ท่านผู้อ่านที่เคารพ บัดนี้เข็มนาฬิกาจวนจะเดินมาถึงนาทีสุดท้ายแล้ว นาทีประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ของประชาชาติไทย
คำถามที่คนไทยทุกคนควรจะถามกันวันนี้ก็คือ
เมืองไทยจะนองเลือดหรือไม่ และเราจะทำอย่างไรกันดี
ต่อไปนี้คือคำตอบเป็นชุดสั้นๆ ของผม กรุณาช่วยกันคิด ช่วยกันหาข้อมูล จะคัดค้านหรือเห็นด้วยผมก็ไม่ว่าอะไร ขออย่างเดียวอย่าสรุปอะไรโดยอาศัยอุปาทาน หรือสมมติว่า นี่คือตัวเรา นี่คือของเราก็แล้วกัน
บ้านเมืองตกอยู่ในวิกฤตอย่างนี้ พวกเราจะต้องเจริญสติ และแก้ด้วยปัญญากับสมาธิ
1. การจะตอบว่าเมืองไทยจะนองเลือดหรือไม่ ต้องตอบให้ได้เสียก่อนว่าอะไรเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดนองเลือด และเหตุนั้นๆ อะไรเป็นเหตุเบื้องต้น อะไรเป็นเหตุเบื้องกลาง และอะไรเป็นเหตุเบื้องปลาย เหตุนั้นๆ เชื่อมโยงกันอย่างไร
2. จริงหรือไม่ ถ้าเราดับเหตุเสียได้ผล คือ การนองเลือดก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้าจริง ตอนนี้ และวันนี้ เราจะตัดเหตุอะไรที่ไหนเสียก่อน
3. คำตอบที่เป็นสมมติ ก็คือคำว่า ถ้า ดังต่อไปนี้ ถ้า ตัดปลายเหตุคือ นปก.และอันธพาลรับจ้างไม่บุกโจมตีฝ่ายตรงกันข้าม ก็จะไม่เกิดนองเลือด ถ้า ตำรวจไม่ให้ท้าย นปก.หรือเป็นผู้บุกเข้าไปสลายพันธมิตรฯ เสียเอง ก็จะไม่เกิดนองเลือด ถ้า พันธมิตรฯ ตัดสินใจได้ด้วยตนเองหรือถูกบังคับให้สลายการชุมนุมทั้ง 3 แห่ง ก็จะไม่เกิดการนองเลือด
ถ้า บรรดา ส.ส.หรือหัวคะแนนพรรคไทยรักไทย (พลังประชาชน) หัวคะแนนและผู้สนับสนุน ตลอดจนอันธพาลท้องถิ่น วิทยุชุมชนทักษิณ ผู้ว่าราชการฯ และตำรวจในต่างจังหวัดไม่สมคบกันจ้างวานและปลุกระดมมวลชนให้สยบฝ่ายตรงกันข้าม และเข้ามากดดันข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่เกิดการนองเลือด และถ้า นายสมชายลาออก และถูกออกก็จะไม่เกิดการปฏิวัติ การต่อต้านปฏิวัติ และการนองเลือด ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับใจได้ เลิกบงการนายสมชาย และพลพรรคทั้งใต้ดินบนดิน ทั้งในราชการและนอกราชการ ก็จะไม่เกิดการนองเลือด
ตกลงแล้วสาเหตุที่แท้จริง และต้นเหตุแห่งการนองเลือดล้วนแต่ขึ้นอยู่กับกรรมหรือการกระทำของนายทักษิณคนเดียวหรือ ผมว่าน่าจะมิใช่ แต่ทักษิณเป็นผู้ที่สามารถระงับเหตุต่างๆ ได้อย่างแน่นอน
ในวันที่ 2 หรือ 3 ธันวาคม นี่ศาลรัฐธรรมนูญก็จะอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง 3 พรรค คือ พรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย พิเคราะห์ดูจากหลักฐานและข้อกฎหมายแล้ว ไม่น่าที่จะมีคำวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากยุบทั้ง 3 พรรค
การยุบพรรคครั้งนี้ อาจก่อให้เกิดวิกฤตลูกใหม่ หรือโอกาสที่จะผันวิกฤตให้เป็นโอกาสก็ได้แล้วแต่ว่าสังคมไทยจะสามารถใช้ปัญญาและสมาธิได้ถูกทางหรือไม่
