ความสุขของคนเราขึ้นกับความสุขของเพื่อนของเพื่อนของเพื่อน แม้ว่าเราอาจไม่รู้จักคนเหล่านั้นเลยก็ตาม และยังน่าแปลกที่เพื่อนบ้านที่ยิ้มแย้มแจ่มใสทำให้ใจคุณแช่มชื่นได้มากกว่าสภาพอารมณ์ของคนที่คุณอยู่ด้วย
ผลศึกษาใหม่จากการติดตามผลกลุ่มคนขนาดใหญ่มาถึง 20 ปี ฟันธงว่าความสุขติดต่อกันได้มากกว่าที่เคยคิดกัน
“ความสุขของคุณไม่ได้ขึ้นกับการเลือกหรือสิ่งที่คุณทำเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับการเลือกและการกระทำของคนอื่นซึ่งอาจเป็นคนที่คุณไม่รู้จักด้วยซ้ำ” ดร.นิโคลัส คริสเตกิส แพทย์และนักสังคมศาสตร์ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารบีเอ็มเจของอังกฤษเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5) กล่าว
เจมส์ ฟาวเลอร์ ผู้ร่วมจัดทำรายงานและผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ซานดิเอโก สำทับว่างานวิจัยชิ้นนี้พบว่า “ถ้าเพื่อนของเพื่อนของเพื่อนของคุณมีความสุข ความสุขนั้นจะมีอิทธิพลต่อความสุขของคุณมากกว่าตอนที่คุณได้เงินเพิ่ม 5,000 ดอลลาร์”
นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลความสุขของกลุ่มตัวอย่าง 4,739 คน รวมถึงความเชื่อมโยงของคนเหล่านี้กับคนอื่นๆ เช่น คู่ครอง ญาติ เพื่อนสนิท เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงาน ระหว่างปี 1983-2003
แดเนียล คาห์เนแมน นักจิตวิทยากิตตมิศักดิ์และเจ้าของรางวัลโนเบลจากพรินซ์ตัน ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงานฉบับนี้ กล่าวว่านี่เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ขณะที่นักสังคมศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนชื่นชมข้อมูลและการวิเคราะห์นี้เช่นกัน แต่ติงว่ามีข้อจำกัดบางอย่างในรายงาน
สตีเวน เดอร์ลอฟ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน, เมดิสัน ตั้งคำถามว่างานศึกษาชิ้นนี้พิสูจน์ได้หรือไม่ว่าคนเรามีความสุขเพราะการติดต่อทางสังคมหรือเพราะเหตุผลบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ด้านคาห์เนแมนกล่าวว่า นอกจากจะมีการทำซ้ำงานศึกษานี้ เขาจึงจะยอมรับว่าความสุขของคู่ครองมีความสำคัญน้อยกว่าความสุขของคนข้างบ้าน ขณะที่คริสเตกิสเชื่อว่า เงื่อนไขนี้บ่งชี้ว่าคนเรารับสัญญาณด้านอารมณ์จากคนเพศเดียวกัน
นอกจากนี้ งานศึกษาที่ตีพิมพ์ในบีเอ็มเจฉบับเดียวกันของอีธาน โคเฮน-โคล นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาบอสตัน และเจสัน ฟิตเชอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ของคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเยล ยังวิจารณ์วิธีวิจัยของคริสเตกิสและฟาวเลอร์ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะพบสิ่งที่ดูเหมือนปรากฏการณ์การติดต่อในสังคมคล้ายการเป็นสิวและอาการปวดศรีษะ แต่ปรากฏการณ์การติดต่อนั้นจะเสื่อมถอยลงเมื่อนักวิจัยพิจารณาปัจจัยแวดล้อมที่เพื่อนหรือเพื่อนบ้านมีร่วมกันร่วมด้วย
ขณะที่บทบรรณาธิการของบีเอ็มเจเกี่ยวกับงานศึกษาทั้งสองชิ้นนี้ระบุว่าผลงานของคริสเตกิส-ฟาวเลอร์เป็น ‘ปรากฏการณ์ใหม่ที่น่าตื่นเต้น’ แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์การมีอยู่และความเข้มข้นของความเกี่ยวโยงเหล่านี้
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยคู่นี้เคยเผยแพร่ผลการศึกษาหลายฉบับที่สรุปว่า โรคอ้วนและการเลิกสูบบุหรี่เป็นปรากฏการณ์ที่ติดต่อกันในสังคม
