เอเอฟพี - หลายประเทศในยุโรปและเอเชียพากันเก็บผลิตภัณฑ์เนื้อหมูไอริชออกจากตลาดเมื่อวานนี้(8) ท่ามกลางความหวาดผวาว่าอาจมีส่วนผสมของสารก่อมะเร็ง โดยที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบของไอร์แลนด์เอง ระบุว่าผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนสารไดออกซินเหล่านี้ อาจส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ ถึง 25 ประเทศทั่วโลกแล้ว
ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, และเกาหลีใต้ต่างพากันสั่งห้ามสินค้าเนื้อสุกรนำเข้าจากไอร์แลนด์ หลังจากทางการดับลินเองออกคำสั่งให้เก็บผลิตภัณฑ์เหล่านี้จากตลาดภายในประเทศ เนื่องจากตรวจพบสารไดออกซินในหมูหลายตัวที่ถูกฆ่าชำแหละ โดยเข้าใจกันว่าหมูเหล่านี้ได้กินอาหารสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีก่อมะเร็งตัวนี้เข้าไป
สัตวแพทย์ใหญ่ของไอร์แลนด์ แพดดี โรแกน กล่าวผ่านสื่อในไอร์แลนด์ในวันอาทิตย์(7)ว่า "เราเชื่อว่ามีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ราว 20-25 ประเทศ แต่ไม่เกิน 30 ประเทศแน่นอน"
ก่อนหน้านี้ ในวันเสาร์ (6) คณะรัฐมนตรีของไอร์แลนด์ได้สั่งให้เก็บเนื้อสุกรออกจากชั้นวางจำหน่ายในประเทศทั้งหมด
การเรียกคืนสินค้าในครั้งนี้ ยังรวมไปถึงเนื้อสุกรแปรรูปต่างๆ ที่ผลิตตั้งแต่ 1 กันยายนเป็นต้นมาด้วย คำสั่งเช่นนี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ชาวไอริช เพราะหลายครอบครัวได้ซื้อหาหมูแฮมเก็บสำรองไว้สำหรับเทศกาลคริสต์มาสที่กำลังจะมาถึงแล้ว
ทั้งนี้ ไอร์แลนด์เป็นประเทศส่งออกเนื้อสุกรรายใหญ่แห่งหนึ่ง โดยมีตลาดหลักคืออังกฤษ ตามมาด้วยเยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย และญี่ปุ่น และยังรวมถึงจีนกับฮ่องกงอีกด้วย
ทางการไอร์แลนด์และเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังสืบสวนหาแหล่งที่มาของอาหารสัตว์ปนเปื้อนดังกล่าว ซึ่งคาดว่าอาจเป็นโรงงานแห่งหนึ่งของบริษัทมิลสตรีม เพาเวอร์ รีไซคลิงจำกัด ใกล้กับเมืองเฟนาก ในเขตคาร์โลว์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอร์แลนด์
เดวิด เคอร์แตง โฆษกของบริษัทระบุว่าสิ่งที่ทางการกำลังตรวจสอบอยู่ในขณะนี้คือน้ำมันที่ใช้ในเครื่องจักรสำหรับอบขนมปังเก่าที่เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ เขากล่าวด้วยว่า บริษัทไม่ได้เติมน้ำมันหรือสารอื่นใดลงไปในอาหารในระหว่างกระบวนการผลิต
นายกรัฐมนตรีไบรอัน โคเวนได้พยายามระงับสถานการณ์ในครั้งนี้โดยบอกว่ารัฐบาลจำเป็นต้อง "ใช้มาตรการทุกอย่างที่จำเป็น" ในการสร้างความมั่นใจให้กับอุตสาหกรรมแขนงนี้ในอนาคต และกล่าวอีกว่า
"เราพบต้นตอของปัญหาแล้ว ขณะนี้กำลังตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน และเราจะต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในหมู่สาธารณชน แต่แน่นอนว่าเราจะทำให้อุตสาหกรรมแขนงนี้เดินหน้าต่อไปได้นับจากจุดนี้"
วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ยังเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจถดถอยของไอร์แลนด์ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเนื้อสุกรราว 5,000 คน โดยเมื่อปีที่แล้วไอร์แลนด์มียอดการส่งออกเนื้อสุกร 129,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 368 ล้านยูโร (468 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ชาวไอริชเองก็ได้รับข้อมูลจากทางการให้หยุดการบริโภคเนื้อสุกรที่เลี้ยงในประเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องไม่ว่าจะเป็นเบคอน ไส้กรอก สเต๊ก เครื่องใน ซาลามี แฮม ตลอดจนขนมพุดดิ้ง
