ส.ส.พปช. จอมฉวยโอกาส มั่วนิ่มขอเบิกเงินเยียวยา 1 แสนบาท อ้างโดนแก๊สน้ำตา จากเหตุสลายการชุมนุม 7 ต.ค. ที่หน้าสภา ต้องผ่าตัด นอนโรงพยาบาล 10 กว่าวัน ยันมีสิทธิ์ได้รับการเยียวยาเหมือนพวกพันธมิตรฯ
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (21พ.ย.) ได้มีการพิจารณากระทู้ถามด่วน เรื่องปัญหาความรุนแรงขยายตัว เนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ที่นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ถามว่าหลังจากความรุนแรงที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 จนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมากนั้น ปรากฎว่ายังมีการขว้างระเบิดเข้าไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง จึงอยากทราบว่ารัฐบาลสนับสนุนให้เกิดความรุนแรงเหล่านี้หรือไม่ เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะมีเหตุรุนแรงหลังวันที่ 19 พ.ย. ซึ่งนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การชุมนุมของพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยโดยยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นศูนย์บัญชาการนั้น ได้สร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ล่าสุดอาจเกิดจากฝีมือของมือที่ 1-2-3-4 หรือ 5 ก็ได้ ที่ต้องการท้าทายอำนาจรัฐ และต้องการสร้างความแตกแยกในบ้านเมือง แต่ขอยืนยันว่ารัฐบาลจะยึดถือกฎหมายเป็นสำคัญในการปกครองบ้านเมือง รัฐบาลจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ทราบทั่วกันว่า สถานที่ชุมนุมดังกล่าวเป็นสถานที่อันตราย โปรดหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปใกล้ หรือใช้เส้นทางต้องห้าม พร้อมจะกำชับให้ทุกส่วนหาวิธีป้องกัน ซึ่งตำรวจได้ประสานขอความร่วมมือไปยังสารวัตรทหารในการดูแลความปลอดภัย และความมั่นคงภายในทำเนียบรัฐบาล ในส่วนของตำรวจก็มีแผนในการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ดังกล่าวและใกล้เคียงอยู่แล้ว หากมีเหตุลึกกว่านั้น รัฐบาลก็มีอำนาจในการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ทันที
จากนั้นเป็นการพิจารณากระทู้ถามด่วน เรื่องการเยียวยาและให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง ของนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ถามนายกฯ โดยนายตวง กล่าวว่า คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ 7 ต.ค. แต่ปรากฏว่า เป็นการเยียวยา 3 เหตุการณ์ คือ 29 ส.ค. , 7 ต.ค. และ 2 ก.ย. ซึ่งอันหลังสุด ส.ว.ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องที่คนกลุ่มหนึ่งมาปะทะกับอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน นอกจากนี้ มีการเยียวยาจำนวนต่างกันระหว่างคนบาดเจ็บน้อย ปานกลาง สาหัส เกณฑ์ดังกล่าว เป็นยาที่จะทำให้เกิดความรุนแรง ไม่รู้ว่า รัฐบาลมีเกณฑ์การตรวจสอบรับรองผู้เสียหายอย่างไร ไม่เช่นนั้น คนจะภูมิใจในการปะทะกัน และมารับเงิน เพราะมีคนจ่ายให้แล้ว รวมถึงการเยียวยาต่อเนื่องระยะยาว ของครอบครัวผู้สูญเสีย
นอกจากนี้ มีผู้แทนราษฎรมาขอรับเงินเยียวยา 1 แสนบาท โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 7 ต.ค. รัฐบาลจ่ายไปแล้วหรือยัง และเหตุระเบิดที่เกิดต่อเนื่อง สามารถใช้สิทธิ์เยียวยาได้หรือไม่ รัฐบาลคงต้องเตรียมเงินหลายพันล้านบาท หากวันที่ 24 พ.ย. เกิดปะทะกันรุนแรง และรัฐบาลไม่มีมาตรการป้องกัน โดยเอาแต่ตั้งงบจ่ายเยียวยา
