"อภินันทน์"ดิ้นรักษาเก้าอี้ หลังกมธ.คมนาคมทำหนังสือจี้"นายกฯ"พิจารณาปลด เหตุมีพฤติกรรมทุจริต ทำให้บริษัทเสียหาย ส่อล้มละลาย และทำให้องค์กรแตกแยก เล่นใต้ดิน ปลุกสหภาพฯ เคลื่อนไหวกดดันบอร์ดล้มแผนปลด ขณะที่ "สันติ"ไขสื่อไม่รับรู้ปัญหา อ้าง ไม่เคยเห็นเอกสารร้องเรียนใดๆ ชี้การทำงานมีหลายมิติ และต้องให้ความเป็นธรรม เผยเหตุบิ๊กการบินไทยถูกฟ้องหลายคดี จัดจ้างไม่โปร่งใส - ขัดมติครม.ซื้อ A 330-300
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ว่าที่ร้อยตรีพงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฏร ได้ทำหนังสือถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีรายงานผลการสอบสวนหรือศึกษากรณี เรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย ว่าบริหารงานทำให้เกิดปัญหาความแตกแยกในองค์กร มีปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นถูกหลายหน่วยงานตรวจสอบ มีการนำงบประมาณของบริษัทไปใช้อย่างไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง ทำให้บริษัทได้รับความเสียหายทั้งชื่อเสียงและทรัพย์สิน ถูกเอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายไปยังศาลแพ่งและอาญาหลายคดี โดยถูกกล่าวหากระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของเจ้าพนักงานในองค์กรของรัฐ พ.ศ. 2502 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ถือเป็นพฤติกรรมการบริหารงานไม่โปร่งใส ขาดหลักธรรมาภิบาล ไม่มีความเชี่ยวชาญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ การกระทำที่มิชอบและการบริหารงานที่ผิดพลาดอาจทำให้บริษัทต้องล้มละลาย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจึงเห็นว่าควรพิจารณาให้ เรืออากาศโทอภินันทน์ พ้นจากตำแหน่ง
ทั้งนี้กมธ.คมนาคมได้สรุปผลการตรวจสอบปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบของเรืออากาศโทอภินันทน์ พบว่า มีหลายประเด็นเช่น กรณีการจัดซื้อเครื่องบิน A 330-300 จำนวน 8 ลำ ขัดมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ บริษัท เช่าดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท โดยมีการชำระเงินค่างวดล่วงหน้า (PDP) เพื่อซื้อเครื่องบิน และบิดเบือนข้อเท็จจริงเสนอบอร์ดบริษัท ในการขออนุมัติ เลือกเครื่องยนต์ของ Rolls Royce เพื่อมาติดตั้งกับเครื่องบิน A 330-300 ในราคาที่แพงกว่าผู้ผลิตอื่นเกือบ 200 ล้านบาท รวมถึงเลือกเครื่องยนต์ของ Rolls Royce เพื่อมาติดตั้งกับเครื่องบิน A 380-800 จำนวน 6 ลำ ในราคาที่แพงกว่ารายอื่น จนทำให้ทูตของสหรัฐอเมริกาสอบถามถึงความโปร่งใสในเรื่องดังกล่าว ถูกร้องเรียนและร้องทุกข์กล่าวโทษเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างส่อทุจริต ประพฤติมิชอบที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการหมวด 10 ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กมธ.คมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในกรณียกเลิกการจัดซื้อไวน์บริษัท หมิงเยิง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ชนะประมูล โดยอ้างเหตุแพง โดยข้อเท็จจริงพบว่าขั้นตอนการประมูลถูกต้องและราคาที่เอกชนเสนอต่ำกว่าราคากลาง ซึ่งบริษัทการบินไทยมีการออกใบสั่งซื้อให้บางบริษัทที่ประมูลในคราวเดียวกัน แต่ไม่ออกให้บริษัท หมิงเยิงฯ ทำให้เอกชนได้รับความเสีบหายและมีการฟ้องร้องคดีแพ่งและอาญาในขณะนี้ นอกจากนี้ เรืออากาศโทอภินันทน์และพวกยังร่วมกันแก้ไขระเบียบการจัดซื้อไวน์โดยวิธีพิเศษ ซึ่งขัดระเบียบพัสดุ ทำให้ซื้อในราคาแพง ซึ่ง DSI ได้ส่งเรื่องไปยังไป ป.ป.ช. แล้ว