มีผู้ห่วงว่า พลพรรคเสื้อแดงหรือ นปก.จะต่อต้านไม่รับคำวินิจฉัยของศาล และรัฐบาลจะดันทุรังยึดอำนาจรัฐอยู่ต่อไป ผมเห็นว่าถึงแม้จะมีทางเป็นไปได้ ก็น้อยเต็มที และน่าจะควบคุมได้ไม่ยาก
แต่ปัญหาความขัดแย้งเผชิญหน้าจะยืดเยื้อและดำเนินต่อไปตามแบบเดิมหรือไม่ เป็นเรื่องน่าคิด และไม่อาจปฏิเสธได้
ผมมีความเห็นว่า ถ้าจะยึดพรรคและส.ส.ปัจจุบันเป็นหลักในการแก้ปัญหา หรือเป็นผู้แก้ปัญหา ก็ย่อมแน่นอนว่าปัญหาเดิมๆ ก็จะเกิดขึ้นแบบเดิมๆ อีก เพราะแท้ที่จริง ตัวปัญหาก็คือพรรคและส.ส.ปัจจุบันในพรรคนี้นี่เอง
ถ้าหากการยุบพรรคเป็นการสลายกลุ่ม และไม่มีการรวมกลุ่มกันเป็นพรรคนอมินีเดิมในชื่อใหม่ ปัญหาอย่างเดิมก็จะหมดไป
ยิ่งถ้าหากมีเหตุการณ์และคำวินิจฉัยเพิ่มเติมทั้งในศาลรัฐธรรมนูญหรือในศาลอื่นๆ หรือแม้กระทั่งในองค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช.หรือกกต. แม้กระทั่งในวุฒิสภาหรือในพรรคประชาธิปัตย์ก็ดี อันอาจจะทำให้อำนาจอธิปไตยฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีสภาพตกอยู่ในสุญญากาศอย่างแจ้งชัดขึ้น ทั้งๆ ที่ผมคิดว่าในขณะนี้อำนาจอธิปไตยทั้งสองสิ้นสภาพและตกอยู่ในสุญญากาศมานานแล้ว
สุญญากาศนี้ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นเพราะการนองเลือด เพียงแต่กลไกของอำนาจอธิปไตยอันหนึ่งอันใดเกิดเป็นง่อยและอยู่ในสภาพชะงักงันก็ถือว่าเป็นสุญญากาศได้แล้ว
เมื่อเกิดสุญญากาศแล้วอะไรเกิดขึ้น พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลปัจจุบันให้คำตอบไว้ดังต่อไปนี้
“จำไว้ว่า สถาบันจะลงเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้ ก็ต่อเมื่อเกิด Void หรือสุญญากาศทางการเมืองขึ้นจริงๆ อย่างกรณี 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการ จนช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันกษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับขึ้นไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด จะได้พร้อมที่จะลงมาช่วยอีก ถ้าเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีก”
ขณะนี้นักวิชาการ นักการเมืองและนักวิเคราะห์การเมือง ตลอดจนผู้นำในสังคมไทยต่างก็ลงความเห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันนั้นคล้ายแต่ร้ายยิ่งกว่าสถานการณ์ยุค 14 ตุลาคม 2516 เสียอีก
เมื่อเกิดวิกฤตก่อนพฤษภาทมิฬ มีการอภิปรายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 ในหัวข้อว่า “อย่าให้มีการนองเลือด” มีหัวข้อย่อยว่า ควรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา และขอพระราชทานรัฐธรรมนูญหรือไม่
