คำว่า ดื้อ เป็นคำกริยา มีความหมายว่าไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนหรือปฏิเสธที่จะทำตามคำแนะนำใด
คำว่า ด้านเป็นคำขยายกริยาหรือกริยาวิเศษณ์ มีความหมายว่านิ่งเฉยหรือไม่แยแส เป็นทองไม่รู้ร้อน รวมไปถึงตะแบงในลักษณะเอาข้างเข้าถู ไม่คำนึงถึงความผิดถูกหรือเหตุผลใดๆ
เมื่อเอาคำสองคำมาอยู่วลีเดียวกัน ก็จะมีความหมายว่า ไม่ทำตาม ไม่เชื่อฟัง และแถมตะแบงข้างๆ คูๆ
เพราะฉะนั้นเมื่อมีการพูดว่าใครดื้อด้าน ก็หมายถึงพฤติกรรมในทางลบที่ผู้คนในสังคมไม่ต้องการคบค้าสมาคมด้วย
อะไรคือมูลเหตุให้คนดื้อด้าน และเมื่อเป็นคนดื้อด้านแล้วจะได้รับวิบากกรรมอย่างไร?
เกี่ยวกับประเด็นแห่งปัญหาที่ว่า อะไรคือมูลเหตุแห่งความดื้อด้าน ถ้าพิจารณาจากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว เกิดจากการที่บุคคลมีมานะ หรือมีความสำคัญว่าตนเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ซึ่งมีอยู่ 9 ประการดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
2. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
3. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
4. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
5. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
6. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
7. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
8. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
9. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
จากนัยแห่งมานะ 9 ประการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีเงื่อนไขหลักอยู่เพียง 3 ประการคือ เป็นผู้เลิศกว่าเขา เสมอเขา และเลวกว่าเขา และแบ่งเงื่อนไขออกเป็น 3 เงื่อนไข จากเงื่อนไขหลักแต่ละเงื่อนไข คือ เลิศกว่า เสมอ และเลวกว่า
ดังนั้น มานะ 9 ประการนี้มีเนื้อหาและสาระอยู่ที่การถือตัวถือ ตนเป็นศูนย์ในการคิดเพื่อการเปรียบเทียบกับผู้อื่นแล้วทำให้เกิดปมเด่นและปมด้อย ถ้าเป็นปมเด่นก็ทำให้มองไม่เห็นความสำคัญของผู้อื่น เป็นเหตุให้ยกตนข่มท่านได้ง่าย และในทางกลับกัน ถ้าเป็นปมด้อยก็ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ และไม่ยอมคบค้าคนอื่นอันเป็นเหตุให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม มูลเหตุที่ทำให้คนดื้อด้านก็อยู่ที่การถือว่าตนเองเลิศกว่าเขา และคนอื่นเลวกว่าตัวนั่นเอง
ตัวอย่างที่เห็นความดื้อด้านอันมีเหตุจูงใจมาจากการถือตัวถือตนในลักษณะนี้ได้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดในยุคนี้ ก็คือ นักการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองในระบอบทักษิณที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ได้แม้กระทั่งบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ที่คนทั้งโลกที่อยู่ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยยอมรับว่าเป็นที่พึ่งในด้านความยุติธรรม เพียงเพราะไม่ตัดสินเข้าข้างตัวเอง และพวกพ้องเท่านั้น
ส่วนประเด็นว่า คนดื้อด้านจะได้รับวิบากกรรมอย่างไรนั้นดูได้ไม่ยาก เพียงแต่ย้อนไปดูพฤติกรรมนักการเมืองในระดับผู้นำทางการเมืองในช่วงที่การเมืองในระบอบทักษิณเฟื่องฟู และแสวงหาประโยชน์โดยไม่เกรงกฎหมาย และไม่เคยคิดถึงการมีหิริและโอตตัปปะ และได้ถูกกระบวนการยุติธรรมตัดสินให้ต้องรับโทษและต้องกลายเป็นคนหนีคุกระเหเร่ร่อนอยู่ต่างแดน ก็พอจะเข้าใจได้ว่านี่คือผลของความเป็นคนดื้อด้าน
ในทุกยุคทุกสมัยที่มีนักการเมืองดื้อด้านก็เกิดปรากฏการณ์เป็นพฤติกรรมทางสังคมในหมู่ข้าราชการประจำขึ้นมาประเภทหนึ่ง นั่นก็คือ การสอพลอเอาใจนายเพื่อหาประโยชน์จากการเป็นคนดื้อด้าน บ้าอำนาจ กล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่คนปกติทั่วไปไม่กล้าทำนั่นคือ ให้ผลตอบแทนแก่บรรดาข้าราชการสอพลอทั้งในรูปแบบของเงินทอง ด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เป็นพิเศษสองขั้นโดยไม่ต้องดูผลงาน แต่ให้เพราะถูกอกถูกใจในคำยกยอปอปั้น หรือการยอมทำในสิ่งที่สั่งให้ทำโดยไม่โต้แย้ง แม้กระทั่งในสิ่งที่ผิดและก่อความเสียหายแก่ประเทศอันเป็นส่วนรวม ข้าราชการประเภทนี้จะได้ดิบได้ดีในยุคที่นักการเมืองดื้อด้านครองเมือง