นอกจากนี้ยังมีกรณีปัญหาการฮั้วขึ้นราคาค่าโดยสารที่ร่วมกับสายการบิน Star Alliance โดยอ้างราคาน้ำมัน ทำให้สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคของยุโรป (EU) เรียกสายการบินพันธมิตรไปเจรจา และถูกปรับเพียงเล็กน้อยแต่บริษัทไม่ยอมเจรจา จนถูกฟ้อง ซึ่งบริษัทต้องเสียค่าทนาย 800 ล้านบาท และหากแพ้คดีจะถูกปรับเป็นเงินมหาศาล ถือว่า เรืออากาศโทอภินันทน์ ไม่ปกป้องผลประโยชน์ของบริษัท และจ้างค่าทนายสูงเกินความเป็นจริง , ปัญหาการจัดหาโรงแรมที่พักให้ลูกเรือในต่างประเทศ ที่ถูกผู้ถือห้นร้องไม่โปร่งใส , การใช้งบประมาณ2,000 ล้านบาทโดยไม่ระบุรายละเอียด ซึ่งขณะนี้ถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตรวจสอบอยู่
แหล่งข่าวจากการบินไทยกล่าวว่า กมธ.คมนาคมระบุว่า พฤติกรรมของเรืออากาศโทอภินันทน์นั้น ทำให้ที่ประชุมบอร์ดการบินไทยเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 51 มีคำสั่งให้ปลดออกจากตำแหน่ง แต่ เรืออากาศโทอภินันทน์ ได้ใช้พนักงานเคลื่อนไหวกดดัน ฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจ ทำให้บอร์ดต้องยกเลิกคำสั่งดังกล่าว และเมื่อการประชุมเมื่อวันที่ 19 พ.ย.บอร์ดจะมีการหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ เรืออากาศโทอภินันทน์อีกครั้ง แต่มีการต่อรองกันว่า เรืออากาศโทอภินันทน์ อาจจะขอลาออกเองแทนการถูกปลดทำให้บอร์ดยังไม่มีการพิจารณาและคาดกันว่าจะนำเรื่องนี้หารือกันอีกครั้งในการประชุมบอร์ดวันที่ 25 พ.ย.นี้ ซึ่ง จะมีการแต่งตั้ง นายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานบอร์ดด้วย ในขณะเดียวกันมีกระแสข่าวว่า เรืออากาศโทอภินันทน์ได้ประสานกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ที่มีนางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์เป็นประธานเพื่อให้สหภาพฯ ออกมาเคลื่อนไหวปกป้องตนเองโดยกดดันบอร์ด
ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องที่กมธ.คมนาคมทำหนังสือถึงนายกฯ เสนอให้ปลดเรืออากาศโทอภินันทน์ โดยส่วนตัวเห็นว่า การที่ผู้ช่วยตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ตนในฐานะผู้กำกับดูแลก็จะต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกตรวจสอบด้วยและต้องพิจารณาอย่างรอบคอบหากต้องดำเนินการใดๆ และ การทำงานนั้นมีหลายมิติ ซึ่งการบินไทยมีบอร์ดดูแลอยู่ และที่ผ่านมาบอร์ดได้รายงานผลการทำงานให้ทราบเป็นระยะๆ เห็นว่า ยังไม่มีอะไรที่น่าวิตก