เมื่อสังคมตกอยู่ในสภาพท้อแท้ใจ เกรงจะออกจากกลุ่มเผด็จการของ รสช.มิได้ นายธีรยุทธ บุญมี ได้อภิปรายว่า “ประชาชนไทยมีที่พึ่งสูงสุด ซึ่งมีอำนาจเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วประเทศที่สูงกว่า รสช.หลายสิบเท่าอยู่ด้วย” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้กล่าวถึงลักษณะพิเศษของชาติไทย คือ “ชาติไทยของเรานั้น มีสถาบันที่เราเคารพบูชาเป็นหลักยึดถือและที่พึ่งในปัจจุบันนี้”
และผมได้อภิปรายต่อว่า “เรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น มีหลายคนถามว่า สมควรจะมีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาหรือไม่ สมควรจะมีการขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยหรือไม่ สมควรจะมีการขอพระราชทานรัฐธรรมนูญหรือไม่ คำตอบก็คือ ถ้ามีเหตุผลและมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดก็สมควร”
และตอนหนึ่ง ผมได้พูดว่า “บัดนี้ ผมคิดว่าเราได้มาถึงตอนที่สำคัญที่สุด คือตอนที่เราจะต้องพิสูจน์ความเป็นคนไทยกัน ด้วยการพลิกปัญหาให้เป็นโอกาส แก้ข้ออึดอัดขัดข้องในปัจจุบันให้เป็นความราบรื่นดีงามในอนาคต สัญลักษณ์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของความเป็นคนไทยก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างปวงราษฎรกับพระมหากษัตริย์ ความเชื่อมั่นศรัทธาในทศพิธราชธรรม และความที่ราษฎรทุกคนมีสิทธิที่จะถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นที่พึ่งสุดท้ายของตน ในเรื่องที่ตนคิดว่าสำคัญที่สุดสำหรับตน แม้ว่าคนอื่นจะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่สมควรเพียงใดก็ตาม พระมหากษัตริย์ไทยจึงไม่เหมือนกษัตริย์ที่ใดในโลก เพราะประชาชนมีสิทธิถือว่าในหลวงเป็นสมบัติของเขาเป็นพ่อของเขา เป็นพระของเขา และเป็นพระเจ้าของเขา ทุกๆ อย่างรวมกัน เพราะฉะนั้นราษฎรไทยจึงมีสิทธิทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อในหลวงในเรื่องผักบุ้งแพง เรื่องหนี้สิน และเมื่อไม่นานมานี้ มีนักวิชาการ 99 คน ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้พล.อ.เปรมเป็นกลางทางการเมือง”
ครับ เมื่อที่สุดถึงที่สุดทุกอย่างแล้ว ทุกคนก็มีสิทธิที่จะถวายฎีกา แต่เรื่องใดสมควรหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องแก้วิกฤตการเมือง ในหลวงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และวางมาตรฐานไว้ก่อนแล้วว่า อย่าขอในสิ่งที่พระราชทานไม่ได้ ในหลวงทรงมีพระปัญญาบารมีอันมหาศาลยิ่งใหญ่ สิ่งที่ท่านพระราชทานเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยนั้นไม่เคยผิดพลาด และจะไม่ผิดพลาด
ฉบับหน้าผมจะอัญเชิญพระราชดำรัสที่ทรงกำหนดมาตรฐานดังกล่าวมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟัง
แต่ผมอยากจะจบว่าการขอพระราชทานชีวิตและความปลอดภัยของผู้หญิง คนชรา และเด็กซึ่งเป็นพสกนิกรที่ซื่อบริสุทธิ์ บูชาและยอมพลีชีวิตถวายพระองค์ให้พ้นจากเงื้อมมือของรัฐบาลฆาตกร คงจะเป็นคำขอที่ไม่เกินสมควรจนเกินไป