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การเยียวยาเป็นนโยบายของทุกรัฐบาล การเยียวยาเหตุในอดีตเช่น พฤษภา 35 ก็ยังทำต่อเนื่องมาตลอด ฉะนั้นความเดือดร้อนทั้งปวง รัฐบาลนี้ตระหนัก เหตุการณ์ 7 ต.ค. รัฐบาลต้องเยียวยาทุกฝ่าย ไม่ว่าจะผิดหรือถูกให้มากสุดเท่าที่ทำได้ ทั้งนี้เกณฑ์การเยียวยา ครม.ได้เห็นชอบแล้ว และสามารถแก้ไขได้ เพื่อเป็นประโยชน์ที่สุดกับประชาชน
ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ ไม่ว่าเหตุก่อนหรือหลังวันที่ 7 ต.ค. รัฐบาลต้องช่วยแน่นอน แต่ความยุ่งยากคือ ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากพี่น้องผู้เจ็บป่วย อาจเป็นเพราะเกรงว่า จะเสียสิทธิ์การฟ้องร้อง โดย 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเปิดให้มาแจ้งรับการเยียวยา สัปดาห์แรกมีมาแจ้ง 27 ราย สัปดาห์ถัดมา 10 ราย และ 62 ราย ตามลำดับ รวม 99 ราย ในจำนวนเกือบ 700 คน ซึ่งรัฐบาลอยากให้มาขอใช้สิทธิ รวมจำนวนเงินที่จ่ายแล้ว 3.7 ล้านบาท เท่านั้น รัฐบาลพยายามติดต่อผู้ที่ยังไม่มา ให้มาใช้สิทธิ์
ส่วนกรณี ส.ส. ยังไม่ทราบ แต่ยังไม่มีการจ่ายเงิน ทั้งนี้ ตนจะไปตรวจสอบดูว่า ส.ส.มีสิทธิดังกล่าวหรือไม่ เพราะส.ส.มีสิทธิ์ได้รับการรักษาตามระเบียบของสภาอยู่แล้ว ส่วนเหตุการณ์วันอื่นๆ เยียวยาได้ ในเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง ก่อนหรือหลังเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. ซึ่งคณะกรรมการเยียวยา มีอำนาจในการใช้ดุลพินิจพิจารณา
รายงานข่าวจากวุฒิสภาแจ้งว่า สำหรับ ส.ส. ที่ขอรับการช่วยเหลือกับคณะกรรมการเยียวยา โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 7 ต.ค. คือ นายไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชาชน ซึ่งส่งคำร้องขอรับการช่วยเหลือเยียวยากับคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 27 ต.ค. โดยระบุว่า ได้เข้าไปปฏิบัติภารกิจในการร่วมประชุมรัฐสภาวันที่ 7 ต.ค. และได้รับผลกระทบทางร่างกายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในวันดังกล่าว โดยเข้ารับการรักษาตัวตั้งแต่วันที่ 8-18 ต.ค. ที่โรงพยาบาลตาหูคอ จมูก พร้อมกับได้แนบใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาล จำนวน 109,526 บาท และใบรับรองแพทย์ ให้แก่คณะกรรมการเยียวยาฯด้วย
ด้านนายไพโรจน์ กล่าวว่า ตนได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตา ตอนออกจากสภาจนต้องผ่าตัด เพราะม่านประสาททตาหลุด ผ่าตัดอยู่ 4 ชั่วโมงกว่า นอนโรงพยาบาลอยู่ 10 วัน เสียค่ารักษาประมาณ 1.2 แสนบาท ทั้งนี้ ที่แจ้งเรื่องขอเยียวยา เพราะตอนนี้สภายังไม่มีประกันสุขภาพ เนื่องจากหมดปีงบประมาณ 2551 และปีงบประมาณ 2552 สภาก็กำลังหาบริษัทรับประกันสุขภาพอยู่ ถ้าเบิกสภาได้ตนก็เบิกสภาไปแล้ว อย่างไรก็ดี ตอนนี้ตนยังไม่ได้รับเงินเยียวยาจากคณะกรรมการ
ทั้งนี้ สิ่งที่ส.ว.โจมตี คิดว่าเกินเหตุเกินไป เพราะตนไปทำหน้าที่สมาชิกในการประชุมวันนั้น อยากถามว่า จะให้การเยียวยาแต่พวกพันธมิตรฯเท่านั้นหรือ
สำหรับประวัติส่วนตัวของ นายไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา สังกัดพรรคพลังประชาชน เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2497 จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์จาก University of Houston ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอยู่ บ้านเลขที่ 32/63 หมู่บ้าน การบินไทย ซอย 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยในอดีตเคยดำรงตำแหน่ง ส.ส.พะเยา มาแล้วสองสมัย ในปี 2538 และ2548