แต่การศึกษาเรื่องราวความสุขครั้งนี้ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันภาวะสูงวัยแห่งชาติของสหรัฐฯ ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในหลายๆ มุมมอง เนื่องจากดูเหมือนว่าความสุขจะเป็น ‘ข้อสรุปของสภาวะของแต่ละบุคคล’ จอห์น คาซิออปโป ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ทางสมองที่มีผลต่อสังคมและกระบวนการคิดของมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้ กล่าว
เกี่ยวกับปรากฏการณ์การอิจฉาริษยาเมื่อเพื่อนได้เลื่อนตำแหน่งหรือชนะการแข่งขันนั้น คริสเตกิสบอกว่าอาจมีบางคนที่เป็นทุกข์เมื่อเพื่อนมีความสุข แต่การศึกษาของเขาและฟาวเลอร์พบว่า มีคนที่มีความสุขกับเพื่อนมากกว่า
คาซิออปโปกล่าวถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า บ่งชี้ว่าสัญญาณในจิตใต้สำนึกของภาวะที่เป็นสุขมีอิทธิพลมากกว่าการรู้สึกถึงความสุขความพอใจ
“ผมอาจอิจฉาที่ได้รู้ว่าคนอื่นถูกล็อตเตอรี่ แต่คนเหล่านั้นกำลังมีความสุขและทำให้ผมเดินผ่านมาด้วยหัวใจพองโตกว่าเดิมโดยไม่รู้เลยว่าพวกเขาเป็นที่มาของความสุขของผม”
การส่งผ่านอารมณ์อาจอธิบายได้จากงานศึกษาอีกหลายชิ้น เช่น การศึกษาปรากฏการณ์โรคอ้วนและการเลิกบุหรี่ ซึ่งพบว่าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราอย่างมาก แต่ผลลัพธ์เกี่ยวกับความสุขจากเพื่อน พี่น้องหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงกลับมีมากกว่า
ความรื่นรมย์ของเพื่อนข้างบ้านทำให้คนเรามีความสุขเพิ่มขึ้น 34% แต่ไม่มีผลใดๆ หากเพื่อนบ้านที่อยู่คนละช่วงตึกมีความสุข เพื่อนที่อยู่ไกลออกไปครึ่งไมล์ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น 42% แต่ลดลงเกือบครึ่งหากเพื่อนอยู่ไกลออกไปสองไมล์ คริสเตกิสอธิบายว่า ความใกล้ชิดของระยะทางและการติดต่อเกี่ยวข้องมีผลกับเรื่องนี้
“ตอนแรกใครๆ ต่างคิดว่าเมื่อมีการประชุมทางจอภาพ คนจะเลิกบินครึ่งค่อนประเทศไปประชุมกัน แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะส่วนหนึ่งของการพัฒนาความไว้วางใจระหว่างกันและกันคือการสามารถสัมผัสกันได้”
อย่างไรก็ดี ทั้งคู่ยอมรับว่ายังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ที่สุดแล้วการสื่อสารผ่านอีเมลและเว็บแคมที่เพิ่มมากขึ้นจะผ่อนเพลาผลจากความห่างได้หรือไม่ โดยในการศึกษาอีกโครงการจากโปรไฟล์ของผู้ใช้เฟสบุ๊ก 1,700 คน พบว่าคนที่ถ่ายรูปยิ้มแย้มแจ่มใสจะมีเพื่อนในไซต์มากกว่า และเพื่อนเหล่านั้นก็มักยิ้มให้กล้องด้วยเช่นกัน
“นี่แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราค้นพบบางอย่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์เช่นกัน” คริสเตกิสกล่าว
การศึกษาในบีเอ็มเจใช้ข้อมูลจากการศึกษาสุขภาพหัวใจในฟรามิงแฮม แมสซาชูเสตส์ ที่เริ่มติดตามผลกลุ่มตัวอย่างหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และติดตามผลลูกและหลานของคนเหล่านี้ โดยเมื่อเริ่มต้นการศึกษาในปี 1983 กลุ่มตัวอย่างต้องกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะอารมณ์เป็นระยะๆ รวมถึงระบุรายชื่อสมาชิกครอบครัว เพื่อนสนิท ที่ทำงาน เพื่อให้นักวิจัยติดตามผลตลอดระยะเวลาการศึกษา
เครือข่ายญาติมิตรของกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากเป็นกลุ่มตัวอย่างในโครงการนี้เองด้วย ทำให้นักวิจัยมีความสัมพันธ์ทางสังคม 50,000 กรณีให้วิเคราะห์ ซึ่งพบว่าเมื่อคนเราเปลี่ยนจากทุกข์เป็นสุข คนที่อยู่ในเครือข่ายสังคมของคนๆ นั้นจะมีความสุขไปด้วย
