การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง ไม่เฉพาะแต่เป็นการรวมตัวกันโดยสมัครใจของผู้คนต่างวัยหลายอาชีพ หลายท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการชุมนุมอย่างสงบ สันติ และยืดเยื้อยาวนานที่สุดในโลกอีกด้วย ที่น่าสนใจก็คือ เป็นการชุมนุมที่มีผู้บริจาคเงิน และสิ่งของสนับสนุนซึ่งเป็นการให้คนละเล็กละน้อยนับหมื่นๆ ราย
แต่การชุมนุมของพันธมิตรฯ ก็ต้องเผชิญกับการโต้ตอบอย่างรุนแรงจากฝ่ายตรงข้าม ก่อให้เกิดความสูญเสียมากมาย และแม้จะมีผลต่อการป้องกันมิให้ฝ่ายทักษิณทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และแทรกแซงองค์กรอิสระ แต่ก็กดดันให้รัฐบาลลาออกไม่ได้
คำถามมีอยู่ว่า การเมืองไทยต่อไปจะเป็นอย่างไร ปัญหาก็คือ ถึงอย่างไรเราก็ยังคงต้องอาศัยการเลือกตั้งเป็นช่องทางให้พรรคการเมืองเข้าบริหารประเทศ แต่พรรคการเมืองก็ยังคงใช้อิทธิพล และเงินในการเลือกตั้ง ทำให้มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม
หลังการชุมนุมแล้ว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีทางเลือกอะไรบ้าง หากต้องการสร้าง “การเมืองใหม่”
ทางเลือกหนึ่งก็คือ การเป็นกลุ่มอิทธิพลทางการเมืองให้การศึกษาข้อมูลข่าวสารทางการเมือง กดดันรัฐบาลหากมีการใช้อำนาจในทางมิชอบ และมีการชุมนุมประท้วงอย่างที่เคยทำเป็นระยะๆ
อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ จัดตั้งเป็นพรรคการเมือง และส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ทางเลือกนี้เป็นภารกิจระยะยาว
ผมเห็นว่าในที่สุด พันธมิตรฯ คงต้องพิจารณาทางเลือกนี้อย่างจริงจัง แม้จะไม่อยากทำก็ตาม แต่ถ้าต้องการให้การเคลื่อนไหวบังเกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแล้ว ก็ไม่มีทางเลือกอื่น
แท้ที่จริง พันธมิตรฯ มีพื้นฐานดีกว่าพรรคการเมืองทุกพรรค เพราะปัญหาใหญ่ของความอ่อนแอของพรรคการเมืองไทยที่มีอยู่นั้น พันธมิตรฯ ไม่มี กล่าวคือ
1. พรรคการเมืองโดยทั่วไป เป็นพรรคของหัวหน้าพรรค และนายทุนเพียงไม่กี่คน แต่หากพันธมิตรฯ ตั้งพรรคก็จะเป็นพรรคมวลชน และได้รับการสนับสนุนจากคนจำนวนมาก
2. พรรคการเมืองโดยทั่วไป เป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นโดยขาดประสบการณ์ร่วมกันทางการเมืองของหัวหน้าและสมาชิกพรรค แต่พันธมิตรฯ มีประสบการณ์ทางการเมืองร่วมกันอย่างเข้มข้น มีทั้งจิตสำนึกและความสามัคคียืนหยัดต่อสู้ร่วมกัน
3. พรรคการเมืองโดยทั่วไป ขาดภาวะผู้นำ เพราะไม่เคยมีการต่อสู้ทางการเมืองที่เข้มข้น และไม่มีโอกาสที่คนในพรรคจะแสดงภาวะผู้นำ ต่างจากพันธมิตรฯ ซึ่งมีภาวะผู้นำแบบรวมหมู่ และมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกับแกนนำอย่างเหนียวแน่น
4. พรรคการเมืองโดยทั่วไป ขาดเครื่องมือด้านการสื่อสารที่จะช่วยขยายการสนับสนุน แต่พันธมิตรฯ มีหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อข้อความทางโทรศัพท์มือถือ
ปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นพรรคการเมืองมากที่สุดคือ ประสบการณ์ร่วม สำหรับพันธมิตรฯ แล้วเป็นประสบการณ์ร่วมทางการเมืองที่มีผลต่อการสร้างจิตสำนึก และภราดรภาพมาก เพราะได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขเผชิญกับการถูกคุกคามมาโดยตลอด ทั้งจากฝ่ายรัฐและฝ่ายตรงข้าม
ประสบการณ์ร่วมทางการเมืองนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติการเมืองไทย
นอกจากนั้น พันธมิตรฯ ยังอยู่ในฐานะทางอุดมการณ์ที่ดีกว่าพรรคในอดีต เช่น พรรคพลังใหม่ ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นฝ่ายซ้าย และยังเป็นคู่แข่งของพรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย
หากพันธมิตรฯ จัดตั้งพรรคการเมือง ก็ไม่ควรมุ่งหวังที่จะได้เสียงข้างมาก เป้าหมายควรเป็นพรรคขนาดกลางที่มีที่นั่งในสภาฯ สัก 50-80 ที่นั่งก็พอ และควรกำหนดพื้นที่ที่จะส่งผู้สมัครไว้ที่เขต 1 ของภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพฯ เป็นหลัก อีกทั้งเป็นพรรคพันธมิตรฯ กับพรรคประชาธิปัตย์คะแนนเสียงที่ได้ทั้งสองพรรค อาจเพียงพอหรือเกือบจะตั้งรัฐบาลได้
หากพันธมิตรฯ จัดตั้งพรรคการเมือง และหวังผลระยะยาว โอกาสที่จะสร้างการเมืองใหม่ก็จะมี ที่จริงการตั้งพรรคก็เป็นทางหนึ่งของการเมืองใหม่แล้ว เพราะจะเป็นพรรคมวลชนพรรคแรก
เวลานี้ผู้เข้าร่วมกับพันธมิตรฯ มีผู้ซึ่งสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้หลายคน และมีผู้ต้องการบริจาคเงินให้อีกเป็นจำนวนมาก เมื่อรวมผู้บริจาครายใหญ่ 1 แสนบาทขึ้นไป และรายย่อยแล้วคาดว่า จะได้เงิน 1,000-3,000 ล้านบาท พอเพียงที่จะใช้ในการเลือกตั้ง
การเข้าสู่การเมืองเก่า น่าจะเป็นช่องทางการต่อสู้ที่ดีในระยะยาว เพราะหากพรรคพันธมิตรฯ ได้ที่นั่งในสภาฯ 50-80 ที่นั่งแล้ว โอกาสที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในก็จะมีมาก แต่การเลือกตั้งจะต้องบริสุทธิ์ ยุติธรรม มีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดีด้วย
ตราบใดที่เรายังคงมีระบอบประชาธิปไตยแบบอาศัยการเลือกตั้งอยู่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็จะต้องเกิดขึ้นในระบบนี้ และพันธมิตรฯ ก็คงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการต่อสู้ในระบบ
แต่การชุมนุมของพันธมิตรฯ ก็ต้องเผชิญกับการโต้ตอบอย่างรุนแรงจากฝ่ายตรงข้าม ก่อให้เกิดความสูญเสียมากมาย และแม้จะมีผลต่อการป้องกันมิให้ฝ่ายทักษิณทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และแทรกแซงองค์กรอิสระ แต่ก็กดดันให้รัฐบาลลาออกไม่ได้
คำถามมีอยู่ว่า การเมืองไทยต่อไปจะเป็นอย่างไร ปัญหาก็คือ ถึงอย่างไรเราก็ยังคงต้องอาศัยการเลือกตั้งเป็นช่องทางให้พรรคการเมืองเข้าบริหารประเทศ แต่พรรคการเมืองก็ยังคงใช้อิทธิพล และเงินในการเลือกตั้ง ทำให้มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม
หลังการชุมนุมแล้ว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีทางเลือกอะไรบ้าง หากต้องการสร้าง “การเมืองใหม่”
ทางเลือกหนึ่งก็คือ การเป็นกลุ่มอิทธิพลทางการเมืองให้การศึกษาข้อมูลข่าวสารทางการเมือง กดดันรัฐบาลหากมีการใช้อำนาจในทางมิชอบ และมีการชุมนุมประท้วงอย่างที่เคยทำเป็นระยะๆ
อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ จัดตั้งเป็นพรรคการเมือง และส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ทางเลือกนี้เป็นภารกิจระยะยาว
ผมเห็นว่าในที่สุด พันธมิตรฯ คงต้องพิจารณาทางเลือกนี้อย่างจริงจัง แม้จะไม่อยากทำก็ตาม แต่ถ้าต้องการให้การเคลื่อนไหวบังเกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแล้ว ก็ไม่มีทางเลือกอื่น
แท้ที่จริง พันธมิตรฯ มีพื้นฐานดีกว่าพรรคการเมืองทุกพรรค เพราะปัญหาใหญ่ของความอ่อนแอของพรรคการเมืองไทยที่มีอยู่นั้น พันธมิตรฯ ไม่มี กล่าวคือ