ซูเปอร์มาร์เก็ตในไอร์แลนด์ก็สั่งเก็บผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเนื้อสุกรออกจากชั้นจำหน่ายแล้วเช่นกัน ส่วนที่อังกฤษ เวทโรสซึ่งเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายเนื้อสุกรจากไอร์แลนด์ก็ได้หยุดวางจำหน่ายสินค้า หลังจากทางการออกประกาศเตือนผู้บริโภคในอังกฤษว่าไม่ควรบริโภคเนื้อสุกรจากไอร์แลนด์และไอร์แลนด์เหนือ
ที่เยอรมนีก็มีการเก็บสินค้าดังกล่าวออกจากชั้นจำหน่ายเช่นกัน ทว่าในฝรั่งเศสและเบลเยียมยังพบว่ามีการจำหน่ายเนื้อสุกรปนเปื้อนอยู่ ส่วนรัฐบาลสวีเดนได้ประกาศเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสุกรปนเปื้อนนี้จนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้
ด้านคณะกรรมาธิการยุโรปก็ประกาศว่ากำลังจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และบอกว่าผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ที่อาจสั่งซื้อเนื้อสุกรปนเปื้อนไปแล้วจะประชุมหารือกันในวันอังคาร (9)
ทั้งนี้ สารไดออกซินเป็นสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งยังก่อให้เกิดมะเร็งด้วย หากได้รับสารนี้ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
อลัน ไรล์ลี รองผู้อำนวยการใหญ่องค์การความปลอดภัยอาหารของไอร์แลนด์ กล่าวว่าในเนื้อสุกรตัวอย่างได้พบสารไดออกซินสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดระหว่าง 80-200 เท่าตัว ทว่าความเสี่ยงยังถือว่าต่ำมากๆ เพราะจะต้องกินผลิตภัณฑ์ที่มีสารเหล่านี้ไปถึง 40 ปีจึงจะแสดงสัญญาณการเจ็บป่วยใดๆ ออกมา
ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, และเกาหลีใต้ต่างพากันสั่งห้ามสินค้าเนื้อสุกรนำเข้าจากไอร์แลนด์ หลังจากทางการดับลินเองออกคำสั่งให้เก็บผลิตภัณฑ์เหล่านี้จากตลาดภายในประเทศ เนื่องจากตรวจพบสารไดออกซินในหมูหลายตัวที่ถูกฆ่าชำแหละ โดยเข้าใจกันว่าหมูเหล่านี้ได้กินอาหารสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีก่อมะเร็งตัวนี้เข้าไป
สัตวแพทย์ใหญ่ของไอร์แลนด์ แพดดี โรแกน กล่าวผ่านสื่อในไอร์แลนด์ในวันอาทิตย์(7)ว่า "เราเชื่อว่ามีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ราว 20-25 ประเทศ แต่ไม่เกิน 30 ประเทศแน่นอน"
ก่อนหน้านี้ ในวันเสาร์ (6) คณะรัฐมนตรีของไอร์แลนด์ได้สั่งให้เก็บเนื้อสุกรออกจากชั้นวางจำหน่ายในประเทศทั้งหมด
การเรียกคืนสินค้าในครั้งนี้ ยังรวมไปถึงเนื้อสุกรแปรรูปต่างๆ ที่ผลิตตั้งแต่ 1 กันยายนเป็นต้นมาด้วย คำสั่งเช่นนี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ชาวไอริช เพราะหลายครอบครัวได้ซื้อหาหมูแฮมเก็บสำรองไว้สำหรับเทศกาลคริสต์มาสที่กำลังจะมาถึงแล้ว
ทั้งนี้ ไอร์แลนด์เป็นประเทศส่งออกเนื้อสุกรรายใหญ่แห่งหนึ่ง โดยมีตลาดหลักคืออังกฤษ ตามมาด้วยเยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย และญี่ปุ่น และยังรวมถึงจีนกับฮ่องกงอีกด้วย