คำถามที่คนไทยทุกคนควรจะถามกันวันนี้ก็คือ
เมืองไทยจะนองเลือดหรือไม่ และเราจะทำอย่างไรกันดี
ต่อไปนี้คือคำตอบเป็นชุดสั้นๆ ของผม กรุณาช่วยกันคิด ช่วยกันหาข้อมูล จะคัดค้านหรือเห็นด้วยผมก็ไม่ว่าอะไร ขออย่างเดียวอย่าสรุปอะไรโดยอาศัยอุปาทาน หรือสมมติว่า นี่คือตัวเรา นี่คือของเราก็แล้วกัน
บ้านเมืองตกอยู่ในวิกฤตอย่างนี้ พวกเราจะต้องเจริญสติ และแก้ด้วยปัญญากับสมาธิ
1. การจะตอบว่าเมืองไทยจะนองเลือดหรือไม่ ต้องตอบให้ได้เสียก่อนว่าอะไรเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดนองเลือด และเหตุนั้นๆ อะไรเป็นเหตุเบื้องต้น อะไรเป็นเหตุเบื้องกลาง และอะไรเป็นเหตุเบื้องปลาย เหตุนั้นๆ เชื่อมโยงกันอย่างไร
2. จริงหรือไม่ ถ้าเราดับเหตุเสียได้ผล คือ การนองเลือดก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้าจริง ตอนนี้ และวันนี้ เราจะตัดเหตุอะไรที่ไหนเสียก่อน
3. คำตอบที่เป็นสมมติ ก็คือคำว่า ถ้า ดังต่อไปนี้ ถ้า ตัดปลายเหตุคือ นปก.และอันธพาลรับจ้างไม่บุกโจมตีฝ่ายตรงกันข้าม ก็จะไม่เกิดนองเลือด ถ้า ตำรวจไม่ให้ท้าย นปก.หรือเป็นผู้บุกเข้าไปสลายพันธมิตรฯ เสียเอง ก็จะไม่เกิดนองเลือด ถ้า พันธมิตรฯ ตัดสินใจได้ด้วยตนเองหรือถูกบังคับให้สลายการชุมนุมทั้ง 3 แห่ง ก็จะไม่เกิดการนองเลือด
ถ้า บรรดา ส.ส.หรือหัวคะแนนพรรคไทยรักไทย (พลังประชาชน) หัวคะแนนและผู้สนับสนุน ตลอดจนอันธพาลท้องถิ่น วิทยุชุมชนทักษิณ ผู้ว่าราชการฯ และตำรวจในต่างจังหวัดไม่สมคบกันจ้างวานและปลุกระดมมวลชนให้สยบฝ่ายตรงกันข้าม และเข้ามากดดันข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่เกิดการนองเลือด และถ้า นายสมชายลาออก และถูกออกก็จะไม่เกิดการปฏิวัติ การต่อต้านปฏิวัติ และการนองเลือด ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับใจได้ เลิกบงการนายสมชาย และพลพรรคทั้งใต้ดินบนดิน ทั้งในราชการและนอกราชการ ก็จะไม่เกิดการนองเลือด
ตกลงแล้วสาเหตุที่แท้จริง และต้นเหตุแห่งการนองเลือดล้วนแต่ขึ้นอยู่กับกรรมหรือการกระทำของนายทักษิณคนเดียวหรือ ผมว่าน่าจะมิใช่ แต่ทักษิณเป็นผู้ที่สามารถระงับเหตุต่างๆ ได้อย่างแน่นอน
ในวันที่ 2 หรือ 3 ธันวาคม นี่ศาลรัฐธรรมนูญก็จะอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง 3 พรรค คือ พรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย พิเคราะห์ดูจากหลักฐานและข้อกฎหมายแล้ว ไม่น่าที่จะมีคำวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากยุบทั้ง 3 พรรค
การยุบพรรคครั้งนี้ อาจก่อให้เกิดวิกฤตลูกใหม่ หรือโอกาสที่จะผันวิกฤตให้เป็นโอกาสก็ได้แล้วแต่ว่าสังคมไทยจะสามารถใช้ปัญญาและสมาธิได้ถูกทางหรือไม่