ทำไมคนจึงชอบการยกยอปอปั้น ทั้งๆ ที่ปกติแล้วคนที่ยกยอเพื่อต้องการผลประโยชน์แลกเปลี่ยนสังเกตได้ไม่ยาก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนจะเป็น พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อกล แก้ทุกข์ อธิบายขยายความคำว่า ยกยอ กับ ยกย่อง ไว้ว่า ยกยอ คือการพูดเพื่อหวังผลตอบแทนจากคนที่เขายกยอ เปรียบเหมือนเครื่องจับปลาชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ยอ เมื่อต้องการจับปลาเขาก็แช่ลงในน้ำที่มีปลาว่ายผ่าน และเมื่อปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็ยกขึ้นมาและจะมีปลาติดขึ้นมาด้วย และคำว่ายกยอน่าจะมาจากคำนี้ คือ การพูดเพื่อหวังประโยชน์ในทำนองเดียวกับยกยอขึ้นจากน้ำเพื่อเอาปลามากินนั่นเอง
ส่วน ยกย่อง เป็นการพูดในสิ่งที่มีอยู่จริงในบุคคลคนนั้นโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เพียงเพราะต้องการให้ผู้คนในสังคมได้รู้ความดีที่คนนั้นมีอยู่เท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงสรุปได้ว่า ถ้าท่านไม่มีอะไรจะยกย่องใครก็อย่ายกย่องใครเพื่อหวังผลประโยชน์ ตรงกันข้ามถ้าท่านมองไม่เห็นความดีที่ควรยกย่อง แต่มองเห็นความผิดพลาดบกพร่องที่ควรจะได้รับการแก้ไขก็ควรอย่างยิ่งที่จะชี้ให้เขาเห็นความผิดนั้น พร้อมกับเสนอแนวทางแก้ไขเป็นการติเพื่อก่อ ย่อมดีกว่ายกยอเพื่อหวังผลประโยชน์เป็นเครื่องตอบแทนการยกยอนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคล 2 ประเภทเป็นองค์ประกอบในการดำเนินงาน
สองประเภทที่ว่านี้ก็คือ
1. ผู้ชี้ความผิดต้องมีเจตนาดีและมีเมตตาเป็นที่ตั้ง ในการตักเตือนด้วยหวังให้ผู้ถูกตักเตือนแก้ไขความผิดนั้นเพื่อผลประโยชน์ของตัวเขาเองเป็นที่ตั้ง
2. ผู้ถูกตักเตือนต้องเป็นคนเปิดกว้างยอมรับฟังคนอื่น ในลักษณะผู้ชี้ให้เห็นความผิดเป็นเสมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้
ถ้าไม่มีบุคคล 2 ประเภทนี้เป็นองค์ประกอบแล้ว การยึดถือแนวทางที่ว่านี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางตรงกันข้ามอาจก่อให้เกิดโทษแก่ผู้ตักเตือนได้ด้วย
แต่เท่าที่ผ่านมา ถ้าสังเกตจากนักการเมืองที่ดื้อด้านและข้าราชการที่ชอบสอพลอแล้ว เชื่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ายากที่จะนำแนวคิดทำนองนี้มาแก้ไขได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่ทำผิดพลาดและบกพร่อง ยังไม่เคยแสดงให้เห็นว่ารู้ว่าตนเองผิด
2. ทุกครั้งที่ผู้คนในสังคมออกมาบอกว่า ผิดจะตอบโต้อย่างทันทีว่าไม่จริง และที่จริงนั้นคือถูกกลั่นแกล้ง ดังที่เกิดขึ้นในกรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย หรือแม้ในกรณีที่ตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา ก็ทำนองเดียวกัน
3. นอกจากมองไม่เห็นความผิดของตัวเอง และออกมาตอบโต้ตามข้อ 2 แล้ว ทั้งนักการเมืองดื้อด้าน และข้าราชการสอพลอได้รวมหัวกันหาแพะรับบาป เช่น กลุ่มพันธมิตรฯ ที่ออกมาพูดถึงความผิดของตัวเองว่าเป็นตัวเหตุที่ทำให้เกิดความผิดพลาด และก่อความเสียหายทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองด้วย
คำว่า ด้านเป็นคำขยายกริยาหรือกริยาวิเศษณ์ มีความหมายว่านิ่งเฉยหรือไม่แยแส เป็นทองไม่รู้ร้อน รวมไปถึงตะแบงในลักษณะเอาข้างเข้าถู ไม่คำนึงถึงความผิดถูกหรือเหตุผลใดๆ
เมื่อเอาคำสองคำมาอยู่วลีเดียวกัน ก็จะมีความหมายว่า ไม่ทำตาม ไม่เชื่อฟัง และแถมตะแบงข้างๆ คูๆ
เพราะฉะนั้นเมื่อมีการพูดว่าใครดื้อด้าน ก็หมายถึงพฤติกรรมในทางลบที่ผู้คนในสังคมไม่ต้องการคบค้าสมาคมด้วย
อะไรคือมูลเหตุให้คนดื้อด้าน และเมื่อเป็นคนดื้อด้านแล้วจะได้รับวิบากกรรมอย่างไร?