1. พรรคการเมืองโดยทั่วไป เป็นพรรคของหัวหน้าพรรค และนายทุนเพียงไม่กี่คน แต่หากพันธมิตรฯ ตั้งพรรคก็จะเป็นพรรคมวลชน และได้รับการสนับสนุนจากคนจำนวนมาก
2. พรรคการเมืองโดยทั่วไป เป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นโดยขาดประสบการณ์ร่วมกันทางการเมืองของหัวหน้าและสมาชิกพรรค แต่พันธมิตรฯ มีประสบการณ์ทางการเมืองร่วมกันอย่างเข้มข้น มีทั้งจิตสำนึกและความสามัคคียืนหยัดต่อสู้ร่วมกัน
3. พรรคการเมืองโดยทั่วไป ขาดภาวะผู้นำ เพราะไม่เคยมีการต่อสู้ทางการเมืองที่เข้มข้น และไม่มีโอกาสที่คนในพรรคจะแสดงภาวะผู้นำ ต่างจากพันธมิตรฯ ซึ่งมีภาวะผู้นำแบบรวมหมู่ และมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกับแกนนำอย่างเหนียวแน่น
4. พรรคการเมืองโดยทั่วไป ขาดเครื่องมือด้านการสื่อสารที่จะช่วยขยายการสนับสนุน แต่พันธมิตรฯ มีหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อข้อความทางโทรศัพท์มือถือ
ปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นพรรคการเมืองมากที่สุดคือ ประสบการณ์ร่วม สำหรับพันธมิตรฯ แล้วเป็นประสบการณ์ร่วมทางการเมืองที่มีผลต่อการสร้างจิตสำนึก และภราดรภาพมาก เพราะได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขเผชิญกับการถูกคุกคามมาโดยตลอด ทั้งจากฝ่ายรัฐและฝ่ายตรงข้าม
ประสบการณ์ร่วมทางการเมืองนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติการเมืองไทย
นอกจากนั้น พันธมิตรฯ ยังอยู่ในฐานะทางอุดมการณ์ที่ดีกว่าพรรคในอดีต เช่น พรรคพลังใหม่ ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นฝ่ายซ้าย และยังเป็นคู่แข่งของพรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย
หากพันธมิตรฯ จัดตั้งพรรคการเมือง ก็ไม่ควรมุ่งหวังที่จะได้เสียงข้างมาก เป้าหมายควรเป็นพรรคขนาดกลางที่มีที่นั่งในสภาฯ สัก 50-80 ที่นั่งก็พอ และควรกำหนดพื้นที่ที่จะส่งผู้สมัครไว้ที่เขต 1 ของภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพฯ เป็นหลัก อีกทั้งเป็นพรรคพันธมิตรฯ กับพรรคประชาธิปัตย์คะแนนเสียงที่ได้ทั้งสองพรรค อาจเพียงพอหรือเกือบจะตั้งรัฐบาลได้
หากพันธมิตรฯ จัดตั้งพรรคการเมือง และหวังผลระยะยาว โอกาสที่จะสร้างการเมืองใหม่ก็จะมี ที่จริงการตั้งพรรคก็เป็นทางหนึ่งของการเมืองใหม่แล้ว เพราะจะเป็นพรรคมวลชนพรรคแรก
เวลานี้ผู้เข้าร่วมกับพันธมิตรฯ มีผู้ซึ่งสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้หลายคน และมีผู้ต้องการบริจาคเงินให้อีกเป็นจำนวนมาก เมื่อรวมผู้บริจาครายใหญ่ 1 แสนบาทขึ้นไป และรายย่อยแล้วคาดว่า จะได้เงิน 1,000-3,000 ล้านบาท พอเพียงที่จะใช้ในการเลือกตั้ง
การเข้าสู่การเมืองเก่า น่าจะเป็นช่องทางการต่อสู้ที่ดีในระยะยาว เพราะหากพรรคพันธมิตรฯ ได้ที่นั่งในสภาฯ 50-80 ที่นั่งแล้ว โอกาสที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในก็จะมีมาก แต่การเลือกตั้งจะต้องบริสุทธิ์ ยุติธรรม มีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดีด้วย
ตราบใดที่เรายังคงมีระบอบประชาธิปไตยแบบอาศัยการเลือกตั้งอยู่ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็จะต้องเกิดขึ้นในระบบนี้ และพันธมิตรฯ ก็คงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการต่อสู้ในระบบ