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (21พ.ย.) ได้มีการพิจารณากระทู้ถามด่วน เรื่องปัญหาความรุนแรงขยายตัว เนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ที่นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ถามว่าหลังจากความรุนแรงที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 จนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมากนั้น ปรากฎว่ายังมีการขว้างระเบิดเข้าไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง จึงอยากทราบว่ารัฐบาลสนับสนุนให้เกิดความรุนแรงเหล่านี้หรือไม่ เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะมีเหตุรุนแรงหลังวันที่ 19 พ.ย. ซึ่งนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การชุมนุมของพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยโดยยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นศูนย์บัญชาการนั้น ได้สร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ล่าสุดอาจเกิดจากฝีมือของมือที่ 1-2-3-4 หรือ 5 ก็ได้ ที่ต้องการท้าทายอำนาจรัฐ และต้องการสร้างความแตกแยกในบ้านเมือง แต่ขอยืนยันว่ารัฐบาลจะยึดถือกฎหมายเป็นสำคัญในการปกครองบ้านเมือง รัฐบาลจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ทราบทั่วกันว่า สถานที่ชุมนุมดังกล่าวเป็นสถานที่อันตราย โปรดหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปใกล้ หรือใช้เส้นทางต้องห้าม พร้อมจะกำชับให้ทุกส่วนหาวิธีป้องกัน ซึ่งตำรวจได้ประสานขอความร่วมมือไปยังสารวัตรทหารในการดูแลความปลอดภัย และความมั่นคงภายในทำเนียบรัฐบาล ในส่วนของตำรวจก็มีแผนในการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ดังกล่าวและใกล้เคียงอยู่แล้ว หากมีเหตุลึกกว่านั้น รัฐบาลก็มีอำนาจในการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ทันที
จากนั้นเป็นการพิจารณากระทู้ถามด่วน เรื่องการเยียวยาและให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง ของนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ถามนายกฯ โดยนายตวง กล่าวว่า คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ 7 ต.ค. แต่ปรากฏว่า เป็นการเยียวยา 3 เหตุการณ์ คือ 29 ส.ค. , 7 ต.ค. และ 2 ก.ย. ซึ่งอันหลังสุด ส.ว.ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องที่คนกลุ่มหนึ่งมาปะทะกับอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน นอกจากนี้ มีการเยียวยาจำนวนต่างกันระหว่างคนบาดเจ็บน้อย ปานกลาง สาหัส เกณฑ์ดังกล่าว เป็นยาที่จะทำให้เกิดความรุนแรง ไม่รู้ว่า รัฐบาลมีเกณฑ์การตรวจสอบรับรองผู้เสียหายอย่างไร ไม่เช่นนั้น คนจะภูมิใจในการปะทะกัน และมารับเงิน เพราะมีคนจ่ายให้แล้ว รวมถึงการเยียวยาต่อเนื่องระยะยาว ของครอบครัวผู้สูญเสีย
นอกจากนี้ มีผู้แทนราษฎรมาขอรับเงินเยียวยา 1 แสนบาท โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 7 ต.ค. รัฐบาลจ่ายไปแล้วหรือยัง และเหตุระเบิดที่เกิดต่อเนื่อง สามารถใช้สิทธิ์เยียวยาได้หรือไม่ รัฐบาลคงต้องเตรียมเงินหลายพันล้านบาท หากวันที่ 24 พ.ย. เกิดปะทะกันรุนแรง และรัฐบาลไม่มีมาตรการป้องกัน โดยเอาแต่ตั้งงบจ่ายเยียวยา