ผลศึกษาใหม่จากการติดตามผลกลุ่มคนขนาดใหญ่มาถึง 20 ปี ฟันธงว่าความสุขติดต่อกันได้มากกว่าที่เคยคิดกัน
“ความสุขของคุณไม่ได้ขึ้นกับการเลือกหรือสิ่งที่คุณทำเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับการเลือกและการกระทำของคนอื่นซึ่งอาจเป็นคนที่คุณไม่รู้จักด้วยซ้ำ” ดร.นิโคลัส คริสเตกิส แพทย์และนักสังคมศาสตร์ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารบีเอ็มเจของอังกฤษเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5) กล่าว
เจมส์ ฟาวเลอร์ ผู้ร่วมจัดทำรายงานและผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ซานดิเอโก สำทับว่างานวิจัยชิ้นนี้พบว่า “ถ้าเพื่อนของเพื่อนของเพื่อนของคุณมีความสุข ความสุขนั้นจะมีอิทธิพลต่อความสุขของคุณมากกว่าตอนที่คุณได้เงินเพิ่ม 5,000 ดอลลาร์”
นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลความสุขของกลุ่มตัวอย่าง 4,739 คน รวมถึงความเชื่อมโยงของคนเหล่านี้กับคนอื่นๆ เช่น คู่ครอง ญาติ เพื่อนสนิท เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงาน ระหว่างปี 1983-2003
แดเนียล คาห์เนแมน นักจิตวิทยากิตตมิศักดิ์และเจ้าของรางวัลโนเบลจากพรินซ์ตัน ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงานฉบับนี้ กล่าวว่านี่เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ขณะที่นักสังคมศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนชื่นชมข้อมูลและการวิเคราะห์นี้เช่นกัน แต่ติงว่ามีข้อจำกัดบางอย่างในรายงาน
สตีเวน เดอร์ลอฟ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน, เมดิสัน ตั้งคำถามว่างานศึกษาชิ้นนี้พิสูจน์ได้หรือไม่ว่าคนเรามีความสุขเพราะการติดต่อทางสังคมหรือเพราะเหตุผลบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ด้านคาห์เนแมนกล่าวว่า นอกจากจะมีการทำซ้ำงานศึกษานี้ เขาจึงจะยอมรับว่าความสุขของคู่ครองมีความสำคัญน้อยกว่าความสุขของคนข้างบ้าน ขณะที่คริสเตกิสเชื่อว่า เงื่อนไขนี้บ่งชี้ว่าคนเรารับสัญญาณด้านอารมณ์จากคนเพศเดียวกัน
นอกจากนี้ งานศึกษาที่ตีพิมพ์ในบีเอ็มเจฉบับเดียวกันของอีธาน โคเฮน-โคล นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาบอสตัน และเจสัน ฟิตเชอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ของคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเยล ยังวิจารณ์วิธีวิจัยของคริสเตกิสและฟาวเลอร์ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะพบสิ่งที่ดูเหมือนปรากฏการณ์การติดต่อในสังคมคล้ายการเป็นสิวและอาการปวดศรีษะ แต่ปรากฏการณ์การติดต่อนั้นจะเสื่อมถอยลงเมื่อนักวิจัยพิจารณาปัจจัยแวดล้อมที่เพื่อนหรือเพื่อนบ้านมีร่วมกันร่วมด้วย
ขณะที่บทบรรณาธิการของบีเอ็มเจเกี่ยวกับงานศึกษาทั้งสองชิ้นนี้ระบุว่าผลงานของคริสเตกิส-ฟาวเลอร์เป็น ‘ปรากฏการณ์ใหม่ที่น่าตื่นเต้น’ แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์การมีอยู่และความเข้มข้นของความเกี่ยวโยงเหล่านี้
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยคู่นี้เคยเผยแพร่ผลการศึกษาหลายฉบับที่สรุปว่า โรคอ้วนและการเลิกสูบบุหรี่เป็นปรากฏการณ์ที่ติดต่อกันในสังคม