มีผู้ห่วงว่า พลพรรคเสื้อแดงหรือ นปก.จะต่อต้านไม่รับคำวินิจฉัยของศาล และรัฐบาลจะดันทุรังยึดอำนาจรัฐอยู่ต่อไป ผมเห็นว่าถึงแม้จะมีทางเป็นไปได้ ก็น้อยเต็มที และน่าจะควบคุมได้ไม่ยาก
แต่ปัญหาความขัดแย้งเผชิญหน้าจะยืดเยื้อและดำเนินต่อไปตามแบบเดิมหรือไม่ เป็นเรื่องน่าคิด และไม่อาจปฏิเสธได้
ผมมีความเห็นว่า ถ้าจะยึดพรรคและส.ส.ปัจจุบันเป็นหลักในการแก้ปัญหา หรือเป็นผู้แก้ปัญหา ก็ย่อมแน่นอนว่าปัญหาเดิมๆ ก็จะเกิดขึ้นแบบเดิมๆ อีก เพราะแท้ที่จริง ตัวปัญหาก็คือพรรคและส.ส.ปัจจุบันในพรรคนี้นี่เอง
ถ้าหากการยุบพรรคเป็นการสลายกลุ่ม และไม่มีการรวมกลุ่มกันเป็นพรรคนอมินีเดิมในชื่อใหม่ ปัญหาอย่างเดิมก็จะหมดไป
ยิ่งถ้าหากมีเหตุการณ์และคำวินิจฉัยเพิ่มเติมทั้งในศาลรัฐธรรมนูญหรือในศาลอื่นๆ หรือแม้กระทั่งในองค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช.หรือกกต. แม้กระทั่งในวุฒิสภาหรือในพรรคประชาธิปัตย์ก็ดี อันอาจจะทำให้อำนาจอธิปไตยฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีสภาพตกอยู่ในสุญญากาศอย่างแจ้งชัดขึ้น ทั้งๆ ที่ผมคิดว่าในขณะนี้อำนาจอธิปไตยทั้งสองสิ้นสภาพและตกอยู่ในสุญญากาศมานานแล้ว
สุญญากาศนี้ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นเพราะการนองเลือด เพียงแต่กลไกของอำนาจอธิปไตยอันหนึ่งอันใดเกิดเป็นง่อยและอยู่ในสภาพชะงักงันก็ถือว่าเป็นสุญญากาศได้แล้ว
เมื่อเกิดสุญญากาศแล้วอะไรเกิดขึ้น พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลปัจจุบันให้คำตอบไว้ดังต่อไปนี้
“จำไว้ว่า สถาบันจะลงเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้ ก็ต่อเมื่อเกิด Void หรือสุญญากาศทางการเมืองขึ้นจริงๆ อย่างกรณี 14 ตุลาฯ แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการ จนช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้ว สถาบันกษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับขึ้นไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด จะได้พร้อมที่จะลงมาช่วยอีก ถ้าเกิดสุญญากาศขึ้นมาอีก”
ขณะนี้นักวิชาการ นักการเมืองและนักวิเคราะห์การเมือง ตลอดจนผู้นำในสังคมไทยต่างก็ลงความเห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันนั้นคล้ายแต่ร้ายยิ่งกว่าสถานการณ์ยุค 14 ตุลาคม 2516 เสียอีก
เมื่อเกิดวิกฤตก่อนพฤษภาทมิฬ มีการอภิปรายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 ในหัวข้อว่า “อย่าให้มีการนองเลือด” มีหัวข้อย่อยว่า ควรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา และขอพระราชทานรัฐธรรมนูญหรือไม่
เมื่อสังคมตกอยู่ในสภาพท้อแท้ใจ เกรงจะออกจากกลุ่มเผด็จการของ รสช.มิได้ นายธีรยุทธ บุญมี ได้อภิปรายว่า “ประชาชนไทยมีที่พึ่งสูงสุด ซึ่งมีอำนาจเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วประเทศที่สูงกว่า รสช.หลายสิบเท่าอยู่ด้วย” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้กล่าวถึงลักษณะพิเศษของชาติไทย คือ “ชาติไทยของเรานั้น มีสถาบันที่เราเคารพบูชาเป็นหลักยึดถือและที่พึ่งในปัจจุบันนี้”
