ASTVผู้จัดการรายวัน - ค่าเงินบาทอ่อนแตะ 35.75 นับเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 2 ปี นักค้าเงินระบุรับแรงกดดันจากหลายปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการเมืองที่ยืดเยื้อและอาจมีเหตุรุนแรง ชี้มีความเป็นไปได้ที่เงินบาทจะอ่อนค่าต่อเนื่องถึงระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สั่งจับตาการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคการเมือง การลดดอกเบี้ยทั้งไทยและเทศ
นักค้าเงินธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) แจ้งว่า ค่าเงินบาทเมื่อวานนี้(1 ธ.ค.) เปิดตลาดที่ระดับ 35.54-35.58 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยการเคลื่อนไหวเงินบาทระหว่างวันอ่อนค่าตลอด จนกระทั่งในช่วง 15.00-16.00 น. ซึ่งอ่อนค่าสุดที่ระดับ 35.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะปิดตลาดที่ระดับ 35.70-35.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงตามปัจจัยภายในประเทศด้านการเมืองเป็นสำคัญทั้งศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงปิดคดียุบการเมืองในวันนี้ การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดอีก 0.25-0.50% จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 3.75% อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอีกก็อาจยิ่งทำให้สถานการณ์ย้ำแย่และค่าเงินบาทยิ่งอ่อนค่าลงอีก นอกจากนี้ยังต้องจับตาดูปัจจัยนอกประเทศจากการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยของประเทศในแถบยุโรปในคืนวันที่ 3 ธ.ค.นี้เช่นกัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับดอกเบี้ยลดลง เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
ด้านนักค้าเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อวานนี้เป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่เกิดเหตุการณ์ชุมนุมที่สนามบินในสุวรรณภูมิและดอนเมืองที่มีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อต่อไป ขณะเดียวกันสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่าง S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลงเป็นลบจากระดับที่มีเสถียรภาพ อีกทั้งค่าเงินในประเทศแถบภูมิภาคต่างปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้น ค่าเงินบาทในวันนี้มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีหน้าจะติดลบ จึงมีโอกาสที่เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.80-35.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้และคาดว่าภายในเดือนนี้อาจจะมีโอกาสเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าไปถึงระดับ 36.00 บาท ซึ่งค่าเงินบาทไม่ได้เคลื่อนไหวอ่อนค่าไปถึงระดับดังกล่าวมาประมาณ 2 ปีแล้ว
**จับตาการเมือง-ลดดบ.กดดันบาทต่อ**
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าสัปดาห์นี้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทที่ควรจับตา ประกอบด้วย ปัจจัยการเมืองในประเทศ การประชุม กนง.ในวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ทิศทางสกุลเงินในภูมิภาค ตลอดจนทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ดัชนี ISM ภาคการผลิตและภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมและอัตราการว่างงานเดือนพฤศจิกายน ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานและรายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนตุลาคม ข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วยประจำไตรมาส 3/2551 ตลอดจนรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของเฟด นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนความช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ อีกด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์ก่อน ค่าเงินบาทในประเทศร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินบาทปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์เช่นเดียวกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์สหรัฐ ได้แรงหนุนจากรายงานข่าวที่ระบุว่า นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ได้รับการทาบทามให้ดำรงตำแหน่งรมว.คลังในรัฐบาลของนายบารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วงต่อมา แม้ว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียจะดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นโดยเงินบาทต้องเผชิญกับแรงเทขายท่ามกลางความวุ่นวายของสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองในประเทศ และในวันศุกร์สุดสัปดาห์เงินบาทร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนที่ระดับประมาณ 35.52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
นักค้าเงินธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) แจ้งว่า ค่าเงินบาทเมื่อวานนี้(1 ธ.ค.) เปิดตลาดที่ระดับ 35.54-35.58 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยการเคลื่อนไหวเงินบาทระหว่างวันอ่อนค่าตลอด จนกระทั่งในช่วง 15.00-16.00 น. ซึ่งอ่อนค่าสุดที่ระดับ 35.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะปิดตลาดที่ระดับ 35.70-35.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงตามปัจจัยภายในประเทศด้านการเมืองเป็นสำคัญทั้งศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงปิดคดียุบการเมืองในวันนี้ การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดอีก 0.25-0.50% จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 3.75% อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอีกก็อาจยิ่งทำให้สถานการณ์ย้ำแย่และค่าเงินบาทยิ่งอ่อนค่าลงอีก นอกจากนี้ยังต้องจับตาดูปัจจัยนอกประเทศจากการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยของประเทศในแถบยุโรปในคืนวันที่ 3 ธ.ค.นี้เช่นกัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับดอกเบี้ยลดลง เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
ด้านนักค้าเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อวานนี้เป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายในและต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการเมืองภายในประเทศที่เกิดเหตุการณ์ชุมนุมที่สนามบินในสุวรรณภูมิและดอนเมืองที่มีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อต่อไป ขณะเดียวกันสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่าง S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลงเป็นลบจากระดับที่มีเสถียรภาพ อีกทั้งค่าเงินในประเทศแถบภูมิภาคต่างปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้น ค่าเงินบาทในวันนี้มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีหน้าจะติดลบ จึงมีโอกาสที่เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.80-35.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้และคาดว่าภายในเดือนนี้อาจจะมีโอกาสเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าไปถึงระดับ 36.00 บาท ซึ่งค่าเงินบาทไม่ได้เคลื่อนไหวอ่อนค่าไปถึงระดับดังกล่าวมาประมาณ 2 ปีแล้ว
**จับตาการเมือง-ลดดบ.กดดันบาทต่อ**
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าสัปดาห์นี้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทที่ควรจับตา ประกอบด้วย ปัจจัยการเมืองในประเทศ การประชุม กนง.ในวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ทิศทางสกุลเงินในภูมิภาค ตลอดจนทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ดัชนี ISM ภาคการผลิตและภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมและอัตราการว่างงานเดือนพฤศจิกายน ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานและรายจ่ายด้านการก่อสร้างเดือนตุลาคม ข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงานต่อหน่วยประจำไตรมาส 3/2551 ตลอดจนรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของเฟด นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนความช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ อีกด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์ก่อน ค่าเงินบาทในประเทศร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินบาทปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์เช่นเดียวกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์สหรัฐ ได้แรงหนุนจากรายงานข่าวที่ระบุว่า นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ได้รับการทาบทามให้ดำรงตำแหน่งรมว.คลังในรัฐบาลของนายบารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วงต่อมา แม้ว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียจะดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นโดยเงินบาทต้องเผชิญกับแรงเทขายท่ามกลางความวุ่นวายของสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองในประเทศ และในวันศุกร์สุดสัปดาห์เงินบาทร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนที่ระดับประมาณ 35.52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