แต่การศึกษาเรื่องราวความสุขครั้งนี้ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันภาวะสูงวัยแห่งชาติของสหรัฐฯ ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในหลายๆ มุมมอง เนื่องจากดูเหมือนว่าความสุขจะเป็น ‘ข้อสรุปของสภาวะของแต่ละบุคคล’ จอห์น คาซิออปโป ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ทางสมองที่มีผลต่อสังคมและกระบวนการคิดของมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้ กล่าว
เกี่ยวกับปรากฏการณ์การอิจฉาริษยาเมื่อเพื่อนได้เลื่อนตำแหน่งหรือชนะการแข่งขันนั้น คริสเตกิสบอกว่าอาจมีบางคนที่เป็นทุกข์เมื่อเพื่อนมีความสุข แต่การศึกษาของเขาและฟาวเลอร์พบว่า มีคนที่มีความสุขกับเพื่อนมากกว่า
คาซิออปโปกล่าวถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า บ่งชี้ว่าสัญญาณในจิตใต้สำนึกของภาวะที่เป็นสุขมีอิทธิพลมากกว่าการรู้สึกถึงความสุขความพอใจ
“ผมอาจอิจฉาที่ได้รู้ว่าคนอื่นถูกล็อตเตอรี่ แต่คนเหล่านั้นกำลังมีความสุขและทำให้ผมเดินผ่านมาด้วยหัวใจพองโตกว่าเดิมโดยไม่รู้เลยว่าพวกเขาเป็นที่มาของความสุขของผม”
การส่งผ่านอารมณ์อาจอธิบายได้จากงานศึกษาอีกหลายชิ้น เช่น การศึกษาปรากฏการณ์โรคอ้วนและการเลิกบุหรี่ ซึ่งพบว่าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราอย่างมาก แต่ผลลัพธ์เกี่ยวกับความสุขจากเพื่อน พี่น้องหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงกลับมีมากกว่า
ความรื่นรมย์ของเพื่อนข้างบ้านทำให้คนเรามีความสุขเพิ่มขึ้น 34% แต่ไม่มีผลใดๆ หากเพื่อนบ้านที่อยู่คนละช่วงตึกมีความสุข เพื่อนที่อยู่ไกลออกไปครึ่งไมล์ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น 42% แต่ลดลงเกือบครึ่งหากเพื่อนอยู่ไกลออกไปสองไมล์ คริสเตกิสอธิบายว่า ความใกล้ชิดของระยะทางและการติดต่อเกี่ยวข้องมีผลกับเรื่องนี้
“ตอนแรกใครๆ ต่างคิดว่าเมื่อมีการประชุมทางจอภาพ คนจะเลิกบินครึ่งค่อนประเทศไปประชุมกัน แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะส่วนหนึ่งของการพัฒนาความไว้วางใจระหว่างกันและกันคือการสามารถสัมผัสกันได้”
อย่างไรก็ดี ทั้งคู่ยอมรับว่ายังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ที่สุดแล้วการสื่อสารผ่านอีเมลและเว็บแคมที่เพิ่มมากขึ้นจะผ่อนเพลาผลจากความห่างได้หรือไม่ โดยในการศึกษาอีกโครงการจากโปรไฟล์ของผู้ใช้เฟสบุ๊ก 1,700 คน พบว่าคนที่ถ่ายรูปยิ้มแย้มแจ่มใสจะมีเพื่อนในไซต์มากกว่า และเพื่อนเหล่านั้นก็มักยิ้มให้กล้องด้วยเช่นกัน
“นี่แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราค้นพบบางอย่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์เช่นกัน” คริสเตกิสกล่าว
การศึกษาในบีเอ็มเจใช้ข้อมูลจากการศึกษาสุขภาพหัวใจในฟรามิงแฮม แมสซาชูเสตส์ ที่เริ่มติดตามผลกลุ่มตัวอย่างหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และติดตามผลลูกและหลานของคนเหล่านี้ โดยเมื่อเริ่มต้นการศึกษาในปี 1983 กลุ่มตัวอย่างต้องกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะอารมณ์เป็นระยะๆ รวมถึงระบุรายชื่อสมาชิกครอบครัว เพื่อนสนิท ที่ทำงาน เพื่อให้นักวิจัยติดตามผลตลอดระยะเวลาการศึกษา
เครือข่ายญาติมิตรของกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากเป็นกลุ่มตัวอย่างในโครงการนี้เองด้วย ทำให้นักวิจัยมีความสัมพันธ์ทางสังคม 50,000 กรณีให้วิเคราะห์ ซึ่งพบว่าเมื่อคนเราเปลี่ยนจากทุกข์เป็นสุข คนที่อยู่ในเครือข่ายสังคมของคนๆ นั้นจะมีความสุขไปด้วย