งที่ถูกทำลายไปในระหว่างการรุกราน ตลอดจนการฉกชิงปล้นสะดมอย่างกว้างขวางที่เกิดขึ้นภายหลังจากนั้นเท่านั้นเอง
นิวยอร์กไทมส์บอกว่า เอกสารนี้กล่าวว่า นับถึงกลางปี 2008 ได้มีการใช้เงินไปในการฟื้นฟูบูรณะอิรักแล้ว 117,000 ล้านดอลลาร์ โดยในจำนวนนี้ราว 50,000 ล้านดอลลาร์ เป็นเงินงบประมาณของสหรัฐฯ ซึ่งก็คือเงินจากผู้เสียภาษีชาวอเมริกัน
ในรายงานของนิวยอร์กไทมส์ มีการยกตัวอย่างกรณีหนึ่งจากเอกสารนี้ที่เล่าไว้ว่า ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (ยูเสด) ถูกสั่งให้ใช้เวลาภายใน 4 ชั่วโมง เพื่อตัดสินวินิจฉัยว่าถนนหนทางในอิรักที่จำเป็นต้องซ่อมแซมและเปิดใช้ขึ้นมาใหม่นั้น มีระยะทางเท่าใดกันแน่ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นใช้วิธีหาข้อมูลเอาจากห้องสมุดอ้างอิงของทางยูเสด แล้วประมาณการที่ได้มาด้วยวิธีนี้ของเขาก็ถูกบรรจุไว้ในแผนแม่บทฟื้นฟูบูรณะกันเลย โดยไม่มีการตรวจสอบอีก