ทางการไอร์แลนด์และเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังสืบสวนหาแหล่งที่มาของอาหารสัตว์ปนเปื้อนดังกล่าว ซึ่งคาดว่าอาจเป็นโรงงานแห่งหนึ่งของบริษัทมิลสตรีม เพาเวอร์ รีไซคลิงจำกัด ใกล้กับเมืองเฟนาก ในเขตคาร์โลว์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอร์แลนด์
เดวิด เคอร์แตง โฆษกของบริษัทระบุว่าสิ่งที่ทางการกำลังตรวจสอบอยู่ในขณะนี้คือน้ำมันที่ใช้ในเครื่องจักรสำหรับอบขนมปังเก่าที่เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ เขากล่าวด้วยว่า บริษัทไม่ได้เติมน้ำมันหรือสารอื่นใดลงไปในอาหารในระหว่างกระบวนการผลิต
นายกรัฐมนตรีไบรอัน โคเวนได้พยายามระงับสถานการณ์ในครั้งนี้โดยบอกว่ารัฐบาลจำเป็นต้อง "ใช้มาตรการทุกอย่างที่จำเป็น" ในการสร้างความมั่นใจให้กับอุตสาหกรรมแขนงนี้ในอนาคต และกล่าวอีกว่า
"เราพบต้นตอของปัญหาแล้ว ขณะนี้กำลังตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน และเราจะต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในหมู่สาธารณชน แต่แน่นอนว่าเราจะทำให้อุตสาหกรรมแขนงนี้เดินหน้าต่อไปได้นับจากจุดนี้"
วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ยังเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจถดถอยของไอร์แลนด์ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเนื้อสุกรราว 5,000 คน โดยเมื่อปีที่แล้วไอร์แลนด์มียอดการส่งออกเนื้อสุกร 129,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 368 ล้านยูโร (468 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ชาวไอริชเองก็ได้รับข้อมูลจากทางการให้หยุดการบริโภคเนื้อสุกรที่เลี้ยงในประเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องไม่ว่าจะเป็นเบคอน ไส้กรอก สเต๊ก เครื่องใน ซาลามี แฮม ตลอดจนขนมพุดดิ้ง
ซูเปอร์มาร์เก็ตในไอร์แลนด์ก็สั่งเก็บผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเนื้อสุกรออกจากชั้นจำหน่ายแล้วเช่นกัน ส่วนที่อังกฤษ เวทโรสซึ่งเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายเนื้อสุกรจากไอร์แลนด์ก็ได้หยุดวางจำหน่ายสินค้า หลังจากทางการออกประกาศเตือนผู้บริโภคในอังกฤษว่าไม่ควรบริโภคเนื้อสุกรจากไอร์แลนด์และไอร์แลนด์เหนือ
ที่เยอรมนีก็มีการเก็บสินค้าดังกล่าวออกจากชั้นจำหน่ายเช่นกัน ทว่าในฝรั่งเศสและเบลเยียมยังพบว่ามีการจำหน่ายเนื้อสุกรปนเปื้อนอยู่ ส่วนรัฐบาลสวีเดนได้ประกาศเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสุกรปนเปื้อนนี้จนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้
ด้านคณะกรรมาธิการยุโรปก็ประกาศว่ากำลังจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และบอกว่าผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ที่อาจสั่งซื้อเนื้อสุกรปนเปื้อนไปแล้วจะประชุมหารือกันในวันอังคาร (9)
ทั้งนี้ สารไดออกซินเป็นสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งยังก่อให้เกิดมะเร็งด้วย หากได้รับสารนี้ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
อลัน ไรล์ลี รองผู้อำนวยการใหญ่องค์การความปลอดภัยอาหารของไอร์แลนด์ กล่าวว่าในเนื้อสุกรตัวอย่างได้พบสารไดออกซินสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดระหว่าง 80-200 เท่าตัว ทว่าความเสี่ยงยังถือว่าต่ำมากๆ เพราะจะต้องกินผลิตภัณฑ์ที่มีสารเหล่านี้ไปถึง 40 ปีจึงจะแสดงสัญญาณการเจ็บป่วยใดๆ ออกมา