และผมได้อภิปรายต่อว่า “เรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น มีหลายคนถามว่า สมควรจะมีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาหรือไม่ สมควรจะมีการขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยหรือไม่ สมควรจะมีการขอพระราชทานรัฐธรรมนูญหรือไม่ คำตอบก็คือ ถ้ามีเหตุผลและมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดก็สมควร”
และตอนหนึ่ง ผมได้พูดว่า “บัดนี้ ผมคิดว่าเราได้มาถึงตอนที่สำคัญที่สุด คือตอนที่เราจะต้องพิสูจน์ความเป็นคนไทยกัน ด้วยการพลิกปัญหาให้เป็นโอกาส แก้ข้ออึดอัดขัดข้องในปัจจุบันให้เป็นความราบรื่นดีงามในอนาคต สัญลักษณ์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของความเป็นคนไทยก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างปวงราษฎรกับพระมหากษัตริย์ ความเชื่อมั่นศรัทธาในทศพิธราชธรรม และความที่ราษฎรทุกคนมีสิทธิที่จะถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นที่พึ่งสุดท้ายของตน ในเรื่องที่ตนคิดว่าสำคัญที่สุดสำหรับตน แม้ว่าคนอื่นจะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่สมควรเพียงใดก็ตาม พระมหากษัตริย์ไทยจึงไม่เหมือนกษัตริย์ที่ใดในโลก เพราะประชาชนมีสิทธิถือว่าในหลวงเป็นสมบัติของเขาเป็นพ่อของเขา เป็นพระของเขา และเป็นพระเจ้าของเขา ทุกๆ อย่างรวมกัน เพราะฉะนั้นราษฎรไทยจึงมีสิทธิทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อในหลวงในเรื่องผักบุ้งแพง เรื่องหนี้สิน และเมื่อไม่นานมานี้ มีนักวิชาการ 99 คน ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้พล.อ.เปรมเป็นกลางทางการเมือง”
ครับ เมื่อที่สุดถึงที่สุดทุกอย่างแล้ว ทุกคนก็มีสิทธิที่จะถวายฎีกา แต่เรื่องใดสมควรหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องแก้วิกฤตการเมือง ในหลวงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และวางมาตรฐานไว้ก่อนแล้วว่า อย่าขอในสิ่งที่พระราชทานไม่ได้ ในหลวงทรงมีพระปัญญาบารมีอันมหาศาลยิ่งใหญ่ สิ่งที่ท่านพระราชทานเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยนั้นไม่เคยผิดพลาด และจะไม่ผิดพลาด
ฉบับหน้าผมจะอัญเชิญพระราชดำรัสที่ทรงกำหนดมาตรฐานดังกล่าวมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟัง
แต่ผมอยากจะจบว่าการขอพระราชทานชีวิตและความปลอดภัยของผู้หญิง คนชรา และเด็กซึ่งเป็นพสกนิกรที่ซื่อบริสุทธิ์ บูชาและยอมพลีชีวิตถวายพระองค์ให้พ้นจากเงื้อมมือของรัฐบาลฆาตกร คงจะเป็นคำขอที่ไม่เกินสมควรจนเกินไป