มาตรการความรุนแรง ที่รัฐบาลรัฐบาลนอมินี ปล่อยให้กลุ่มคนชั่ว ใช้วิธีลอบกัด แบบป่าเถื่อน เพื่องหวัง ก่อกวน-ทำลายการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งวางระเบิด-ยิงปืนขู่ นับครั้งไม่ถ้วน ล่าสุดถึงขั้นมีผู้สังเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีกหลายราย ขณะที่ตำรวจไม่สามารถติดตามตัวคนร้ายได้แม้แต่ครั้งเดียว
วันที่ 8 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 22.00 น. เกิดเหตุระเบิดป้อมตำรวจริมคลองผดุงฯ ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่มีคนเจ็บ - คนตาย
เวลา 01.00 น. เกิดเหตุลอบวางระเบิดที่แยกวัดเบญจมบพิตร แถวพุ่มไม้ริมรั้วสนามม้านางเลิ้ง ถนนพระราม 5 มุ่งหน้าสะพานชมัยมรุเชฐ ขณะที่ “บิ๊กเบื๊อก” พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. เชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ไม่ให้ตำรวจพักผ่อน
วันที่ 31 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 02.00 น.คนร้ายนั่งรถเบนซ์สีดำ ทะเบียน 4444 โยนระเบิดควันใกล้สะพานมัฆวานฯ แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 02.00 น.กลุ่มวัยรุ่นจำนวน 5 คน ขับรถเก๋งเข้ามายังบริเวณสะพานมัฆวาน และชูนิ้วกลางให้การ์ดพันธมิตรฯ แล้วยิงปืนเข้าใส่ หลังจากนั้นพยายามขับรถหนีแต่ถูกสกัดจับไว้ได้
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 02.00 น.มีเสียงระเบิดบริเวณเชิงสะพานอรทัย ห่างจากแผงเหล็กกั้นบริเวณชุมนุมของพันธมิตรฯ เพียง 3 เมตร แรงระเบิดทำให้พื้นถนนเป็นหลุมลึก 2.5 เซนติเมตร ขวดน้ำแตกกระจาย มีรอยสะเก็ดระเบิดที่ต้นไม้และกระสอบทราย
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 01.00 น. เกิดเหตุระเบิดขึ้น 2 ครั้ง บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ด้านฝั่งหน้าตึกอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และบริเวณถนนเรียบคลองผดุงกรุงเกษม ด้านข้างรั้วกระทรวงศึกษาธิการในเวลาไล่เลี่ยกัน ขณะเกิดเหตุระเบิดมีกลุ่มควันสีขาวขนาดใหญ่และมีเสียงดังทั่วบริเวณเสียงคล้ายประทัดยักษ์ ภายหลังจากการ์ดอาสาพันธมิตรฯ ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่ ไม่พบเห็นความเสียหาย เชื่อว่าน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดี และต้องการสร้างสถานการณ์ก่อกวนการชุมนุมของพันธมิตรเท่านั้น
ต่อมาเวลาประมาณ 04.00 น.มีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด บริเวณถนนข้างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ติดกับโรงเรียนเบญจมบพิตร เมื่อการ์ดพันธมิตรฯ เข้าตรวจสอบบริเวณจุดเกิดเหตุ ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ต่อมามีเสียงปืนดังขึ้น 2-3 นัด บริเวณถนนอีกด้านของคลองตรงข้ามกับ สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุเดิม โดยการ์ดพันธมิตรฯได้ตะโกนให้ทุกคนหมอบลง ขณะผู้สื่อข่าววิ่งหนีหลบเข้าไปภายใน ป.ป.ช.ทั้งนี้ เสียงที่ได้ยินคล้ายเสียงปืนและระเบิด ยังไม่ทราบว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใด
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 04.40 น. คนร้ายปาระเบิดเข้าใส่เต็นท์นอนนักรบอิสระ 9 ในที่ชุมนุมของพันธมิตรฯบริเวณสนามหญ้าหน้าตึกสันติไมตรี ห่างเวทีปราศรัยประมาณ 250 เมตร แรงระเบิดทำให้เกิดหลุมลึกประมาณ 10 ซม. กว้าง 20 ซม. มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย คือนายเมธี อู่ทอง มีบาดแผลบริเวณหน้าผากด้านซ้าย และบริเวณหน้าอก ถูกส่งตัวไปรักษาตัวต่อที่ รพ.วชิระพยาบาลและย้ายไปที่ รพ.จุฬาลงกรณ์
