นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส. กทม. และรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า จากการที่ นายไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรมว.กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการ ประมูลขายข้าวล๊อตใหญ่ไปเมื่อ วันที่ 28 พฤษจิกายน 2551 รวมทั้งสิ้น 1,106,827 ตัน มูลค่ารวม 14,929 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นข้าวขาว 914,850 ตันและข้าวหอมมะลิ 191,977 ตัน การประมูลดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเร่งรีบก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งยุบพรรคพลังประชาชนในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 นั้น ส่งผลให้ ราคาข้าวเปลือกตกต่ำโดยมีราคารับซื้อทั่วไปอยู่ที่ 8,500-9,000 บาทต่อตันเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าราคาควรอยู่ที่ 12,000 บาทต่อตัน อันเป็นราคาที่รัฐบาลรับจำนำข้าวขาวนาปีในขณะนี้
รัฐบาลนี้ประมูลขายข้าวสารขาวชนิด 5 เปอร์เซ็นต์ สีแล้วเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15 บาท หากคำนวนย้อนกลับเป็นข้าวเปลือก โดยใช้มาตรฐานทั่วไปว่าข้าวเปลือก 1 ตัน สีเป็นข้าวสารได้ 540 กิโลกรัมแล้ว ก็จะทำให้เป็นราคาข้าวเปลือกที่ 8,100 บาทต่อตันเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าราคาขายกันทั่วไปอยู่มาก ทำกันแบบนี้ราคาข้าวของชาวนาไทยจะไม่ทรุดได้อย่างไร
นายอรรถวิชช์ กล่าวว่า โดยปกติแล้วการรับซื้อหรือรับจำนำข้าวโดยรัฐจะเป็นการชี้นำราคาตลาดและดึงปริมาณข้าวออกจากตลาดในยามที่ผลผลิตมาก ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น จากนั้นรัฐบาลจึงทยอยระบายข้าวออกขายในเวลาต่อมา แต่รัฐบาลนี้กลับทำลายกลไก โดยการรับจำนำข้าวเปลือกพร้อมกับประมูลขายข้าวสาร ออกจากคลังในราคาต่ำกว่าท้องตลาดในช่วงที่ผลผลิตข้าวนาปีกำลังออกมาก ทำให้ผู้ส่งออกหยุดการซื้อข้าวในตลาดหวังรอการประมูลข้าวถูกจากรัฐบาลเท่านั้น
ขณะนี้ผลผลิตเฉลี่ยข้าว นาปีของไทยมีปริมาณ 20-23 ล้านตัน แต่การรับซื้อหรือการรับจำนำของรัฐทำได้แค่ 8 -9 ล้านตันเท่านั้น ดังนั้นจะมีข้าวเปลือกอีก 12 -14 ล้านตัน ต้องขายในราคาตลาด เมื่อรัฐประมูลขายแบบทุบราคาตลาดอย่างนี้ พ่อค้าผู้ส่งออกก็รอซื้อจากรัฐบาลดีกว่าซื้อจากชาวนา หากเป็นแบบนี้วังวนของการ วิ่งเต้นนักการเมืองก็ยังอยู่กับประเทศนี้ต่อไป ผมเหนื่อยแทนชาวนาไทยจริงๆ
นายอรรถวิชช์ ได้เสนอให้รัฐบาลรักษาการณ์ทบทวนการประมูลขายข้าว ในสต๊อกดังกล่าวก่อนการลงนามสัญญาซื้อขายกับผู้ประมูลได้ในวันที่ 8 ธันวาคม 2551 โดยควรเลื่อนการขายออกไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งพ้นช่วงขายข้าว ของชาวนาแล้ว และฝากไปยังรัฐบาลหน้าให้รีบพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แห่งประเทศไทยหรือ AFET โดยให้รัฐระบายขายข้าวในคลังผ่านตลาด AFET ซึ่งสามารถตั้งราคาขาย ณ วันส่งมอบในอนาคตได้ ซึ่งจะเป็นการชี้นำราคาข้าว ของโลกโดยกลไกตลาดที่ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกสามารถกำหนดได้เอง
รัฐบาลนี้ประมูลขายข้าวสารขาวชนิด 5 เปอร์เซ็นต์ สีแล้วเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15 บาท หากคำนวนย้อนกลับเป็นข้าวเปลือก โดยใช้มาตรฐานทั่วไปว่าข้าวเปลือก 1 ตัน สีเป็นข้าวสารได้ 540 กิโลกรัมแล้ว ก็จะทำให้เป็นราคาข้าวเปลือกที่ 8,100 บาทต่อตันเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าราคาขายกันทั่วไปอยู่มาก ทำกันแบบนี้ราคาข้าวของชาวนาไทยจะไม่ทรุดได้อย่างไร
นายอรรถวิชช์ กล่าวว่า โดยปกติแล้วการรับซื้อหรือรับจำนำข้าวโดยรัฐจะเป็นการชี้นำราคาตลาดและดึงปริมาณข้าวออกจากตลาดในยามที่ผลผลิตมาก ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น จากนั้นรัฐบาลจึงทยอยระบายข้าวออกขายในเวลาต่อมา แต่รัฐบาลนี้กลับทำลายกลไก โดยการรับจำนำข้าวเปลือกพร้อมกับประมูลขายข้าวสาร ออกจากคลังในราคาต่ำกว่าท้องตลาดในช่วงที่ผลผลิตข้าวนาปีกำลังออกมาก ทำให้ผู้ส่งออกหยุดการซื้อข้าวในตลาดหวังรอการประมูลข้าวถูกจากรัฐบาลเท่านั้น
ขณะนี้ผลผลิตเฉลี่ยข้าว นาปีของไทยมีปริมาณ 20-23 ล้านตัน แต่การรับซื้อหรือการรับจำนำของรัฐทำได้แค่ 8 -9 ล้านตันเท่านั้น ดังนั้นจะมีข้าวเปลือกอีก 12 -14 ล้านตัน ต้องขายในราคาตลาด เมื่อรัฐประมูลขายแบบทุบราคาตลาดอย่างนี้ พ่อค้าผู้ส่งออกก็รอซื้อจากรัฐบาลดีกว่าซื้อจากชาวนา หากเป็นแบบนี้วังวนของการ วิ่งเต้นนักการเมืองก็ยังอยู่กับประเทศนี้ต่อไป ผมเหนื่อยแทนชาวนาไทยจริงๆ
นายอรรถวิชช์ ได้เสนอให้รัฐบาลรักษาการณ์ทบทวนการประมูลขายข้าว ในสต๊อกดังกล่าวก่อนการลงนามสัญญาซื้อขายกับผู้ประมูลได้ในวันที่ 8 ธันวาคม 2551 โดยควรเลื่อนการขายออกไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งพ้นช่วงขายข้าว ของชาวนาแล้ว และฝากไปยังรัฐบาลหน้าให้รีบพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แห่งประเทศไทยหรือ AFET โดยให้รัฐระบายขายข้าวในคลังผ่านตลาด AFET ซึ่งสามารถตั้งราคาขาย ณ วันส่งมอบในอนาคตได้ ซึ่งจะเป็นการชี้นำราคาข้าว ของโลกโดยกลไกตลาดที่ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกสามารถกำหนดได้เอง