เกี่ยวกับประเด็นแห่งปัญหาที่ว่า อะไรคือมูลเหตุแห่งความดื้อด้าน ถ้าพิจารณาจากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว เกิดจากการที่บุคคลมีมานะ หรือมีความสำคัญว่าตนเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ซึ่งมีอยู่ 9 ประการดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
2. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
3. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
4. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
5. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
6. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
7. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
8. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
9. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
จากนัยแห่งมานะ 9 ประการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีเงื่อนไขหลักอยู่เพียง 3 ประการคือ เป็นผู้เลิศกว่าเขา เสมอเขา และเลวกว่าเขา และแบ่งเงื่อนไขออกเป็น 3 เงื่อนไข จากเงื่อนไขหลักแต่ละเงื่อนไข คือ เลิศกว่า เสมอ และเลวกว่า
ดังนั้น มานะ 9 ประการนี้มีเนื้อหาและสาระอยู่ที่การถือตัวถือ ตนเป็นศูนย์ในการคิดเพื่อการเปรียบเทียบกับผู้อื่นแล้วทำให้เกิดปมเด่นและปมด้อย ถ้าเป็นปมเด่นก็ทำให้มองไม่เห็นความสำคัญของผู้อื่น เป็นเหตุให้ยกตนข่มท่านได้ง่าย และในทางกลับกัน ถ้าเป็นปมด้อยก็ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ และไม่ยอมคบค้าคนอื่นอันเป็นเหตุให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม มูลเหตุที่ทำให้คนดื้อด้านก็อยู่ที่การถือว่าตนเองเลิศกว่าเขา และคนอื่นเลวกว่าตัวนั่นเอง
ตัวอย่างที่เห็นความดื้อด้านอันมีเหตุจูงใจมาจากการถือตัวถือตนในลักษณะนี้ได้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดในยุคนี้ ก็คือ นักการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองในระบอบทักษิณที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ได้แม้กระทั่งบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ที่คนทั้งโลกที่อยู่ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยยอมรับว่าเป็นที่พึ่งในด้านความยุติธรรม เพียงเพราะไม่ตัดสินเข้าข้างตัวเอง และพวกพ้องเท่านั้น
ส่วนประเด็นว่า คนดื้อด้านจะได้รับวิบากกรรมอย่างไรนั้นดูได้ไม่ยาก เพียงแต่ย้อนไปดูพฤติกรรมนักการเมืองในระดับผู้นำทางการเมืองในช่วงที่การเมืองในระบอบทักษิณเฟื่องฟู และแสวงหาประโยชน์โดยไม่เกรงกฎหมาย และไม่เคยคิดถึงการมีหิริและโอตตัปปะ และได้ถูกกระบวนการยุติธรรมตัดสินให้ต้องรับโทษและต้องกลายเป็นคนหนีคุกระเหเร่ร่อนอยู่ต่างแดน ก็พอจะเข้าใจได้ว่านี่คือผลของความเป็นคนดื้อด้าน
ในทุกยุคทุกสมัยที่มีนักการเมืองดื้อด้านก็เกิดปรากฏการณ์เป็นพฤติกรรมทางสังคมในหมู่ข้าราชการประจำขึ้นมาประเภทหนึ่ง นั่นก็คือ การสอพลอเอาใจนายเพื่อหาประโยชน์จากการเป็นคนดื้อด้าน บ้าอำนาจ กล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่คนปกติทั่วไปไม่กล้าทำนั่นคือ ให้ผลตอบแทนแก่บรรดาข้าราชการสอพลอทั้งในรูปแบบของเงินทอง ด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เป็นพิเศษสองขั้นโดยไม่ต้องดูผลงาน แต่ให้เพราะถูกอกถูกใจในคำยกยอปอปั้น หรือการยอมทำในสิ่งที่สั่งให้ทำโดยไม่โต้แย้ง แม้กระทั่งในสิ่งที่ผิดและก่อความเสียหายแก่ประเทศอันเป็นส่วนรวม ข้าราชการประเภทนี้จะได้ดิบได้ดีในยุคที่นักการเมืองดื้อด้านครองเมือง