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 03.25 น. เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณเต็นท์พันธมิตรฯห่างจากเวทีปราศรัย เยื้องไปทางขวามือเพียง 50 เมตร จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่าคนร้ายน่าขว้างระเบิดเข้ามา แล้วตกบนหลังคาเต็นท์ของผู้ชุมนุมก่อนเกิดการระเบิด มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 3 ราย เป็นที่น่าสังเกตว่าจุดระเบิด อยู่ในแนวเดียวกันกับเหตุระเบิดเมื่อวันที่ 4 พ.ย.โดยขยับเข้าใกล้เวทีปราศรัยเพียง 50 เมตรเท่านั้น เหตุการณ์ครั้งนี้การ์ดพันธมิตรฯ จับผู้ต้องสงสัยได้ 1 คน และมอบให้ตำรวจ สน.ดุสิตนำตัวไปสอบสวน
ล่าสุด วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา 03.25 น. คนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่เต็นท์ของผู้ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลก่อนเกิดการระเบิดขึ้น ทำให้เต็นท์มีรู้กว้างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. จุดเกิดเหตุอยู่ห่างจากเวทีปราศรัยเพียงแค่ 15 เมตร ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บทันที จำนวน 23 ราย อาการสาหัส 2 ราย และเสียชีวิต 1 รายในเวลาต่อมา คือ นายเจนกิจ กลัดสาคร ชาวจังหวัดชลบุรี ในจำนวนผู้บาดเจ็บมีช่างภาพของ ASTV คือนายนพพร สุขราม รวมอยู่ด้วย
โดยสรุปเหตุการณ์ลอบทำร้ายพันธมิตรฯ ด้วยการขว้างและยิงระเบิด ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้ อีกทั้งยังปล่อยให้มีการก่อเหตุอย่างสะดวก ก่อนที่จะออกมาให้สัมภาษณ์ในภายหลังในลักษณะกล่าวหาว่าพันธมิตรฯ เป็นผู้สร้างสถานการณ์ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเองกลับไม่ได้มีการสอบสวนหรือดำเนินการติดตามหาตัวผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีแต่อย่างใด.
วันที่ 8 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 22.00 น. เกิดเหตุระเบิดป้อมตำรวจริมคลองผดุงฯ ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่มีคนเจ็บ - คนตาย
เวลา 01.00 น. เกิดเหตุลอบวางระเบิดที่แยกวัดเบญจมบพิตร แถวพุ่มไม้ริมรั้วสนามม้านางเลิ้ง ถนนพระราม 5 มุ่งหน้าสะพานชมัยมรุเชฐ ขณะที่ “บิ๊กเบื๊อก” พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. เชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ไม่ให้ตำรวจพักผ่อน
วันที่ 31 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 02.00 น.คนร้ายนั่งรถเบนซ์สีดำ ทะเบียน 4444 โยนระเบิดควันใกล้สะพานมัฆวานฯ แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 02.00 น.กลุ่มวัยรุ่นจำนวน 5 คน ขับรถเก๋งเข้ามายังบริเวณสะพานมัฆวาน และชูนิ้วกลางให้การ์ดพันธมิตรฯ แล้วยิงปืนเข้าใส่ หลังจากนั้นพยายามขับรถหนีแต่ถูกสกัดจับไว้ได้
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 02.00 น.มีเสียงระเบิดบริเวณเชิงสะพานอรทัย ห่างจากแผงเหล็กกั้นบริเวณชุมนุมของพันธมิตรฯ เพียง 3 เมตร แรงระเบิดทำให้พื้นถนนเป็นหลุมลึก 2.5 เซนติเมตร ขวดน้ำแตกกระจาย มีรอยสะเก็ดระเบิดที่ต้นไม้และกระสอบทราย