"ทุกคนมีหน้าที่ดังนั้น หน้าที่ใครก็หน้าที่มัน หากผลการตรวจสอบออกมา เป็นอย่างไรก็คงต้องทำตามนั้น ส่วนการทำงานของเรืออากาศโทอภินันทน์ ที่เห็นก็มีทั้งเรื่องที่ประสบความสำเร็จ ประสบความสำเร็จน้อย และไม่ประสบความสำเร็จซึ่งตอนนี้ผมคงยังไม่ทำอะไรเพราะยังไม่มีการร้องเรียนหรือผลสอบสวนใดๆมาถึง หากมีแค่ข่าวหรือการบอกเล่าแล้วไปสอบสวนกรณีทุจริตเลจก็คงไม่ได้"นายสันติกล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ว่าที่ร้อยตรีพงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฏร ได้ทำหนังสือถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีรายงานผลการสอบสวนหรือศึกษากรณี เรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย ว่าบริหารงานทำให้เกิดปัญหาความแตกแยกในองค์กร มีปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นถูกหลายหน่วยงานตรวจสอบ มีการนำงบประมาณของบริษัทไปใช้อย่างไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง ทำให้บริษัทได้รับความเสียหายทั้งชื่อเสียงและทรัพย์สิน ถูกเอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายไปยังศาลแพ่งและอาญาหลายคดี โดยถูกกล่าวหากระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของเจ้าพนักงานในองค์กรของรัฐ พ.ศ. 2502 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ถือเป็นพฤติกรรมการบริหารงานไม่โปร่งใส ขาดหลักธรรมาภิบาล ไม่มีความเชี่ยวชาญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ การกระทำที่มิชอบและการบริหารงานที่ผิดพลาดอาจทำให้บริษัทต้องล้มละลาย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจึงเห็นว่าควรพิจารณาให้ เรืออากาศโทอภินันทน์ พ้นจากตำแหน่ง
ทั้งนี้กมธ.คมนาคมได้สรุปผลการตรวจสอบปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบของเรืออากาศโทอภินันทน์ พบว่า มีหลายประเด็นเช่น กรณีการจัดซื้อเครื่องบิน A 330-300 จำนวน 8 ลำ ขัดมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ บริษัท เช่าดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท โดยมีการชำระเงินค่างวดล่วงหน้า (PDP) เพื่อซื้อเครื่องบิน และบิดเบือนข้อเท็จจริงเสนอบอร์ดบริษัท ในการขออนุมัติ เลือกเครื่องยนต์ของ Rolls Royce เพื่อมาติดตั้งกับเครื่องบิน A 330-300 ในราคาที่แพงกว่าผู้ผลิตอื่นเกือบ 200 ล้านบาท รวมถึงเลือกเครื่องยนต์ของ Rolls Royce เพื่อมาติดตั้งกับเครื่องบิน A 380-800 จำนวน 6 ลำ ในราคาที่แพงกว่ารายอื่น จนทำให้ทูตของสหรัฐอเมริกาสอบถามถึงความโปร่งใสในเรื่องดังกล่าว ถูกร้องเรียนและร้องทุกข์กล่าวโทษเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างส่อทุจริต ประพฤติมิชอบที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการหมวด 10 ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กมธ.คมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในกรณียกเลิกการจัดซื้อไวน์บริษัท หมิงเยิง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ชนะประมูล โดยอ้างเหตุแพง โดยข้อเท็จจริงพบว่าขั้นตอนการประมูลถูกต้องและราคาที่เอกชนเสนอต่ำกว่าราคากลาง ซึ่งบริษัทการบินไทยมีการออกใบสั่งซื้อให้บางบริษัทที่ประมูลในคราวเดียวกัน แต่ไม่ออกให้บริษัท หมิงเยิงฯ ทำให้เอกชนได้รับความเสีบหายและมีการฟ้องร้องคดีแพ่งและอาญาในขณะนี้ นอกจากนี้ เรืออากาศโทอภินันทน์และพวกยังร่วมกันแก้ไขระเบียบการจัดซื้อไวน์โดยวิธีพิเศษ ซึ่งขัดระเบียบพัสดุ ทำให้ซื้อในราคาแพง ซึ่ง DSI ได้ส่งเรื่องไปยังไป ป.ป.ช. แล้ว