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การเยียวยาเป็นนโยบายของทุกรัฐบาล การเยียวยาเหตุในอดีตเช่น พฤษภา 35 ก็ยังทำต่อเนื่องมาตลอด ฉะนั้นความเดือดร้อนทั้งปวง รัฐบาลนี้ตระหนัก เหตุการณ์ 7 ต.ค. รัฐบาลต้องเยียวยาทุกฝ่าย ไม่ว่าจะผิดหรือถูกให้มากสุดเท่าที่ทำได้ ทั้งนี้เกณฑ์การเยียวยา ครม.ได้เห็นชอบแล้ว และสามารถแก้ไขได้ เพื่อเป็นประโยชน์ที่สุดกับประชาชน
ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ ไม่ว่าเหตุก่อนหรือหลังวันที่ 7 ต.ค. รัฐบาลต้องช่วยแน่นอน แต่ความยุ่งยากคือ ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากพี่น้องผู้เจ็บป่วย อาจเป็นเพราะเกรงว่า จะเสียสิทธิ์การฟ้องร้อง โดย 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังเปิดให้มาแจ้งรับการเยียวยา สัปดาห์แรกมีมาแจ้ง 27 ราย สัปดาห์ถัดมา 10 ราย และ 62 ราย ตามลำดับ รวม 99 ราย ในจำนวนเกือบ 700 คน ซึ่งรัฐบาลอยากให้มาขอใช้สิทธิ รวมจำนวนเงินที่จ่ายแล้ว 3.7 ล้านบาท เท่านั้น รัฐบาลพยายามติดต่อผู้ที่ยังไม่มา ให้มาใช้สิทธิ์
ส่วนกรณี ส.ส. ยังไม่ทราบ แต่ยังไม่มีการจ่ายเงิน ทั้งนี้ ตนจะไปตรวจสอบดูว่า ส.ส.มีสิทธิดังกล่าวหรือไม่ เพราะส.ส.มีสิทธิ์ได้รับการรักษาตามระเบียบของสภาอยู่แล้ว ส่วนเหตุการณ์วันอื่นๆ เยียวยาได้ ในเรื่องที่เกี่ยวเนื่อง ก่อนหรือหลังเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. ซึ่งคณะกรรมการเยียวยา มีอำนาจในการใช้ดุลพินิจพิจารณา
รายงานข่าวจากวุฒิสภาแจ้งว่า สำหรับ ส.ส. ที่ขอรับการช่วยเหลือกับคณะกรรมการเยียวยา โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 7 ต.ค. คือ นายไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชาชน ซึ่งส่งคำร้องขอรับการช่วยเหลือเยียวยากับคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 27 ต.ค. โดยระบุว่า ได้เข้าไปปฏิบัติภารกิจในการร่วมประชุมรัฐสภาวันที่ 7 ต.ค. และได้รับผลกระทบทางร่างกายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในวันดังกล่าว โดยเข้ารับการรักษาตัวตั้งแต่วันที่ 8-18 ต.ค. ที่โรงพยาบาลตาหูคอ จมูก พร้อมกับได้แนบใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาล จำนวน 109,526 บาท และใบรับรองแพทย์ ให้แก่คณะกรรมการเยียวยาฯด้วย
ด้านนายไพโรจน์ กล่าวว่า ตนได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตา ตอนออกจากสภาจนต้องผ่าตัด เพราะม่านประสาททตาหลุด ผ่าตัดอยู่ 4 ชั่วโมงกว่า นอนโรงพยาบาลอยู่ 10 วัน เสียค่ารักษาประมาณ 1.2 แสนบาท ทั้งนี้ ที่แจ้งเรื่องขอเยียวยา เพราะตอนนี้สภายังไม่มีประกันสุขภาพ เนื่องจากหมดปีงบประมาณ 2551 และปีงบประมาณ 2552 สภาก็กำลังหาบริษัทรับประกันสุขภาพอยู่ ถ้าเบิกสภาได้ตนก็เบิกสภาไปแล้ว อย่างไรก็ดี ตอนนี้ตนยังไม่ได้รับเงินเยียวยาจากคณะกรรมการ
ทั้งนี้ สิ่งที่ส.ว.โจมตี คิดว่าเกินเหตุเกินไป เพราะตนไปทำหน้าที่สมาชิกในการประชุมวันนั้น อยากถามว่า จะให้การเยียวยาแต่พวกพันธมิตรฯเท่านั้นหรือ
สำหรับประวัติส่วนตัวของ นายไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา สังกัดพรรคพลังประชาชน เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2497 จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์จาก University of Houston ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอยู่ บ้านเลขที่ 32/63 หมู่บ้าน การบินไทย ซอย 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยในอดีตเคยดำรงตำแหน่ง ส.ส.พะเยา มาแล้วสองสมัย ในปี 2538 และ2548