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 01.00 น. เกิดเหตุระเบิดขึ้น 2 ครั้ง บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ด้านฝั่งหน้าตึกอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และบริเวณถนนเรียบคลองผดุงกรุงเกษม ด้านข้างรั้วกระทรวงศึกษาธิการในเวลาไล่เลี่ยกัน ขณะเกิดเหตุระเบิดมีกลุ่มควันสีขาวขนาดใหญ่และมีเสียงดังทั่วบริเวณเสียงคล้ายประทัดยักษ์ ภายหลังจากการ์ดอาสาพันธมิตรฯ ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่ ไม่พบเห็นความเสียหาย เชื่อว่าน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดี และต้องการสร้างสถานการณ์ก่อกวนการชุมนุมของพันธมิตรเท่านั้น
ต่อมาเวลาประมาณ 04.00 น.มีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด บริเวณถนนข้างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ติดกับโรงเรียนเบญจมบพิตร เมื่อการ์ดพันธมิตรฯ เข้าตรวจสอบบริเวณจุดเกิดเหตุ ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ต่อมามีเสียงปืนดังขึ้น 2-3 นัด บริเวณถนนอีกด้านของคลองตรงข้ามกับ สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุเดิม โดยการ์ดพันธมิตรฯได้ตะโกนให้ทุกคนหมอบลง ขณะผู้สื่อข่าววิ่งหนีหลบเข้าไปภายใน ป.ป.ช.ทั้งนี้ เสียงที่ได้ยินคล้ายเสียงปืนและระเบิด ยังไม่ทราบว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใด
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 04.40 น. คนร้ายปาระเบิดเข้าใส่เต็นท์นอนนักรบอิสระ 9 ในที่ชุมนุมของพันธมิตรฯบริเวณสนามหญ้าหน้าตึกสันติไมตรี ห่างเวทีปราศรัยประมาณ 250 เมตร แรงระเบิดทำให้เกิดหลุมลึกประมาณ 10 ซม. กว้าง 20 ซม. มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย คือนายเมธี อู่ทอง มีบาดแผลบริเวณหน้าผากด้านซ้าย และบริเวณหน้าอก ถูกส่งตัวไปรักษาตัวต่อที่ รพ.วชิระพยาบาลและย้ายไปที่ รพ.จุฬาลงกรณ์
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 03.25 น. เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณเต็นท์พันธมิตรฯห่างจากเวทีปราศรัย เยื้องไปทางขวามือเพียง 50 เมตร จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่าคนร้ายน่าขว้างระเบิดเข้ามา แล้วตกบนหลังคาเต็นท์ของผู้ชุมนุมก่อนเกิดการระเบิด มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 3 ราย เป็นที่น่าสังเกตว่าจุดระเบิด อยู่ในแนวเดียวกันกับเหตุระเบิดเมื่อวันที่ 4 พ.ย.โดยขยับเข้าใกล้เวทีปราศรัยเพียง 50 เมตรเท่านั้น เหตุการณ์ครั้งนี้การ์ดพันธมิตรฯ จับผู้ต้องสงสัยได้ 1 คน และมอบให้ตำรวจ สน.ดุสิตนำตัวไปสอบสวน
ล่าสุด วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา 03.25 น. คนร้ายยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่เต็นท์ของผู้ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลก่อนเกิดการระเบิดขึ้น ทำให้เต็นท์มีรู้กว้างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. จุดเกิดเหตุอยู่ห่างจากเวทีปราศรัยเพียงแค่ 15 เมตร ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บทันที จำนวน 23 ราย อาการสาหัส 2 ราย และเสียชีวิต 1 รายในเวลาต่อมา คือ นายเจนกิจ กลัดสาคร ชาวจังหวัดชลบุรี ในจำนวนผู้บาดเจ็บมีช่างภาพของ ASTV คือนายนพพร สุขราม รวมอยู่ด้วย
โดยสรุปเหตุการณ์ลอบทำร้ายพันธมิตรฯ ด้วยการขว้างและยิงระเบิด ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้ อีกทั้งยังปล่อยให้มีการก่อเหตุอย่างสะดวก ก่อนที่จะออกมาให้สัมภาษณ์ในภายหลังในลักษณะกล่าวหาว่าพันธมิตรฯ เป็นผู้สร้างสถานการณ์ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเองกลับไม่ได้มีการสอบสวนหรือดำเนินการติดตามหาตัวผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีแต่อย่างใด.