นอกจากนี้ยังมีกรณีปัญหาการฮั้วขึ้นราคาค่าโดยสารที่ร่วมกับสายการบิน Star Alliance โดยอ้างราคาน้ำมัน ทำให้สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคของยุโรป (EU) เรียกสายการบินพันธมิตรไปเจรจา และถูกปรับเพียงเล็กน้อยแต่บริษัทไม่ยอมเจรจา จนถูกฟ้อง ซึ่งบริษัทต้องเสียค่าทนาย 800 ล้านบาท และหากแพ้คดีจะถูกปรับเป็นเงินมหาศาล ถือว่า เรืออากาศโทอภินันทน์ ไม่ปกป้องผลประโยชน์ของบริษัท และจ้างค่าทนายสูงเกินความเป็นจริง , ปัญหาการจัดหาโรงแรมที่พักให้ลูกเรือในต่างประเทศ ที่ถูกผู้ถือห้นร้องไม่โปร่งใส , การใช้งบประมาณ2,000 ล้านบาทโดยไม่ระบุรายละเอียด ซึ่งขณะนี้ถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตรวจสอบอยู่
แหล่งข่าวจากการบินไทยกล่าวว่า กมธ.คมนาคมระบุว่า พฤติกรรมของเรืออากาศโทอภินันทน์นั้น ทำให้ที่ประชุมบอร์ดการบินไทยเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 51 มีคำสั่งให้ปลดออกจากตำแหน่ง แต่ เรืออากาศโทอภินันทน์ ได้ใช้พนักงานเคลื่อนไหวกดดัน ฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจ ทำให้บอร์ดต้องยกเลิกคำสั่งดังกล่าว และเมื่อการประชุมเมื่อวันที่ 19 พ.ย.บอร์ดจะมีการหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ เรืออากาศโทอภินันทน์อีกครั้ง แต่มีการต่อรองกันว่า เรืออากาศโทอภินันทน์ อาจจะขอลาออกเองแทนการถูกปลดทำให้บอร์ดยังไม่มีการพิจารณาและคาดกันว่าจะนำเรื่องนี้หารือกันอีกครั้งในการประชุมบอร์ดวันที่ 25 พ.ย.นี้ ซึ่ง จะมีการแต่งตั้ง นายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานบอร์ดด้วย ในขณะเดียวกันมีกระแสข่าวว่า เรืออากาศโทอภินันทน์ได้ประสานกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ที่มีนางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์เป็นประธานเพื่อให้สหภาพฯ ออกมาเคลื่อนไหวปกป้องตนเองโดยกดดันบอร์ด
ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องที่กมธ.คมนาคมทำหนังสือถึงนายกฯ เสนอให้ปลดเรืออากาศโทอภินันทน์ โดยส่วนตัวเห็นว่า การที่ผู้ช่วยตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ตนในฐานะผู้กำกับดูแลก็จะต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกตรวจสอบด้วยและต้องพิจารณาอย่างรอบคอบหากต้องดำเนินการใดๆ และ การทำงานนั้นมีหลายมิติ ซึ่งการบินไทยมีบอร์ดดูแลอยู่ และที่ผ่านมาบอร์ดได้รายงานผลการทำงานให้ทราบเป็นระยะๆ เห็นว่า ยังไม่มีอะไรที่น่าวิตก
"ทุกคนมีหน้าที่ดังนั้น หน้าที่ใครก็หน้าที่มัน หากผลการตรวจสอบออกมา เป็นอย่างไรก็คงต้องทำตามนั้น ส่วนการทำงานของเรืออากาศโทอภินันทน์ ที่เห็นก็มีทั้งเรื่องที่ประสบความสำเร็จ ประสบความสำเร็จน้อย และไม่ประสบความสำเร็จซึ่งตอนนี้ผมคงยังไม่ทำอะไรเพราะยังไม่มีการร้องเรียนหรือผลสอบสวนใดๆมาถึง หากมีแค่ข่าวหรือการบอกเล่าแล้วไปสอบสวนกรณีทุจริตเลจก็คงไม่ได้"นายสันติกล่าว