ทำไมคนจึงชอบการยกยอปอปั้น ทั้งๆ ที่ปกติแล้วคนที่ยกยอเพื่อต้องการผลประโยชน์แลกเปลี่ยนสังเกตได้ไม่ยาก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนจะเป็น พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อกล แก้ทุกข์ อธิบายขยายความคำว่า ยกยอ กับ ยกย่อง ไว้ว่า ยกยอ คือการพูดเพื่อหวังผลตอบแทนจากคนที่เขายกยอ เปรียบเหมือนเครื่องจับปลาชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ยอ เมื่อต้องการจับปลาเขาก็แช่ลงในน้ำที่มีปลาว่ายผ่าน และเมื่อปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็ยกขึ้นมาและจะมีปลาติดขึ้นมาด้วย และคำว่ายกยอน่าจะมาจากคำนี้ คือ การพูดเพื่อหวังประโยชน์ในทำนองเดียวกับยกยอขึ้นจากน้ำเพื่อเอาปลามากินนั่นเอง
ส่วน ยกย่อง เป็นการพูดในสิ่งที่มีอยู่จริงในบุคคลคนนั้นโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เพียงเพราะต้องการให้ผู้คนในสังคมได้รู้ความดีที่คนนั้นมีอยู่เท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงสรุปได้ว่า ถ้าท่านไม่มีอะไรจะยกย่องใครก็อย่ายกย่องใครเพื่อหวังผลประโยชน์ ตรงกันข้ามถ้าท่านมองไม่เห็นความดีที่ควรยกย่อง แต่มองเห็นความผิดพลาดบกพร่องที่ควรจะได้รับการแก้ไขก็ควรอย่างยิ่งที่จะชี้ให้เขาเห็นความผิดนั้น พร้อมกับเสนอแนวทางแก้ไขเป็นการติเพื่อก่อ ย่อมดีกว่ายกยอเพื่อหวังผลประโยชน์เป็นเครื่องตอบแทนการยกยอนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคล 2 ประเภทเป็นองค์ประกอบในการดำเนินงาน
สองประเภทที่ว่านี้ก็คือ
1. ผู้ชี้ความผิดต้องมีเจตนาดีและมีเมตตาเป็นที่ตั้ง ในการตักเตือนด้วยหวังให้ผู้ถูกตักเตือนแก้ไขความผิดนั้นเพื่อผลประโยชน์ของตัวเขาเองเป็นที่ตั้ง
2. ผู้ถูกตักเตือนต้องเป็นคนเปิดกว้างยอมรับฟังคนอื่น ในลักษณะผู้ชี้ให้เห็นความผิดเป็นเสมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้
ถ้าไม่มีบุคคล 2 ประเภทนี้เป็นองค์ประกอบแล้ว การยึดถือแนวทางที่ว่านี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางตรงกันข้ามอาจก่อให้เกิดโทษแก่ผู้ตักเตือนได้ด้วย
แต่เท่าที่ผ่านมา ถ้าสังเกตจากนักการเมืองที่ดื้อด้านและข้าราชการที่ชอบสอพลอแล้ว เชื่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ายากที่จะนำแนวคิดทำนองนี้มาแก้ไขได้ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่ทำผิดพลาดและบกพร่อง ยังไม่เคยแสดงให้เห็นว่ารู้ว่าตนเองผิด
2. ทุกครั้งที่ผู้คนในสังคมออกมาบอกว่า ผิดจะตอบโต้อย่างทันทีว่าไม่จริง และที่จริงนั้นคือถูกกลั่นแกล้ง ดังที่เกิดขึ้นในกรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย หรือแม้ในกรณีที่ตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา ก็ทำนองเดียวกัน
3. นอกจากมองไม่เห็นความผิดของตัวเอง และออกมาตอบโต้ตามข้อ 2 แล้ว ทั้งนักการเมืองดื้อด้าน และข้าราชการสอพลอได้รวมหัวกันหาแพะรับบาป เช่น กลุ่มพันธมิตรฯ ที่ออกมาพูดถึงความผิดของตัวเองว่าเป็นตัวเหตุที่ทำให้เกิดความผิดพลาด และก่อความเสียหายทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองด้วย